biz-dbd-smes-loan

ผู้ประกอบการSMEs มักประสบปัญหาในการขอกู้เงินจากสถาบันการเงิน เพื่อมาลงทุนหรือขยายการลงทุนหรือเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนเนื่องจากไม่มีการทำบัญชีที่เป็นระบบหรือขาดหลักทรัพย์ในการค้ำประกันเงินกู้

กรมพัฒนาธุรกิจเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีบทบาทในการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ SMEs ดังนี้

กรมพัฒนาธุรกิจส่งเสริม SMEs

1.ส่งเสริมให้มีหลักประกันในการกู้ยืมเงินสำหรับSMEs โดยพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ มีแนวทางดังต่อไปนี้

1.1. การจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ

       ก. SMEs ติดต่อผู้รับหลักประกัน (ผู้ให้กู้) คือสถาบันการเงิน (ธนาคาร บริษัทประกันชีวิต)

       ข. SMEs ติดต่อผู้ให้หลักประกัน(ผู้กู้) โดยมีหนังสือยินยอมให้ผู้รับหลักประกันในการจดทะเบียนหลักประกันสัญญาทางธุรกิจ

       ค. ผู้รับหลักประกัน(ผู้ให้กู้) มีหน้าที่ยื่นหนังสือยินยอมและยื่นขอจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

1.2 การเปลี่ยนแปลงสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ

        ผู้รับหลักประกัน(ผู้ให้กู้) ขอยื่นจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

1.3 การยกเลิกสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ

        กรณีที่ผู้กู้สามารถชำระหนี้ได้ ผู้กู้เป็นผู้ขอยื่นจดทะเบียนยกเลิกสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

        กรณีผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้หรือถูกบังคับหลักประกัน ผู้ให้กู้เป็นผู้ขอยื่นจดทะเบียนยกเลิกสัญญาหลักประกันทางธุรกิจต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

1.4 สินทรัพย์ที่นำมาใช้เป็นหลักประกันได้มีดังนี้

       ก. กิจการ เช่นร้านอาหาร กิจกรรมรับเหมาก่อสร้าง

       ข. อสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน คอนโดมิเนียม

       ค. สังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการทำธุรกิจเช่นเครื่องจักร สินค้าคงคลัง

       ง. ทรัพย์สินทางปัญญา เช่น สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า

       จ. ทรัพย์สินอื่นๆที่กำหนดในกฎกระทรวง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทร 0-2 547-5408 หรือ stro@dbd.go.th

ส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก

2.ส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกให้มีความเข้มแข็งพร้อมแข่งขัน โดยผ่านกระบวนการสร้างศักยภาพดังนี้

       ก. การสร้างองค์ความรู้ เสริมศักยภาพในการบริหารจัดการร้านค้าส่งค้าปลีก

       ข. การยกระดับธุรกิจสู่มาตรฐานคุณภาพค้าส่งค้าปลีก

       ค. การเชื่อมโยงเครือข่ายเพิ่มโอกาสทางการตลาด

สำหรับผลที่คาดว่าจะได้รับคือ

       ก. ร้านค้ามีความทันสมัย ช่วยลดต้นทุนทางธุรกิจ

       ข. สร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการท้องถิ่น

       ค. การกระจายสินค้าเป็นไปอย่างทั่วถึงและผู้บริโภคซื้อสินค้าในราคาประหยัด

       ง. เป็นช่องทางจำหน่ายสินค้าOTOP

สอบถามเพิ่มเติมที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กองส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ โทร 0 2547-5986 หรือสายด่วน 1570

โปรแกรม E-Accounting for SMEs ใช้ฟรี

3.จัดให้มีโปรแกรม E-Accounting for SMEs ซึ่งเปิดโอกาสให้SMEs ได้ใช้ฟรี รองรับธุรกิจประเภทซื้อมาขายไปและงานบริการ ซึ่งสามารถลงบัญชีได้ตั้งแต่การเก็บข้อมูลขาย การจ่ายเงิน การออกใบกำกับภาษี ตรวจสอบสต๊อก ไปจนถึงการบันทึกบัญชีและการจัดทำงบการเงิน ซึ่งทำให้SMEs สามารถประเมินสถานะทางการเงิน มองเห็นภาพรวมของกระแสเงินสดเข้า-ออก ของกิจการ เพื่อใช้ในการวางแผนและการตัดสินใจของผู้ประกอบการ รวมทั้งการจัดทำบัญชีมีความถูกต้องน่าเชื่อถือ สอดคล้องกับมาตรการบัญชีเดียวของรัฐบาลที่ส่งเสริมธุรกิจ SMEs จัดทำ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสให้กิจการได้รับอนุมัติสินเชื่อจากสถาบันได้ง่ายและรวดเร็ว และมีโอกาสได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง

PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถติดตามข้อมูลทางธุรกิจได้อย่างทันที ช่วยในการจัดการบริหารงานบัญชีจากทุกอุปกรณ์ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เมื่อไร ช่วยให้งานบัญชีเป็นเรื่องง่าย ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมเอกสาร การบันทึกข้อมูลจนถึงการออกงบการเงิน รวมทั้งโปรแกรมยังช่วยตรวจสอบงบการเงินอย่างละเอียด ทำให้งบการเงินมีความถูกต้องน่าเชื่อถือทำให้การขอกู้เงินกับทางธนาคารทำได้ง่ายขึ้น

สมัครใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี คลิก peakaccount.com หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมทาง inbox ของ Facebook PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์