บัญชีทั่วไป

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

8 min

สินทรัพย์หมุนเวียนคืออะไร สำคัญต่อธุรกิจของเราอย่างไร

สินทรัพย์หมุนเวียนเป็นส่วนสำคัญของงบการเงิน มีส่วนช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้ดีและมั่นคงมากขึ้น การมีสินทรัพย์หมุนเวียนที่เพียงพอจะช่วยบริษัทรักษาสภาพคล่องได้ ทั้งการชำระหนี้สินในระยะสั้น และใช้เป็นงบประมาณในดำเนินกิจการให้ไม่สะดุดด้านค่าใช้จ่ายประจำวัน สำหรับใครยังไม่รู้จักว่าสินทรัพย์หมุนเวียนคืออะไร ธุรกิจต่าง ๆ ควรมีสินทรัพย์นี้หรือไม่ เรามีคำตอบมาฝากกัน สินทรัพย์หมุนเวียน คืออะไร สินทรัพย์หมุนเวียน คือ สินทรัพย์ที่สามารถแปลงเป็นเงินสดเพื่อนำมาใช้จ่ายในธุรกิจประจำวันให้ยังคงมีสภาพคล่องได้โดยไม่สะดุด ไม่ว่าตลาดตอนนั้นจะเป็นอย่างไรธุรกิจก็จะมีเงินรองรับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่แน่นอนได้ โดยสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายใน 1 รอบระยะเวลาของการดำเนินธุรกิจหรือ 1 ปี ซึ่งแบ่งออกเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน 10 ชนิดด้วยกัน เช่น เงินสด บัญชีลูกหนี้ สินค้าคงคลัง และรายได้ค้างรับ เป็นต้น สินทรัพย์หมุนเวียน 10 ชนิด มีอะไรบ้าง สินทรัพย์หมุนเวียนสามารถแบ่งออกได้หลายประเภท ซึ่งทั้งหมดนี้มีความสามารถในการเปลี่ยนสภาพเป็นเงินสด ภายในระยะเวลาอันสั้น เช่น ข้อดีของการมีสินทรัพย์หมุนเวียน การมีสินทรัพย์หมุนเวียนเพียงพอ ช่วยให้การทำธุรกิจไม่สะดุดและมีความมั่นคงในอนาคต มีสภาพคล่องทางการเงินในการชำระหนี้ระยะสั้นและพอสำหรับใช้ดำเนินงาน ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นทางการเงินให้ธุรกิจรับมือกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนได้โดยไม่เกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง และการมีสินทรัพย์หมุนเวียนเพียงพอจะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นจากผู้ร่วมลงทุนให้ธุรกิจได้ สินทรัพย์หมุนเวียนมีประโยชน์อย่างไรต่อนักลงทุน สินทรัพย์หมุนเวียนเป็นข้อมูลสำคัญที่นักลงทุนใช้วิเคราะห์สุขภาพทางการเงินของบริษัท โดยจะช่วยวิเคราะห์สภาพคล่อง ทั้งยังช่วยให้นักลงทุนประเมินความเสี่ยงและความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัทได้ หรือช่วย ทำให้นักลงทุนสามารถพิจารณาความเสี่ยงอันเกี่ยวเนื่องกับการลงทุนในบริษัทนั้น ๆ และช่วยตัดสินใจลงทุนในบริษัทดีขึ้นด้วย สินทรัพย์หมุนเวียนเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้การทำธุรกิจ โดยเป็นทรัพยากรที่สามารถแปลงสภาพเป็นเงินสดได้ภายในระยะเวลาอันสั้น การมีสินทรัพย์หมุนเวียนที่เพียงพอช่วยให้ธุรกิจรักษาสภาพคล่องและปรับตัวต่อสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนได้เป็นได้ดี นอกจากนี้ นักลงทุนยังใช้ข้อมูลนี้ในการวิเคราะห์สุขภาพทางการเงินประเมินความแข็งแกร่งของธุรกิจ และตัดสินใจลงทุนในบริษัทได้ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

8 min

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนคืออะไร ต่างจากสินทรัพย์หมุนเวียนอย่างไร

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเป็นทรัพยากรหรือสิ่งที่ธุรกิจถือครองเพื่อการดำเนินธุรกิจในระยะยาว โดยปกติแล้วสินทรัพย์เหล่านี้ไม่สามารถนำมาเพื่อเปลี่ยนเป็นเงินสดได้แบบรวดเร็ว และไม่ค่อยมีผลกับการดำเนินกิจการรายวัน แต่เป็นการลงทุนระยะยาวที่สามารถขับเคลื่อนการเติบโตและสามารถทำกำไรให้บริษัทได้ ผู้ที่จะบริหารธุรกิจในระยะยาวให้ประสบความสำเร็จ จึงควรทำความเข้าใจและรู้วิธีการบริหารจัดการสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนนี้ ความสำคัญของการรู้สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน การเข้าใจเรื่องสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารธุรกิจ เพราะสินทรัพย์ประเภทนี้มักมีมูลค่าสูงและเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการดำเนินกิจการ การรู้จักบริหารจัดการสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนจะทำให้ธุรกิจมีโอกาสประสบความสำเร็จได้ในอนาคต โดยเฉพาะในด้านการวางแผนการลงทุนว่ามีความคุ้มค่าหรือไม่และจะบริหารต้นทุนหรือกำหนดแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมอย่างไร นอกจากนี้ ยังช่วยในการคำนวณค่าเสื่อมราคา วางแผนการบำรุงรักษา และควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดีอีกด้วย สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนคืออะไร สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน คือ สินทรัพย์ที่ธุรกิจใช้ในการทำธุรกิจเพื่อสร้างรายได้ในระยะยาว โดยไม่สามารถแปลงสภาพเป็นเงินสดได้ภายในหนึ่งปี เช่น ที่ดิน อาคาร เครื่องจักร ยานพาหนะ สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ และรวมถึงการลงทุนในบริษัทอื่น ๆ ทั้งสินทรัพย์ที่มีตัวตนและสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนต่างจากสินทรัพย์หมุนเวียนอย่างไร สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนและสินทรัพย์หมุนเวียนจะแตกต่างกันเรื่องของการใช้งานและระยะเวลา โดยสินทรัพย์หมุนเวียนสามารถแปลงเป็นเงินสดได้ภายในหนึ่งปี เช่น เงินสด บัญชีลูกหนี้ หรือสินค้าคงคลัง ในขณะที่สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนมีระยะเวลาการใช้งานที่ยาวนานกว่าและไม่ได้มีไว้เพื่อขายหรือแปลงเป็นเงินสดในระยะเวลาอันสั้น ลักษณะของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงและสามารถใช้งานได้ยาวนาน สินทรัพย์เหล่านี้ไม่ได้มีไว้สำหรับขายหรือใช้งานในระยะสั้น แต่มีบทบาทในการทำธุรกิจในระยะยาว โดยลักษณะของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนยังรวมถึงสินทรัพย์ที่มีความทนทาน สามารถสร้างรายได้ในอนาคต และสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ประเภทของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ไม่มีสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 10 ชนิด ที่มากเท่าสินทรัพย์หมุนหมุนเวียน รายละเอียดดังนี้ 1. สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่มีตัวตน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่มีตัวตน คือ สินทรัพย์ที่มองเห็นและสามารถจับต้องได้ ซึ่งมีมูลค่าและช่วยสนับสนุนการดำเนินธุรกิจ เช่น ที่ดิน อาคาร โรงงาน เครื่องจักร ทรัพยากรธรรมชาติ ยานพาหนะ เฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ สินทรัพย์เหล่านี้มักมีอายุการใช้งานยาวนาน โดยทั่วไปสินทรัพย์เหล่านี้มักจะมีค่าเสื่อมราคา ซึ่งแสดงถึงมูลค่าที่ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป เนื่องจากการสึกหรอ ความล้าสมัย หรือปัจจัยอื่นๆ 2. สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่จับต้องไม่ได้ สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่จับต้องไม่ได้ คือ สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนทางกายภาพ แต่มีมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจ เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ค่าความนิยม การจดจำแบรนด์ ความสัมพันธ์กับลูกค้า ใบอนุญาตซอฟต์แวร์ และข้อตกลงแฟรนไชส์ สินทรัพย์ประเภทนี้เป็นสินทรัพย์ที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถแข่งขันและสร้างรายได้ในระยะยาว โดยสินทรัพย์เหล่านี้ไม่มีการคิดค่าเสื่อมราคา แต่อาจเกิดการด้อยค่าหากมูลค่าลดลงเนื่องจากสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลง การแข่งขัน หรือปัจจัยอื่น ๆ สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนมีประโยชน์อย่างไรต่อนักลงทุน บริษัทมีสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนจำนวนมาก เช่น ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ อาจหมายความว่าบริษัทมีกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจเพื่อให้มีการเติบโตในระยะยาว ซึ่งช่วยให้เหล่านักลงทุนตัดสินใจเลือกลงทุนได้ง่าย หรือบริษัทที่มีสิทธิบัตรหรือเครื่องหมายการค้าจำนวนมาก อาจมีมูลค่าโดยรวมที่สูงกว่าบริษัทที่มีสินทรัพย์ไม่มีตัวตนน้อยกว่า หรือประเมินว่าบริษัทสามารถรับมือกับเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนได้ไหม รวมถึงสามารถดูข้อมูลด้านการเงินและความมั่นคงของบริษัทได้ว่ามีโอกาสในการรักษาการเติบโตระยะยาวได้ดีกว่าไหม สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเป็นทรัพยากรที่ทำให้ธุรกิจมีโอกาสการเติบโตในระยะยาว ซึ่งมีทั้งประเภทที่จับต้องได้และไม่ได้ มีความสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความมั่นคง สร้างรายได้ ในระยะยาว และการเติบโตของธุรกิจในอนาคตได้ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยผู้ประกอบการจัดการเรื่องภาษีและบัญชีได้อย่างถูกต้องรองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

12 min

เงินทุนหมุนเวียน Working Capital คืออะไร ดูในงบการเงินยังไง

ในโลกของธุรกิจการบริหารเงินทุนหมุนเวียน หรือ Working Capital คือหัวใจสำคัญที่ช่วยดำเนินธุรกิจให้สามารถเดินหน้าต่อไปได้อย่างดีมากขึ้น สรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ เงินทุนหมุนเวียนนั้นเปรียบเสมือนน้ำช่วยหล่อเลี้ยงธุรกิจ เพราะมันคือเงินสดให้ธุรกิจไว้ใช้เป็นค่าใช้จ่ายประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายค่าวัตถุดิบ ค่าจ้างพนักงาน หรือจ่ายหนี้ต่าง ๆ ดังนั้น การบริหารเงินทุนหมุนเวียนก้อนนี้ให้เกิดประสิทธิภาพ ก็เหมือนกับการดูแลสุขภาพของธุรกิจให้แข็งแรง ทำให้ธุรกิจอยู่รอดและเติบโตได้อย่างมั่นคง เงินทุนหมุนเวียนหรือ Working Capital คืออะไร? เงินทุนหมุนเวียน หรือ Working Capital คือ ตัวหล่อเลี้ยงที่ช่วยกิจการดำเนินธุรกิจไปอย่างไม่มีปัญหา เพราะเป็นเงินทุนที่ธุรกิจต้องใช้ในการดำเนินธุรกิจในแต่ละวัน เพื่อให้กิจการสามารถเดินไปข้างหน้าได้อย่างไม่ติดขัด ซึ่งเงินทุนหมุนเวียนนั้นจะใช้การคำนวณจาก สินทรัพย์หมุนเวียน หักลบด้วย หนี้สินหมุนเวียน เพื่อทำให้เห็นถึงสถานะทางการเงินของบริษัทว่ามีสภาพคล่องเป็นอย่างไร อ่านเพิ่มเติม : วิธีบริหาร Cash Flow เสริมสภาพคล่องทางธุรกิจ ความสำคัญของ Working Capital ต่อธุรกิจ เงินทุนหมุนเวียนเป็นดั่งตัวที่ช่วยหล่อเลี้ยงธุรกิจ เพราะเป็นเงินทุนที่ให้ธุรกิจใช้จ่ายในประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อวัตถุดิบ จ่ายค่าใช้จ่าย หรือชำระหนี้ระยะสั้นต่าง ๆ เมื่อธุรกิจมีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอ ก็จะสามารถชำระหนี้ได้ตรงเวลา ทำให้ธุรกิจมีเครดิตที่ดี มีความน่าเชื่อถือ และทำให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนอื่น ๆ ได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างมั่นคงและมีประสิทธิภาพ ดูเงินทุนหมุนเวียนในงบการเงินยังไงบ้าง การดูเงินทุนหมุนเวียนในงบการเงิน หรือ Net Working Capital คือ การดูจำนวนสินทรัพย์หมุนเวียนทั้งหมดในธุรกิจ ซึ่งได้มาจากผลต่างจากการหักลบระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียน โดยมีความแตกต่างกัน ดังนี้  สินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets) คือ สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายในระยะเวลาอันสั้น (โดยทั่วไปคือภายใน 1 ปี) สินทรัพย์เหล่านี้จึงเปรียบเสมือนเลือดที่หล่อเลี้ยงให้กับธุรกิจดำเนินงานไปได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสินทรัพย์หมุนเวียนจะประกอบด้วยปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ หนี้สินหมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities) คือ หนี้สินของธุรกิจที่ต้องชำระคืนภายในระยะเวลาอันสั้น โดยทั่วไปคือภายใน 1 ปี หรือภายในรอบบัญชีของธุรกิจนั้น ๆ โดยหนี้สินเหล่านี้จะใช้ในการดำเนินธุรกิจประจำวัน และเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสภาพคล่องธุรกิจ ซึ่งในส่วนของหนี้สินหมุนเวียนจะมีดังนี้ ธุรกิจควรมีเงินทุนหมุนเวียนเท่าไหร่ สำหรับคำถามที่ว่าธุรกิจควรมีเงินทุนหมุนเวียนเท่าไหร่นั้น ไม่ได้มีคำตอบที่ตายตัว สาเหตุเป็นเพราะปริมาณเงินทุนหมุนเวียนที่เหมาะสมจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละธุรกิจ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ทำยังไงถึงจะเพิ่มเงินทุนหมุนเวียนได้ การเพิ่มเงินทุนหมุนเวียน ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจทุกขนาด เพื่อให้การทำธุรกิจราบรื่นและมีสภาพคล่องเพียงพอ ซึ่งก็มีหลายวิธีที่สามารถปรับใช้เพิ่มเงินทุนหมุนเวียนได้ ดังนี้ 1. บริหารจัดการสินทรัพย์ที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 2. หาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติม 3. ปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจ 4. เพิ่มยอดขายและรายได้ เงินทุนหมุนเวียนเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมธุรกิจ ซึ่งถ้าสามารถจัดการเงินทุนหมุนเวียนอย่างเป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นการหาแหล่งทุนหมุนเวียน หรือการเพิ่มทุนก็ตาม ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยทำให้ธุรกิจมีโอกาสเติบโตยั่งยืนและมั่นคงในระยะยาว รวมถึงยังสามารถรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ดีอีกด้วย เพื่อสนับสนุนการจัดการเงินทุนหมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ จึงเป็นตัวช่วยที่ตอบโจทย์ ด้วยฟีเจอร์การจัดการบัญชีและการเงินครบวงจร ที่ช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถวางแผนและบริหารทรัพยากรได้อย่างเป็นระบบ ช่วยลดความซับซ้อนของงานบัญชี และเสริมสร้างความมั่นใจในทุกการตัดสินใจทางการเงิน ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

29 พ.ย. 2024

จักรพงษ์

9 min

3 ขั้นตอนพื้นฐานในการจัดทำงบประมาณ

คุณเคยทำธุรกิจไปอย่างไรเป้าหมายไหม? ทำไปเรื่อยๆ รายได้เติบโตขึ้นก็ดีใจ รายได้ลดลงก็เสียใจแต่ธุรกิจก็ยังไปต่อได้ คำถาม คือ ธุรกิจโตแค่ไหนที่เราจะถือว่าปีนั้นประสบความสำเร็จหรือทำได้ตามเป้าหมาย หรือรายได้ลดลงแค่ไหนที่ถือว่าธุรกิจอยู่ในภาวะเสี่ยง คำถามเหล่านี้สามารถตอบได้ด้วยการกำหนดตัวเลขหนึ่งขึ้นมาเพื่อเป็นเป้าหมายที่จะต้องบรรลุให้ได้ในปีนั้น เช่น รายได้ปีนี้ต้องมากกว่าปีที่แล้ว 200% ถ้าเราทำได้ก็ถือว่าบรรลุเป้าหมายขององค์กรและยังสามารถใช้เป็น KPI ของฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างรายได้ได้ เช่น แผนกขาย แผนกหาลูกค้า เป็นต้น ที่เราพูดกันไปข้างต้นไม่ได้มีแค่มิติในมุมของรายได้ แต่ยังสามารถประยุกต์ใช้กับรายจ่ายได้เช่นกัน รายจ่ายปีนี้ต้องน้อยกว่าปีที่แล้ว หรือให้เพิ่มขึ้นได้ตามสัดส่วนของยอดขาย ถ้ารายจ่ายที่เกิดขึ้นจริงเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ถือว่าแผนกที่เกี่ยวข้องไม่สามารถบรรลุเป้าหมายด้านรายจ่ายนั้นๆ ได้ เช่น แผนกการตลาด แผนกผลิต เป็นต้น สิ่งที่พูดมาข้างต้นคือส่วนหนึ่งของการทำงบประมาณ หรือที่เราเรียกว่าการทำ Budgeting นั่นเอง เชื่อว่าพอเฉลยมาถึงจุดนี้ทุกคนก็น่าจะร้อง อ๋อ มากขึ้น การจัดทำงบประมาณ (Budgeting) คืออะไร? การจัดทำงบประมาณ (ฺBudgeting) คือ การวางแผนรายได้-รายจ่ายล่วงหน้าเป็นตัวเลข ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของตัวเงินหรือปริมาณ เช่น กำหนดเป็นจำนวนเงินบาท ปริมาณชิ้นที่ขายได้ หรือจำนวนครั้งที่ใช้ เป็นต้น ซึ่งตัวเลขจะถูกกำหนดตามรอบที่ใช้วัดผล เช่น เป็นรายเดือน รายไตรมาส รายครึ่งหรือ หรือรายปีก็ได้ ไม่ว่าจะวัดผลเป็นรายใดก็ตาม เมื่อครบกำหนดรอบการวัดผล ผู้บริหารจะต้องนำตัวเลขที่เกิดขึ้นจริงมาเทียบกับงบประมาณที่วางแผนไว้ว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ ซึ่งอาจจะดีหรือแย่กว่าที่ประมาณการไว้ก็ได้ แต่ตัวเลขที่แตกต่างจากผลที่วางไว้ จะต้องหาสาเหตุให้ได้ว่าเกิดจากปัจจัยใดเพื่อวิเคราะห์สาเหตุและใช้ช่วยวางแผนในการจัดทำงบประมาณในครั้งถัดไปได้ 3 ขั้นตอนพื้นฐานในการจัดทำงบประมาณ 1. กำหนดตัวเลขที่อยากได้และเป็นไปได้ เริ่มจากกำหนดเป้าหมาย และกลยุทธ์ของกิจการก่อนว่าอยากไปไกลแค่ไหน เร็วแค่ไหน ด้วยวิธีอะไร เช่น ฝั่งรายได้ ถ้าอยากเติบโตเร็ว ต้องกำหนดเป้าที่ท้าทาย เช่น ยอดขายเพิ่มขึ้น 200-300% พร้อมกำหนดวิธีการที่จะทำให้ยอดขายเป็นไปตามที่กำหนดได้จริง 2. รู้ว่าอะไรที่ขับเคลื่อน (Driver) รายได้และรายจ่าย เช่น ยอดขายอาจถูกขับเคลื่อนด้วยจำนวนชิ้นของสินค้าที่ขายได้ หรือจำนวนตัวแทนจำหน่ายที่หาได้ในแต่ละปี ส่วนค่าใช้จ่ายอาจกำหนดจากจำนวนวัตถุดิบที่ควรใช้ในการผลิตสินค้า 1 ชิ้น หรือจำนวนต้นทุนค่ายิงโฆษณาต่อลูกค้า 1 คนที่หาได้ เป็นต้น สิ่งที่ควรรู้ คือ ตัวขับเคลื่อน(driver)รายได้และรายจ่ายของแต่ละประเภทธุรกิจมีไม่เหมือนกัน ไม่สามารถเลียนแบบของคนอื่นได้ แต่โดยทั่วไปในอุตสาหกรรมเดียวกันจะใช้ตัวขับเคลื่อนคล้ายๆ กัน เช่น ธุรกิจโรงแรมตัวขับเคลื่อนรายได้ คือ จำนวนห้องที่ลูกค้าใช้บริการ แต่ในธุรกิจขายสินค้า จะใช้จำนวนสินค้าที่ขายได้ เป็นต้น 3. ทบทวนภาพรวม เมื่อกำหนดตัวเลขประมาณการของรายได้และรายจ่ายเสร็จแล้ว ให้ทำการทบทวนว่ารายได้ที่กำหนดสอดคล้องกับรายจ่ายที่กำหนดหรือไม่ บางครั้งอาจพบว่าตั้งเป้ายอดขายจากจำนวนชิ้นที่ขายได้สูงขึ้นมาก แต่รายจ่ายด้านการขายและการตลาดเท่าเดิมหรือลดลง ทำให้เราอาจพบความไม่สอดคล้องระหว่างรายได้และรายจ่ายในบางกรณีได้ จริงๆ แล้วขั้นตอนการจัดทำงบประมาณแบบสมบูรณ์มีรายละเอียดที่เยอะกว่านี้มาก แต่ในซีรีย์บทความนี้เราเน้นเรื่องที่เป็นพื้นฐานสำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ให้สามารถนำไปใช้ได้โดยง่ายและเข้าใจเร็วที่สุด จึงไม่ได้อธิบายขั้นตอนการจัดทำแบบละเอียดนั่นเอง ตัวอย่างงบประมาณการในระยะเวลา 1 ปี ในฝั่งรายได้ อาจจะไม่ค่อยมีความซับซ้อน เพราะมักมีรายได้หลักของกิจการประเภทเดียว ทำให้การประมาณการจะง่าย เช่น กำหนดเป็นยอดรายได้ที่ต้องการ หรือ% ที่เพิ่มขึ้นของแต่ละไตรมาส เป็นต้น สำหรับส่วนของรายจ่าย มักจะไม่สามารถกำหนดยอดประมาณการเป็นก้อนเดียวได้ เพราะรายจ่ายมีหลายประเภท และแต่ละประเภทจะมีตัวขับเคลื่อน(driver) ที่แตกต่างกัน การจัดทำงบประมาณ (ฺBudgeting) คือ การวางแผนรายได้-รายจ่ายล่วงหน้าเป็นตัวเลขสำหรับรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น ตัวเลขสำหรับรายได้ รายจ่ายที่ต้องทำได้ภายใน 3 เดือน 6 เดือน หรือ 12 เดือน การวางแผนตัวเลขล่วงหน้า จะช่วยให้การทำธุรกิจสนุก เพราะมีเป้าหมาย และจะหาวิธีเพื่อทำให้เป้าหมายนั้นบรรลุให้ได้ สุดท้ายเมื่อครบกำหนดรอบการวัดผล ผู้บริหารจะต้องนำตัวเลขที่เกิดขึ้นจริงมาเทียบกับตัวเลขที่วางแผนว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ พร้อมหาสาเหตุว่าอะไรเป็นปัจจัยเชิงบวกและเชิงลบของตัวเลขเหล่านั้น เพื่อใช้ในการวางแผนงบประมาณในครั้งถัดไป สำหรับในตอนถัดไป เราจะคุยกันในเรื่องการใช้เงินให้ถูกประเภท เช่น เงินกู้ที่มาระยะสั้นเพียง 3 เดือน แต่บริษัทนำไปลงทุนก่อสร้างสินทรัพย์ที่ใช้เวลานาน 1 ปี หรือเงินที่กู้มาระยะยาวแต่ใช้สำหรับใช้จ่ายในระยะสั้น ดีหรือไม่ดี และจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของธุรกิจอย่างไรบ้าง เราจะมาไขคำตอบกันในตอนหน้า โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

22 ส.ค. 2024

จักรพงษ์

10 min

วงจรเงินสด (Cash Cycle) สิ่งกำหนดโชคชะตา SMEs

สิ่งหนึ่งที่เรารู้มาจนถึงตอนนี้ว่าแม้ธุรกิจจะสร้างกำไรได้มากมายขนาดไหน แต่ถ้าบริหารเงินสดไม่ได้ดี ไม่เข้าใจการไหลเวียนของเงิน อาจทำให้ธุรกิจของเราสะดุด เพราะไม่มีเงินมาซื้อสินค้าหรือจ่ายเจ้าหนี้ได้ ใน Ep ก่อนหน้านี้ได้สอนให้เราได้รู้แล้วว่ากิจการเรามีปัญหาเรื่องเงินสดไหม ไม่ว่าจะเป็นการเช็คเงินคงเหลือ การดูเงินสดเข้าออกในแต่ละกิจกรรมของงบกระแสเงินสด รวมถึงการคำนวณระยะเวลาคงเหลือก่อนที่กิจการจะไม่มีเงินใช้ แต่คำตอบที่ยังไม่ได้หา คือ แล้วปัญหาเงินสดที่เกิดขึ้น มีสาเหตุมาจากอะไร? เรามีสิ่งหนึ่งที่จะนำมาช่วยไขคำตอบนี้ได้ คือ การวิเคราะห์ ‘วงจรเงินสด (Cash Cycle)’ วงจรเงินสด (Cash Cycle) คืออะไร? ในทางทฤษฎีเรามีตัววัดหนึ่งที่เรียกกันว่า ‘วงจรเงินสด (Cash Cycle)’ ซึ่งค่าที่ได้จะบอกจำนวนวันที่กิจการจะได้รับเงินสดจากการดำเนินงาน เราเรียกมันว่า ‘วงจร’ เพราะสูตรจะคำนวณระยะเวลาตั้งแต่ซื้อสินค้า ระยะเวลาที่สินค้าที่อยู่ในคลัง จนถึงระยะเวลาที่จะเก็บเงินจากลูกหนี้ได้เมื่อสินค้าถูกขายออกไป สรุปอีกครั้งคือ วงจรเงินสด จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะเวลา ได้แก่  1. การซื้อสินค้าและจ่ายเงินให้เจ้าหนี้  2. การเก็บสินค้าในสต๊อกไว้นานแค่ไหน  3. เมื่อขายสินค้าแล้วเก็บเงินจากลูกหนี้ได้ภายในกี่วัน ซึ่งถ้าเราคำนวณทั้ง 3 เรื่องนี้ได้ ก็จะรู้ทันทีว่าปัญหาเงินสดไปอยู่ที่ส่วนไหนของกิจการ แต่ก่อนที่จะคำนวณขึ้นเป็นวงจรเงินสดได้นั้น เราต้องแยกคำนวณแต่ละส่วนก่อน จึงค่อยนำมาบวกหรือลบกัน เรามาเริ่มทีละส่วนกันได้เลยครับ 3 วงจรเงินสด (Cash Cycle) ที่ผู้ประกอบการควรวิเคราะห์ วงจรที่ 1 : วงจรสินค้า (ยิ่งขายสินค้าเร็ว ยิ่งดี) วงจรสินค้าหรือระยะขายสินค้า คือ ตั้งแต่วันที่สินค้าเข้ามาในสต๊อก จนเอาออกจากสต๊อกเพราะขายได้ ใช้เวลากี่วัน ถ้า ‘จำนวนวันเยอะ’ แปลว่า ใช้เวลานานกว่าจะขายของแต่ละชิ้นได้ ความเสี่ยงคือ เงินจม หรือสินค้าอาจเสียหรือล้าสมัยไปแล้ว ถ้า ‘จำนวนวันน้อย’ แปลว่า ทุกๆครั้งที่สินค้าเข้ามาในสต๊อก ไม่กี่วันก็มีคนซื้อ อาจเกิดจากเป็นสินค้าขายดี หรือกิจการบริหารสินค้าให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่สต๊อกของมากจนเกินไป ดังนั้น จำนวนวันยิ่งน้อย ยิ่งดี เพราะสินค้าเข้ามาและขายออกได้เร็ว โดยในสูตรจะใช้ ระยะขายสินค้า = ยอดสินค้าคงเหลือ ณ สิ้นงวด ÷ ต้นทุนสินค้าที่ขาย x จำนวนวัน (ขึ้นอยู่กับการวัดผล ปกติจะวัดผลทุกสิ้นปี จะใช้ 365วัน) วงจรที่ 2 : วงจรลูกหนี้ (ยิ่งเก็บหนี้เร็ว ยิ่งดี) วงจรลูกหนี้หรือระยะเก็บหนี้ คือ ตั้งแต่วันที่ขายสินค้า ใช้เวลากี่วันถึงจะเก็บเงินได้ ถ้า ‘จำนวนวันเยอะ’ แปลว่า ใช้เวลานานกว่าจะเก็บเงินจากลูกหนี้ได้ ซึ่งไม่ควรเกินกว่าเครดิตเทอมที่ให้ลูกค้า แต่ถ้าเกินแปลว่าลูกค้าส่วนใหญ่จ่ายเงินเกินกำหนดชำระ ถ้า ‘จำนวนวันน้อย’ แปลว่า ใช้เวลาเร็วในการเก็บเงินจากลูกหนี้ ถ้าค่าต่ำกว่าเครดิตเทอม แปลว่าลูกค้าส่วนใหญ่จ่ายเงินก่อนกำหนดชำระ ดังนั้น จำนวนวันยิ่งน้อย ยิ่งดี และจะดีมากขึ้นไปอีกถ้าจำนวนวันต่ำกว่าเครดิตเทอมที่ให้ลูกค้าโดยในสูตรจะใช้ ระยะเก็บหนี้ = ยอดลูกหนี้การค้า ณ สิ้นงวด ÷ ยอดรายได้ x จำนวนวัน (ขึ้นอยู่กับการวัดผล ปกติจะวัดผลทุกสิ้นปี จะใช้ 365วัน) วงจรที่ 3 : วงจรเจ้าหนี้ (ยิ่งจ่ายหนี้ช้า ยิ่งดี) วงจรเจ้าหนี้หรือระยะจ่ายหนี้ คือ ตั้งแต่วันที่ซื้อสินค้า ใช้เวลากี่วันถึงจะจ่ายเงินให้เจ้าหนี้ ถ้า ‘จำนวนวันเยอะ’ แปลว่า ใช้เวลานานที่จะจ่ายเงินให้เจ้าหนี้ ซึ่งอาจหมายถึงการได้รับเครดิตเทอมที่นาน หรือเราตั้งใจจ่ายหนี้ช้ากว่ากำหนดก็ได้ ถ้า ‘จำนวนวันน้อย’ แปลว่า ใช้เวลาเร็วในการจ่ายหนี้เร็ว ซึ่งอาจหมายถึงกิจการมีความน่าเชื่อถือน้อยจึงได้รับเครดิตเทอมน้อย หรืออาจเพราะของที่เราซื้อมักจะซื้อขายเป็นเงินสดมากกว่าการให้เครดิตเทอม ดังนั้น จำนวนวันยิ่งมาก ยิ่งดี แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ ค่าควรมากเพราะเราได้เครดิตเทอมที่นาน ไม่ใช่จากการที่จ่ายเกินกำหนดชำระ เพราะจะทำให้ความสัมพันธ์ทางธุรกิจพังลงได้ โดยในสูตรจะใช้ ระยะจ่ายหนี้ = ยอดลูกหนี้การค้า ณ สิ้นงวด ÷ ยอดรายได้ x จำนวนวัน (ขึ้นอยู่กับการวัดผล ปกติจะวัดผลทุกสิ้นปี จะใช้ 365วัน) ดังนั้น เทคนิคบริหารวงจรกระแสเงินสดให้ธุรกิจคล่องตัว คือ1.ขายสินค้าได้เร็ว2.เก็บเงินได้เร็ว 3.จ่ายหนี้ให้ช้า โดยนำจำนวนวงจรย่อยทั้ง 3 วงจรมาบวกลบกันตามสูตร วงจรเงินสด = ระยะเวลาขายสินค้า + ระยะเวลาเก็บหนี้ – ระยะเวลาชำระหนี้ ถ้า ‘จำนวนวันน้อย’ แปลว่า เงินทุนจมอยู่ในลูกหนี้ และสินค้าคงเหลือเยอะ ซึ่งเกิดความเสี่ยงที่กิจการจะไม่มีเงินหมุนเวียนที่เพียงพอในการชำระหนี้ได้ทัน หรือไม่มีเงินมาซื้อสินค้าล็อตใหม่มาขายได้ ถ้า ‘จำนวนวันมาก’ แปลว่าเราสามารถบริหารจัดการเปลี่ยนลูกหนี้ และสินค้าคงเหลือได้ดี และมีเงินหมุนเวียนที่เพียงพอจะนำไปชำระหนี้ และซื้อสินค้าล็อตใหม่มาขายต่อได้ ดังนั้น กิจการที่มีสภาพคล่องที่ดี ไม่มีปัญหาเรื่องเงิน เมื่อคำนวณวงจรเงินสด (Cash Cycle) มักได้จะค่าจำนวนวันติดลบ  การคำนวณวงจรเงินสด จะทำให้เรารู้ว่าภาพรวมการหมุนเวียนของเงินสดว่ามีปัญหาไหม ซึ่งถ้าค่าที่คำนวณเป็นบวก แสดงว่ากิจการกำลังมีปัญหาเรื่องการดำเนินงานเมื่อรู้ว่ามีเงินสดมีปัญหาแล้ว เราสามารถเข้าไปค้นหาต้นตอที่วงจรย่อยทั้ง 3 วงจรต่อได้ และลองดูว่าอะไรที่ทำให้แต่ละวงย่อยมีปัญหา เช่น ลูกหนี้จ่ายเกินกำหนดชำระเสมอ หรือสินค้าส่วนใหญ่ที่สต๊อกไว้ขายไม่ค่อยดี เป็นต้น สรุปอีกครั้ง คือ วงจรสินค้า (ยิ่งขายสินค้าเร็ว ยิ่งดี) วงจรลูกหนี้ (ยิ่งเก็บหนี้เร็ว ยิ่งดี) วงจรเจ้าหนี้ (ยิ่งจ่ายหนี้ช้า ยิ่งดี) ตอนนี้เราทราบกันแล้วทั้งวิธีดูว่าเงินสดมีปัญหาหรือไม่ และปัญหานั้นเกิดจากอะไร คำถามถัดมาคือ เงินสดต้องมีจำนวนเท่าไหร่ถึงจะเพียงและปลอดภัยในการทำธุรกิจ? ผมเตรียมวิธีคำนวณให้ง่ายๆ ไว้ให้ทุกท่านแล้ว ในบทความธุรกิจควรมีเงินสดขั้นต่ำกี่เดือน ถึงจะเรียกว่าปลอดภัย โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

16 ส.ค. 2024

PEAK Account

13 min

“บัญชีทำให้ตรง ลดความงงในการบริหาร” (ตอนที่2)

ใน Ep นี้เป็นภาคต่อจากครั้งที่แล้วในหัวข้อ “บัญชีทำให้ตรง ลดความงงในการบริหาร” เดิมเราพูดถึงเรื่องพื้นฐานที่ผู้ประกอบการต้องรู้เรื่องแรก คือ เรื่อง “ผลประกอบการ” ซึ่งประกอบไปด้วย “รายได้” “ค่าใช้จ่าย” และ “กำไร” ว่าคืออะไรและสำคัญอย่างไร ก่อนจะเริ่มเรื่องถัดไป เพื่อเป็นการทบทวน ผมขอสรุปอีกครั้งว่า 2 เรื่องที่ผู้ประกอบการต้องรู้มีอะไรกันบ้างครับ 2 เรื่องพื้นฐานที่ผู้ประกอบการต้องรู้ เรื่องที่ 1 ผลประกอบการ เรื่องที่ 2 เงินสดและกระแสเงินสด ตอนที่ 2 : บริหารเงินสดและกระแสเงินสดอย่างไรให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน “82% ของธุรกิจเจ๊งเพราะเรื่องเงิน!” นี้เป็นงานวิจัยที่ U.S. Bank เคยทำขึ้น โดยสาเหตุอาจมาจากการละเลยเรื่องเงิน หรือการบริหารเงินได้ไม่ดีพอ จากประสบการณ์ ผมพบว่าผู้ประกอบการหลายรายประเมินค่าการบริหารเงินต่ำเกินไป ชอบคิดว่าเรื่องเงินเป็นเรื่องง่าย เช่น “ขายของได้รับเงิน เอาเงินที่รับมาไปซื้อของมาขายต่อ แค่นั้นเอง”  ถ้าในโลกแห่งความเป็นจริงเงินที่เราได้รับมาในแต่ละวันมันมากกว่าเงินสดจ่ายเสมอ ประโยคข้างบนคงเป็นเรื่องจริง สิ่งที่ตลกร้ายคือ ความจริงมันตรงกันข้าม มีหลายเหตุการณ์ที่เข้ามาทำให้เงินสดบางครั้งไม่เพียงพอต่อการจ่าย และที่สำคัญเคยเกิดขึ้นกับธุรกิจที่มีรายได้ และกำไรก็ดีมาแล้ว ทำไมจึงเป็นแบบนั้นได้ สาเหตุเบื้องหลังคืออะไร มาดูกันต่อครับ ทำไมเงินสดมีปัญหา? ท่านผู้อ่านเคยเจอสถานการณ์ที่ เราต้องขายของเป็นเงินเชื่อ แต่ซื้อของต้องจ่ายเป็นเงินสด หรือขายของเป็นเงินเชื่อ แต่เก็บหนี้ไม่ได้ หรือขายของได้ แต่รายจ่ายมีเยอะกว่า ไหมครับ? บางคนอาจแย้งว่าก็ขายของเป็นเงินสดสิ จะให้ติดหนี้ทำไม บางธุรกิจถ้าไม่ขายเชื่อ ลูกค้าก็จะหนีไปซื้อคนอื่นครับ จะรอแต่แต่ขายเป็นเงินสดธุรกิจคงไม่รอด บางคนแย้งว่าลูกหนี้ไม่จ่ายเงิน ก็ไปตามทวงสิ คุณเคยได้ยินคำว่า “ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย” ไหมครับ? แหละครับคำตอบ วิธีวัดว่าเงินสดกำลังจะมีปัญหาหรือไม่? แม้เราจะพยายามแก้ปัญหาต่างๆ ให้ดีขึ้น แต่ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงปัญหาได้ตลอด ผู้ประกอบการเองต้องตรวจสอบสถานะการเงินของตัวเองอยู่เสมอว่าคล่องตัวหรือมีความเสี่ยงอยู่หรือไม่ ตามวิธีดังนี้ 1. เงินสดและเงินฝากธนาคาร ทั้งเงินสดและเงินฝากธนาคารเป็นจุดเริ่มต้นที่จะเอาไปใช้คำนวณสถานะทางการเงิน ดังนั้นเราต้องมีข้อมูลทางการเงินที่ถูกต้องและครบถ้วน แต่ปัญหาที่เจอคือ กิจการหลายแห่งไม่ได้บันทึกบัญชีอย่างถูกต้อง ใช้เงินส่วนตัวปนกับเงินกิจการทำให้เงินสดไม่ตรงกับความเป็นจริง จึงยากมากที่จะคำนวณได้ว่าเงินสดเงินฝากธนาคารที่มีอยู่เพียงพอการใช้จ่ายในธุรกิจหรือไม่ ดังนั้นสิ่งที่เราควรทำอันดันแรก คือ แยกเงินส่วนตัวกับเงินกิจการออกจากกัน บันทึกบัญชีให้ถูกต้อง ตรวจสอบเงินที่มีอยู่จริงกับเงินที่บันทึกบัญชี แล้วดูว่าตอนนี้มีเงินสดคงเหลือในกิจการกี่บาท เพียงพอจะจ่ายค่าใช้จ่ายในวันพรุ่งนี้ สัปดาห์หน้า หรือในเดือนหน้าหรือไม่ 2. กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (OCF) ใครที่ยังไม่รู้จักคำว่า “กระแสเงินสด” ให้เราจินตนาการว่า “เงินสด” คือเงินที่คงเหลือในกระเป๋า แต่ “กระแสเงินสด” คือ การไหลเข้าของเงินที่รับและการไหลออกของเงินที่จ่ายออกไป กระแสเงินสด จะบอกเราได้ว่าในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น ใน 1 ปี เรารับเงินหรือจ่ายเงินมากกว่ากัน แต่จะไม่ได้บอกว่าเงินสดคงเหลือเท่าไหร่ คนที่เคยอ่านงบกระแสเงินสด จะพบว่างบกระแสเงินสดจะแสดงการไหลเวียนของเงินเป็น 3 ส่วน ดังนี้ แต่ส่วนที่สำคัญที่สุดคือ “กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน” เพราะการไหลเวียนของเงินสดจากการทำธุรกิจ ไม่รวมการลงทุนและจัดหาเงิน โดยถ้าเงินรับมากกว่าเงินจ่าย แบบนี้ดี แต่ถ้าเงินจ่ายมากกว่าเงินรับบ่อยๆ แสดงว่าเราเก็บเงินจากลูกหนี้หรือขายของไม่ค่อยได้ แต่รายจ่ายมีทุกวัน แบบนี้จะเสี่ยงมาก เพราะสุดท้ายธุรกิจหาเงินมาจ่ายไม่ทัน 3. กระแสเงินสดสุทธิ (Net Cash Flow) แค่อ่านชื่อหัวข้อก็ยากแล้ว แต่จริงๆ “กระแสเงินสดสุทธิ” มันคือจับกระแสเงินสดทั้ง 3 ส่วนในงบกระแสเงินสดมารวม แล้วสรุปว่าในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น ใน 1 ปี กิจการมีเงินสดรับหรือเงินจ่ายมากกว่ากัน ในเมื่อดู “กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน” แล้ว ทำไมยังต้องดู “กระแสเงินสดสุทธิ” อีก? เพราะมีบางกรณีที่ธุรกิจขายสินค้าดีมาก เก็บเงินได้ดี แต่ดันเอาเงินไปลงทุนมากกว่าเงินที่จากการดำเนินงาน จนธุรกิจสะดุด ทำให้เกิดเหตุการณ์ที่ว่า “ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า แต่ยังเจ๊งอยู่ดี” สรุปเราต้องให้ความสำคัญกับ “กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน” แต่ก็อย่าละเลยดูภาพรวมของกระแสเงินสดผ่าน “กระแสเงินสดสุทธิ” ด้วยครับ PEAK ขอเล่า : 4. ระยะเวลาจนกว่าเงินจะหมด (Runway) Runway พอแปลเป็นไทยนี้ดูแปลกมากเลยครับ การคำนวณนี้จะเหมาะกับกิจการที่รายจ่ายมากกว่ารายรับ และไม่รู้รายรับจะครอบคลุมรายจ่ายเมื่อไหร่ สิ่งที่เราต้องกังวลคือเงินจ่ายออกทุกวัน แต่เงินสดคงเหลือที่มีอยู่จะเพียงพอได้อีกกี่วันก่อนเงินจะหมด  การคำนวณง่ายมากเลยครับ ตัวอย่าง เช่น เงินสดคงเหลือตอนนี้มี 100,000 บาท รายได้ต่อเดือน 20,000 บาท รายจ่ายต่อเดือน 30,000 บาท คุณจะเห็นว่ารายจ่ายมากว่ารายรับ 10,000 บาทต่อเดือน Runway = เงินสดคงเหลือ / รายจ่ายส่วนเกิน จากตัวอย่าง Runway = เงินสด 100,000 / รายจ่ายส่วนเกิน 10,000 = 10 แปลว่าถ้ารายจ่ายยังมากกว่ารายรับในอัตราเท่าเดิม เงินที่เหลืออยู่ใช้ได้แค่อีก 10 เดือนเท่านั้น ถ้าหาเงินจากที่อื่นมาหมุนไม่ได้ เท่ากับธุรกิจต้องปิด ดังนั้น สิ่งที่เราทำได้ตอนนี้เลย คือ ลองดูเงินคงเหลือทั้งเงินสดและเงินฝาก และดูว่าแต่ละเดือนเฉลี่ยแล้วเราจ่ายมากกว่ารับกี่บาท ลองคำนวณดูครับ แต่ผมเชื่อว่าธุรกิจของผู้อ่านคงมีเงินเข้ามากกว่าเงินจ่ายอยู่แล้วล่ะครับ PEAK ขอเล่า : ทำไมการบริหารเงินสดและกระแสเงินสดถึงสำคัญ การบริหารเงินสด เป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุด โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs ที่ยังไม่เกราะป้องกันทางการเงินที่ไม่แข็งแรง ทั้งในเรื่องความเข้าใจในการบริหารเงินสด รวมถึงการเข้าแหล่งเงินทุนได้ยากกว่าบริษัทใหญ่ๆ ดังนั้นควรเข้าใจในการบริหารเงินสด และการติดตามจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ถ้าในสถานะที่เงินคล่องก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเงินเริ่มฝืด แล้วเรารู้ตัวทันว่ากำลังจะมีปัญหา เราจะหาทางออกได้เร็วขึ้น เช่น เตรียมหาแหล่งเงินทุนล่วงหน้า บริหารจัดการค่าใช้จ่าย ซึ่งคงจะเป็นเรื่องเลวร้ายมากๆ ถ้าไปรู้ตัวอีกทีตอนเงินหมดแล้วครับ และแม้กิจการจะทำกำไรได้มากมายแค่ไหน แต่ถ้าไม่มีเงินสดมาหมุนเวียนเพื่อซื้อสินค้าหรือจ่ายเจ้าหนี้ก็จะทำให้กิจการขาดสภาพคล่อง หรือร้ายแรงที่สุดอาจโดนเจ้าหนี้ฟ้องร้องและปิดกิจการได้เลยครับ สำหรับ Ep ถัดไป ผมจะพาทุกท่านไปค้นหาคำตอบว่า เมื่อเรารู้แล้วว่ากิจการกำลังจะมีปัญหาด้านเงินสด แล้วปัญหาหาในอยู่ในส่วนไหนของกิจการ เราจะพบคำตอบนี้ได้จากสิ่งที่เรียกว่า วงจรเงินสด หรือ Cash Cycle  โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

15 ส.ค. 2024

PEAK Account

12 min

บัญชีทำให้ตรง ลดความงงในการบริหาร (ตอนที่ 1)

การบริหารธุรกิจให้มีระบบและประสิทธิภาพนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะในส่วนของการจัดการบัญชีที่ต้องตรงไปตรงมา บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจพื้นฐานของการจัดการบัญชี เพื่อช่วยในการบริหารธุรกิจอย่างเป็นระบบ และลดความสับสนในการบริหาร สำหรับ Ep นี้ ผมจะผู้อ่านทุกท่านไปลงลึกในเรื่องของการใช้ข้อมูลบัญชีและทำความเข้าใจผลประกอบการจากการอ่านงบกำไรขาดทุน เพื่อบริหารกิจการให้มีระบบ มาติดตามกันต่อได้เลยครับ พอพูดถึงเรื่องของ “การบริหาร” เอย “ระบบบัญชี” เอย หลายคิดจะคิดว่ามันต้องเป็นเรื่องยาก หรือซับซ้อน ละก็ไม่อยากจะไปแตะมันแน่ๆ แต่! สิ่งที่เราจะมาพูดในบทความนี้ เราจะไม่ได้ลงลึกในเรื่องที่ซับซ้อนเกินไป แต่ผมเห็นว่าเป็นสิ่งพื้นฐานที่จะผู้ประกอบการทุกคนจะต้องรู้ ถ้าไม่รู้ก็อาจจะตามหลังคนอื่น และจะพลาดสิ่งดีๆไปครับ เรื่องพื้นฐานที่ผู้ประกอบการต้องรู้ เรื่องที่จะพูดถึงต่อไปนี้ เป็นพื้นฐานและเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องเข้าใจ เพราะธุรกิจจะอยู่รอดและเติบโตอย่างยั่งยืนได้นั้น สิ่งเหล่านี้ต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดีครับ ประกอบด้วย เรื่องที่ 1 ผลประกอบการ เรื่องที่ 2 เงินสดและกระแสเงินสด ตอนที่ 1 ทำความเข้าใจ “ผลประกอบการ” ช่วยบริหารธุรกิจได้ตรงจุด มาเริ่มกันเลยในเรื่องที่ 1  “ผลประกอบการ” ถ้ามองง่ายๆ ก็คือบทสรุปจากการทำธุรกิจในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น ผลประกอบการใน 1 ปีที่ผ่านมา รายได้เป็นไง ค่าใช้จ่ายเยอะไหม กำไรไหม หรือขาดทุน บางคนอาจจะเรียกมันว่ารายรับ รายจ่ายด้วยซ้ำโดยปกติมันจะแสดงบนงบกำไรขาดทุนประจำปีของบริษัทอยู่แล้ว แต่ถ้าใครเคยอ่านจะเห็นว่ามันมีข้อความหลายบรรทัดเลย แต่บรรทัดที่ผู้ประกอบต้องอ่านเป็นมีดังนี้ 1. รายได้ (Revenue) รายรับก่อนหักรายจ่าย เช่น ถ้าธุรกิจขายสินค้า ก็เป็นรายได้จากการขายสินค้าที่ยังไม่ได้หักต้นทุนสินค้า และถ้าธุรกิจให้บริการ ก็เป็นรายได้จากการให้บริการที่ยังไม่ได้หักค่าวัสดุ อุปกรณ์ หรือค่าแรง เป็นต้น การรับรู้รายได้ทำให้เราทราบว่าใน 1 ปีที่ผ่านมา เราขายสินค้าหรือให้บริการได้มากหรือน้อยแค่ไหน บางคนเอารายได้ที่เกิดขึ้นจริง (actual) เทียบกับรายได้ที่ตั้งเป้าหมาย (budget) ไว้ เพื่อดูว่าทำยอดขายได้ตามเป้าไหม หรือบางคนก่อนทำธุรกิจคิดว่าต้องรุ่ง ต้องขายดีแน่ๆ พอมาขายจริง เห็นตัวเลขจริง ทำให้รู้ไม่ได้เป็นไปอย่างที่คิด หรือเอารายได้แต่ละปีมาเทียบกันเพื่อดูอัตราการเติบโต (growth rate) ว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้เช่นกัน รายได้เป็นจุดแรกที่เราต้องให้ความสนใจมากๆ เพราะธุรกิจจะไปต่อได้หรือไม่ ก็ต้องดูว่าผู้ประกอบการสามารถหาอาหาร(รายได้)ที่ทำให้กิจการอยู่รอดนั้นเพียงพอหรือไม่ 2. ค่าใช้จ่ายหลัก (Expense) ค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจมีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนสินค้า เงินเดือนค่าจ้าง ค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟ หรือค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดเล็กๆน้อยๆ ถ้าเราไปโฟกัสทุกรายจ่าย คุณคงเป็นลมไปก่อน แต่โชคดีที่ยังมีเทคนิคนำมาช่วยได้ ก็คือ เราต้องให้ความสนใจเฉพาะต้นทุนสินค้าและบริการ ซึ่งแต่ละธุรกิจอาจจะมีต้นทุนที่แตกต่างกันไป เช่น ธุรกิจขายเครื่องสำอางต้นทุนอาจจะเป็น ค่าผลิตสินค้า หรือธุรกิจให้บริการ เช่น โรงแรม ต้นทุนอาจจะเป็นค่าจ้างพนักงานให้บริการ 3. กำไรขั้นต้น (Gross Profit) “กำไรขั้นต้น” คืออะไร? ถ้าพูดว่า “กำไร” เฉยๆ คนก็จะเข้าใจว่าอ๋อ กำไร = รายรับ หัก รายจ่าย ไง แต่พอมีคำว่า “ขั้นต้น” หลายคงสับสนว่ามันคือตัวเดียวกันหรือป่าว สรุป กำไรขั้นต้น คือ รายได้ หัก ต้นทุนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับรายได้ เช่น ธุรกิจขายสินค้าได้เงิน 1,000 บาท ต้นทุนสินค้า 400 บาท ค่าจ้างพนักงานขายวันละ 300 บาท ดังนั้นกำไรขั้นต้นเท่ากับ 600 บาท (รายได้ 100 บาท หัก ต้นทุนค่าสินค้า 400 บาท) ค่าจ้างพนักงานขายถือว่าเป็นต้นทุนทางอ้อมเลยไม่นำมาคิดในกำไรขั้นต้น สิ่งที่กำไรขั้นต้นบอกเรา คือ เวลาขายสินค้า 1 ชิ้นจะได้กำไรกี่บาท จากตัวอย่างจะจะเห็นว่าถ้าขาย 1 ชิ้นได้กำไรขั้นต้น 600 บาท ถ้าอยากได้กำไรมาก ก็ต้องขายให้ได้หลายๆชิ้น โดยไม่ได้คำนึงว่าจะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เท่าไหร่ ทำไมยังไม่ต้องคำนึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าจ้างคนขาย ส่วนตัวมองว่า กำไรขั้นต้น มีแนวคิดคือ หนึ่ง ของที่นำมาขาย 1 ชิ้นต้องได้กำไรก่อน เช่น ขายของ 1,000 บาท แต่ต้นทุนสินค้า 1,200 บาท แบบนี้ก็ไม่ต้องไปสนใจค่าใช้จ่ายอื่นแล้ว ยังไงก็เจ๊ง 100% สอง ถ้าขายของแล้วยังมีกำไรขั้นต้น แต่ค่าใช้จ่ายอื่นเยอะก็ไม่เป็นปัญหา เพราะเราสามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายทางอ้อมอื่นๆ ให้ลดลงได้ทีหลัง  ดังนั้นกำไรขั้นต้น เป็นจุดที่สำคัญมาก เพราะผู้ประกอบการบางคนไม่เคยรู้ว่าต้นทุนสินค้ามากกว่าราคาขายที่ตั้งไว้ ทำให้เงินสดขาดมือ สอดคล้องกับวลีที่ว่า “ยิ่งขาย เท่ากับ ยิ่งเจ๊ง” ทำไมต้องสนใจค่าใช้จ่ายหลัก? เพราะมันมีจำนวนมูลค่าที่สูงและส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นบ่อยๆ ถ้าเราไม่สนใจหรือไม่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายเหล่านี้ วันหนึ่งมันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และสูงกว่ารายได้จนธุรกิจขาดทุนการควบคุมค่าใช้จ่าย สามารถทำได้หลายวิธี แล้วแต่ลักษณะประเภทธุรกิจ เช่น ธุรกิจขายสินค้า ถ้าเรารู้ว่าสินค้าไหนขายดี ขายได้เยอะ เราสามารถเจรจาต่อรองกับซัพพลายเออร์เพื่อซื้อสินค้าล็อตใหญ่แต่ราคาต่อชิ้นถูกขึ้นได้ แม้แต่ค่าแรงงานที่เราสามารถหาเทคโนโลยีมาช่วยให้ลดการจ้างแรงงานคนได้ เป็นต้น 4. กำไรสุทธิ (Net Profit) แล้วก็มาถึงตัวสุดท้าย ตัวทีเด็ดของผลประกอบการเลย คือ “กำไรสุทธิ” เราสามารถเข้าใจได้ง่ายๆ เลย สูตรคือ กำไรสุทธิ = รายได้ – รายจ่ายทั้งหมดของธุรกิจ ถ้ารายได้มากกว่ารายจ่าย แปลว่าธุรกิจในปียังไปได้ดี สามารถทำกำไรได้ แปลว่ายิ่งขายยิ่งได้กำไร แต่ถ้ารายได้น้อยกว่ารายจ่าย จนเกิด “ขาดทุนสุทธิ” อันนี้ต้องดูสาเหตุแล้วครับว่าเกิดอะไร เช่น รายได้น้อยกว่าทุกปี หรือมีรายจ่ายบางตัวสูงขึ้นมากๆในปีนี้ เป็นต้น นั่นแปลว่าถ้าธุรกิจมีกำไร ไม่ว่าจะมากหรือน้อยเราก็ยังสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปเรื่อยๆ แต่ถ้าธุรกิจขาดทุนอาจเริ่มเห็นสัญญาณที่ธุรกิจกำลังเผชิญปัญหาอะไรบางอย่าง ซึ่งถ้าไม่รีบแก้ อาจจะเจ๊งจริงๆก็ได้ครับ อย่างน้อยๆ ผู้ประกอบการมือใหม่ หรือคนที่ไม่เคยเข้าใจตัวเลขเลย ก็จะได้รู้ว่าสิ่งที่ควรรู้และเข้าใจคือเรื่องของผลประกอบการ เพราะค่อนข้างตรงตัว และจับต้องได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็น รายได้ (Revenue) กำไรขั้นต้น (Gross Profit) ค่าใช้จ่ายหลัก (Expense) หรือกำไรสุทธิ (Net Profit) การดูตัวเลขและวิเคราะห์ผลอย่างถูกต้องได้นั้น ตัวเลขเหล่านี้ต้องได้รับความใส่ใจก่อน คือ บันทึกบัญชีอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา เราจึงจะสามารถนำข้อมูลไปตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ลองจินตนาการว่าถ้าบันทึกบัญชีผิดๆ ถูกๆ ข้อมูลที่เราเห็นคงเอาไปทำประโยชน์อะไรไม่ได้เลยครับเอาล่ะ! นี่แค่เรื่องแรกนะครับ ใน Ep ถัดไป เราจะยังอยู่กับหัวข้อเดิม แต่จะไปดูในเรื่องที่เหลืออยู่อีก 4 เรื่อง แอบบอกก่อนเลยว่า เรื่องที่ 2 เงินสดและกระแสเงินสด นี้สำคัญสุดๆ เลยครับ เพราะ SMEs หลายรายเจ๊งก็เพราะบริหารเงินสดไม่เป็นนี้แหละครับ   และสำหรับใครที่ยังไม่ได้อ่าน Ep. 1 สามารถอ่านได้ที่ “รายจ่ายทางบัญชี” ไม่เท่ากับ “รายจ่ายทางภาษี” เข้าใจความต่าง ช่วยกิจการประหยัดภาษีได้ โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

27 มี.ค. 2024

PEAK Account

12 min

“นักบัญชี” บทบาทสำคัญที่ผู้ประกอบการควรรู้

ประเด็นสำคัญ  ในยุคสมัยที่ธุรกิจมีความซับซ้อน การเงินกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ขับเคลื่อนความสำเร็จ เจ้าของธุรกิจหลายคนจึงมองหานักบัญชีมืออาชีพเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระ  แล้วธุรกิจขนาดเล็กล่ะ? จำเป็นต้องจ้างนักบัญชีด้วยหรือ? ก็ต้องบอกว่าหากเจ้าของธุรกิจที่ต้องการข้อมูลทางการเงินที่ถูกต้องเพื่อใช้ในการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ ควรมีนักบัญชีมืออาชีพมาช่วยจัดการ แต่การจ้างนักบัญชีสักคน ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย และต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติหลายประการด้วยเช่นกัน นักบัญชีกับบทบาทในกิจการ บทความนี้ PEAK ร่วมกับ OfficeMate จะพาคุณไปรู้จักกับบทบาทที่หลากหลาย ทักษะที่จำเป็น รวมถึงประเภทของนักบัญชี เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจให้กับผู้ประกอบการที่กำลังมองหานักบัญชี นักบัญชีเปรียบเสมือนผู้ดูแลด้านการเงินของธุรกิจ หน้าที่หลักของพวกเขาไม่ได้จำกัดอยู่แค่การบันทึกรายรับรายจ่ายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเรื่องสำคัญต่างๆ เหล่านี้ด้วยเช่นกัน 1. การจัดทำบัญชี นักบัญชีทำหน้าที่จัดทำงบดุล งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด และรายงานทางการเงินอื่นๆ เปรียบเสมือนภาพสะท้อนสถานะทางการเงินของธุรกิจ ช่วยให้เจ้าของธุรกิจเข้าใจถึงสถานะทางการเงิน สามารถวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. การเสียภาษี นักบัญชีจะคำนวณภาษี เตรียมเอกสาร และยื่นแบบแสดงรายการภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจให้ครบถ้วน ถูกต้องตามกฎหมาย ช่วยให้ธุรกิจไม่ต้องเสียค่าปรับ เงินเพิ่มจากการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องโดยไม่จำเป็นได้ 3. การวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน นักบัญชีจะวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน เช่น อัตราส่วนทางการเงิน จุดคุ้มทุน กระแสเงินสด เพื่อช่วยให้เจ้าของธุรกิจตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การวิเคราะห์อัตราส่วนสภาพคล่อง ช่วยให้เจ้าของธุรกิจทราบว่าธุรกิจมีสภาพคล่องเพียงพอที่จะชำระหนี้สินระยะสั้นหรือไม่ หรือหากมีความผิดปกติทางการเงินเกิดขึ้น นักบัญชีจะได้นำเสนอข้อมูลต่อผู้บริหาร เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที  4. การให้คำปรึกษาทางการเงิน นักบัญชีสามารถให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผนภาษี การจัดการเงินทุน การลงทุน และอื่นๆ ช่วยให้เจ้าของธุรกิจบริหารจัดการการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักบัญชีมืออาชีพควรมีทักษะอะไรบ้าง นอกเหนือจากความรู้ด้านบัญชีซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญแล้ว นักบัญชีจำเป็นจะต้องมีทักษะบางประการที่ช่วยเสริมสร้างการทำงานที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับการทำงานร่วมกับ ทีมอื่นๆ ในบริษัทได้เป็นอย่างดี ได้แก่ 1. การใช้โปรแกรมบัญชี นักบัญชีควรมีความเชี่ยวชาญในการใช้งานโปรแกรมบัญชีที่รองรับระบบบัญชีของบริษัท ซึ่งจะช่วยให้ทำงานได้รวดเร็ว แม่นยำ และลดความผิดพลาดต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ 2. การสื่อสาร หน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่งของนักบัญชี ก็คือ การอธิบายข้อมูลทางการเงินให้เจ้าของธุรกิจเข้าใจได้อย่างชัดเจน เช่น การนำเสนอผลประกอบการ อธิบายสาเหตุของกำไรหรือขาดทุน ดังนั้น นักบัญชีจึงควรมีทักษะในการสื่อสารที่ดี เพื่อถ่ายทอดข้อมูลดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. กฎหมาย นักบัญชีควรมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายธุรกิจ และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ช่วยให้ธุรกิจปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้อง 4. การคิดวิเคราะห์ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน หาสาเหตุของปัญหาและเสนอแนะแนวทางแก้ไข เช่น การวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน ปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนแนวทางแก้ไขที่ควรปฏิบัติ เป็นต้น  นักบัญชีกับประเภทงานบัญชีของกิจการ การจัดการงานบัญชีนั้นจะเกี่ยวข้องกับงานหลายส่วน จึงสามารถแบ่งงานบัญชีออกเป็นประเภทต่างๆ ซึ่งมีความรับผิดชอบการดำเนินงานที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1. การบัญชีการเงิน เป็นงานบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชีและนำเสนอรายงานทางการเงิน ตลอดจนงบการเงินของกิจการที่จัดทำขึ้นภายใต้มาตรฐานบัญชี เพื่อนำข้อมูลต่อฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและนอกองค์กร 2. การบัญชีบริหาร เป็นการจัดทำบัญชีและรายงานทางการเงินขององค์กรต่อฝ่ายบริหารเพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการวางแผนการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ 3. การบัญชีต้นทุน เป็นวิธีการทางบัญชีที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลต้นทุนของธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำใช้ในการจัดทำรายงานทางการเงินตลอดจนวิเคราะห์และจำแนกข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารต้นทุนของกิจการ เพื่อให้ทราบถึงต้นทุนการผลิต ต้นทุนขาย ตลอดจนตีราคาสินค้าคงเหลือ เพื่อนำไปสู่การวางแผนบริหารจัดการต้นทุนต่อไป 4. การตรวจสอบบัญชี เป็นกระบวนการตรวจสอบรายการทางบัญชี ตลอดจนหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงบัญชีของบุคคลหรือองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นว่ารายการต่างๆ ได้มีการถูกบันทึกไว้อย่างถูกต้อง เหมาะสม  เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี และข้อบังคับของกฎหมาย โดยปกติการตรวจสอบบัญชีจะทำโดยผู้ตรวจสอบภายนอก (External Auditor) เพื่อขจัดปัญหาความลำเอียงในการปฏิบัติงานตรวจสอบ 5. การบัญชีภาษี เป็นกระบวนการจัดทำบัญชีของกิจการ โดยพิจารณาปรับเปลี่ยนข้อมูลทางบัญชีบางรายการให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายภาษีอากร เพื่อให้ได้ข้อมูลที่นำไปใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้ รวมทั้งการจัดทำรายการที่เกี่ยวข้องตามข้อกำหนดของกฎหมายภาษีอากร  6. ระบบสารสนเทศทางการบัญชี จะเกี่ยวข้องกับการพัฒนา ติดตั้ง ใช้งาน และตรวจสอบขั้นตอนการบัญชี ตลอดจนระบบที่ใช้ในกระบวนการบัญชี รวมถึงทิศทางบุคลากรทางการบัญชี และการจัดการซอฟต์แวร์ ข้อดี vs ข้อจำกัดของการจ้างนักบัญชี ข้อดีของการจ้างนักบัญชี ข้อจำกัดของการจ้างนักบัญชี สรุป ข้อมูลข้างต้น เป็นการวิเคราะห์เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ผู้ประกอบการท่านใดที่กำลังวางแผนจัดการด้านการเงิน หรือพัฒนาระบบบัญชีของกิจการ อย่าลืมศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมให้ถี่ถ้วน หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนตัดสินใจ หากเป็นเรื่องอุปกรณ์จำเป็นในการจัดการบัญชี ไม่ว่าจะเป็นแฟ้มเก็บเอกสาร แบบฟอร์มหนังสือรับรองการหักภาษี บิลเงินสด ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของ หรือแบบฟอร์มเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ แนะนำที่ มีสินค้าที่ช่วยให้นักบัญชีทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

21 ก.ค. 2023

PEAK Account

21 min

เรื่องสำคัญ ในการจัดทำงบการเงิน

งบการเงินของกิจการมีความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้เสียของกิจการ ได้แก่ ผู้ถือหุ้น ผู้ให้กู้ นักลงทุน รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงมีข้อควรระวังที่นักบัญชีและผู้ประกอบการต้องให้ความใส่ใจในการจัดทำงบการเงินให้ถูกต้อง เป็นที่น่าเชื่อถือ ซึ่งข้อควรระวังในการจัดทำงบการเงินมีอะไรบ้างนั้น จะนำเสนอในบทความนี้ งบการเงินคืออะไร งบการเงินเป็นรายงานทางบัญชีที่แสดงผลประกอบการและสถานะในการดำเนินงานของบริษัทในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ส่วนประกอบของงบการเงิน งบการเงินนั้นมีส่วนประกอบที่สำคัญดังต่อไปนี้  1. งบแสดงฐานะการเงินหรืองบดุล เป็นงบที่แสดงสถานะทางการเงินของกิจการ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ประกอบด้วยสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ  2. งบกำไรขาดทุน เป็นงบที่แสดงผลประกอบการของกิจการในรอบระยะเวลาหนึ่งๆ เช่น ทุกรอบปี หรือรอบไตรมาส เป็นต้น งบกำไรขาดทุนประกอบด้วยรายได้ ต้นทุนและค่าใช้จ่าย กำไร (ขาดทุน) ภาษีเงินได้นิติบุคคล 3. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น เป็นงบที่แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของเงินทุนของกิจการตั้งแต่ต้นปีถึงปลายปี ประกอบด้วยทุนจดทะเบียน ทุนที่ออกและชำระแล้ว กำไรสะสม  4. หมายเหตุประกอบงบการเงิน เป็นข้อมูลเพิ่มเติมที่แสดงให้ผู้อ่านงบการเงินเห็นรายละเอียดของรายการในงบการเงิน นอกจากนี้ยังประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปของกิจการ เกณฑ์การจัดทำงบการเงิน นโยบายการบัญชีที่กิจการใช้ เป็นต้น ข้อควรระวังในการจัดทำงบการเงิน ในการจัดทำงบการเงินให้มีความถูกต้อง ไม่มีข้อผิดพลาด มีข้อควรระวังสำหรับรายการที่สำคัญด้านสินทรัพย์และด้านผลการดำเนินงานดังต่อไปนี้ ด้านสินทรัพย์ ในการจัดทำงบการเงินมีข้อควรระวังสำหรับรายการทางด้านสินทรัพย์ ในที่นี้จะขอยกประเด็นที่สำคัญ 2 ประการดังนี้ 1. ลูกหนี้ค้างนาน ข้อควรระวัง กิจการที่มีรายการลูกหนี้ค้างนาน ตัวเลขลูกหนี้ในงบการเงินจะไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงที่กิจการได้รับชำระ สิ่งที่ต้องระวังในการจัดทำงบการเงิน ก็คือ กิจการมีการประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไว้เพียงพอหรือไม่ รวมทั้งวิธีการประมาณการมีความเหมาะสมหรือไม่  สิ่งที่พึงปฏิบัติ การประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญอย่างเพียงพอและเหมาะสม บัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเป็นบัญชีปรับมูลค่าของลูกหนี้ที่มีอยู่เพื่อแสดงมูลค่าสุทธิที่ใกล้เคียงกับมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับชำระ ในการประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ เป็นการประมาณจำนวนหนี้ที่คาดว่าจะเก็บไม่ได้ ซึ่งคำนวณเป็นร้อยละของยอดขายหรือร้อยละของลูกหนี้ โดยเป็นการวิเคราะห์จากประสบการณ์ที่ผ่านมาเกี่ยวกับจำนวนลูกหนี้ที่ยังเก็บไม่ได้ ในการดำเนินธุรกิจแม้ลูกหนี้โดยส่วนใหญ่จะชำระหนี้เมื่อถึงกำหนด แต่ก็มีลูกหนี้ที่ไม่ชำระหนี้ และในทางปฏิบัติจะไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าลูกหนี้รายใดจะไม่ชำระหนี้จนกว่าจะถึงกำหนดชำระ หรือได้มีการทวงถามจนถึงที่สุดแล้ว ทำให้มูลค่าของลูกหนี้ที่จะแสดงในงบการเงินมีจำนวนสูงกว่าความเป็นจริง ดังนั้นการประมาณการจำนวนหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้ขึ้นจำนวนหนึ่ง โดยกันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญซึ่งมีลักษณะเป็นบัญชีปรับมูลค่านำไปลดบัญชีลูกหนี้ทำให้กิจการทราบมูลค่าของลูกหนี้ที่แสดงมูลค่าสุทธิที่ใกล้เคียงกับมูลค่าตามความเป็นจริง 2. ตัวเลขสินค้าคงเหลือในงบการเงินไม่ตรงกับสินค้าคงเหลือที่มีอยู่จริง ข้อควรระวัง ตัวเลขสินค้าคงเหลือที่แสดงในงบการเงินไม่ตรงกับตัวเลขสินค้าคงเหลือที่มีอยู่จริง หรือที่เรียกว่า Stock Diff ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิด Stock Diff ส่วนใหญ่เกิดจาก 1. กิจการไม่มีแนวปฏิบัติในการจัดการสินค้าคงเหลือ ทำให้พนักงานขาดมาตรฐานในการปฏิบัติงาน เกิดสภาวะต่างคนต่างทำ การจัดเก็บสินค้าไม่เป็นที่เป็นทางทำให้หาสินค้าไม่เจอ  2. Human Error หรือความผิดพลาดที่เกิดจากการปฏิบัติงานของพนักงาน Human Error ที่ทำให้เกิด Stock Diff ได้แก่ การนับสินค้าคงเหลือผิด การบันทึกข้อมูลสินค้าคงเหลือผิด พนักงานคลังสินค้ารับของเข้าคลังสินค้าแล้วไม่บันทึกตัวเลขในระบบ พนักงานคลังสินค้าเบิกสินค้าออกไปแล้วแต่ยังไม่ตัดสต็อกออกจากระบบ เป็นต้น 3. พื้นที่คลังสินค้าไม่เพียงพอและขาดการกำหนดแผนผังคลังสินค้า สาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้เกิด Stock Diff คือ พื้นที่คลังสินค้าไม่เพียงพอในการจัดเก็บสินค้า ทำให้พนักงานคลังสินค้านำสินค้าไปจัดเก็บใน Location ไม่ตรงกับที่ระบุไว้ในระบบ สินค้าจึงถูกวางไว้ไม่ ถูกที่ นอกจากนี้การขาดการจัดแผนผังคลังสินค้า ทำให้สถานที่จัดเก็บสินค้าไม่เหมาะสมกับปริมาณสินค้าที่จะจัดเก็บ กิจการจึงไม่สามารถระบุ Location ที่แน่นอนของสินค้าได้  สิ่งที่พึงปฏิบัติ  1. กำหนดแนวการปฏิบัติงานสำหรับระบบสินค้าคงเหลือ เพื่อให้การทำงานเป็นมาตรฐานเดียวกัน ควรระบุขั้นตอนการทำงานและมีการตรวจสอบการทำงานโดยผู้บังคับบัญชา นอกจากควรจัดทำเป็นคู่มือการปฏิบัติงาน 2. จัดฝึกอบรมพนักงานให้เข้าใจขั้นตอนการทำงานตามแนวปฏิบัติงานของระบบสินค้าคงเหลือและปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงให้พนักงานตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อกิจการและลูกค้าถ้าพนักงานไม่ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติงาน 3. กำหนดให้มีการตรวจนับสินค้าคงเหลืออย่างสม่ำเสมอ  กิจการควรกำหนดให้มีการตรวจนับสินค้าคงเหลืออย่างสม่ำเสมอ นอกจากการตรวจนับสินค้าคงเหลือปีละครั้ง กิจการควรกำหนดให้มีการตรวจนับสินค้าคงเหลือแบบ Cycle Count (แบบวนรอบ) ซึ่งเป็นการตรวจนับสินค้าบ่อยๆ เช่น กำหนดตรวจนับสินค้าที่ขายดีของกิจการสัปดาห์ละครั้ง ตรวจนับสินค้าที่ขายไม่ค่อยดีเดือนละครั้ง ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาสินค้าที่ Diff ได้เพราะจะทราบสถานะที่เป็นปัจจุบันของสินค้าได้ดีกว่าการตรวจนับปีละครั้ง และช่วยกิจการในการวางแผนสั่งซื้อสินค้า ซึ่งจะช่วยกำหนดระดับของสินค้าที่เหมาะสม(Max-Min) ระดับสินค้าคงคลังสำรอง (Safety Stock) ระดับการสั่งซื้อใหม่ (Reorder Point)   นอกจากนี้ควรกำหนดหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้รับผิดชอบ ผู้มีอำนาจอนุมัติในการตรวจนับสินค้า ขั้นตอนในการปรับตัวเลขสต็อกเมื่อมี Stock Diff  4. การจัดแผนผังคลังสินค้า โดยผู้จัดการคลังสินค้าควรทำการวิเคราะห์ประเภทของสินค้าคงคลัง จำนวนสินค้าเข้า-ออกในแต่ละวัน การจัดพื้นที่ในการวางสินค้าให้เหมาะสม จะช่วยให้การจัดวางสินค้าเป็นระเบียบสามารถกำหนด location ของสินค้าได้แน่นอน พนักงานคลังสินค้าสามารถจัดเก็บ ค้นหา ตรวจนับสินค้าได้ง่าย  ด้านผลการดำเนินงาน ในการจัดทำงบการเงินมีข้อควรระวังสำหรับรายการด้านรายได้และค่าใช้จ่าย ในที่นี้จะขอยกประเด็นที่สำคัญ ดังนี้ ด้านรายได้ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับรายได้มี 3 ประเด็นดังนี้  1. การบันทึกรายได้ให้ตรงตามงวดเวลาที่เกิดรายการ ข้อควรระวัง กรณีที่กิจการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าในงวดปัจจุบัน โดยตามหลักฐานใบส่งของระบุวันที่ส่งของและวันที่ลูกค้าลงลายมือชื่อรับสินค้าในงวดปัจจุบัน แต่บันทึกบัญชีรับรู้รายได้ในปีถัดไป ทำให้รายได้ของปีปัจจุบันต่ำไปและรายได้ของปีถัดมาสูงไป  สิ่งที่พึงปฏิบัติ นักบัญชีควรตรวจสอบรายการส่งมอบสินค้าโดยเฉพาะในช่วงสิ้นปีเพื่อให้บันทึกรายได้กิจการได้ครบถ้วนถูกต้องตามงวดเวลาที่เหมาะสม 2. การบันทึกรายได้ให้สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริง ข้อควรระวัง กรณีที่กิจการจัดทำเอกสารใบส่งของ ใบแจ้งหนี้/ใบกำกับภาษี และบันทึกรายได้โดยยังไม่มีการส่งสินค้าหรือการให้บริการเกิดขึ้น  สิ่งที่พึงปฏิบัติ นักบัญชีควรตรวจสอบกับหน่วยงานที่มีหน้าที่ส่งสินค้าหรือให้บริการว่ามีการส่งสินค้าหรือให้บริการเกิดขึ้นหรือยัง มิใช่บันทึกรายการตามเอกสารที่ได้รับเท่านั้น 3. การบันทึกรายได้จากการขายสินค้าส่งออกให้เป็นไปตามเงื่อนไขในการส่งมอบสินค้า ข้อควรระวัง ในการรับรู้รายได้สำหรับการขายสินค้าส่งออกสำหรับกิจการขายสินค้าส่งออก กิจการจะว่าจ้างบริษัทเดินเรือเพื่อดำเนินการส่งออกและเคลียร์เอกสารต่างๆ ซึ่งมีเงื่อนไขในการส่งมอบสินค้า (INCOTERM) ได้แก่ CIF, CFR, FOB เป็นต้น  สิ่งที่พึงปฏิบัติ นักบัญชีควรรับรู้รายได้และบันทึกตัดสต็อกสินค้าออกจากบัญชีเมื่อกิจการปราศจากความเสี่ยงและผลตอบแทนในตัวสินค้านั้นแล้ว โดยความเสี่ยงและผลตอบแทนได้ถูกโอนไปยังผู้ซื้อตาม INCOTERM ที่ระบุไว้ในสัญญา มิใช่การบันทึกรายได้ตามวันที่ในเอกสารใบขนขาออก ด้านค่าใช้จ่าย ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายมี 2 ประเด็นดังนี้  1. การบันทึกค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ (ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์) แบ่งออกได้เป็น 3 กรณีดังนี้ 1. กรณีค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษา ข้อควรระวัง กิจการควรบันทึกค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษาเป็นสินทรัพย์ของกิจการ หรือบันทึก เป็นค่าใช้จ่าย สิ่งที่พึงปฏิบัติ ในทางบัญชี การซ่อมแซมและบำรุงรักษาเพื่อให้ทรัพย์สินใช้ได้ตามปกติที่เกิดขึ้นประจำปี ซึ่งองค์ประกอบหลักๆ ได้แก่ ค่าแรงงาน ค่าวัสดุสิ้นเปลือง รวมถึงค่าชิ้นส่วนอะไหล่ขนาดเล็ก เป็นต้น ให้บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายประจำปี ในทางภาษี การซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมเพื่อให้ใช้งานได้ตามปกติ ให้กิจการรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในทางภาษีได้ 2. กรณีการเปลี่ยนแทนส่วนประกอบของสินทรัพย์ตามระยะเวลาที่กำหนด ข้อควรระวัง กิจการควรบันทึกต้นทุนการเปลี่ยนแทนส่วนประกอบของสินทรัพย์เป็นสินทรัพย์หรือค่าใช้จ่าย สิ่งที่พึงปฏิบัติ  ในทางบัญชีหากสินทรัพย์ที่นำมาเปลี่ยนแทนมีอายุการให้ประโยชน์แก่กิจการมากกว่า 1 ปีให้รับรู้ส่วนของต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์ และให้ตัดรายการสินทรัพย์เดิมที่ถูกเปลี่ยนแทนด้วยมูลค่าตามบัญชีที่ยังเหลืออยู่ออก ในทางภาษี หลักในการพิจารณากรณีเปลี่ยนแทนที่อาจเข้าเงื่อนไขมี 3 กรณีดังต่อไปนี้ 2.1 การเปลี่ยนแปลงซึ่งทำให้ดีขึ้นกว่าเดิมหรือทำให้ได้รับประโยชน์มากกว่าเดิมให้ถือเป็นต้นทุนของสินทรัพย์และคิดค่าเสื่อมราคา 2.2 รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนหรือรายจ่ายในการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออกหรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินถือเป็นรายจ่ายลงทุน  2.3 รายจ่ายค่าซ่อมแซมอาคาร ซึ่งเป็นการซ่อมแซมสถานที่บริการให้ดีขึ้นไม่ใช่รายจ่ายในการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65ตรี (5) 3. การตรวจสอบสภาพสินทรัพย์ตามกำหนดระยะเวลา  ข้อควรระวัง การบันทึกรายการต้นทุนการตรวจสอบสภาพสินทรัพย์เป็นค่าใช้จ่ายหรือสินทรัพย์ สิ่งที่พึงปฏิบัติ ในทางบัญชี การรับรู้ต้นทุนการตรวจสอบสภาพสินทรัพย์ครั้งใหญ่ในแต่ละครั้งตามกำหนดระยะเวลา เพื่อให้สินทรัพย์สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแทนชิ้นส่วนใดหรือไม่     ให้บันทึกเป็นมูลค่าสินทรัพย์ ในทางภาษี ถ้าเป็นการตรวจสอบสภาพการใช้งานโดยทั่วไป ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแทนที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินหรือทำให้ทรัพย์สินมีสภาพที่ดีขึ้นกว่าเดิมให้ใช้การพิจารณาตามกรณีการเปลี่ยนแทนสินทรัพย์ในข้อ 2  2. กิจการมีรายจ่ายส่วนตัวปะปนอยู่ในรายจ่ายของกิจการเป็นจำนวนมาก ข้อควรระวัง กิจการ SMEs มักจะมีรายจ่ายส่วนตัวของเจ้าของกิจการรวมอยู่ในรายจ่ายของกิจการ เพราะไม่ได้มีการแยกบัญชีส่วนตัวออกจากบัญชีของกิจการ ทำให้เจ้าของกิจการมาเบิกรายจ่ายส่วนตัวจากบัญชีของกิจการ ซึ่งเป็นข้อควรระวังเพราะค่าใช้จ่ายในงบการเงินมิได้สะท้อนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจการซึ่งมีผลต่อตัวเลขผลประกอบการของกิจการด้วย สิ่งที่พึงปฏิบัติ กิจการควรแยกบัญชีเงินฝากธนาคารระหว่างบัญชีส่วนตัวและบัญชีของธุรกิจ บัญชีบัตรเครดิต บัตรเดบิตและการใช้วงเงินต่างๆ ระหว่างบัญชีที่ใช้ซื้อสินค้ากับบัญชีสำหรับใช้จ่ายส่วนตัวของเจ้าของกิจการ รวมทั้งการกำหนดให้มีการจ่ายเงินเดือนให้แก่เจ้าของกิจการในจำนวนที่เหมาะสม การบริหารจัดการด้านสินทรัพย์ การรับรู้รายได้ให้เหมาะสมตามงวดเวลาและเงื่อนไข สอดคล้องกับข้อเท็จจริง การบันทึกค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ให้ถูกต้องรวมถึงการแยกบัญชีส่วนตัวของผู้ประกอบการออกจากบัญชีของกิจการ ดังที่กล่าวมาจะช่วยให้กิจการจัดทำงบการเงินได้อย่างถูกต้อง ติดตามความรู้ภาษีและบัญชีจากโปรแกรมบัญชี PEAK ได้ที่ peakaccount.com PEAK โปรแกรมบัญชีที่ช่วยให้งานบัญชีภาษีง่ายสำหรับทุกคน มีระบบจัดการธุรกิจแบบออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลา ช่วยคุณจัดการเรื่องภาษีอย่างเป็นระบบสมัครใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี คลิก peakaccount.com หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมทาง inbox ของ Facebook PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ อ้างอิง:                                                              งบการเงินบอกอะไรของบริษัทบ้าง – PEAK Blog (peakaccount.com) การบันทึกรายได้กับหลักเกณฑ์สำคัญที่ช่วยให้กิจการเติบโต – PEAK Blog (peakaccount.com) 3 สาเหตุหลักที่ทำให้ “สินค้าคงคลังไม่ตรง” หรือ “สต๊อกดิฟ” – Supply Chain Guru 4 วิธีแก้ไขปัญหาสินค้าคงคลังไม่ตรง (สต๊อกดิฟ) – Supply Chain Guru

18 พ.ค. 2023

PEAK Account

20 min

4 ประเด็นน่าสนใจในการเลือกใช้โปรแกรมบัญชี

ในฐานะผู้ประกอบการ การจัดการการเงินเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของธุรกิจคุณ หนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยให้คุณจัดการได้ดียิ่งขึ้น คือ การใช้ ‘โปรแกรมบัญชี’ ที่เหมาะสมกับธุรกิจ ช่วยให้การจัดการทางบัญชีและการเงินนั้นสามารถทำได้แบบอัตโนมัติ ทั้งการสร้างเอกสารทางธุรกิจต่างๆ ใบแจ้งหนี้ ใบกำกับภาษี หรือบันทึกค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจว่าควรเลือกใช้โปรแกรมบัญชีใดนั้นอาจไม่ใช่เรื่องที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ถนัดมากนัก โดยเฉพาะผู้ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ด้านการทำบัญชีมาก่อน ในบทความนี้ เราจะช่วยขยายมุมมองในการพิจารณาเพื่อตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมบัญชีสำหรับธุรกิจของคุณ 4 ประโยชน์การใช้โปรแกรมบัญชี เพราะงานบัญชีเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ กิจการจึงควรมีการวางแผนบริหารจัดการงานบัญชีให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งโปรแกรมบัญชีนั้นเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้การบริหารจัดการสามารถสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี โดยโพสต์นี้ PEAK ได้สรุป 4 ประโยชน์จากการเลือกใช้งานโปรแกรมบัญชีมาให้ทราบ ดังนี้ 1. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ โปรแกรมบัญชีสามารถช่วยลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อน ยกตัวอย่างเช่น การสร้างเอกสารทางธุรกิจและการบันทึกบัญชีในอดีตนั้น คุณอาจต้องใช้โปรแกรมบัญชีหนึ่งเพื่อสร้างใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จรับเงิน แล้วต้องไปบันทึกบัญชีในโปรแกรมบัญชีอีก แต่ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่หลากหลาย อย่างโปรแกรมบัญชีที่ช่วยให้คุณสามารถออกเอกสารทางธุรกิจและบันทึกบัญชีควบคู่ไปพร้อมกันได้ ซึ่งโปรแกรมบัญชีได้ช่วยเชื่อมโยงเอกสารธุรกิจพร้อมกับบันทึกบัญชีให้อัตโนมัติ เพื่อลดเวลาในการจัดการเอกสาร และเพิ่มเวลาให้คุณได้โฟกัสกับธุรกิจมากยิ่งขึ้น โปรแกรมบัญชี PEAK นอกจากการช่วยสร้างเอกสารทางธุรกิจต่างๆ แล้ว เรายังมีระบบนำเข้าข้อมูลจากไฟล์ Excel เพื่อสร้างเอกสารเป็น Batch ได้ และมี API ที่รองรับการเชื่อมต่อกับโปรแกรมอื่นๆ เพื่อบันทึกรายการบัญชีอัตโนมัติ 2. เพิ่มความถูกต้อง การทำบัญชีด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการทำบนกระดาษ หรือบนโปรแกรม Spreadsheet อย่าง Excel หรือ Google Sheet มักต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก และมีโอกาสเกิดความผิดพลาดจากการทำงานของมนุษย์ได้อีกด้วย ซึ่งอาจต้องเสียเวลาในการกลับมาแก้ไขและตรวจสอบความถูกต้อง แต่การใช้งานโปรแกรมบัญชีนั้น สามารถช่วยลดความผิดพลาดดังกล่าวได้ ซึ่งมีตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือการป้องกันการบันทึกรายการซ้ำ โปรแกรมบัญชี PEAK มีระบบป้องกันการบันทึกใบกำกับภาษีซื้อซ้ำ ซึ่งเราป้องกันโดยการที่ไม่สามารถใส่ข้อมูลใบกำกับภาษีซื้อที่เป็นหมายเลขเดียวกันในคู่ค้าเดียวกันได้ ซึ่งช่วยป้องกันการเกิดข้อผิดพลาด ที่หากไม่ใช่โปรแกรมบัญชีก็จะไม่มีระบบช่วยป้องกันการบันทึกรายการซ้ำนี้ได้ เป็นต้น 3. เพิ่มความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลบัญชีการเงิน การใช้โปรแกรมบัญชีสามารถช่วยให้คุณเข้าถึงข้อมูลการสรุปบัญชีการเงินแบบ Real-Time พร้อมเรียกข้อมูลได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยทันที ไม่ต้องรอใครมาสรุปข้อมูลให้กับคุณ ซึ่งสิ่งนี้ช่วยให้คุณตัดสินใจได้ดีและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โปรแกรมบัญชี PEAK ออกแบบมาให้คุณสามารถเข้าถึงข้อมูลบัญชีได้ง่ายๆ ด้วยมือถือเพียงเครื่องเดียว โดยการแอด LINE @PEAKConnect เพื่อดูข้อมูลการสรุปบัญชีการเงิน หรือผ่านทาง Dashboard ในโปรแกรม PEAK ก็ได้เช่นกัน 4. ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีโปรแกรมบัญชีจำนวนไม่น้อยที่อนุญาตให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใช้งานได้พร้อมกันหลายคน ซึ่งช่วยให้สามารถทำงานร่วมกันได้ง่ายยิ่งขึ้น ทั้งภายในกิจการหรือร่วมกับนักบัญชีภายนอกก็ได้เช่นกัน ชนิดของโปรแกรมบัญชี ก่อนพิจารณาตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมบัญชี เรามาดูกันก่อนว่าโปรแกรมบัญชีมีกี่ประเภท อะไรบ้าง ซึ่งสามารถแบ่งได้กว้างๆ 2 ประเภท จากรูปแบบของเทคโนโลยี ได้แก่ ประเภทใช้งานบนเครื่อง (Desktop-based) และประเภทใช้งานบนออนไลน์หรือออนคลาวด์ (Cloud-based) 1. โปรแกรมบัญชีประเภทใช้งานบนเครื่อง (Desktop-based) โปรแกรมบัญชีแบบใช้งานบนเครื่อง (Desktop-based) คือโปรแกรมบัญชีที่ “ติดตั้ง” (install) บนตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ และทำงานอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น โดยทั่วไปโปรแกรมบัญชีแบบใช้งานบนเครื่องนั้น จะขายแบบขายขาดครั้งเดียว และถ้าคุณไม่ต้องการการอัปเดตใดๆ คุณก็ไม่จำเป็นต้องจ่าย MA หรือค่าบริการรายปี คุณไม่จำเป็นต้องใช้อินเทอร์เน็ตในการใช้งาน และหากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งโปรแกรมบัญชีนี้ไม่ได้ต่อกับอินเทอร์เน็ต หรืออยู่รวมกับ LAN ที่ต่ออินเทอร์เน็ตเลย ก็ถือว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ปลอดภัยจากภัยคุกคามจากอินเทอร์เน็ต 2. โปรแกรมบัญชีแบบใช้งานออนไลน์ (Cloud-based) โปรแกรมบัญชีออนไลน์ (Online accounting software) หรือเรียกอีกอย่างว่า โปรแกรมบัญชีออนคลาวด์ (Cloud-based accounting software) เป็นโปรแกรมบัญชีที่คุณสามารถเข้าใช้งานผ่าน web browser โดยตัวโปรแกรมจะทำงานอยู่บนเครื่อง servers โดยทั่วไปโปรแกรมบัญชีออนไลน์จะคิดค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือน หรือรายปี โปรแกรมบัญชีออนไลน์มีข้อได้เปรียบก็คือการเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา และความสามารถในการเชื่อมต่อกับระบบภายนอก หรือระบบของรัฐเนื่องจากตัวโปรแกรมเข้าถึงการเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ตได้ เปรียบเทียบระหว่างโปรแกรมบัญชีแบบใช้งานบนเครื่อง กับ โปรแกรมบัญชีแบบใช้งานออนไลน์ สำหรับโปรแกรมบัญชีแบบใช้งานบนเครื่องกับโปรแกรมบัญชีแบบใช้งานออนไลน์นั้นมีความแตกต่างกันหลายๆ ประการด้วยกัน ได้แก่ 1. ราคา โปรแกรมบัญชีแบบใช้งานบนเครื่องมักจะขายขาดครั้งเดียว ไม่จำเป็นต้องจ่ายต่อเนื่อง ถ้าคุณไม่ได้ต้องการให้โปรแกรมอัปเดตอะไรเพิ่มเติม ในขณะที่โปรแกรมบัญชีแบบใช้งานออนไลน์จะให้บริการแบบ subscription คุณจะต้องจ่ายค่าบริการเป็นรายเดือน หรือรายปี ทำไมผู้ให้บริการโปรแกรมบัญชีออนไลน์ถึงต้องคิดค่าบริการเป็นรายเดือน หรือรายปี? เหตุผลสำคัญคือบริการโปรแกรมบัญชีออนไลน์นั้นให้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต 2. การเข้าถึงได้ โปรแกรมบัญชีแบบใช้งานบนเครื่องนั้น สามารถใช้งานได้เพียงแค่บนเครื่องนั้นๆ เท่านั้น หรืออย่างดีหน่อย ก็คือใช้งานได้อยู่บนวง LAN เดียวกัน ในขณะที่โปรแกรมบัญชีออนไลน์สามารถใช้งานได้จากที่ไหนก็ได้ 3. ความปลอดภัย โปรแกรมบัญชีแบบใช้งานบนเครื่อง ถ้าอยู่บนเครื่องที่ไม่ได้ต่ออินเทอร์เน็ต และทั้งวง LAN ไม่มีเครื่องไหนต่ออินเทอร์เน็ตเลย ก็จะปลอดภัยจากภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต ในขณะที่โปรแกรมบัญชีออนไลน์นั้น อยู่บนเครื่อง server ที่ต้องต่ออินเทอร์เน็ตเท่านั้น ดั้งนั้น ถ้าคุณจะใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ คุณจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าผู้ให้บริการโปรแกรมบัญชีออนไลน์นั้นใช้เครื่อง server จากผู้ให้บริการที่มีความปลอดภัยระดับไหน สำหรับโปรแรกมบัญชีออนไลน์ PEAK เอง เราเป็นพันธมิตรของ Microsoft และใช้งาน Microsoft Azure ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ Cloud Server ที่มีความปลอดภัยระดับโลก 4. การทำงานร่วมกันกับผู้ใช้งานอื่น โปรแกรมบัญชีออนไลน์ส่วนใหญ่รองรับการทำงานกับผู้ใช้งานพร้อมกันจากที่ไหนก็ได้ตามสิทธิ์การใช้งานที่ได้รับ ในขณะที่โปรแกรมบัญชีแบบใช้งานบนเครื่องนั้นอยู่บนเครื่องเครื่องเดียว 5. การอัปเดตโปรแกรม โปรแกรมบัญชีแบบใช้งานบนเครื่องนั้น หากเราไม่ได้ชำระค่าบริการรายปี ก็จะไม่ได้รับการอัปเดตใดๆ และปกติการอัปเดตโปรแกรมบัญชีแบบใช้งานบนเครื่องนั้นก็มักจะต้องทำโดยตัวผู้ใช้งานเอง ในขณะที่โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ผู้ให้บริการสามารถอัปเดตตลอดเวลา และผู้ใช้งานไม่ต้องทำอะไรเลย ปัจจัยในการพิจารณาเลือกโปรแกรมบัญชีสำหรับธุรกิจคุณ หลังจากที่เรียนรู้ประโยชน์ของโปรแกรมบัญชี และความแตกต่างระหว่างโปรแกรมบัญชีแบบใช้งานบนเครื่อง กับโปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราจะมาดูกันว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่เราควรพิจารณาในการเลือกโปรแกรมบัญชี 1. งบของเรา ก่อนที่จะเลือก คุณอาจจะต้องพิจารณาว่าคุณเตรียมงบประมาณสำหรับการลงทุนในเรื่องนี้ไว้แค่ไหน โปรแกรมบัญชีแบบใช้งานบนเครื่องนั้นได้เปรียบตรงที่คุณจะจ่ายเพียงแค่ครั้งเดียว แต่นั้นก็แลกมากับการลงทุนที่ค่อนข้างสูงในตอนแรก และแลกมากับการที่คุณไม่ได้รับการอัปเดต ใช้งานได้คนเดียวบนเครื่องนั้นๆ หรือถ้าคุณจะทำ LAN เองคุณต้องลงทุนทำเครื่อง server เอง ในขณะที่โปรแกรมบัญชีออนไลน์นั้นคิดค่าบริการรายเดือน หรือรายปี ส่วนใหญ่ค่าบริการรายเดือนจะถูกกว่าโปรแกรมบัญชีแบบใช้งานบนเครื่องมาก แต่ผู้ใช้งานก็ต้องจ่ายค่าบริการไปทุกเดือนที่ใช้งาน แต่สิ่งที่ได้มาด้วยคือโปรแกรมมีการอัปเดตอัตโนมัติตลอดเวลา มีเจ้าหน้าที่ถามตอบปัญหาการใช้งาน และดูแลในโปรแกรม รวมไปถึงมีเจ้าหน้าที่คอยดูแล server ให้ใช้งานได้เป็นปกติตลอด 24 ชั่วโมง 2. ฟีเจอร์ที่เราใช้งาน ส่วนใหญ่ราคาโปรแกรมบัญชีมักจะต่างกันที่ฟีเจอร์ที่ใช้งาน บางโปรแกรมสามารถคำนวณต้นทุนขายของสินค้าได้ สามารถเก็บข้อมูลกำไรขาดทุนตามมิติต่างๆ ที่ใช้งานได้ หรือเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆได้ เราก็ต้องพิจารณาว่าเราใช้งานอะไรบ้าง หรือแต่ละฟีเจอร์จะช่วยในการทำงานเราตรงไหนบ้าง 2.1. ลิสต์สิ่งที่เราต้องใช้ก่อนเลือก ทำเป็นเช็กลิสไว้ ลิสต์สิ่งที่เราต้องใช้ก่อนเลือก ทำเป็นเช็กลิสต์ไว้ แล้วไปพิจารณาว่าแต่ละโปรแกรมมีฟีเจอร์ต่างๆ ที่เราต้องการหรือไม่ สิ่งที่ต้องระวังคือบางครั้งชื่อของฟีเจอร์ก็อาจจะไม่ได้สื่อถึงสิ่งที่คุณจะใช้ และฟีเจอร์เดียวกันของแต่ละโปรแกรมอาจจะทำงานแตกต่างกันในรายละเอียด ดังนั้นแนะนำว่าควรจะสอบถามกับเจ้าหน้าที่ของแต่ละโปรแกรมให้อธิบายว่าฟีเจอร์นั้นๆ ทำอะไรได้บ้าง หรือแตกต่างกับของที่อื่นอย่างไร 2.2. พิจารณาสิ่งที่โปรแกรมมีให้ บางครั้งโปรแกรมอาจจะมีบางฟีเจอร์ที่คุณไม่ได้คิดไว้ในตอนแรก แต่การที่มีฟีเจอร์นั้นๆ ทำให้การทำงานคุณเปลี่ยนไป และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็เป็นได้  3. ความสามารถในการเติบโตของโปรแกรม คุณควรจะเลือกโปรแกรมที่ตอบโจทย์คุณทั้งในปัจจุบัน และในอนาคตอีก 1 เสต็ป หลายๆ ครั้งที่เราเจอคือลูกค้าเลือกที่จะใช้โปรแกรมบัญชีราคาถูกก่อน เพื่อใช้จัดการเอกสารต่างๆ และสรุปในเบื้องต้น แต่เมื่อธุรกิจเติบโตขึ้นและมีความต้องการทางด้านบัญชี การเงินที่ซับซ้อนมากขึ้น ก็จำเป็นต้องเปลี่ยนโปรแกรมไปใช้ตัวที่ทำอะไรได้มากขึ้น ทำให้กิจการมีต้นทุนเพิ่มขึ้นในช่วงการย้ายข้อมูล (migration) ไม่ว่าจะมาจากการที่คนของกิจการจะต้องคีย์ข้อมูลเพิ่มขึ้น 2 ที่ หรือจากการใช้บริการย้ายข้อมูลของผู้ให้บริการ  4. ความง่ายในการใช้งาน เลือกโปรแกรมบัญชีที่ใช้งานง่าย เพื่อช่วยคุณและทีมงานของคุณเรียนรู้การใช้งานได้ และลดโอกาสที่จะบันทึกผิดพลาด เราแนะนำว่าในการเลือกนี้อยากให้คุณได้ทดลองใช้งานของโปรแกรมจริงๆ และสอบถามเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการถึงสิ่งที่คุณต้องการใช้งานว่าทำอย่างไร บางครั้งการที่คุณหาอะไรบางอย่างไม่เจอ ไม่ได้มาจากการที่โปรแกรมนั้นทำไม่ได้ แต่อาจจะเกิดการจากการ setting ของโปรแกรมก็ได้ 5. การให้บริการ เลือกโปรแกรมบัญชีที่มีบริการที่ดี เพราะว่าการบริการที่ดีช่วยให้คุณทำงานต่างๆได้ง่ายขึ้น และราบรื่นขึ้นเยอะมาก ในส่วนนี้คุณอาจจะสอบถามเพื่อนๆที่ได้ใช้บริการนี้ก่อนคุณว่ามีปัญหาอะไรในการใช้งานหรือไม่ หรือเข้าไปอ่าน review ของลูกค้าก่อนเลือกบริการเจ้าไหน ที่ PEAK เรามีทีมบริการที่ให้บริการดูแลผู้ใช้งานทุกวัน และเรตติ้งการให้บริการของเราก็อยู่ในระดับที่ยอดเยี่ยมจากการ review โดยผู้ใช้งานจริงกว่า 400 คน สรุป  การเลือกโปรแกรมบัญชีซักตัวหนึ่ง อาจจะเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาแต่การเตรียมตัวต่างๆทั้งลิสต์ของฟีเจอร์ที่คุณต้องการใช้งาน หรืองบประมาณที่คุณต้องการลงทุนกับเรื่องนี้ หรือการอ่านรีวิว หรือสอบถามเพื่อนก็จะช่วยให้คุณเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมกับคุณมากขึ้น ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ได้เลยวันนี้ เพื่อช่วยให้คุณพิจารณาโปรแกรมบัญชีที่เหมาะกับคุณ แล้วพบกันนะครับ

4 เม.ย. 2023

PEAK Account

28 min

4 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ “เงินทดรองจ่าย”

ในการชำระค่าสินค้าหรือบริการ โดยปกติกิจการจะใช้วิธีจ่ายเช็คหรือโอนเงินเข้าบัญชีคู่ค้าหรือผู้ให้บริการ ในกรณีของค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายอย่างเร่งด่วน กิจการควรมีเงินสำรองเพื่อให้สามารถเบิกจ่ายได้ตามความจำเป็น โดยใช้ระบบเงินทดรองจ่ายซึ่งเป็นลักษณะการเบิกเงินล่วงหน้า PEAK จะพานักบัญชีและผู้ประกอบการไปติดตามเรื่องต้องรู้เกี่ยวกับเงินทดรองจ่ายในบทความนี้ เงินทดรองจ่ายคืออะไร    เงินทดรองจ่าย คือ เงินที่กิจการสำรองไว้เพื่อให้พนักงานผู้ขอเบิกได้เบิกเงินล่วงหน้าสำหรับการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการตามความจำเป็นในกรณีเร่งด่วนหรือสำหรับงานโครงการ ซึ่งมีทั้งเงินทดรองจ่ายที่เบิกเป็นเงินสดและเงินทดรองจ่ายที่จ่ายเป็นเช็ค เนื่องจากการเบิกจ่ายตามปกติของกิจการ เช่น การจ่ายเช็คหรือโอนเงินเข้าบัญชี มีขั้นตอนการจัดทำและอนุมัติเป็นรอบที่กำหนด ทำให้ไม่ทันต่อการใช้จ่าย                                                                                                  วัตถุประสงค์ของการจัดทำระบบเงินทดรองจ่าย  วัตถุประสงค์ในการจัดทำระบบเงินทดรองจ่ายของกิจการมีดังนี้ ระบบเงินทดรองจ่าย    เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน กิจการสามารถกำหนดให้มีขั้นตอนของระบบเงินทดรองจ่ายดังนี้                                                             1. การขอเบิกเงินทดรองจ่าย ผู้ขอเบิกเงินทดรองจ่ายกรอกแบบฟอร์มใบเบิกเงินทดรองจ่าย โดยกรอกรายการสินค้าหรือบริการ/ประเภทของค่าใช้จ่ายและจำนวนเงินที่เบิก เมื่อได้รับการอนุมัติจากผู้มีอำนาจซึ่งโดยทั่วไปได้แก่ผู้จัดการ/หัวหน้าแผนกของผู้ขอเบิกฯ ผู้ขอเบิกฯ จะส่งเอกสารให้แผนกบัญชี แผนกบัญชีควรกำหนดเวลาในการส่งเอกสารและเบิกเงินทดรองจ่ายเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำงานและเบิกจ่ายได้ทันต่อความจำเป็นที่ต้องการใช้เงิน เช่น กรณีเบิกเป็นเงินสด กำหนดให้ส่งเอกสารใบเบิกเงินทดรองจ่ายทุกวันอังคารเวลา    9.00น.-11.00 น.และกำหนดเวลารับเงินสดในวันพฤหัสบดีในช่วงเวลาและสัปดาก์เดียวกัน ส่วนกรณีเบิกเป็นเช็ค กำหนดส่งเอกสารใบเบิกเงินทดรองจ่ายทุกวันอังคาร เวลา 9.00น.-11.00 น. และผู้ขอเบิกฯ ได้รับเช็คในวันพฤหัสบดี ในช่วงเวลาและสัปดาห์เดียวกัน เป็นต้น  2. การตรวจสอบเอกสารใบขอเบิกเงินทดรองจ่าย เมื่อแผนกบัญชีได้รับเอกสารใบเบิกเงินทดรองจ่ายจากผู้ขอเบิกฯ จะทำการตรวจสอบว่าจำนวนเงินที่ขอเบิกไม่เกินวงเงินที่กำหนดแต่ละครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละกิจการ เมื่อผู้มีอำนาจอนุมัติการเบิกเงินทดรองจ่ายแล้ว แผนกบัญชีจะจัดทำใบสำคัญจ่ายแนบเอกสารใบเบิกเงินทดรองจ่ายส่งให้แผนกการเงินเพื่อจัดเตรียมเงินสดหรือโอนเงินเข้าบัญชีของผู้ขอเบิกฯ กรณีที่เบิกจ่ายเป็นเช็ค แผนกการเงินจะจัดทำเช็ค เมื่อได้รับอนุมัติการจ่ายเช็คแล้วจะทำการจ่ายเช็คให้แก่ผู้ขอเบิกฯ                                                       จากนั้นแผนกการเงินจะจัดเก็บเอกสารต้นฉบับใบเบิกเงินทดรองจ่ายไว้ และส่งสำเนาใบเบิกเงินทดรองจ่ายฉบับที่1 ให้แก่ผู้ขอเบิกฯ เก็บไว้เป็นหลักฐาน โดยมีการลงนามผู้อนุมัติการจ่ายเงิน ผู้จ่ายเงินและผู้รับเงิน ส่วนสำเนาใบเบิกเงินทดรองจ่ายฉบับที่2 แผนกการเงินจะบันทึกรายการขอเบิกเงินทดรองจ่ายในทะเบียนคุมเงินทดรองจ่าย โดยกรอกข้อมูลชื่อผู้ขอเบิกฯ และแผนกของผู้ขอเบิกฯ เลขที่และวันที่ใบเบิกเงินทดรองจ่าย รวมทั้งจำนวนเงินทดรองจ่าย วันที่กำหนดคืนเงินทดรองจ่าย จากนั้นแผนกการเงินจะส่งใบสำคัญจ่ายพร้อมสำเนาใบเบิกเงินทดรองจ่ายฉบับที่ 2 ให้แก่แผนกบัญชีเพื่อบันทึกบัญชีตั้งเบิกเงินทดรองจ่าย  3. การเคลียร์เงินทดรองจ่าย ผู้ขอเบิกฯ จัดทำเอกสารใบเคลียร์เงินทดรองจ่ายและแนบหลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือค่าใช้จ่าย โดยมีผู้จัดการแผนกของพนักงานผู้ขอเบิกฯ เป็นผู้ตรวจสอบและลงนามในเอกสารใบเคลียร์เงินทดรองจ่าย (รูปที่ 2) หลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือค่าใช้จ่าย ได้แก่ ต้นฉบับใบเสร็จรับเงิน ต้นฉบับใบกำกับภาษี  ใบรับสินค้า ใบสั่งซื้อ ใบขอซื้อ เป็นต้น กรณีที่มีเงินเหลือส่งคืนผู้ขอเบิกฯ สามารถนำเงินสดมาคืนกิจการ หรือใช้วิธีนำเงินที่เหลือฝากเข้าบัญชีของกิจการแล้วนำเอกสาร Pay Slip แนบมาพร้อมกับหลักฐานเอกสารการเคลียร์เงินทดรองจ่าย       4. การตรวจสอบเอกสารการเคลียร์เงินทดรองจ่าย   แผนกบัญชีตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารใบเคลียร์เงินทดรองจ่ายและหลักฐานใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี ที่ผู้ขอเบิกฯ นำมาเคลียร์ แล้วลงนามตรวจสอบในเอกสารใบเคลียร์เงินทดรองจ่าย จากนั้นนำส่งเอกสารทั้งหมดให้แก่แผนกการเงิน                                      5. การติดตามทวงถามการเคลียร์เงินทดรองจ่าย เมื่อแผนกการเงินได้รับเอกสารการเคลียร์เงินทดรองจ่ายจากแผนกบัญชี ควรอัปเดตข้อมูลในทะเบียนคุมเงินทดรองจ่าย แผนกการเงินควรติดตามทวงถามให้มีการเคลียร์เงินทดรองจ่ายภายในระยะเวลาที่กิจการกำหนด เช่น มีการโทรเตือนหรือส่งอีเมลแจ้งผู้ขอเบิกฯ เมื่อถึงเวลาใกล้วันครบกำหนด โดยเฉพาะเมื่อสถานะของผู้ขอเบิกฯ เป็นการ “เกินกำหนดชำระ” ควรมีมาตรการในการติดตามทวงถามอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นการควบคุมไม่ให้มีเงินทดรองจ่ายค้างนาน 6. การบันทึกบัญชี แผนกบัญชีมีหน้าที่บันทึกบัญชีตามเอกสารการเบิกเงินทดรองจ่ายและเอกสารการเคลียร์เงินทดรองจ่าย โดยบันทึกบัญชีดังนี้ ตัวอย่างการบันทึกบัญชี                                                                                                              6.1 การเบิกเงินทดรองจ่าย                                                                  เดบิต เงินทดรองจ่าย                     30,000 บาท                                                                                                                                            เครดิต เงินสด/เงินฝากธนาคาร                 30,000 บาท       นายเอเบิกเงินทดรองจ่ายสำหรับงานโครงการวางท่อประปาหมู่บ้าน กขค                                          6.2 การเคลียร์เงินทดรองจ่าย ผู้ขอเบิกฯ ต้องคืนเงินให้แก่กิจการ เนื่องจากจำนวนเงินทดรองจ่ายที่เบิกไปสูงกว่าค่าใช้จ่ายที่ใช้จ่ายจริง เดบิต ค่าใช้จ่าย                     29,500 บาท                                                                                                                                   เดบิต เงินสด/เงินฝากธนาคาร        500 บาท                     เครดิต เงินทดรองจ่าย                            30,000 บาท                                                                      นายเอเคลียร์เงินทดรองจ่ายและคืนเงินทดรองจ่ายให้กิจการ 500 บาท   6.3 การเคลียร์เงินทดรองจ่ายและกิจการต้องจ่ายเงินเพิ่ม เนื่องจากจำนวนเงินทดรองจ่ายที่เบิกไป น้อยกว่าค่าใช้จ่ายที่ใช้จ่ายจริง                                                                                                                                      เดบิต ค่าใช้จ่าย                     30,800 บาท                                                                                                                                                            เครดิต เงินสด/เงินฝากธนาคาร                     800 บาท                                                                                เครดิต เงินทดรองจ่าย                            30,000 บาท                                                                      นายเอเคลียร์เงินทดรองจ่ายและเบิกเพิ่ม 800 บาท                                                                                                                                                                                                                                                                 การควบคุมภายในระบบเงินทดรองจ่าย สำหรับระบบเงินทดรองจ่าย กิจการควรดำเนินการให้มีระบบการควบคุมภายในดังนี้                                       1. การกำหนดระเบียบขั้นตอนสำหรับระบบเงินทดรองจ่าย กิจการควรกำหนดระเบียบขั้นตอนสำหรับระบบเงินทดรองจ่าย ตามแนวปฏิบัติที่กล่าวมาข้างต้น โดยจัดให้มีการตรวจสอบการอนุมัติรายการ มีการควบคุมการปฏิบัติงานให้ถูกต้องตรงกับแนวปฏิบัติที่ทางกิจการกำหนดไว้ ผู้บริหารควรมีการทบทวนหลักเกณฑ์ให้เหมาะสมและชัดเจนเป็นระยะ เช่น เป็นรายปี                                                                    2. การกำหนดจำนวนที่เหมาะสมสำหรับการเบิกจ่ายเงินทดรองจ่ายแต่ละครั้ง กิจการควรมีการกำหนดจำนวนเงินที่เหมาะสมสำหรับการเบิกจ่ายในแต่ละครั้ง เช่น 30,000 บาท เป็นต้นและควรมีการควบคุม ตรวจสอบการเบิกจ่ายแต่ละครั้งไม่ให้เกินจากจำนวนเงินที่กำหนดไว้ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริต อย่างไรก็ตามกิจการสามารถทบทวนจำนวนเงินที่เหมาะสมกับการใช้งานได้ บางกิจการอาจกำหนดให้มีวงเงินทดรองจ่ายมากกว่า 1 วงเงินได้ อย่างเช่น กิจการที่มีสาขา เพื่อความสะดวกในการดำเนินงาน กิจการอาจกำหนดให้มีวงเงินที่สำนักงานใหญ่และวงเงินที่สาขาแยกกัน หรือ กำหนดวงเงินแยกตามประเภทการใช้งาน เช่น วงเงินทดรองจ่ายสำหรับกรณีทั่วไป กับกรณีการจ่ายค่าเคลียร์สินค้านำเข้า สำหรับกิจการที่มีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ 3. การควบคุมการเคลียร์เงินทดรองจ่ายภายในเวลาที่เหมาะสมและการจัดทำทะเบียนคุมเงินทดรองจ่าย กิจการควรกำหนดให้มีการเคลียร์เงินทดรองจ่ายภายในเวลาที่เหมาะสม เช่น การเคลียร์ภายใน 15 วันนับจากวันที่ได้รับเงิน โดยใช้ทะเบียนคุมเงินทดรองจ่ายในการควบคุม กรณีมีเงินทดรองจ่ายค้างนานเกินกำหนดเวลา ควรมีกระบวนการในการติดตามทวงถาม ควรมีระบบการแจ้งเตือนผู้ขอเบิกฯ หรือแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาของผู้ขอเบิกฯ ทราบว่ามีสถานะเกินกำหนดเวลาในการเคลียร์เงินทดรองจ่าย โดยใช้วิธีการส่งอีเมลแจ้ง และควรมีการจัดทำรายงานสรุปการเบิกเงินทดรองจ่ายเกินกำหนดเวลาให้ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องทราบเป็นรายเดือน     4. การแบ่งแยกหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ชัดเจน                                                        โดยแผนกที่เกี่ยวข้องกับระบบเงินทดรองจ่าย ได้แก่                                                                  4.1 แผนกการเงิน โดยปกติเจ้าหน้าที่แผนกการเงินเป็นผู้ถือเงินทดรองจ่ายและจัดทำทะเบียนคุมเงินทดรองจ่าย รวมทั้งการจัดเตรียมเช็คจ่ายสำหรับกรณีมีผู้ขอเบิกฯ เป็นเช็ค และทำหน้าที่ออกหนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีที่เป็นเงินทดรองจ่ายซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เข้าเงื่อนไขต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย รวมทั้งการจัดทำงบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร             4.2 แผนกบัญชีมีหน้าที่ตรวจสอบใบเบิกเงินทดรองจ่ายเมื่อมีผู้มาขอเบิกฯ โดยตรวจสอบว่ามีการอนุมัติ ถูกต้อง และตรวจสอบจำนวนเงินที่เบิกแต่ละครั้งว่าเกินจำนวนเงินที่กิจการกำหนดไว้หรือไม่ รวมทั้งการตรวจสอบการเคลียร์เงินทดรองจ่ายว่าหลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้องครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ เป็นรายจ่ายทางภาษีได้หรือไม่ การหักภาษี ณ ที่จ่ายครบถ้วนถูกต้อง รวมทั้งแผนกบัญชีมีหน้าที่บันทึกบัญชีเมื่อมีการเบิกเงินทดรองจ่ายและการเคลียร์เงินทดรองจ่าย                                                                                                    5. การกำหนดให้มีหลักฐานการรับเงินและการประทับตรา “จ่ายแล้ว” ในเอกสารการจ่าย เมื่อมีการจ่ายเงินทดรองจ่าย ควรให้ผู้ขอเบิกเงินฯ ลงลายมือชื่อเป็นหลักฐานในการรับเงินทุกครั้ง พร้อมทั้งประทับตรา “จ่ายแล้ว” ในเอกสารการเบิกเงินทดรองจ่ายและเอกสารใบเคลียร์เงินทดรองจ่ายรวมทั้งหลักฐานประกอบทุกใบเพื่อป้องกันการนำเอกสารมาเบิกซ้ำ                                                                         6. การตรวจสอบหลักฐานเอกสารประกอบการเคลียร์ค่าใช้จ่ายให้ครบถ้วนถูกต้อง แผนกบัญชีควรตรวจสอบเอกสารประกอบที่นำมาเคลียร์ค่าใช้จ่ายให้มีความครบถ้วนถูกต้อง สามารถหักเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ ใบเสร็จรับเงินเป็นเอกสารต้นฉบับโดยต้องมีชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้รับเงินที่ชัดเจนและสมบูรณ์ ใบกำกับภาษีมีข้อความครบถ้วนถูกต้องสามารถใช้ขอคืนทางภาษีได้                                                        […]

19 ก.พ. 2023

PEAK Account

27 min

เรื่องสำคัญปิดบัญชีปลายปีที่ควรรู้

งานปิดบัญชีเป็นงานสำคัญของนักบัญชีที่ต้องทำการสรุปรายการค้าที่เกิดขึ้นของรอบปีบัญชีนั้น จัดทำเป็นงบการเงินของกิจการ เพื่อนำส่งให้กรมพัฒนาธุรกิจ และกรมสรรพากรตามกฎหมาย และเพื่อเป็นรายงานทางการเงินประจำปีที่สรุปผลการดำเนินงานและฐานะทางเงินของกิจการ เพื่อผู้ประกอบการนำไปวางแผนและวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ การปิดบัญชีคืออะไร การปิดบัญชีหรือการปิดงบประจำปี คือ การจัดการเพื่อให้ได้งบการเงิน ทำให้ตัวเลขในบัญชีตรงกับความเป็นจริงโดยการโอนบัญชีรายได้ ค่าใช้จ่ายไปยังบัญชีกำไรขาดทุนและโอนปิดเข้าบัญชีทุน เพื่อหายอดคงเหลือที่ถูกต้องของบัญชีทุน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี รวมทั้งการสรุปยอดคงเหลือของบัญชีสินทรัพย์ หนี้สิน เพื่อยกยอดไปยังงวดบัญชีถัดไป โดยปกติรอบระยะเวลาบัญชีของกิจการจะเป็นระยะเวลาเท่าไรก็ได้แต่ไม่เกิน 1 ปี จะเริ่มต้นวันที่ 1 มกราคมหรือไม่ก็ได้ กิจการส่วนใหญ่กำหนดรอบระยะเวลาบัญชีตามปีปฏิทิน เช่น รอบบัญชี 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม หรือ 1 เมษายน ถึง 31 มีนาคม เป็นต้น ประเภทของการปิดบัญชี 1. การปิดบัญชีประจำวัน                                                                                                                  เป็นการปิดบัญชีทุกสิ้นวันในสมุดเงินสด ซึ่งทำให้เจ้าของกิจการทราบเงินสดคงเหลือในทุกสิ้นวัน และในปัจจุบันส่วนใหญ่กิจการจะเปิดบัญชีกับธนาคาร เจ้าของกิจการสามารถเช็กยอดคงเหลือบัญชีธนาคารผ่านทางระบบ Mobile Application ซึ่งมีความสะดวกรวดเร็ว 2. การปิดบัญชีประจำเดือน                                                                                                                    เป็นการปิดบัญชี สมุดรายวันซื้อ สมุดรายวันขาย สมุดรายวันรับ สมุดรายวันจ่าย สมุดรายวันทั่วไป รวมทั้งรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภทเพื่อจัดทำงบทดลอง 3. การปิดบัญชีประจำปี                                                                                                                   เป็นการปิดบัญชีทุกบัญชีในสมุดรายวันแยกประเภท หลังจากที่มีการปรับปรุงรายการ การรับรู้รายได้และบันทึกค่าใช้จ่ายในงวด การบันทึกรายการค่าเสื่อมราคา รายการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ค่าเผื่อการด้อยค่าของสินค้าคงเหลือ และจัดทำงบการเงิน    วัตถุประสงค์ของการปิดบัญชีประจำปี เพื่อจัดทำงบการเงินให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและแสดงความเห็นต่องบการเงินของกิจการและกรรมการบริษัทนำเสนอเพื่ออนุมัติงบการเงินในที่ประชุมผู้ถือหุ้น เมื่องบการเงินได้รับอนุมัติแล้วกิจการต้องนำส่งงบการเงินให้แก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า 7 ขั้นตอนการปิดบัญชีประจำปี สำหรับขั้นตอนในการปิดบัญชี ประกอบด้วย 1. การกำหนดตารางเวลาในการปิดบัญชี เป็นการกำหนดตารางลำดับงานที่นักบัญชีต้องดำเนินการ เพื่อจุดมุ่งหมายที่จะจัดทำงบการเงินให้ได้ภายในเวลาที่กำหนด 2. การปิดบัญชีระบบต่างๆ ได้แก่ ระบบลูกหนี้ ระบบเจ้าหนี้ ระบบรับเงิน ระบบจ่ายเงิน โดยการบันทึกเอกสารให้ครบถ้วนถูกต้อง การบันทึกบัญชีได้รับการตรวจสอบและอนุมัติจากผู้มีอำนาจ     3. การปรับปรุงรายการปิดงบการเงิน (Journal Voucher Entries) โดยกิจการควรจัดทำ JV List ซึ่งเป็นรายการที่ปรับปรุงเป็นประจำทุกปี รวมทั้งรายการปรับปรุงที่เกิดขี้นใหม่ในปีนั้นๆ และ Journal Voucher ควรมีลายเซ็นผู้จัดทำและลายเซ็นผู้ตรวจสอบอนุมัติให้ครบถ้วน ต้วอย่าง JV List เลขที่ JV รายการปรับปรุง บัญชีที่เกี่ยวข้อง 1 ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ลูกหนี้การค้า 2 อัตราแลกเปลี่ยนของลูกหนี้ ลูกหนี้การค้า 3 ดอกเบี้ยค้างรับ ลูกหนี้อื่น 4 ค่าเผื่อสินค้าล้าสมัย (NRV) สินค้าคงเหลือ 5 สินค้าคงเหลือจากการตรวจนับ สินค้าคงเหลือ 6 ปิดต้นทุนสินค้า สินค้าคงเหลือ 7 ตัดจ่ายค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 8 ปรับปรุงลูกหนี้ เจ้าหนี้สรรพากร สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 9 ปรับปรุงค่าเสื่อมราคาของอาคารและอุปกรณ์ ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ 10 ปรับปรุงรายการตัดจ่ายของอาคารและอุปกรณ์ ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ 11 ปรับปรุงค่าตัดจำหน่ายของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน สินทรัพย์ไม่มีตัวตน 12 ปรับปรุงรายการตัดจ่ายของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน สินทรัพย์ไม่มีตัวตน 13 อัตราแลกเปลี่ยนของเจ้าหนี้ เจ้าหนี้การค้า 14 ปรับปรุงค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เจ้าหนี้อื่น 15 ตัดการรับรู้รายได้รับล่วงหน้า หนี้สินหมุนเวียนอื่น 16 ปรับปรุงภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่มา:เอกสารสัมมนาเรื่อง ปิดงบการเงินอย่างมืออาชีพ, อบรมบัญชีออนไลน์ เก็บชั่วโมง CPD CPA, CPD Tutor ตัวอย่างการปรับปรุงบัญชี ตาม JV List 3.1 ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ เดบิต หนี้สงสัยจะสูญ เครดิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ                                               สำหรับกิจการ NPAEs (กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ) ตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน(TRRS) ฉบับที่ 9 วิธีการประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญมีด้วยกัน 3 วิธี ได้แก่     ก. วิธีอัตราร้อยละของยอดขายเชื่อสุทธิ คำนวณจำนวนหนี้สงสัยจะสูญเป็นร้อยละของยอดขายเชื่อสุทธิข. วิธีอัตราร้อยละของลูกหนี้ที่ค้างชำระแยกตามอายุของลูกหนี้ คำนวณโดยการจัดกลุ่มลูกหนี้จำแนกตามอายุของหนี้ที่ค้างชำระ ลูกหนี้กลุ่มที่ค้างชำระนานนำมาคำนวณหาจำนวนหนี้สงสัยจะสูญด้วยอัตราร้อยละที่สูงกว่าลูกหนี้ที่เริ่มค้างชำระเกินกำหนด โดยถือว่าลูกหนี้ที่ค้างชำระนานจะมีโอกาสไม่ชำระหนี้มากกว่าลูกหนี้ที่เริ่มเกิดขึ้นค. วิธีพิจารณาลูกหนี้เป็นแต่ละราย พิจารณาจากความสามารถในการชำระหนี้และจำนวนเงินที่คาดว่าจะได้รับชำระจากลูกหนี้  3.2 อัตราแลกเปลี่ยนของลูกหนี้ ในการขายสินค้าหรือให้บริการที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศ อัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้ ณ วันที่เกิดรายการใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณวันที่เกิดรายการ เมื่อถึงวันสิ้นงวดเมื่อมีลูกหนี้คงเหลือ กิจการต้องปรับปรุงรายการให้เป็นอัตราแลกเปลี่ยนเป็นอัตราปิด (อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี) กรณีที่เกิดกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน เดบิต ลูกหนี้                                                                                                                               เครดิต กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน                                                                                            กรณีที่เกิดขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน                                                                                  เดบิต ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน                                                                                                                             เครดิต ลูกหนี้ 3.3 การปรับปรุงค่าเสื่อมราคาของอาคารและอุปกรณ์                                                                                                                               เดบิต ค่าเสื่อมราคา                                                                                                                                           เครดิต ค่าเสื่อมราคาสะสม 4. การจัดทำงบทดลองและรายละเอียดประกอบงบการเงิน การจัดทำงบทดลองในขั้นตอนนี้ถือเป็น First Draft ซึ่งนักบัญชีจะนำมาตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของรายการที่บันทึกบัญชีในปีนั้นๆ เบื้องต้น หลังจากที่ปิดระบบลูกหนี้ เจ้าหนี้ รับเงิน จ่ายเงิน และบันทึกรายการปรับปรุงในข้อ 3 แล้ว ตัวอย่างงบทดลอง ที่มา : รายงานงบทดลอง (A022) – PEAK Blog (peakaccount.com) จากนั้นเป็นขั้นตอนที่นักบัญชีจะจัดทำรายละเอียดประกอบงบ ซึ่งเป็นรายละเอียดของรายการสินทรัพย์หรือหนี้สินที่มียอด คงเหลืออยู่ ณ วันสิ้นปีนั้น 5.การจัดทำงบกระทบยอด งบกระทบยอดที่สำคัญ ได้แก่ 5.1 งบกระทบยอดเงินฝากธนาคาร                                                                                                  เป็นการพิสูจน์ว่ายอดเงินฝากในบัญชีธนาคารกับรายการบัญชีธนาคารที่กิจการบันทึกบัญชี มีความแตกต่างกันเนื่องจากสาเหตุใด เพื่อช่วยแก้ไขข้อผิดพลาดจากการบันทึกบัญชี ทำให้การบันทึกรายการบัญชีธนาคารครบถ้วนถูกต้อง โดยสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างยอดเงินฝากในบัญชีธนาคารและรายการบัญชีธนาคารที่กิจการบันทึกนั้นประกอบไปด้วย ก. รายการที่กิจการบันทึกบัญชีแล้วแต่ธนาคารยังไม่บันทึก ได้แก่ รายการเงินฝากระหว่างทาง (Deposits in Transit) เช่น เกิดจากเช็ครอเคลียริ่ง ทำให้ยอดเงินฝากธนาคารต่ำไป หรือรายการเช็คค้างจ่าย(Outstanding Cheques) คือ เช็คที่กิจการสั่งจ่ายไปแล้ว แต่ผู้รับเช็คยังไม่นำเช็คไปขึ้นเงินจากธนาคารทำให้ยอดเงินฝากธนาคารสูงกว่ากิจการข. รายการที่ธนาคารบันทึกรายการโดยยังไม่ได้แจ้งให้กิจการทราบ ได้แก่ รายการที่ธนาคารเพิ่มยอดเงินฝากโดยยังไม่ได้แจ้งให้กิจการทราบ เช่น มีการโอนเงินเข้าบัญชี ทำให้เงินฝากธนาคารสูงกว่ากิจการ หรือรายการที่ธนาคารลดยอดเงินฝากโดยมิได้แจ้งให้กิจการทราบ เช่น ค่าธรรมเนียม เช็คคืน เป็นต้นค. เกิดจากความผิดพลาดของกิจการ เช่น นักบัญชีบันทึกรายการเงินฝากธนาคารด้วยจำนวนเงินที่ผิดง. เกิดจากความผิดพลาดของกิจการ เช่น ธนาคารนำเช็คของผู้อื่นมาหักบัญชีเงินฝากของกิจการ   5.2 การกระทบยอดภาษีมูลค่าเพิ่ม การกระทบยอดภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นการกระทบของกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นการกระทบยอดยอดรายได้ที่ยื่นตามแบบภ.พ.30 และรายได้ตามงบทดลองถูกต้องตรงกัน โดยสามารถหาเหตุผลอธิบายความแตกต่างได้   6. การจัดทำงบทดลอง (Final) หลังจากที่กิจการจัดทำรายละเอียดประกอบงบและงบกระทบยอดแล้ว ควรทำการตรวจสอบว่ามีรายการที่ต้องปรับปรุงหรือบันทึกบัญชีเพิ่มเติมหรือไม่กับงบทดลอง เมื่อบันทึกรายการถูกต้องครบถ้วนแล้ว กิจการก็สามารถจัดทำงบทดลองชุด Final ได้  7. การจัดเตรียมเอกสารและรายงานทางบัญชีให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบ หลังจากจัดทำงบทดลองชุดFinal กิจการสามารถพิมพ์รายงานงบแสดงฐานะเงินและงบกำไรขาดทุนและเตรียมเอกสารและรายงานทางบัญชีอื่นๆ ให้ผู้สอบบัญชีทำการตรวจสอบ ได้แก่ ก. งบทดลอง งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน ประจำปีข. บัญชีแยกประเภท สมุดรายวันซื้อ สมุดรายวันขาย สมุดรายวันรับ-จ่าย สมุดรายวันทั่วไป รวมทั้งเอกสารการบันทึกบัญชีและเอกสารประกอบค. รายละเอียดประกอบงบ งบกระทบยอดเงินฝากธนาคาร รายงานกระทบยอดภาษีมูลค่าเพิ่มง. Bank Statement สมุดบัญชีธนาคารจ. รายงานอายุลูกหนี้ (AR Aging Report) รายงานอายุเจ้าหนี้ (AP Aging Report)ฉ. รายงานอายุสินค้าคงเหลือ (Inventory Aging Report)ช. รายงานการคำนวณต้นทุนขาย ต้นทุนผลิตซ. รายงานการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล รายละเอียดรายจ่ายที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายตามประมวลรัษฎากรฌ. สำเนาแบบ ภ.ง.ด.3, ภ.ง.ด.53 ภ.พ.30 และใบเสร็จรับเงินญ. รายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขายญ. สำเนาแบบ ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.1ก และใบเสร็จรับเงินฎ. สำเนาภ.ง.ด.51ฐ. ทะเบียนสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset Register) เป็นต้น หลังจากที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบงบการเงินประจำปีแล้ว กิจการจะได้รับงบการเงินที่ตรวจสอบแล้วซึ่งประกอบด้วย 1. รายงานผู้สอบบัญชี หน้ารายงานผู้สอบบัญชีมี 4 แบบ ได้แก่                                                                                         แบบที่1 ไม่มีเงื่อนไข                                                                                                       แบบที่2 มีเงื่อนไข                                                                                                            แบบที่3 งบการเงินไม่ถูกต้อง                                                                                                             แบบที่4 ไม่แสดงความเห็น                                                                                                            2. งบแสดงฐานะการเงิน                                                                                                                              เป็นรายงานที่แสดงฐานะการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง เพื่อให้ทราบว่ากิจการมีสินทรัพย์ หนี้สินและทุนเท่าไร                    3. งบกำไรขาดทุน                        […]

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

8 min

สินทรัพย์หมุนเวียนคืออะไร สำคัญต่อธุรกิจของเราอย่างไร

สินทรัพย์หมุนเวียนเป็นส่วนสำคัญของงบการเงิน มีส่วนช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้ดีและมั่นคงมากขึ้น การมีสินทรัพย์หมุนเวียนที่เพียงพอจะช่วยบริษัทรักษาสภาพคล่องได้ ทั้งการชำระหนี้สินในระยะสั้น และใช้เป็นงบประมาณในดำเนินกิจการให้ไม่สะดุดด้านค่าใช้จ่ายประจำวัน สำหรับใครยังไม่รู้จักว่าสินทรัพย์หมุนเวียนคืออะไร ธุรกิจต่าง ๆ ควรมีสินทรัพย์นี้หรือไม่ เรามีคำตอบมาฝากกัน สินทรัพย์หมุนเวียน คืออะไร สินทรัพย์หมุนเวียน คือ สินทรัพย์ที่สามารถแปลงเป็นเงินสดเพื่อนำมาใช้จ่ายในธุรกิจประจำวันให้ยังคงมีสภาพคล่องได้โดยไม่สะดุด ไม่ว่าตลาดตอนนั้นจะเป็นอย่างไรธุรกิจก็จะมีเงินรองรับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่แน่นอนได้ โดยสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายใน 1 รอบระยะเวลาของการดำเนินธุรกิจหรือ 1 ปี ซึ่งแบ่งออกเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน 10 ชนิดด้วยกัน เช่น เงินสด บัญชีลูกหนี้ สินค้าคงคลัง และรายได้ค้างรับ เป็นต้น สินทรัพย์หมุนเวียน 10 ชนิด มีอะไรบ้าง สินทรัพย์หมุนเวียนสามารถแบ่งออกได้หลายประเภท ซึ่งทั้งหมดนี้มีความสามารถในการเปลี่ยนสภาพเป็นเงินสด ภายในระยะเวลาอันสั้น เช่น ข้อดีของการมีสินทรัพย์หมุนเวียน การมีสินทรัพย์หมุนเวียนเพียงพอ ช่วยให้การทำธุรกิจไม่สะดุดและมีความมั่นคงในอนาคต มีสภาพคล่องทางการเงินในการชำระหนี้ระยะสั้นและพอสำหรับใช้ดำเนินงาน ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นทางการเงินให้ธุรกิจรับมือกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนได้โดยไม่เกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง และการมีสินทรัพย์หมุนเวียนเพียงพอจะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นจากผู้ร่วมลงทุนให้ธุรกิจได้ สินทรัพย์หมุนเวียนมีประโยชน์อย่างไรต่อนักลงทุน สินทรัพย์หมุนเวียนเป็นข้อมูลสำคัญที่นักลงทุนใช้วิเคราะห์สุขภาพทางการเงินของบริษัท โดยจะช่วยวิเคราะห์สภาพคล่อง ทั้งยังช่วยให้นักลงทุนประเมินความเสี่ยงและความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัทได้ หรือช่วย ทำให้นักลงทุนสามารถพิจารณาความเสี่ยงอันเกี่ยวเนื่องกับการลงทุนในบริษัทนั้น ๆ และช่วยตัดสินใจลงทุนในบริษัทดีขึ้นด้วย สินทรัพย์หมุนเวียนเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้การทำธุรกิจ โดยเป็นทรัพยากรที่สามารถแปลงสภาพเป็นเงินสดได้ภายในระยะเวลาอันสั้น การมีสินทรัพย์หมุนเวียนที่เพียงพอช่วยให้ธุรกิจรักษาสภาพคล่องและปรับตัวต่อสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนได้เป็นได้ดี นอกจากนี้ นักลงทุนยังใช้ข้อมูลนี้ในการวิเคราะห์สุขภาพทางการเงินประเมินความแข็งแกร่งของธุรกิจ และตัดสินใจลงทุนในบริษัทได้ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

8 min

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนคืออะไร ต่างจากสินทรัพย์หมุนเวียนอย่างไร

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเป็นทรัพยากรหรือสิ่งที่ธุรกิจถือครองเพื่อการดำเนินธุรกิจในระยะยาว โดยปกติแล้วสินทรัพย์เหล่านี้ไม่สามารถนำมาเพื่อเปลี่ยนเป็นเงินสดได้แบบรวดเร็ว และไม่ค่อยมีผลกับการดำเนินกิจการรายวัน แต่เป็นการลงทุนระยะยาวที่สามารถขับเคลื่อนการเติบโตและสามารถทำกำไรให้บริษัทได้ ผู้ที่จะบริหารธุรกิจในระยะยาวให้ประสบความสำเร็จ จึงควรทำความเข้าใจและรู้วิธีการบริหารจัดการสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนนี้ ความสำคัญของการรู้สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน การเข้าใจเรื่องสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารธุรกิจ เพราะสินทรัพย์ประเภทนี้มักมีมูลค่าสูงและเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการดำเนินกิจการ การรู้จักบริหารจัดการสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนจะทำให้ธุรกิจมีโอกาสประสบความสำเร็จได้ในอนาคต โดยเฉพาะในด้านการวางแผนการลงทุนว่ามีความคุ้มค่าหรือไม่และจะบริหารต้นทุนหรือกำหนดแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมอย่างไร นอกจากนี้ ยังช่วยในการคำนวณค่าเสื่อมราคา วางแผนการบำรุงรักษา และควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดีอีกด้วย สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนคืออะไร สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน คือ สินทรัพย์ที่ธุรกิจใช้ในการทำธุรกิจเพื่อสร้างรายได้ในระยะยาว โดยไม่สามารถแปลงสภาพเป็นเงินสดได้ภายในหนึ่งปี เช่น ที่ดิน อาคาร เครื่องจักร ยานพาหนะ สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ และรวมถึงการลงทุนในบริษัทอื่น ๆ ทั้งสินทรัพย์ที่มีตัวตนและสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนต่างจากสินทรัพย์หมุนเวียนอย่างไร สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนและสินทรัพย์หมุนเวียนจะแตกต่างกันเรื่องของการใช้งานและระยะเวลา โดยสินทรัพย์หมุนเวียนสามารถแปลงเป็นเงินสดได้ภายในหนึ่งปี เช่น เงินสด บัญชีลูกหนี้ หรือสินค้าคงคลัง ในขณะที่สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนมีระยะเวลาการใช้งานที่ยาวนานกว่าและไม่ได้มีไว้เพื่อขายหรือแปลงเป็นเงินสดในระยะเวลาอันสั้น ลักษณะของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงและสามารถใช้งานได้ยาวนาน สินทรัพย์เหล่านี้ไม่ได้มีไว้สำหรับขายหรือใช้งานในระยะสั้น แต่มีบทบาทในการทำธุรกิจในระยะยาว โดยลักษณะของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนยังรวมถึงสินทรัพย์ที่มีความทนทาน สามารถสร้างรายได้ในอนาคต และสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ประเภทของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ไม่มีสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 10 ชนิด ที่มากเท่าสินทรัพย์หมุนหมุนเวียน รายละเอียดดังนี้ 1. สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่มีตัวตน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่มีตัวตน คือ สินทรัพย์ที่มองเห็นและสามารถจับต้องได้ ซึ่งมีมูลค่าและช่วยสนับสนุนการดำเนินธุรกิจ เช่น ที่ดิน อาคาร โรงงาน เครื่องจักร ทรัพยากรธรรมชาติ ยานพาหนะ เฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ สินทรัพย์เหล่านี้มักมีอายุการใช้งานยาวนาน โดยทั่วไปสินทรัพย์เหล่านี้มักจะมีค่าเสื่อมราคา ซึ่งแสดงถึงมูลค่าที่ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป เนื่องจากการสึกหรอ ความล้าสมัย หรือปัจจัยอื่นๆ 2. สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่จับต้องไม่ได้ สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่จับต้องไม่ได้ คือ สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนทางกายภาพ แต่มีมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจ เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ค่าความนิยม การจดจำแบรนด์ ความสัมพันธ์กับลูกค้า ใบอนุญาตซอฟต์แวร์ และข้อตกลงแฟรนไชส์ สินทรัพย์ประเภทนี้เป็นสินทรัพย์ที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถแข่งขันและสร้างรายได้ในระยะยาว โดยสินทรัพย์เหล่านี้ไม่มีการคิดค่าเสื่อมราคา แต่อาจเกิดการด้อยค่าหากมูลค่าลดลงเนื่องจากสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลง การแข่งขัน หรือปัจจัยอื่น ๆ สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนมีประโยชน์อย่างไรต่อนักลงทุน บริษัทมีสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนจำนวนมาก เช่น ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ อาจหมายความว่าบริษัทมีกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจเพื่อให้มีการเติบโตในระยะยาว ซึ่งช่วยให้เหล่านักลงทุนตัดสินใจเลือกลงทุนได้ง่าย หรือบริษัทที่มีสิทธิบัตรหรือเครื่องหมายการค้าจำนวนมาก อาจมีมูลค่าโดยรวมที่สูงกว่าบริษัทที่มีสินทรัพย์ไม่มีตัวตนน้อยกว่า หรือประเมินว่าบริษัทสามารถรับมือกับเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนได้ไหม รวมถึงสามารถดูข้อมูลด้านการเงินและความมั่นคงของบริษัทได้ว่ามีโอกาสในการรักษาการเติบโตระยะยาวได้ดีกว่าไหม สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเป็นทรัพยากรที่ทำให้ธุรกิจมีโอกาสการเติบโตในระยะยาว ซึ่งมีทั้งประเภทที่จับต้องได้และไม่ได้ มีความสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความมั่นคง สร้างรายได้ ในระยะยาว และการเติบโตของธุรกิจในอนาคตได้ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยผู้ประกอบการจัดการเรื่องภาษีและบัญชีได้อย่างถูกต้องรองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

12 min

เงินทุนหมุนเวียน Working Capital คืออะไร ดูในงบการเงินยังไง

ในโลกของธุรกิจการบริหารเงินทุนหมุนเวียน หรือ Working Capital คือหัวใจสำคัญที่ช่วยดำเนินธุรกิจให้สามารถเดินหน้าต่อไปได้อย่างดีมากขึ้น สรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ เงินทุนหมุนเวียนนั้นเปรียบเสมือนน้ำช่วยหล่อเลี้ยงธุรกิจ เพราะมันคือเงินสดให้ธุรกิจไว้ใช้เป็นค่าใช้จ่ายประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายค่าวัตถุดิบ ค่าจ้างพนักงาน หรือจ่ายหนี้ต่าง ๆ ดังนั้น การบริหารเงินทุนหมุนเวียนก้อนนี้ให้เกิดประสิทธิภาพ ก็เหมือนกับการดูแลสุขภาพของธุรกิจให้แข็งแรง ทำให้ธุรกิจอยู่รอดและเติบโตได้อย่างมั่นคง เงินทุนหมุนเวียนหรือ Working Capital คืออะไร? เงินทุนหมุนเวียน หรือ Working Capital คือ ตัวหล่อเลี้ยงที่ช่วยกิจการดำเนินธุรกิจไปอย่างไม่มีปัญหา เพราะเป็นเงินทุนที่ธุรกิจต้องใช้ในการดำเนินธุรกิจในแต่ละวัน เพื่อให้กิจการสามารถเดินไปข้างหน้าได้อย่างไม่ติดขัด ซึ่งเงินทุนหมุนเวียนนั้นจะใช้การคำนวณจาก สินทรัพย์หมุนเวียน หักลบด้วย หนี้สินหมุนเวียน เพื่อทำให้เห็นถึงสถานะทางการเงินของบริษัทว่ามีสภาพคล่องเป็นอย่างไร อ่านเพิ่มเติม : วิธีบริหาร Cash Flow เสริมสภาพคล่องทางธุรกิจ ความสำคัญของ Working Capital ต่อธุรกิจ เงินทุนหมุนเวียนเป็นดั่งตัวที่ช่วยหล่อเลี้ยงธุรกิจ เพราะเป็นเงินทุนที่ให้ธุรกิจใช้จ่ายในประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อวัตถุดิบ จ่ายค่าใช้จ่าย หรือชำระหนี้ระยะสั้นต่าง ๆ เมื่อธุรกิจมีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอ ก็จะสามารถชำระหนี้ได้ตรงเวลา ทำให้ธุรกิจมีเครดิตที่ดี มีความน่าเชื่อถือ และทำให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนอื่น ๆ ได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างมั่นคงและมีประสิทธิภาพ ดูเงินทุนหมุนเวียนในงบการเงินยังไงบ้าง การดูเงินทุนหมุนเวียนในงบการเงิน หรือ Net Working Capital คือ การดูจำนวนสินทรัพย์หมุนเวียนทั้งหมดในธุรกิจ ซึ่งได้มาจากผลต่างจากการหักลบระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียน โดยมีความแตกต่างกัน ดังนี้  สินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets) คือ สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายในระยะเวลาอันสั้น (โดยทั่วไปคือภายใน 1 ปี) สินทรัพย์เหล่านี้จึงเปรียบเสมือนเลือดที่หล่อเลี้ยงให้กับธุรกิจดำเนินงานไปได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสินทรัพย์หมุนเวียนจะประกอบด้วยปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ หนี้สินหมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities) คือ หนี้สินของธุรกิจที่ต้องชำระคืนภายในระยะเวลาอันสั้น โดยทั่วไปคือภายใน 1 ปี หรือภายในรอบบัญชีของธุรกิจนั้น ๆ โดยหนี้สินเหล่านี้จะใช้ในการดำเนินธุรกิจประจำวัน และเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสภาพคล่องธุรกิจ ซึ่งในส่วนของหนี้สินหมุนเวียนจะมีดังนี้ ธุรกิจควรมีเงินทุนหมุนเวียนเท่าไหร่ สำหรับคำถามที่ว่าธุรกิจควรมีเงินทุนหมุนเวียนเท่าไหร่นั้น ไม่ได้มีคำตอบที่ตายตัว สาเหตุเป็นเพราะปริมาณเงินทุนหมุนเวียนที่เหมาะสมจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละธุรกิจ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ทำยังไงถึงจะเพิ่มเงินทุนหมุนเวียนได้ การเพิ่มเงินทุนหมุนเวียน ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจทุกขนาด เพื่อให้การทำธุรกิจราบรื่นและมีสภาพคล่องเพียงพอ ซึ่งก็มีหลายวิธีที่สามารถปรับใช้เพิ่มเงินทุนหมุนเวียนได้ ดังนี้ 1. บริหารจัดการสินทรัพย์ที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 2. หาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติม 3. ปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจ 4. เพิ่มยอดขายและรายได้ เงินทุนหมุนเวียนเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมธุรกิจ ซึ่งถ้าสามารถจัดการเงินทุนหมุนเวียนอย่างเป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นการหาแหล่งทุนหมุนเวียน หรือการเพิ่มทุนก็ตาม ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยทำให้ธุรกิจมีโอกาสเติบโตยั่งยืนและมั่นคงในระยะยาว รวมถึงยังสามารถรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ดีอีกด้วย เพื่อสนับสนุนการจัดการเงินทุนหมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ จึงเป็นตัวช่วยที่ตอบโจทย์ ด้วยฟีเจอร์การจัดการบัญชีและการเงินครบวงจร ที่ช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถวางแผนและบริหารทรัพยากรได้อย่างเป็นระบบ ช่วยลดความซับซ้อนของงานบัญชี และเสริมสร้างความมั่นใจในทุกการตัดสินใจทางการเงิน ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

29 พ.ย. 2024

จักรพงษ์

9 min

3 ขั้นตอนพื้นฐานในการจัดทำงบประมาณ

คุณเคยทำธุรกิจไปอย่างไรเป้าหมายไหม? ทำไปเรื่อยๆ รายได้เติบโตขึ้นก็ดีใจ รายได้ลดลงก็เสียใจแต่ธุรกิจก็ยังไปต่อได้ คำถาม คือ ธุรกิจโตแค่ไหนที่เราจะถือว่าปีนั้นประสบความสำเร็จหรือทำได้ตามเป้าหมาย หรือรายได้ลดลงแค่ไหนที่ถือว่าธุรกิจอยู่ในภาวะเสี่ยง คำถามเหล่านี้สามารถตอบได้ด้วยการกำหนดตัวเลขหนึ่งขึ้นมาเพื่อเป็นเป้าหมายที่จะต้องบรรลุให้ได้ในปีนั้น เช่น รายได้ปีนี้ต้องมากกว่าปีที่แล้ว 200% ถ้าเราทำได้ก็ถือว่าบรรลุเป้าหมายขององค์กรและยังสามารถใช้เป็น KPI ของฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างรายได้ได้ เช่น แผนกขาย แผนกหาลูกค้า เป็นต้น ที่เราพูดกันไปข้างต้นไม่ได้มีแค่มิติในมุมของรายได้ แต่ยังสามารถประยุกต์ใช้กับรายจ่ายได้เช่นกัน รายจ่ายปีนี้ต้องน้อยกว่าปีที่แล้ว หรือให้เพิ่มขึ้นได้ตามสัดส่วนของยอดขาย ถ้ารายจ่ายที่เกิดขึ้นจริงเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ถือว่าแผนกที่เกี่ยวข้องไม่สามารถบรรลุเป้าหมายด้านรายจ่ายนั้นๆ ได้ เช่น แผนกการตลาด แผนกผลิต เป็นต้น สิ่งที่พูดมาข้างต้นคือส่วนหนึ่งของการทำงบประมาณ หรือที่เราเรียกว่าการทำ Budgeting นั่นเอง เชื่อว่าพอเฉลยมาถึงจุดนี้ทุกคนก็น่าจะร้อง อ๋อ มากขึ้น การจัดทำงบประมาณ (Budgeting) คืออะไร? การจัดทำงบประมาณ (ฺBudgeting) คือ การวางแผนรายได้-รายจ่ายล่วงหน้าเป็นตัวเลข ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของตัวเงินหรือปริมาณ เช่น กำหนดเป็นจำนวนเงินบาท ปริมาณชิ้นที่ขายได้ หรือจำนวนครั้งที่ใช้ เป็นต้น ซึ่งตัวเลขจะถูกกำหนดตามรอบที่ใช้วัดผล เช่น เป็นรายเดือน รายไตรมาส รายครึ่งหรือ หรือรายปีก็ได้ ไม่ว่าจะวัดผลเป็นรายใดก็ตาม เมื่อครบกำหนดรอบการวัดผล ผู้บริหารจะต้องนำตัวเลขที่เกิดขึ้นจริงมาเทียบกับงบประมาณที่วางแผนไว้ว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ ซึ่งอาจจะดีหรือแย่กว่าที่ประมาณการไว้ก็ได้ แต่ตัวเลขที่แตกต่างจากผลที่วางไว้ จะต้องหาสาเหตุให้ได้ว่าเกิดจากปัจจัยใดเพื่อวิเคราะห์สาเหตุและใช้ช่วยวางแผนในการจัดทำงบประมาณในครั้งถัดไปได้ 3 ขั้นตอนพื้นฐานในการจัดทำงบประมาณ 1. กำหนดตัวเลขที่อยากได้และเป็นไปได้ เริ่มจากกำหนดเป้าหมาย และกลยุทธ์ของกิจการก่อนว่าอยากไปไกลแค่ไหน เร็วแค่ไหน ด้วยวิธีอะไร เช่น ฝั่งรายได้ ถ้าอยากเติบโตเร็ว ต้องกำหนดเป้าที่ท้าทาย เช่น ยอดขายเพิ่มขึ้น 200-300% พร้อมกำหนดวิธีการที่จะทำให้ยอดขายเป็นไปตามที่กำหนดได้จริง 2. รู้ว่าอะไรที่ขับเคลื่อน (Driver) รายได้และรายจ่าย เช่น ยอดขายอาจถูกขับเคลื่อนด้วยจำนวนชิ้นของสินค้าที่ขายได้ หรือจำนวนตัวแทนจำหน่ายที่หาได้ในแต่ละปี ส่วนค่าใช้จ่ายอาจกำหนดจากจำนวนวัตถุดิบที่ควรใช้ในการผลิตสินค้า 1 ชิ้น หรือจำนวนต้นทุนค่ายิงโฆษณาต่อลูกค้า 1 คนที่หาได้ เป็นต้น สิ่งที่ควรรู้ คือ ตัวขับเคลื่อน(driver)รายได้และรายจ่ายของแต่ละประเภทธุรกิจมีไม่เหมือนกัน ไม่สามารถเลียนแบบของคนอื่นได้ แต่โดยทั่วไปในอุตสาหกรรมเดียวกันจะใช้ตัวขับเคลื่อนคล้ายๆ กัน เช่น ธุรกิจโรงแรมตัวขับเคลื่อนรายได้ คือ จำนวนห้องที่ลูกค้าใช้บริการ แต่ในธุรกิจขายสินค้า จะใช้จำนวนสินค้าที่ขายได้ เป็นต้น 3. ทบทวนภาพรวม เมื่อกำหนดตัวเลขประมาณการของรายได้และรายจ่ายเสร็จแล้ว ให้ทำการทบทวนว่ารายได้ที่กำหนดสอดคล้องกับรายจ่ายที่กำหนดหรือไม่ บางครั้งอาจพบว่าตั้งเป้ายอดขายจากจำนวนชิ้นที่ขายได้สูงขึ้นมาก แต่รายจ่ายด้านการขายและการตลาดเท่าเดิมหรือลดลง ทำให้เราอาจพบความไม่สอดคล้องระหว่างรายได้และรายจ่ายในบางกรณีได้ จริงๆ แล้วขั้นตอนการจัดทำงบประมาณแบบสมบูรณ์มีรายละเอียดที่เยอะกว่านี้มาก แต่ในซีรีย์บทความนี้เราเน้นเรื่องที่เป็นพื้นฐานสำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ให้สามารถนำไปใช้ได้โดยง่ายและเข้าใจเร็วที่สุด จึงไม่ได้อธิบายขั้นตอนการจัดทำแบบละเอียดนั่นเอง ตัวอย่างงบประมาณการในระยะเวลา 1 ปี ในฝั่งรายได้ อาจจะไม่ค่อยมีความซับซ้อน เพราะมักมีรายได้หลักของกิจการประเภทเดียว ทำให้การประมาณการจะง่าย เช่น กำหนดเป็นยอดรายได้ที่ต้องการ หรือ% ที่เพิ่มขึ้นของแต่ละไตรมาส เป็นต้น สำหรับส่วนของรายจ่าย มักจะไม่สามารถกำหนดยอดประมาณการเป็นก้อนเดียวได้ เพราะรายจ่ายมีหลายประเภท และแต่ละประเภทจะมีตัวขับเคลื่อน(driver) ที่แตกต่างกัน การจัดทำงบประมาณ (ฺBudgeting) คือ การวางแผนรายได้-รายจ่ายล่วงหน้าเป็นตัวเลขสำหรับรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น ตัวเลขสำหรับรายได้ รายจ่ายที่ต้องทำได้ภายใน 3 เดือน 6 เดือน หรือ 12 เดือน การวางแผนตัวเลขล่วงหน้า จะช่วยให้การทำธุรกิจสนุก เพราะมีเป้าหมาย และจะหาวิธีเพื่อทำให้เป้าหมายนั้นบรรลุให้ได้ สุดท้ายเมื่อครบกำหนดรอบการวัดผล ผู้บริหารจะต้องนำตัวเลขที่เกิดขึ้นจริงมาเทียบกับตัวเลขที่วางแผนว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ พร้อมหาสาเหตุว่าอะไรเป็นปัจจัยเชิงบวกและเชิงลบของตัวเลขเหล่านั้น เพื่อใช้ในการวางแผนงบประมาณในครั้งถัดไป สำหรับในตอนถัดไป เราจะคุยกันในเรื่องการใช้เงินให้ถูกประเภท เช่น เงินกู้ที่มาระยะสั้นเพียง 3 เดือน แต่บริษัทนำไปลงทุนก่อสร้างสินทรัพย์ที่ใช้เวลานาน 1 ปี หรือเงินที่กู้มาระยะยาวแต่ใช้สำหรับใช้จ่ายในระยะสั้น ดีหรือไม่ดี และจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของธุรกิจอย่างไรบ้าง เราจะมาไขคำตอบกันในตอนหน้า โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

22 ส.ค. 2024

จักรพงษ์

10 min

วงจรเงินสด (Cash Cycle) สิ่งกำหนดโชคชะตา SMEs

สิ่งหนึ่งที่เรารู้มาจนถึงตอนนี้ว่าแม้ธุรกิจจะสร้างกำไรได้มากมายขนาดไหน แต่ถ้าบริหารเงินสดไม่ได้ดี ไม่เข้าใจการไหลเวียนของเงิน อาจทำให้ธุรกิจของเราสะดุด เพราะไม่มีเงินมาซื้อสินค้าหรือจ่ายเจ้าหนี้ได้ ใน Ep ก่อนหน้านี้ได้สอนให้เราได้รู้แล้วว่ากิจการเรามีปัญหาเรื่องเงินสดไหม ไม่ว่าจะเป็นการเช็คเงินคงเหลือ การดูเงินสดเข้าออกในแต่ละกิจกรรมของงบกระแสเงินสด รวมถึงการคำนวณระยะเวลาคงเหลือก่อนที่กิจการจะไม่มีเงินใช้ แต่คำตอบที่ยังไม่ได้หา คือ แล้วปัญหาเงินสดที่เกิดขึ้น มีสาเหตุมาจากอะไร? เรามีสิ่งหนึ่งที่จะนำมาช่วยไขคำตอบนี้ได้ คือ การวิเคราะห์ ‘วงจรเงินสด (Cash Cycle)’ วงจรเงินสด (Cash Cycle) คืออะไร? ในทางทฤษฎีเรามีตัววัดหนึ่งที่เรียกกันว่า ‘วงจรเงินสด (Cash Cycle)’ ซึ่งค่าที่ได้จะบอกจำนวนวันที่กิจการจะได้รับเงินสดจากการดำเนินงาน เราเรียกมันว่า ‘วงจร’ เพราะสูตรจะคำนวณระยะเวลาตั้งแต่ซื้อสินค้า ระยะเวลาที่สินค้าที่อยู่ในคลัง จนถึงระยะเวลาที่จะเก็บเงินจากลูกหนี้ได้เมื่อสินค้าถูกขายออกไป สรุปอีกครั้งคือ วงจรเงินสด จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะเวลา ได้แก่  1. การซื้อสินค้าและจ่ายเงินให้เจ้าหนี้  2. การเก็บสินค้าในสต๊อกไว้นานแค่ไหน  3. เมื่อขายสินค้าแล้วเก็บเงินจากลูกหนี้ได้ภายในกี่วัน ซึ่งถ้าเราคำนวณทั้ง 3 เรื่องนี้ได้ ก็จะรู้ทันทีว่าปัญหาเงินสดไปอยู่ที่ส่วนไหนของกิจการ แต่ก่อนที่จะคำนวณขึ้นเป็นวงจรเงินสดได้นั้น เราต้องแยกคำนวณแต่ละส่วนก่อน จึงค่อยนำมาบวกหรือลบกัน เรามาเริ่มทีละส่วนกันได้เลยครับ 3 วงจรเงินสด (Cash Cycle) ที่ผู้ประกอบการควรวิเคราะห์ วงจรที่ 1 : วงจรสินค้า (ยิ่งขายสินค้าเร็ว ยิ่งดี) วงจรสินค้าหรือระยะขายสินค้า คือ ตั้งแต่วันที่สินค้าเข้ามาในสต๊อก จนเอาออกจากสต๊อกเพราะขายได้ ใช้เวลากี่วัน ถ้า ‘จำนวนวันเยอะ’ แปลว่า ใช้เวลานานกว่าจะขายของแต่ละชิ้นได้ ความเสี่ยงคือ เงินจม หรือสินค้าอาจเสียหรือล้าสมัยไปแล้ว ถ้า ‘จำนวนวันน้อย’ แปลว่า ทุกๆครั้งที่สินค้าเข้ามาในสต๊อก ไม่กี่วันก็มีคนซื้อ อาจเกิดจากเป็นสินค้าขายดี หรือกิจการบริหารสินค้าให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่สต๊อกของมากจนเกินไป ดังนั้น จำนวนวันยิ่งน้อย ยิ่งดี เพราะสินค้าเข้ามาและขายออกได้เร็ว โดยในสูตรจะใช้ ระยะขายสินค้า = ยอดสินค้าคงเหลือ ณ สิ้นงวด ÷ ต้นทุนสินค้าที่ขาย x จำนวนวัน (ขึ้นอยู่กับการวัดผล ปกติจะวัดผลทุกสิ้นปี จะใช้ 365วัน) วงจรที่ 2 : วงจรลูกหนี้ (ยิ่งเก็บหนี้เร็ว ยิ่งดี) วงจรลูกหนี้หรือระยะเก็บหนี้ คือ ตั้งแต่วันที่ขายสินค้า ใช้เวลากี่วันถึงจะเก็บเงินได้ ถ้า ‘จำนวนวันเยอะ’ แปลว่า ใช้เวลานานกว่าจะเก็บเงินจากลูกหนี้ได้ ซึ่งไม่ควรเกินกว่าเครดิตเทอมที่ให้ลูกค้า แต่ถ้าเกินแปลว่าลูกค้าส่วนใหญ่จ่ายเงินเกินกำหนดชำระ ถ้า ‘จำนวนวันน้อย’ แปลว่า ใช้เวลาเร็วในการเก็บเงินจากลูกหนี้ ถ้าค่าต่ำกว่าเครดิตเทอม แปลว่าลูกค้าส่วนใหญ่จ่ายเงินก่อนกำหนดชำระ ดังนั้น จำนวนวันยิ่งน้อย ยิ่งดี และจะดีมากขึ้นไปอีกถ้าจำนวนวันต่ำกว่าเครดิตเทอมที่ให้ลูกค้าโดยในสูตรจะใช้ ระยะเก็บหนี้ = ยอดลูกหนี้การค้า ณ สิ้นงวด ÷ ยอดรายได้ x จำนวนวัน (ขึ้นอยู่กับการวัดผล ปกติจะวัดผลทุกสิ้นปี จะใช้ 365วัน) วงจรที่ 3 : วงจรเจ้าหนี้ (ยิ่งจ่ายหนี้ช้า ยิ่งดี) วงจรเจ้าหนี้หรือระยะจ่ายหนี้ คือ ตั้งแต่วันที่ซื้อสินค้า ใช้เวลากี่วันถึงจะจ่ายเงินให้เจ้าหนี้ ถ้า ‘จำนวนวันเยอะ’ แปลว่า ใช้เวลานานที่จะจ่ายเงินให้เจ้าหนี้ ซึ่งอาจหมายถึงการได้รับเครดิตเทอมที่นาน หรือเราตั้งใจจ่ายหนี้ช้ากว่ากำหนดก็ได้ ถ้า ‘จำนวนวันน้อย’ แปลว่า ใช้เวลาเร็วในการจ่ายหนี้เร็ว ซึ่งอาจหมายถึงกิจการมีความน่าเชื่อถือน้อยจึงได้รับเครดิตเทอมน้อย หรืออาจเพราะของที่เราซื้อมักจะซื้อขายเป็นเงินสดมากกว่าการให้เครดิตเทอม ดังนั้น จำนวนวันยิ่งมาก ยิ่งดี แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ ค่าควรมากเพราะเราได้เครดิตเทอมที่นาน ไม่ใช่จากการที่จ่ายเกินกำหนดชำระ เพราะจะทำให้ความสัมพันธ์ทางธุรกิจพังลงได้ โดยในสูตรจะใช้ ระยะจ่ายหนี้ = ยอดลูกหนี้การค้า ณ สิ้นงวด ÷ ยอดรายได้ x จำนวนวัน (ขึ้นอยู่กับการวัดผล ปกติจะวัดผลทุกสิ้นปี จะใช้ 365วัน) ดังนั้น เทคนิคบริหารวงจรกระแสเงินสดให้ธุรกิจคล่องตัว คือ1.ขายสินค้าได้เร็ว2.เก็บเงินได้เร็ว 3.จ่ายหนี้ให้ช้า โดยนำจำนวนวงจรย่อยทั้ง 3 วงจรมาบวกลบกันตามสูตร วงจรเงินสด = ระยะเวลาขายสินค้า + ระยะเวลาเก็บหนี้ – ระยะเวลาชำระหนี้ ถ้า ‘จำนวนวันน้อย’ แปลว่า เงินทุนจมอยู่ในลูกหนี้ และสินค้าคงเหลือเยอะ ซึ่งเกิดความเสี่ยงที่กิจการจะไม่มีเงินหมุนเวียนที่เพียงพอในการชำระหนี้ได้ทัน หรือไม่มีเงินมาซื้อสินค้าล็อตใหม่มาขายได้ ถ้า ‘จำนวนวันมาก’ แปลว่าเราสามารถบริหารจัดการเปลี่ยนลูกหนี้ และสินค้าคงเหลือได้ดี และมีเงินหมุนเวียนที่เพียงพอจะนำไปชำระหนี้ และซื้อสินค้าล็อตใหม่มาขายต่อได้ ดังนั้น กิจการที่มีสภาพคล่องที่ดี ไม่มีปัญหาเรื่องเงิน เมื่อคำนวณวงจรเงินสด (Cash Cycle) มักได้จะค่าจำนวนวันติดลบ  การคำนวณวงจรเงินสด จะทำให้เรารู้ว่าภาพรวมการหมุนเวียนของเงินสดว่ามีปัญหาไหม ซึ่งถ้าค่าที่คำนวณเป็นบวก แสดงว่ากิจการกำลังมีปัญหาเรื่องการดำเนินงานเมื่อรู้ว่ามีเงินสดมีปัญหาแล้ว เราสามารถเข้าไปค้นหาต้นตอที่วงจรย่อยทั้ง 3 วงจรต่อได้ และลองดูว่าอะไรที่ทำให้แต่ละวงย่อยมีปัญหา เช่น ลูกหนี้จ่ายเกินกำหนดชำระเสมอ หรือสินค้าส่วนใหญ่ที่สต๊อกไว้ขายไม่ค่อยดี เป็นต้น สรุปอีกครั้ง คือ วงจรสินค้า (ยิ่งขายสินค้าเร็ว ยิ่งดี) วงจรลูกหนี้ (ยิ่งเก็บหนี้เร็ว ยิ่งดี) วงจรเจ้าหนี้ (ยิ่งจ่ายหนี้ช้า ยิ่งดี) ตอนนี้เราทราบกันแล้วทั้งวิธีดูว่าเงินสดมีปัญหาหรือไม่ และปัญหานั้นเกิดจากอะไร คำถามถัดมาคือ เงินสดต้องมีจำนวนเท่าไหร่ถึงจะเพียงและปลอดภัยในการทำธุรกิจ? ผมเตรียมวิธีคำนวณให้ง่ายๆ ไว้ให้ทุกท่านแล้ว ในบทความธุรกิจควรมีเงินสดขั้นต่ำกี่เดือน ถึงจะเรียกว่าปลอดภัย โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

16 ส.ค. 2024

PEAK Account

13 min

“บัญชีทำให้ตรง ลดความงงในการบริหาร” (ตอนที่2)

ใน Ep นี้เป็นภาคต่อจากครั้งที่แล้วในหัวข้อ “บัญชีทำให้ตรง ลดความงงในการบริหาร” เดิมเราพูดถึงเรื่องพื้นฐานที่ผู้ประกอบการต้องรู้เรื่องแรก คือ เรื่อง “ผลประกอบการ” ซึ่งประกอบไปด้วย “รายได้” “ค่าใช้จ่าย” และ “กำไร” ว่าคืออะไรและสำคัญอย่างไร ก่อนจะเริ่มเรื่องถัดไป เพื่อเป็นการทบทวน ผมขอสรุปอีกครั้งว่า 2 เรื่องที่ผู้ประกอบการต้องรู้มีอะไรกันบ้างครับ 2 เรื่องพื้นฐานที่ผู้ประกอบการต้องรู้ เรื่องที่ 1 ผลประกอบการ เรื่องที่ 2 เงินสดและกระแสเงินสด ตอนที่ 2 : บริหารเงินสดและกระแสเงินสดอย่างไรให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน “82% ของธุรกิจเจ๊งเพราะเรื่องเงิน!” นี้เป็นงานวิจัยที่ U.S. Bank เคยทำขึ้น โดยสาเหตุอาจมาจากการละเลยเรื่องเงิน หรือการบริหารเงินได้ไม่ดีพอ จากประสบการณ์ ผมพบว่าผู้ประกอบการหลายรายประเมินค่าการบริหารเงินต่ำเกินไป ชอบคิดว่าเรื่องเงินเป็นเรื่องง่าย เช่น “ขายของได้รับเงิน เอาเงินที่รับมาไปซื้อของมาขายต่อ แค่นั้นเอง”  ถ้าในโลกแห่งความเป็นจริงเงินที่เราได้รับมาในแต่ละวันมันมากกว่าเงินสดจ่ายเสมอ ประโยคข้างบนคงเป็นเรื่องจริง สิ่งที่ตลกร้ายคือ ความจริงมันตรงกันข้าม มีหลายเหตุการณ์ที่เข้ามาทำให้เงินสดบางครั้งไม่เพียงพอต่อการจ่าย และที่สำคัญเคยเกิดขึ้นกับธุรกิจที่มีรายได้ และกำไรก็ดีมาแล้ว ทำไมจึงเป็นแบบนั้นได้ สาเหตุเบื้องหลังคืออะไร มาดูกันต่อครับ ทำไมเงินสดมีปัญหา? ท่านผู้อ่านเคยเจอสถานการณ์ที่ เราต้องขายของเป็นเงินเชื่อ แต่ซื้อของต้องจ่ายเป็นเงินสด หรือขายของเป็นเงินเชื่อ แต่เก็บหนี้ไม่ได้ หรือขายของได้ แต่รายจ่ายมีเยอะกว่า ไหมครับ? บางคนอาจแย้งว่าก็ขายของเป็นเงินสดสิ จะให้ติดหนี้ทำไม บางธุรกิจถ้าไม่ขายเชื่อ ลูกค้าก็จะหนีไปซื้อคนอื่นครับ จะรอแต่แต่ขายเป็นเงินสดธุรกิจคงไม่รอด บางคนแย้งว่าลูกหนี้ไม่จ่ายเงิน ก็ไปตามทวงสิ คุณเคยได้ยินคำว่า “ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย” ไหมครับ? แหละครับคำตอบ วิธีวัดว่าเงินสดกำลังจะมีปัญหาหรือไม่? แม้เราจะพยายามแก้ปัญหาต่างๆ ให้ดีขึ้น แต่ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงปัญหาได้ตลอด ผู้ประกอบการเองต้องตรวจสอบสถานะการเงินของตัวเองอยู่เสมอว่าคล่องตัวหรือมีความเสี่ยงอยู่หรือไม่ ตามวิธีดังนี้ 1. เงินสดและเงินฝากธนาคาร ทั้งเงินสดและเงินฝากธนาคารเป็นจุดเริ่มต้นที่จะเอาไปใช้คำนวณสถานะทางการเงิน ดังนั้นเราต้องมีข้อมูลทางการเงินที่ถูกต้องและครบถ้วน แต่ปัญหาที่เจอคือ กิจการหลายแห่งไม่ได้บันทึกบัญชีอย่างถูกต้อง ใช้เงินส่วนตัวปนกับเงินกิจการทำให้เงินสดไม่ตรงกับความเป็นจริง จึงยากมากที่จะคำนวณได้ว่าเงินสดเงินฝากธนาคารที่มีอยู่เพียงพอการใช้จ่ายในธุรกิจหรือไม่ ดังนั้นสิ่งที่เราควรทำอันดันแรก คือ แยกเงินส่วนตัวกับเงินกิจการออกจากกัน บันทึกบัญชีให้ถูกต้อง ตรวจสอบเงินที่มีอยู่จริงกับเงินที่บันทึกบัญชี แล้วดูว่าตอนนี้มีเงินสดคงเหลือในกิจการกี่บาท เพียงพอจะจ่ายค่าใช้จ่ายในวันพรุ่งนี้ สัปดาห์หน้า หรือในเดือนหน้าหรือไม่ 2. กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (OCF) ใครที่ยังไม่รู้จักคำว่า “กระแสเงินสด” ให้เราจินตนาการว่า “เงินสด” คือเงินที่คงเหลือในกระเป๋า แต่ “กระแสเงินสด” คือ การไหลเข้าของเงินที่รับและการไหลออกของเงินที่จ่ายออกไป กระแสเงินสด จะบอกเราได้ว่าในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น ใน 1 ปี เรารับเงินหรือจ่ายเงินมากกว่ากัน แต่จะไม่ได้บอกว่าเงินสดคงเหลือเท่าไหร่ คนที่เคยอ่านงบกระแสเงินสด จะพบว่างบกระแสเงินสดจะแสดงการไหลเวียนของเงินเป็น 3 ส่วน ดังนี้ แต่ส่วนที่สำคัญที่สุดคือ “กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน” เพราะการไหลเวียนของเงินสดจากการทำธุรกิจ ไม่รวมการลงทุนและจัดหาเงิน โดยถ้าเงินรับมากกว่าเงินจ่าย แบบนี้ดี แต่ถ้าเงินจ่ายมากกว่าเงินรับบ่อยๆ แสดงว่าเราเก็บเงินจากลูกหนี้หรือขายของไม่ค่อยได้ แต่รายจ่ายมีทุกวัน แบบนี้จะเสี่ยงมาก เพราะสุดท้ายธุรกิจหาเงินมาจ่ายไม่ทัน 3. กระแสเงินสดสุทธิ (Net Cash Flow) แค่อ่านชื่อหัวข้อก็ยากแล้ว แต่จริงๆ “กระแสเงินสดสุทธิ” มันคือจับกระแสเงินสดทั้ง 3 ส่วนในงบกระแสเงินสดมารวม แล้วสรุปว่าในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น ใน 1 ปี กิจการมีเงินสดรับหรือเงินจ่ายมากกว่ากัน ในเมื่อดู “กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน” แล้ว ทำไมยังต้องดู “กระแสเงินสดสุทธิ” อีก? เพราะมีบางกรณีที่ธุรกิจขายสินค้าดีมาก เก็บเงินได้ดี แต่ดันเอาเงินไปลงทุนมากกว่าเงินที่จากการดำเนินงาน จนธุรกิจสะดุด ทำให้เกิดเหตุการณ์ที่ว่า “ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า แต่ยังเจ๊งอยู่ดี” สรุปเราต้องให้ความสำคัญกับ “กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน” แต่ก็อย่าละเลยดูภาพรวมของกระแสเงินสดผ่าน “กระแสเงินสดสุทธิ” ด้วยครับ PEAK ขอเล่า : 4. ระยะเวลาจนกว่าเงินจะหมด (Runway) Runway พอแปลเป็นไทยนี้ดูแปลกมากเลยครับ การคำนวณนี้จะเหมาะกับกิจการที่รายจ่ายมากกว่ารายรับ และไม่รู้รายรับจะครอบคลุมรายจ่ายเมื่อไหร่ สิ่งที่เราต้องกังวลคือเงินจ่ายออกทุกวัน แต่เงินสดคงเหลือที่มีอยู่จะเพียงพอได้อีกกี่วันก่อนเงินจะหมด  การคำนวณง่ายมากเลยครับ ตัวอย่าง เช่น เงินสดคงเหลือตอนนี้มี 100,000 บาท รายได้ต่อเดือน 20,000 บาท รายจ่ายต่อเดือน 30,000 บาท คุณจะเห็นว่ารายจ่ายมากว่ารายรับ 10,000 บาทต่อเดือน Runway = เงินสดคงเหลือ / รายจ่ายส่วนเกิน จากตัวอย่าง Runway = เงินสด 100,000 / รายจ่ายส่วนเกิน 10,000 = 10 แปลว่าถ้ารายจ่ายยังมากกว่ารายรับในอัตราเท่าเดิม เงินที่เหลืออยู่ใช้ได้แค่อีก 10 เดือนเท่านั้น ถ้าหาเงินจากที่อื่นมาหมุนไม่ได้ เท่ากับธุรกิจต้องปิด ดังนั้น สิ่งที่เราทำได้ตอนนี้เลย คือ ลองดูเงินคงเหลือทั้งเงินสดและเงินฝาก และดูว่าแต่ละเดือนเฉลี่ยแล้วเราจ่ายมากกว่ารับกี่บาท ลองคำนวณดูครับ แต่ผมเชื่อว่าธุรกิจของผู้อ่านคงมีเงินเข้ามากกว่าเงินจ่ายอยู่แล้วล่ะครับ PEAK ขอเล่า : ทำไมการบริหารเงินสดและกระแสเงินสดถึงสำคัญ การบริหารเงินสด เป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุด โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs ที่ยังไม่เกราะป้องกันทางการเงินที่ไม่แข็งแรง ทั้งในเรื่องความเข้าใจในการบริหารเงินสด รวมถึงการเข้าแหล่งเงินทุนได้ยากกว่าบริษัทใหญ่ๆ ดังนั้นควรเข้าใจในการบริหารเงินสด และการติดตามจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ถ้าในสถานะที่เงินคล่องก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเงินเริ่มฝืด แล้วเรารู้ตัวทันว่ากำลังจะมีปัญหา เราจะหาทางออกได้เร็วขึ้น เช่น เตรียมหาแหล่งเงินทุนล่วงหน้า บริหารจัดการค่าใช้จ่าย ซึ่งคงจะเป็นเรื่องเลวร้ายมากๆ ถ้าไปรู้ตัวอีกทีตอนเงินหมดแล้วครับ และแม้กิจการจะทำกำไรได้มากมายแค่ไหน แต่ถ้าไม่มีเงินสดมาหมุนเวียนเพื่อซื้อสินค้าหรือจ่ายเจ้าหนี้ก็จะทำให้กิจการขาดสภาพคล่อง หรือร้ายแรงที่สุดอาจโดนเจ้าหนี้ฟ้องร้องและปิดกิจการได้เลยครับ สำหรับ Ep ถัดไป ผมจะพาทุกท่านไปค้นหาคำตอบว่า เมื่อเรารู้แล้วว่ากิจการกำลังจะมีปัญหาด้านเงินสด แล้วปัญหาหาในอยู่ในส่วนไหนของกิจการ เราจะพบคำตอบนี้ได้จากสิ่งที่เรียกว่า วงจรเงินสด หรือ Cash Cycle  โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก