ใบกำกับภาษี (Tax invoice) คือเอกสารหลักฐานสำคัญที่ผู้ประกอบการจดทะเบียน VAT จัดทำให้เมื่อมีการขายสินค้า/บริการ โดยระบุราคาสินค้าและภาษีให้ชัดเจน
การสร้างเอกสารใบกำกับภาษีในรูปแบบต่างๆ
บทความนี้อธิบายวิธี สร้างเอกสารใบกำกับภาษี ในรูปแบบต่างๆ โดยละเอียด ตั้งแต่แนวทางการออกและตัวอย่างประกอบ ช่วยให้คุณเข้าใจและทำตามได้ง่ายในระบบบัญชีของคุณ
ใบกำกับภาษี คืออะไร
ใครมีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี
- ผู้ประกอบการที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียน VAT ภายใน 30 วัน
- ผู้มีหน้าที่ออกคือผู้ประกอบการจดทะเบียน VAT (ภาษีขาย – ภาษีซื้อ)
หลักเกณฑ์การออกใบกำกับภาษี
1. การขายสินค้า
- การส่งมอบสินค้า
- รับชำระมัดจำก่อนส่งสินค้า
1.1 การออกเมื่อส่งมอบ – เมื่อส่งมอบสินค้า ถึงแม้ยังไม่ชำระ
1.2 การออกเมื่อรับชำระก่อนส่ง – หากรับชำระก่อนส่งสินค้า
1.3 การออกเมื่อโอนกรรมสิทธิ์ก่อนส่ง – เมื่อโอนกรรมสิทธิ์ ถึงแม้ยังไม่ส่งสินค้า/ไม่ชำระ

2. การให้บริการ
- รับชำระก่อนให้บริการ
- ให้บริการก่อนรับชำระ
2.1 ออกเมื่อรับชำระก่อนให้บริการ
2.2 ออกเมื่อให้บริการก่อนรับชำระ
โดยทั่วไปควรออกเมื่อรับชำระ แม้การให้บริการอาจเกิดก่อนก็ตาม

ผู้ประกอบการต้องจัดเก็บต้นฉบับและสำเนาใบกำกับภาษีไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี
ระบบ PEAK สามารถออกเอกสารได้ 3 รูปแบบ:
- รูปแบบที่ 1 ใบแจ้งหนี้/ใบกำกับภาษี ตามมาตรา 78
- รูปแบบที่ 2 ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ตามมาตรา 78/1
- รูปแบบที่ 3 ใบกำกับภาษีอ้างอิงจากใบแจ้งหนี้/ใบเสร็จ มาตรา 86/4
รูปแบบที่ 1 ใบแจ้งหนี้/ใบกำกับภาษีเข้าสู่คู่มือ การสร้างใบแจ้งหนี้/ใบกำกับภาษี
รูปแบบที่ 2 ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีเข้าสู่คู่มือ การสร้างใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี
รูปแบบที่ 3 ใบกำกับภาษีแยกเข้าสู่คู่มือ การสร้างใบกำกับภาษีแบบแยก
ฟังก์ชันแนะนำจากโปรแกรม PEAK
– จบขั้นตอนการในการสร้างเอกสารใบกำกับภาษีในรูปแบบต่างๆ-