เชื่อมต่อระบบบัญชีและระบบจัดการร้านค้าออนไลน์แบบไร้รอยต่อ

PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ รองรับการเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์ม e-Commerce หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Shopee, Lazada, LINE SHOPPING หรืออื่นๆ ช่วยจัดการระบบหลังบ้าน ด้วยการบันทึกข้อมูลการขาย การรับชำระเงิน ลงบัญชีอัตโนมัติ ลดการทำงานซ้ำซ้อน บริหารร้านค้าออนไลน์ได้ดียิ่งขึ้น

ระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ที่เชื่อมต่อกับโปรแกรมพันธมิตร

Partner API ที่สามารถตอบโจทย์การจัดการระบบร้านค้าออนไลน์

ZORT

ระบบจัดการออเดอร์และสต็อกสินค้าแบบครบวงจร ให้ธุรกิจที่มีการขายของหลาย  ทั้งทางระบบ e-

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

KetshopWeb

ผู้ให้บริการระบบ e-Commerce ในแบบที่คุณเป็นเจ้าของระบบเอง ให้คุณสร้างเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ พร้อมเชื่อมต่อ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

BentoWeb

ผู้ให้บริการระบบ e-Commerce ที่ให้คุณเป็นเจ้าของระบบเอง กำหนดนโยบายร้านค้าได้เอง และสามารถต่อย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

Page365

ผู้ให้บริการระบบจัดการร้านสำหรับร้านค้าออนไลน์บนโซเชียลมีเดีย Facebook, LINE OA และ Instagram

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

LINE SHOPPING

ผู้ให้บริการระบบบริหารการขายครบวงจรด้วยเครื่องมือช่วยอำนวยความสะดวก ให้ลูกค้าซื้อ

SCB

ผู้ใช้งานสามารถนำไฟล์ข้อมูล Bank Statement มากระทบยอดรายรับ-รายจ่าย เพื่อให้ได้ข้อมูล

KBank

รองรับการนำข้อมูลจาก File Statement ในรูปแบบของ PDF สำหรับธนาคาร

Krungsri

ผู้ใช้งานสามารถพิมพ์ไฟล์จ่ายเงินเดือนเพื่อนำเข้าไฟล์จ่ายเงินเดือนบนระบบของธนาคารได้

e-Tax Invoice by Email

บริการสำหรับผู้ประกอบการ SME ที่ประสงค์จะจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษี

INET

ผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอ-นิกส์ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถจัดทำข้อมูล

Leceipt

ผู้ให้บริการออกเอกสารใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ให้ผู้ประกอบการสามารถจัดทำข้อมูล

BOXME

คลังสินค้าออนไลน์ ผู้ให้บริการเก็บสต็อกสินค้า พร้อมแพ็คและจัดส่งภายในวันเดียว ใช้งานระบบ

ระบบการทำงานหลักๆ ด้านการจัดการร้านค้าออนไลน์ – PEAK Account

ระบบคลังสินค้า

ระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM)

ระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (HRM)

แพลตฟอร์มเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (RPA)

ธนาคาร

จุดเด่นของการเชื่อมต่อระบบบัญชีกับระบบจัดการออนไลน์

เชื่อมต่อง่าย ไม่ซับซ้อน

รองรับการเชื่อมต่อร้านค้าออนไลน์มากกว่า 10 แพลตฟอร์ม

เชื่อมต่อง่ายในไม่กี่ขั้นตอน มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำ

บันทึกข้อมูลและสร้างเอกสารอัตโนมัติ

บันทึกบัญชีและตัดสต๊อกสินค้าอัตโนมัติ

สร้างใบเสร็จรับเงินและออกใบกำกับภาษีได้ทันที

เห็นข้อมูลบัญชีร้านค้าทันที

อัปเดตยอดขาย กำไร และต้นทุนขาย จากทุกแพลตฟอร์มในที่เดียว

รองรับการเชื่อมต่อธนาคารและแพลตฟอร์มการรับชำระเงินออนไลน์

ลดข้อผิดพลาด ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย

ข้อมูลถูกต้อง แม่นยำ ปลอดภัย

ลดการคีย์ข้อมูลซ้ำซ้อน ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย

ทำไมต้องใช้ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์
ร่วมกับระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ของคุณ

เชื่อมต่อกับร้านค้าออนไลน์โดยตรง

บันทึกข้อมูลบัญชี สร้างเอกสารอัตโนมัติ ครบถ้วนทุกรายการขาย ลดขั้นตอนและลดต้นทุนในการทำงาน

เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการร้านค้าออนไลน์

เห็นภาพรวมข้อมูลบัญชีได้ทันที สามารถบริหารกิจการและตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น

ปลอดภัย ใช้งานง่าย พร้อมบริการช่วยเหลือ

หมดกังวลเรื่องข้อมูลรั่วไหล สูญหาย ด้วยระบบรักษาความปลอดภัย มาตรฐานระดับโลก พร้อมบริการให้คำปรึกษาและช่วยเหลือโดยผู้เชี่ยวชาญ สามารถใช้งานได้แม้ไม่มีพื้นฐานมาก่อน

ระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ที่รองรับ

ลูกค้าของเรา

เชื่อมต่อ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ กับระบบอื่นๆ

ดูระบบเชื่อมต่อ API ประเภทอื่นๆ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการเชื่อมต่อ API กับระบบจัดการร้านค้าออนไลน์

ระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ของ PEAK คือ ระบบที่ช่วยให้ผู้ประกอบการหรือเจ้าของร้านสามารถจัดการและดำเนินการร้านค้าออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นระบบจัดการออเดอร์และสต็อกสินค้าแบบครบวงจร ให้ธุรกิจที่มีการขายของผ่านระบบ E-Commerce สามารถเช็คสต็อกสินค้าได้แบบ Real-time และส่งข้อมูลมาบันทึกบัญชีที่ PEAK ได้อัตโนมัติ และเรายังมีทางเลือกวิธีการ Import Excel จากแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆมาสร้างเอกสารใน PEAK ได้เช่นกัน

ระบบร้านค้าออนไลน์ที่ PEAK รองรับการส่ง API ได้แก่

  1. Shopee
  2. Lazada
  3. KetshopWeb
  4. Zort
  5. BentoWeb
  6. Page365
  7. TARAD U-Commerce
  8. LINE SHOPPING
  9. Shipnity

ระบบร้านค้าออนไลน์ที่ PEAK รองรับการ Import File Excel (ไม่เชื่อม API) ได้แก่

  1. Shopee
  2. Lazada
  3. Tiktok Shop

ระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ของ PEAK เชื่อมต่อกับ Partner ได้ดังนี้

ระบบร้านค้าออนไลน์ที่ PEAK รองรับการส่ง API ได้แก่

  1. Shopee
  2. Lazada
  3. KetshopWeb
  4. Zort
  5. BentoWeb
  6. Page365
  7. TARAD U-Commerce
  8. LINE SHOPPING
  9. Shipnity

ระบบร้านค้าออนไลน์ที่ PEAK รองรับการ Import File Excel (ไม่เชื่อมAPI) ได้แก่

  1. Shopee
  2. Lazada  
  3. Tiktok Shop

 

การเริ่มต้นใช้งานระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ของ PEAK ง่ายๆ เพียงสมัครทดลองใช้งาน PEAK ฟรี 30 วัน
สามารถเริ่มเชื่อมต่อกับระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ได้เลย

คู่มือการเชื่อมต่อร้านค้าออนไลน์
VDO สอนการใช้งานเชื่อมต่อร้านค้าออนไลน์ของPEAK

ระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ของ PEAK เหมาะกับธุรกิจ

  1. ธุรกิจซื้อมา – ขายไปแบบ B2C
  2. ธุรกิจ E-Commerce

ข้อดีของการเชื่อมต่อระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ของ PEAK

  1. ระบบบันทึกเอกสารให้อัตโนมัติ ลดเวลาในการคีย์เอกสาร
  2. สต็อกสินค้าถูกอัปเดตแบบ Real-Time เมื่อมีการสร้างเอกสารขายในกิจการ
  3. ลดงานของแอดมินและนักบัญชี
  4. ลดความผิดพลาดในการบันทึกเอกสาร เพราะระบบบันทึกบัญชีให้ตามข้อมูลบนร้านค้า
  5. มีเวลาไปใช้ในการพัฒนาแผนโปรโมทและเพิ่มยอดขายได้มากขึ้น ไม่ต้องกังวลเรื่องบัญชี

ระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ของ PEAK ใช้งานไม่ยาก ตั้งค่าการเชื่อมต่อกับโปรแกรมจัดการออเดอร์และสต็อกที่ต้องการ เพียงครั้งเดียว ระบบสร้างเอกสารใบกำกับภาษีให้อัตโนมัติ ไม่ต้องเหนื่อยคีย์เอกสาร

และหากบางกิจการต้องการสร้างโดยการนำเข้าข้อมูล Excel File จากแพลตฟอร์มร้านออนไลน์ก็สามารถนำเข้าได้ง่ายๆเพียงไม่กี่นาที ระบบก็จะสร้างเอกสารใบเสร็จรับเงินให้ทันทีที่กดอนุมัติการนำเข้าข้อมูล

เริ่มต้นเชื่อมต่อร้านค้าออนไลน์ยังไงให้ข้อมูลครบถ้วน เริ่มต้นไม่ถูกคลิ๊กเรียนเพิ่มที่นี่ได้เลย

ผลิตภัณฑ์ของ PEAK

PEAK Account
โปรแกรมบัญชีออนไลน์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

PEAK Payroll
โปรแกรมเงินเดือนออนไลน์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

PEAK Board
โปรแกรมวิเคราะห์ธุรกิจ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

PEAK Asset
โปรแกรมบริหารจัดการสินทรัพย์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

PEAK Tax
โปรแกรมการจัดการภาษีออนไลน์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

Line @PEAKConnect
ใช้งานโปรแกรมผ่านไลน์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

บทความน่ารู้

ชวนทำความรู้จักการจดทะเบียน หจก. หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด

PEAK Account

9

min

ชวนทำความรู้จักการจดทะเบียน หจก. หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด

ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือ ที่เรียกว่า หจก. ได้รับความนิยมอย่างมากในการจัดตั้งธุรกิจในประเทศไทย โดยจะใช้การร่วมทุนในการจัดตั้งธุรกิจร่วมกันมากกว่า 2 คนขึ้นไป โดยการจดทะเบียน หจก. หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไม่ยุ่งยากซับซ้อนแถมยังใช้เวลาไม่นาน สำหรับคนที่กำลังจะจัดตั้งบริษัทเราจะขอพาไปรู้จักห้างหุ้นส่วนจำกัดในมุมต่าง ๆ ทั้งรูปแบบในการจัดตั้งและข้อดีของการจดทะเบียน หจก. เพื่อให้มีข้อมูลก่อนตัดสินใจเลือกการจัดตั้งธุรกิจประเภทนี้กัน ห้างหุ้นส่วนจำกัด คืออะไร ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ ธุรกิจที่มีผู้ร่วมทุนอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป โดยผู้ถือหุ้นทุกคนสามารถจัดสรรและตกลงรายละเอียดกันได้ตั้งแต่ต้น ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการเลือกสิ่งของในการลงทุน เช่น ลงทุนด้วยเงิน ทรัพย์สิน แรงงาน หรือสิ่งอื่นก็ได้แล้วแต่จะตกลงกัน และต้องมีการคำนวณหุ้นที่เป็นสินทรัพย์และแรงงานออกมาเป็นจำนวนเงิน โดยมีทุนจดทะเบียนที่แยกจากเงินส่วนตัว และหุ้นส่วนแต่ละคนจะรับผิดชอบหนี้สินตามที่ลงทุนเท่านั้น ห้างหุ้นส่วนสามัญและห้างหุ้นส่วนจำกัด  ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 รูปแบบ ตามความรับผิดชอบของหุ้นส่วนผู้ร่วมลงทุน ได้แก่ หุ้นส่วนแบบจำกัดความรับผิดและหุ้นส่วนแบบไม่จำกัดความรับผิด โดยมีความแตกต่างกันดังนี้  1. หุ้นส่วนจำกัดแบบจำกัดความรับผิด หุ้นส่วนจำกัดแบบจำกัดความรับผิด หมายถึง ผู้ร่วมทุนที่มีความรับผิดชอบในหนี้สินของธุรกิจเฉพาะจำนวนเงินที่ลงทุนเท่านั้น ผู้ร่วมทุนประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบหนี้สินที่เกิดขึ้นมากไปกว่าจำนวนเงินที่ได้ลงทุนไป ทำให้การลงทุนในห้างหุ้นส่วนจำกัดแบบนี้มีความเสี่ยงต่ำกว่าแบบไม่จำกัดความรับผิดจึงค่อนข้างปลอดภัยเพราะผู้ร่วมทุนสามารถคำนวณและจำกัดความเสี่ยงได้ การมีหุ้นส่วนจำกัดแบบนี้ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้ร่วมทุนใหม่ ๆ ที่สนใจลงทุนในธุรกิจ 2. หุ้นส่วนแบบไม่จำกัดความรับผิด หุ้นส่วนแบบไม่จำกัดความรับผิด หมายถึง ผู้ร่วมลงทุนต้องรับผิดชอบหนี้สินของธุรกิจร่วมกันทั้งหมด โดยผู้ร่วมทุนประเภทนี้มักจะมีหน้าที่ในการบริหารธุรกิจโดยตรง เป็นรูปแบบที่มีความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ แต่ก็ต้องแลกมาด้วยความเสี่ยงที่สูงขึ้น ดังนั้น หุ้นส่วนที่มีความรู้และประสบการณ์ในการบริหารธุรกิจจึงเหมาะสมกับการรับผิดชอบในลักษณะนี้ 6 ข้อดีของการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดมีข้อดีมาก ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจขนาดกลาง ซึ่งข้อดีเหล่านี้จะเป็นปัจจัยที่สำคัญในการช่วยผลักดันการทำธุรกิจประสบความสำเร็จและไปได้ด้วยดี โดยข้อดีมีรายละเอียดดังนี้  1. เพิ่มความน่าเชื่อถือ การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดจะทำให้ธุรกิจมีความน่าเชื่อถือกับทั้งลูกค้าเองและคู่ค้าธุรกิจ เพราะการจดทะเบียนทำให้ธุรกิจได้รับการยอมรับตามกฎหมาย และสามารถทำธุรกรรมการเงินต่าง ๆ ได้ง่ายและถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้ผู้ที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลไม่ต้องกังวลใจในการทำธุรกรรมนั้น ๆ ด้วย 2. การระดมทุน ห้างหุ้นส่วนจำกัดมีความยืดหยุ่นในการระดมทุน สามารถเพิ่มจำนวนหุ้นส่วนได้ตามความต้องการของธุรกิจ การมีหุ้นส่วนหลายคนช่วยเสริมสร้างฐานะทางการเงิน และทำให้ธุรกิจมีเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการขยายกิจการที่เพียงพอ การระดมทุนผ่านห้างหุ้นส่วนจำกัดยังเป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็วเมื่อเทียบกับรูปแบบธุรกิจอื่น ๆ 3. จำกัดความรับผิดชอบ ผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัดผู้ถือหุ้นจะไม่ต้องรับผิดในหนี้สินที่เกินกว่าเงินที่ลงทุนไป จึงสามารถจะจำกัดความรับผิดชอบได้ตามจำนวนเงินหรือทรัพย์สินที่ลงทุน เพื่อเป็นการสร้างความปลอดภัยทางการเงินให้กับผู้ร่วมทุนได้มั่นใจด้วยนั่นเอง 4. บริหารจัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัดมีความยืดหยุ่นด้านการบริหารจัดการ ผู้ร่วมทุนจะสามารถแบ่งหน้าที่ได้ตามความเหมาะสมและความสามารถ ซึ่งถ้ามีการบริหารจัดการที่ดีก็จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างมั่นคงและก้าวกระโดด นอกจากนี้ การมีผู้ร่วมทุนหลายคนยังสามารถนำความรู้และความเชี่ยวชาญที่หลากหลายด้านมาพัฒนาธุรกิจได้มากขึ้นอีกด้วย 5. สิทธิประโยชน์ทางภาษี ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะได้รับการลดหย่อนภาษีตามกฎหมาย ซึ่งการใช้สิทธิด้านนี้จะช่วยให้ธุรกิจสามารถลดภาระทางการเงินและเพิ่มกำไรสุทธิให้กับกิจการได้ นอกจากนี้ การวางแผนภาษีอย่างถูกต้องยังส่งผลให้จัดการธุรกิจและเงินทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6. สิทธิประโยชน์อื่น ๆ นอกจากข้อดีทั้ง 5 ข้อที่ได้กล่าวไปแล้ว การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดยังมีสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เช่น ในบางโครงการจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล หรือการเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำกว่า การที่ธุรกิจได้รับการสนับสนุนเหล่านี้จะช่วยให้กิจการมั่นคงและมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น สำหรับผู้ที่ต้องการจัดตั้งธุรกิจในรูปแบบที่มีความยืดหยุ่นและมีความเสี่ยงต่ำ การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดถือเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์มาก ๆ เพราะมีรูปแบบการลงทุนหลากหลาย ระดมทุนได้ง่าย แบ่งความรับผิดชอบได้ชัดเจน มีความน่าเชื่อถือ และมีสิทธิลดหย่อนภาษี จึงทำให้เป็นวิธีที่ช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้ไม่ยากนั่นเอง PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยผู้ประกอบการจัดการเรื่องภาษีและบัญชีได้อย่างถูกต้องรองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

ความรู้บัญชี

ขายของใน Shopee สมัครอย่างไร เสียค่าใช้จ่ายไหม

PEAK Account

9

min

ขายของใน Shopee สมัครอย่างไร เสียค่าใช้จ่ายไหม?

การขายของใน Shopee กลายเป็นทางเลือกยอดนิยมสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจออนไลน์ การขายของในช้อปปี้เป็นแพลตฟอร์มนี้มีผู้ใช้งานจำนวนมากและมีระบบที่ใช้งานง่าย สำหรับผู้ที่สนใจแต่ยังไม่รู้วิธีขายของใน shopee ว่าควรจะเริ่มอย่างไรดี ทำอย่างไรได้บ้าง และเสียค่าใช้จ่ายไหม วันนี้เรามีวิธีการขายของใน Shopee ตั้งแต่วิธีการสมัครขายของใน Shopee และรายละเอียดเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมต่าง ๆ มาฝากทุกคนกันให้สามารถวางแผนการขายของได้ตามเป้าหมายกัน จะเริ่มสมัครขายของใน Shopee อย่างไร การสมัครขายของใน Shopee ทำได้ง่าย ๆ เพียงใช้โทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์ก็สามารถสมัครขายของใน Shopee ได้ทันที โดยสามารถเริ่มต้นสมัครขายของใน Shopee ได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ 1. สร้างบัญชี Shopee ผ่านแอปพลิเคชัน 2. สร้างบัญชี Shopee ผ่านคอมพิวเตอร์ สมัครขายของใน Shopee เสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง การขายของใน Shopee ไม่มีค่าใช้จ่าย ฟรีค่าแรกเข้า แต่ยังมีค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่ผู้ขายควรทราบเพื่อการวางแผนต้นทุนอย่างถูกต้อง ดังนี้ 1. ค่าธรรมเนียมจากการขาย ใน shopee  ค่าธรรมเนียมจากการขายเป็นส่วนที่ Shopee เรียกเก็บเมื่อมีการขายสินค้าสำเร็จ โดยทั่วไปแล้ว Shopee จะคิดค่าธรรมเนียมนี้เป็นเปอร์เซ็นต์ของราคาสินค้าที่ขายได้ ซึ่งอัตราค่าธรรมเนียมอาจแตกต่างกันไปตามหมวดหมู่ของสินค้าและโปรโมชั่น ซึ่งในสินค้าหมวดหมู่อิเล็กทรอนิกส์ จะคิดที่ 3% ส่วนหมวดหมู่อื่น ๆ จะคิดที่ 5% (โดยไม่รวมค่าขนส่งและส่วนลดอื่น ๆ ) 2. ค่าธรรมเนียมชำระเงินแบบปลายทาง การชำระเงินแบบปลายทางหรือ COD (Cash on Delivery) การชำระเงินวิธีนี้ผู้ขายจะมีค่าธรรมเนียมชำระเงินปลายทางที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติม โดยจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียม COD เป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขายที่ชำระผ่านวิธีนี้ โดยจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมชำระปลายทาง ที่ 2% จากผู้ขาย (รวมค่าขนส่งสินค้า ส่วนลด และการใช้ Shopee Coin แล้ว) 3. ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านบัญชีธนาคาร สำหรับการชำระเงินผ่านบัญชีธนาคาร ทั้งการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร หรือ Mobile Banking ผู้ขายต้องเสียค่าธรรมเนียม 2% เปอร์เซ็นต์ของยอดเงินที่ทำธุรกรรม (รวมค่าขนส่งสินค้า ส่วนลด และการใช้ Shopee Coin แล้ว) 4. ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต การชำระเงินผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตเป็นอีกวิธีที่สะดวกสบายสำหรับผู้ซื้อ แต่สำหรับผู้ขายต้องถูกหักค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมเป็นเปอร์เซ็นต์ของยอดเงินที่ทำธุรกรรม โดยจะหัก 2% เมื่อผู้ซื้อชำระค่าสินค้าแล้ว (รวมค่าขนส่งสินค้า ส่วนลด และการใช้ Shopee Coin แล้ว) 5. ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่าน AirPay Wallet การชำระเงิน AirPay Wallet ใน Shopee เป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมอย่างมาก สำหรับผู้ขายการรับชำระเงินผ่าน AirPay Wallet จะมีค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม 2% ของยอดทั้งหมด (รวมค่าขนส่งสินค้า ส่วนลด และการใช้ Shopee Coin แล้ว) 6. ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต แบบผ่อนชำระ การจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตแบบผ่อนชำระ โดยเฉพาะในสินค้าที่มีราคาสูงจะช่วยให้ผู้ซื้อตัดสินใจได้ง่ายขึ้น สำหรับผู้ขายการให้บริการผ่อนชำระนี้จะมีค่าธรรมเนียม 5% โดย 2% มาจากการทำธุรกรรมผ่านบัตรส่วน 3% มาจากการเลือกผ่อนชำระ (รวมค่าขนส่งสินค้า ส่วนลด และการใช้ Shopee Coin แล้ว) 7. ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่าน SpayLater SpayLater เป็นบริการชำระเงินแบบผ่อนชำระที่มอบความยืดหยุ่นแก่ผู้ซื้อ ทำการชำระเงินในภายหลัง สำหรับผู้ขาย การรับชำระเงินผ่าน SpayLater สำหรับผู้ขายจะมีค่าธรรมเนียม 2% ไม่ว่าจะชำระผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันก็ตาม (รวมค่าขนส่งสินค้า ส่วนลด และการใช้ Shopee Coin แล้ว) สรุปบทความ สำหรับผู้ที่อยากเริ่มเส้นทางธุรกิจออนไลน์การขายของใน Shopee ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีมาก ๆ โดยสามารถสมัครขายของใน Shopee ได้ง่าย ๆ ทั้งผ่านแอปพลิเคชันและคอมพิวเตอร์เลย แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดการขายของในช้อปปี้ มีค่าธรรมเนียมต่าง ๆ แฝงอยู่ เราจะต้องมีการทำบัญชีอย่างรอบคอบเพื่อคำนวณความคุ้มค่าของต้นทุนและการคิดโปรโมชั่นส่งเสริมการขาย PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ มีบริการเชื่อมต่อ API กับพันธมิตรแพลตฟอร์ม FASTSHIP (แพลตฟอร์มขนส่งสินค้าและพัสดุ), TORYORDONLINE (แพลตฟอร์มค้าส่งออนไลน์), CLOUDCOMMERCE (แพลตฟอร์มเพื่อธุรกิจ e-Commerceครบวงจร), SELLSUKI (แพลตฟอร์ม e-Commerce Solution สำหรับธุรกิจออนไลน์) เป็นต้น ช่วยให้นักบัญชีทำงานได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น การบันทึกบัญชีเป็นอัตโนมัติมีความรวดเร็ว และถูกต้อง ครบถ้วน ไม่ต้องรอรับเอกสารแล้วค่อยบันทึกบัญชี  ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

ความรู้ธุรกิจ

สินทรัพย์หมุนเวียนมีอะไรบ้าง

PEAK Account

8

min

สินทรัพย์หมุนเวียนมีอะไรบ้าง และมีประโยชน์ต่อนักลงทุนอย่างไร

สินทรัพย์หมุนเวียนเป็นส่วนสำคัญของงบการเงิน มีส่วนช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้ดีและมั่นคงมากขึ้น การมีสินทรัพย์หมุนเวียนที่เพียงพอจะช่วยบริษัทรักษาสภาพคล่องได้ ทั้งการชำระหนี้สินในระยะสั้น และใช้เป็นงบประมาณในดำเนินกิจการให้ไม่สะดุดด้านค่าใช้จ่ายประจำวัน สำหรับใครยังไม่รู้จักว่าสินทรัพย์หมุนเวียนคืออะไร ธุรกิจต่าง ๆ ควรมีสินทรัพย์นี้หรือไม่ เรามีคำตอบมาฝากกัน สินทรัพย์หมุนเวียน คืออะไร สินทรัพย์หมุนเวียน คือ สินทรัพย์ที่สามารถแปลงเป็นเงินสดเพื่อนำมาใช้จ่ายในธุรกิจประจำวันให้ยังคงมีสภาพคล่องได้โดยไม่สะดุด ไม่ว่าตลาดตอนนั้นจะเป็นอย่างไรธุรกิจก็จะมีเงินรองรับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่แน่นอนได้ โดยสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายใน 1 รอบระยะเวลาของการดำเนินธุรกิจหรือ 1 ปี ซึ่งแบ่งออกเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน 10 ชนิดด้วยกัน เช่น เงินสด บัญชีลูกหนี้ สินค้าคงคลัง และรายได้ค้างรับ เป็นต้น สินทรัพย์หมุนเวียน 10 ชนิด มีอะไรบ้าง สินทรัพย์หมุนเวียนสามารถแบ่งออกได้หลายประเภท ซึ่งทั้งหมดนี้มีความสามารถในการเปลี่ยนสภาพเป็นเงินสด ภายในระยะเวลาอันสั้น เช่น ข้อดีของการมีสินทรัพย์หมุนเวียน การมีสินทรัพย์หมุนเวียนเพียงพอ ช่วยให้การทำธุรกิจไม่สะดุดและมีความมั่นคงในอนาคต มีสภาพคล่องทางการเงินในการชำระหนี้ระยะสั้นและพอสำหรับใช้ดำเนินงาน ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นทางการเงินให้ธุรกิจรับมือกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนได้โดยไม่เกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง และการมีสินทรัพย์หมุนเวียนเพียงพอจะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นจากผู้ร่วมลงทุนให้ธุรกิจได้ สินทรัพย์หมุนเวียนมีประโยชน์อย่างไรต่อนักลงทุน สินทรัพย์หมุนเวียนเป็นข้อมูลสำคัญที่นักลงทุนใช้วิเคราะห์สุขภาพทางการเงินของบริษัท โดยจะช่วยวิเคราะห์สภาพคล่อง ทั้งยังช่วยให้นักลงทุนประเมินความเสี่ยงและความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัทได้ หรือช่วย ทำให้นักลงทุนสามารถพิจารณาความเสี่ยงอันเกี่ยวเนื่องกับการลงทุนในบริษัทนั้น ๆ และช่วยตัดสินใจลงทุนในบริษัทดีขึ้นด้วย สินทรัพย์หมุนเวียนเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้การทำธุรกิจ โดยเป็นทรัพยากรที่สามารถแปลงสภาพเป็นเงินสดได้ภายในระยะเวลาอันสั้น การมีสินทรัพย์หมุนเวียนที่เพียงพอช่วยให้ธุรกิจรักษาสภาพคล่องและปรับตัวต่อสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนได้เป็นได้ดี นอกจากนี้ นักลงทุนยังใช้ข้อมูลนี้ในการวิเคราะห์สุขภาพทางการเงินประเมินความแข็งแกร่งของธุรกิจ และตัดสินใจลงทุนในบริษัทได้ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

ความรู้บัญชี

ชวนทำความรู้จักการจดทะเบียน หจก. หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด

PEAK Account

9

min

ชวนทำความรู้จักการจดทะเบียน หจก. หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด

ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือ ที่เรียกว่า หจก. ได้รับความนิยมอย่างมากในการจัดตั้งธุรกิจในประเทศไทย โดยจะใช้การร่วมทุนในการจัดตั้งธุรกิจร่วมกันมากกว่า 2 คนขึ้นไป โดยการจดทะเบียน หจก. หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไม่ยุ่งยากซับซ้อนแถมยังใช้เวลาไม่นาน สำหรับคนที่กำลังจะจัดตั้งบริษัทเราจะขอพาไปรู้จักห้างหุ้นส่วนจำกัดในมุมต่าง ๆ ทั้งรูปแบบในการจัดตั้งและข้อดีของการจดทะเบียน หจก. เพื่อให้มีข้อมูลก่อนตัดสินใจเลือกการจัดตั้งธุรกิจประเภทนี้กัน ห้างหุ้นส่วนจำกัด คืออะไร ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ ธุรกิจที่มีผู้ร่วมทุนอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป โดยผู้ถือหุ้นทุกคนสามารถจัดสรรและตกลงรายละเอียดกันได้ตั้งแต่ต้น ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการเลือกสิ่งของในการลงทุน เช่น ลงทุนด้วยเงิน ทรัพย์สิน แรงงาน หรือสิ่งอื่นก็ได้แล้วแต่จะตกลงกัน และต้องมีการคำนวณหุ้นที่เป็นสินทรัพย์และแรงงานออกมาเป็นจำนวนเงิน โดยมีทุนจดทะเบียนที่แยกจากเงินส่วนตัว และหุ้นส่วนแต่ละคนจะรับผิดชอบหนี้สินตามที่ลงทุนเท่านั้น ห้างหุ้นส่วนสามัญและห้างหุ้นส่วนจำกัด  ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 รูปแบบ ตามความรับผิดชอบของหุ้นส่วนผู้ร่วมลงทุน ได้แก่ หุ้นส่วนแบบจำกัดความรับผิดและหุ้นส่วนแบบไม่จำกัดความรับผิด โดยมีความแตกต่างกันดังนี้  1. หุ้นส่วนจำกัดแบบจำกัดความรับผิด หุ้นส่วนจำกัดแบบจำกัดความรับผิด หมายถึง ผู้ร่วมทุนที่มีความรับผิดชอบในหนี้สินของธุรกิจเฉพาะจำนวนเงินที่ลงทุนเท่านั้น ผู้ร่วมทุนประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบหนี้สินที่เกิดขึ้นมากไปกว่าจำนวนเงินที่ได้ลงทุนไป ทำให้การลงทุนในห้างหุ้นส่วนจำกัดแบบนี้มีความเสี่ยงต่ำกว่าแบบไม่จำกัดความรับผิดจึงค่อนข้างปลอดภัยเพราะผู้ร่วมทุนสามารถคำนวณและจำกัดความเสี่ยงได้ การมีหุ้นส่วนจำกัดแบบนี้ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้ร่วมทุนใหม่ ๆ ที่สนใจลงทุนในธุรกิจ 2. หุ้นส่วนแบบไม่จำกัดความรับผิด หุ้นส่วนแบบไม่จำกัดความรับผิด หมายถึง ผู้ร่วมลงทุนต้องรับผิดชอบหนี้สินของธุรกิจร่วมกันทั้งหมด โดยผู้ร่วมทุนประเภทนี้มักจะมีหน้าที่ในการบริหารธุรกิจโดยตรง เป็นรูปแบบที่มีความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ แต่ก็ต้องแลกมาด้วยความเสี่ยงที่สูงขึ้น ดังนั้น หุ้นส่วนที่มีความรู้และประสบการณ์ในการบริหารธุรกิจจึงเหมาะสมกับการรับผิดชอบในลักษณะนี้ 6 ข้อดีของการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดมีข้อดีมาก ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจขนาดกลาง ซึ่งข้อดีเหล่านี้จะเป็นปัจจัยที่สำคัญในการช่วยผลักดันการทำธุรกิจประสบความสำเร็จและไปได้ด้วยดี โดยข้อดีมีรายละเอียดดังนี้  1. เพิ่มความน่าเชื่อถือ การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดจะทำให้ธุรกิจมีความน่าเชื่อถือกับทั้งลูกค้าเองและคู่ค้าธุรกิจ เพราะการจดทะเบียนทำให้ธุรกิจได้รับการยอมรับตามกฎหมาย และสามารถทำธุรกรรมการเงินต่าง ๆ ได้ง่ายและถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้ผู้ที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลไม่ต้องกังวลใจในการทำธุรกรรมนั้น ๆ ด้วย 2. การระดมทุน ห้างหุ้นส่วนจำกัดมีความยืดหยุ่นในการระดมทุน สามารถเพิ่มจำนวนหุ้นส่วนได้ตามความต้องการของธุรกิจ การมีหุ้นส่วนหลายคนช่วยเสริมสร้างฐานะทางการเงิน และทำให้ธุรกิจมีเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการขยายกิจการที่เพียงพอ การระดมทุนผ่านห้างหุ้นส่วนจำกัดยังเป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็วเมื่อเทียบกับรูปแบบธุรกิจอื่น ๆ 3. จำกัดความรับผิดชอบ ผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัดผู้ถือหุ้นจะไม่ต้องรับผิดในหนี้สินที่เกินกว่าเงินที่ลงทุนไป จึงสามารถจะจำกัดความรับผิดชอบได้ตามจำนวนเงินหรือทรัพย์สินที่ลงทุน เพื่อเป็นการสร้างความปลอดภัยทางการเงินให้กับผู้ร่วมทุนได้มั่นใจด้วยนั่นเอง 4. บริหารจัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัดมีความยืดหยุ่นด้านการบริหารจัดการ ผู้ร่วมทุนจะสามารถแบ่งหน้าที่ได้ตามความเหมาะสมและความสามารถ ซึ่งถ้ามีการบริหารจัดการที่ดีก็จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างมั่นคงและก้าวกระโดด นอกจากนี้ การมีผู้ร่วมทุนหลายคนยังสามารถนำความรู้และความเชี่ยวชาญที่หลากหลายด้านมาพัฒนาธุรกิจได้มากขึ้นอีกด้วย 5. สิทธิประโยชน์ทางภาษี ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะได้รับการลดหย่อนภาษีตามกฎหมาย ซึ่งการใช้สิทธิด้านนี้จะช่วยให้ธุรกิจสามารถลดภาระทางการเงินและเพิ่มกำไรสุทธิให้กับกิจการได้ นอกจากนี้ การวางแผนภาษีอย่างถูกต้องยังส่งผลให้จัดการธุรกิจและเงินทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6. สิทธิประโยชน์อื่น ๆ นอกจากข้อดีทั้ง 5 ข้อที่ได้กล่าวไปแล้ว การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดยังมีสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เช่น ในบางโครงการจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล หรือการเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำกว่า การที่ธุรกิจได้รับการสนับสนุนเหล่านี้จะช่วยให้กิจการมั่นคงและมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น สำหรับผู้ที่ต้องการจัดตั้งธุรกิจในรูปแบบที่มีความยืดหยุ่นและมีความเสี่ยงต่ำ การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดถือเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์มาก ๆ เพราะมีรูปแบบการลงทุนหลากหลาย ระดมทุนได้ง่าย แบ่งความรับผิดชอบได้ชัดเจน มีความน่าเชื่อถือ และมีสิทธิลดหย่อนภาษี จึงทำให้เป็นวิธีที่ช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้ไม่ยากนั่นเอง PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยผู้ประกอบการจัดการเรื่องภาษีและบัญชีได้อย่างถูกต้องรองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

ความรู้บัญชี