ธุรกิจทั่วไป

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

8 min

KPI คืออะไร วิธีวัดผลและความสำคัญต่อองค์กร

Key Performance Indicators คือ เครื่องมือในการวัดผลธุรกิจที่ดีที่องค์กรนิยมใช้โดยเฉพาะในยุคที่มีการแข่งขันทางธุรกิจสูง เพราะสามารถช่วยให้องค์กรสามารถติดตามและประเมินความสำเร็จได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่ง KPI จะมีการวัดผลอย่างไร ทำไมสำคัญกับองค์กรไปดูกัน KPI หรือ Key Performance Indicators คืออะไร KPI หรือ Key Performance Indicators คือ เป็นวิธีวัดผลการทำธุรกิจในด้านต่าง ๆ ขององค์กร ด้วยการดูว่าผลตรงกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ไหม ทำให้องค์กรสามารถติดตามความก้าวหน้า ประเมินประสิทธิภาพ และปรับปรุงการทำธุรกิจได้ดีมากขึ้น โดยแต่ละตัวอักษรมีความหมาย ดังนี้  ประเภทการวัดผล KPI การวัดผลการปฏิบัติงานจะขึ้นอยู่กับลักษณะของงานและเป้าหมายที่ต้องการวัด โดยตัวชี้วัด KPI แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ การวัดผลทางตรงและการวัดผลทางอ้อม การวัดผลทางตรง การวัดผลทางตรงเป็นการประเมินผลงานที่สามารถวัดเป็นตัวเลขได้ชัดเจน ไม่ต้องตีความหรือแปลผล เช่น ยอดขาย จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ อัตราของเสีย หรือจำนวนลูกค้าใหม่ ข้อดีของการวัดผลแบบนี้คือเราสามารถตรวจสอบได้และมีหลักฐานอ้างอิงชัดเจน ทำให้การประเมินผลมีความโปร่งใส การวัดผลทางอ้อม การวัดผลทางอ้อมเป็นการประเมินผลงานที่ไม่สามารถวัดเป็นตัวเลขได้โดยตรง ต้องอาศัยการสังเกต การประเมิน หรือการสำรวจความคิดเห็น เช่น การให้บริการ ความประทับใจของลูกค้า หรือการมีผู้นำ การวัดผลประเภทนี้อาจมีความคลาดเคลื่อนได้ เนื่องจากขึ้นอยู่กับมุมมองและการตีความของผู้ประเมิน ความสำคัญต่อองค์กร KPI มีความสำคัญต่อองค์กรในหลายด้าน สามารถช่วยให้องค์กรรู้ความคืบหน้าในการทำงานของพนักงานและประเมินความสำเร็จได้อย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ ยังใช้ประเมินผลงานของพนักงาน การพิจารณาผลตอบแทน และการวางแผนพัฒนาบุคลากร รวมถึงช่วยในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์และการจัดสรรทรัพยากรขององค์กร ใช้หลักการ SMART ในการตั้ง KPI หลักการ SMART เป็นแนวทางมาตรฐานในการกำหนด key performance indicators เป็นการสร้างตัวชี้วัดที่มีประสิทธิภาพ มาดูรายละเอียดแต่ละองค์ประกอบ ตัวอย่างการตั้ง KPI ในองค์กร การกำหนด key performance indicators เป็นการสร้างมาตรฐานการวัดผลที่ตรงตามเป้าหมายขององค์กร มาดูตัวอย่างการตั้ง KPI ในแต่ละแผนก  ฝ่ายขายและการตลาด ฝ่ายผลิต ฝ่ายบุคคล ข้อควรระวังในการใช้ KPI การกำหนดและใช้ KPI (Key Performance Indicators) เป็นการวัดผลความสำเร็จขององค์กรหรือโครงการ แต่หากใช้อย่างไม่ระมัดระวัง อาจเกิดการตีความที่ผิดพลาด หรือการสร้างผลกระทบเชิงลบต่อการทำงานโดยรวม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเข้าใจถึงข้อควรระวังต่าง ๆ เพื่อให้การใช้ KPI สอดคล้องกับเป้าหมายที่แท้จริง และช่วยพัฒนาองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ประโยชน์ของการใช้ KPI ที่ดี KPI (Key Performance Indicators) เป็นตัวชี้วัดที่ช่วยให้องค์กรรู้ความคืบหน้าของการทำธุรกิจว่าได้ตามเป้าหมายที่ตั้งใจไหม การใช้ KPI ที่ออกแบบมาอย่างเหมาะสมไม่เพียงแต่ช่วยวัดผลสำเร็จ แต่ยังสร้างแรงจูงใจให้ทีมงานพัฒนาการทำงานได้ดียิ่งขึ้น การเข้าใจถึงประโยชน์ของการใช้ KPI จะช่วยเพิ่มโอกาสในการบริหารจัดการและพัฒนาองค์กรในระยะยาว การใช้ KPI จะช่วยให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน แต่ต้องระวังความเหมาะสมและความเป็นกลางในการประเมินผล เพื่อคนในองค์กรอยากพัฒนาเปลี่ยนแปลงการทำงานจริง ๆ ซึ่ง Key Performance Indicators คือ เครื่องมือที่จะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ หากใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

8 min

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการยื่นประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่สำหรับนายจ้าง

การจ้างงานพนักงานใหม่นั้นนายจ้างมีหน้าที่สำคัญในการดูแลสวัสดิการพื้นฐาน โดยเฉพาะการขึ้นทะเบียนประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่ให้ถูกต้องตามกฎหมาย การจัดการประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่อย่างรวดเร็วและถูกต้องไม่เพียงแต่ช่วยให้พนักงานได้รับสิทธิประโยชน์ที่ควรได้รับ แต่ยังช่วยให้องค์กรหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมายและค่าปรับที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งนายจ้างต้องทำอะไรบ้างไปดูกัน  ทำไมเจ้าของธุรกิจต้องประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่ให้พนักงาน การขึ้นทะเบียนประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่เป็นหน้าที่สำคัญที่นายจ้างต้องดำเนินการ ไม่เพียงเพราะเป็นข้อกำหนดทางกฎหมาย แต่ยังส่งผลดีต่อทั้งองค์กรและพนักงาน มาดูเหตุผลสำคัญที่นายจ้างควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ กฎหมายกำหนด พระราชบัญญัติประกันสังคมกำหนดให้นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่ภายใน 30 วันนับจากวันที่เริ่มจ้างงาน หากไม่ดำเนินการจะมีโทษปรับสูงสุด 20,000 บาท นอกจากนี้ ยังต้องจ่ายเงินสมทบย้อนหลังพร้อมเงินเพิ่ม 2% ต่อเดือนของเงินสมทบที่ต้องจ่าย ซึ่งถ้าบริษัททำตามกฎหมายนี้ก็จะช่วยป้องกันปัญหาและค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น พนักงานได้ประโยชน์ทำให้อยู่กับบริษัทได้นาน การขึ้นทะเบียนประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่อย่างรวดเร็วช่วยให้พนักงานได้รับสิทธิประโยชน์ที่ครอบคลุมทั้งค่ารักษาพยาบาล เงินทดแทนการขาดรายได้ สิทธิประโยชน์กรณีคลอดบุตร ทุพพลภาพ และเสียชีวิต ทำให้พนักงานรู้สึกมั่นคงในการทำงาน มีหลักประกันชีวิตที่ดี ส่งผลให้เกิดความผูกพันกับองค์กรจึงมีโอกาสทำงานกับบริษัทได้ยาวนานขึ้น สร้างภาพลักษณ์ที่ดี องค์กรที่ดูแลสวัสดิการพนักงานอย่างดี โดยเฉพาะการจัดการประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่อย่างรวดเร็วและถูกต้อง จะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในฐานะนายจ้างที่มีความรับผิดชอบ ช่วยดึงดูดบุคลากรที่มีคุณภาพให้เข้ามาร่วมงาน และสร้างความน่าเชื่อถือในสายตาของลูกค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ วิธีการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม การคำนวณเงินสมทบประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่คำนวณจากฐานค่าจ้าง โดยทั้งนายจ้างและลูกจ้างต้องจ่ายในอัตราเท่ากันคือ 5% ของค่าจ้าง ซึ่งมีฐานค่าจ้างขั้นต่ำ 1,650 บาท และสูงสุด 15,000 บาท ต่อเดือน หากค่าจ้างต่ำกว่า 1,650 บาท ให้คำนวณจาก 1,650 บาท และหากสูงกว่า 15,000 บาท ให้คำนวณจาก 15,000 บาท ตัวอย่าง กรณีพนักงานเข้าใหม่มีเงินเดือน 20,000 บาท การคำนวณจะใช้ฐานสูงสุดที่ 15,000 บาท เอกสารจำเป็นระหว่างการยื่นประกันสังคมออนไลน์ ในการยื่นประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่ผ่านระบบออนไลน์ ต้องเตรียมเอกสารให้พร้อมและครบถ้วน เพื่อให้การยื่นประกันสังคมออนไลน์เร็วและไม่มีปัญหา โดยเอกสารที่จำเป็นต้องใช้มี ดังนี้  ขั้นตอนการยื่นประกันสังคมพนักงานใหม่ การยื่นประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่ผ่านระบบออนไลน์มีขั้นตอนที่ชัดเจนและไม่ซับซ้อน แต่ต้องดำเนินการอย่างรอบคอบเพื่อป้องกันข้อผิดพลาด โดยมีขั้นตอนในการยื่น ดังนี้  การจัดการประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกองค์กร นอกจากจะช่วยให้พนักงานได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายแล้ว ยังช่วยให้องค์กรหลีกเลี่ยงปัญหาและค่าปรับที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งการใช้ระบบบริหารจัดการพนักงานที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยให้กระบวนการนี้ง่ายและรวดเร็วขึ้น โดย PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยผู้ประกอบการจัดการเรื่องภาษีและบัญชีได้อย่างถูกต้องรองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

7 min

อากรแสตมป์คืออะไร พร้อมรวมทุกเรื่องสำคัญที่ต้องรู้

อากรแสตมป์เป็นภาษีรูปแบบหนึ่งที่จัดเก็บภาษีจากการทำตราสารหรือเอกสารต่าง ๆ ทางกฎหมายในประเทศไทย ซึ่งมักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นแสตมป์ทั่วไปที่ใช้ในการส่งจดหมาย แต่ในความเป็นจริงอากรแสตมป์มีความสำคัญในด้านกฎหมายและธุรกรรมทางการเงิน การเข้าใจว่าอากรแสตมป์ใช้ทำอะไรได้บ้าง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรเรียนรู้ โดยเฉพาะผู้ที่มีกิจการเป็นของตัวเอง อากรแสตมป์ คืออะไร อากรแสตมป์ คือ ภาษีตามประมวลรัษฎากรรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจะจัดเก็บในลักษณะของดวงแสตมป์ที่ใช้สำหรับเอกสารราชการและสัญญาต่าง ๆ เช่น สัญญาซื้อขาย ใบมอบอำนาจ โดยอากรบนเอกสารเหล่านี้เป็นการแสดงว่าภาษีได้ถูกชำระเรียบร้อยแล้ว และเอกสารนั้นได้รับการรับรองตามกฎหมาย สามารถช่วยป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษี แถมยังช่วยรับรองความถูกต้องของเอกสารทางกฎหมายอีกด้วย อากรแสตมป์ ไม่ใช่แสตมป์ปกติ หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าอากรแสตมป์เป็นแสตมป์ที่ใช้ในการส่งจดหมายหรือไปรษณีย์ แต่ความจริงแล้วอากรแสตมป์กับแสตมป์แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยแสตมป์ หรือ ตราไปรษณียากร มีลักษณะเป็นกระดาษรูปสี่เหลี่ยม โดยจะนำไปใช้ติดบนซองจดหมายเพื่อใช้เป็นหลักฐานว่าได้ชำระค่าบริการส่งไปรษณีย์แล้ว ซึ่งจะมีแสตมป์ทั่วไปกับแสตมป์ที่ระลึกที่มีการออกแบบเนื่องในโอกาสพิเศษ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ เป็นต้น รูปแบบของอากรแสตมป์ เอกสารที่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์มีอะไรบ้าง การทำตราสารหรือเอกสารบางประเภทในประเทศไทยต้องมีการประทับตราอากรแสตมป์เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยเอกสารที่ต้องจ่ายค่าอากรแสตมป์ เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าที่ดิน สัญญาจำนอง สัญญาร่วมลงทุน สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ สัญญาจ้างทำของ สัญญากู้ยืมเงิน สัญญาค้ำประกัน และเอกสารอื่น ๆ ที่มีผลทางกฎหมาย  วิธีการเสียค่าอากรแสตมป์ ข้อควรรู้เกี่ยวกับอากรแสตมป์ สรุปบทความ อากรแสตมป์เป็นส่วนสำคัญในการทำตราสารและเอกสารทางกฎหมายในประเทศไทย ความเข้าใจในเรื่องอากรแสตมป์และการใช้แสตมป์อากรอย่างถูกต้อง เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ที่ต้องการทำธุรกรรมทางการเงินหรือจัดการกับเอกสารสำคัญ โดยเฉพาะเจ้าของธุรกิจมือใหม่ที่ต้องเรียนรู้เรื่องบัญชี การเงิน และภาษีเพื่อความโปร่งใสในการดำเนินกิจการ และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเหล่านักลงทุน PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยผู้ประกอบการจัดการเรื่องภาษีและบัญชีได้อย่างถูกต้องรองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

8 min

สินเชื่อ OD คืออะไร เรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการ SME ต้องรู้

สินเชื่อ OD คือ สินเชื่อประเภทหนึ่งที่ธนาคารให้บริการแก่ผู้ประกอบการ SME เพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องทางการเงิน หรือที่คนส่วนใหญ่รู้จักในชื่อ “เงินหมุน” โดยเฉพาะในช่วงที่ธุรกิจต้องการเงินสดอย่างเร่งด่วน แต่ไม่ต้องการกู้ยืมเงินเป็นเงินก้อนใหญ่ สินเชื่อ OD คือ สินเชื่อที่ช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถเบิกเงินจากบัญชีเงินฝากเกินกว่ายอดเงินที่มีอยู่ ได้ตามวงเงินที่ได้รับอนุมัติ โดยธนาคารจะคิดดอกเบี้ยเฉพาะในส่วนที่เบิกเกิน ซึ่งทำให้สินเชื่อ OD คือตัวเลือกที่ยืดหยุ่นและเหมาะสมสำหรับธุรกิจที่ต้องการเงินทุนสำหรับหมุนเวียนในระยะสั้น สินเชื่อ OD (Overdraft) คืออะไร? สินเชื่อ OD หรือ เงิน OD คือ การให้กู้เงินในรูปแบบของ “เงินหมุน” โดยที่ธนาคารผู้ให้กู้นั้นจะตั้งวงเงินไว้ในบัญชีกระแสรายวัน (Current Account) ที่บริษัทได้เปิดไว้กับธนาคารตั้งแต่ต้น โดยสามารถเบิกใช้เงินกู้นี้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่แจ้งเอาไว้กับธนาคารได้เลย ทั้งยังสามารถทยอยเบิกใช้ในยามที่จำเป็นได้ โดยไม่จำเป็นต้องเบิกภายในครั้งเดียวทั้งจำนวน แต่มีข้อแม้ว่าต้องไม่เบิกใช้เกินวงเงินที่ทางธนาคารกำหนดไว้ ซึ่งเงื่อนไขการผ่อนชำระนั้นจะเป็นไปที่กำหนดเอาไว้ในสัญญาสินเชื่อ มีการคำนวณดอกเบี้ยเป็นรายวัน ตามจำนวนที่ไปใช้จริงทุกสิ้นเดือน สินเชื่อ OD แตกต่างกับสินเชื่อเงินก้อน Loan อย่างไร สินเชื่อ OD คือ เงินที่กู้มาใช้ในระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อนำเงินมาหมุนในกรณีฉุกเฉินหมุนเงินไม่ทัน โดยจะเสียดอกเบี้ยเฉพาะวงเงินที่ใช้ ซึ่งจะแตกต่างกับสินเชื่อเงินก้อน (Loan) อย่างชัดเจน เนื่องจากสินเชื่อเงินก้อน (Loan) จะได้รับมาเป็นเงินก้อนเพื่อนำไปใช้ขยายกิจการหรือลงทุนระยะยาวตามแจ้งไว้กับธนาคาร โดยจะเสียดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกและผ่อนชำระเท่ากันทุกเดือน  ข้อดีของสินเชื่อ OD คืออะไร สินเชื่อ OD มีข้อดีมากมายทำให้ได้รับความนิยมมาก ๆ ในธุรกิจ SME เนื่องจากมีความยืดหยุ่นในการเบิกถอนเงินจากบัญชีตามความต้องการได้ทันที ดอกเบี้ยที่จ่ายตามการใช้งานจริง ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยเฉพาะในส่วนที่เบิกเกินเท่านั้น ช่วยเสริมสภาพคล่องในระยะสั้นทำให้ธุรกิจสามารถรับมือกับการขาดแคลนเงินสดหรือการชำระค่าใช้จ่ายฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที โดยผู้ประกอบการจะเบิกเงินได้ทันทีหลังได้รับการอนุมัติ โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนการอนุมัติใหม่อีกทุกครั้ง สินเชื่อ OD เหมาะสำหรับใคร สินเชื่อ OD เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่มีความต้องการเสริมสภาพคล่องทางการเงินในระยะสั้น โดยเฉพาะธุรกิจที่มีการหมุนเวียนเงินสดสูง เช่น ธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง หรือธุรกิจที่ต้องการเงินสดเพื่อซื้อวัตถุดิบหรือชำระค่าใช้จ่ายในทันที สินเชื่อ OD ยังเหมาะกับธุรกิจที่มีรายรับไม่แน่นอนหรือมีรอบการชำระเงินยืดเยื้อ เนื่องจากสามารถใช้วงเงิน OD เพื่อรับมือกับค่าใช้จ่ายฉุกเฉินได้ทันที นอกจากนี้ ธุรกิจที่ต้องการความยืดหยุ่นในการจัดการสภาพคล่อง และไม่ต้องการภาระดอกเบี้ยสูงเมื่อไม่ได้ใช้เงินเต็มวงเงิน จะเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากสินเชื่อ OD นี้ด้วย ข้อควรรู้ก่อนกู้สินเชื่อ OD คืออะไร แม้สินเชื่อ OD จะมีข้อดีที่น่าสนใจอย่างไร แต่สินเชื่อ OD ก็มีข้อควรระวังให้เราต้องพิจารณาก่อนการตัดสินใจกู้สินเชื่อ OD ด้วยเช่นกัน ดังนี้ สินเชื่อ OD คือ เงินกู้ประเภทที่มีความยืดหยุ่นสูง เป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการเงินที่เหมาะกับผู้ประกอบการ SME ที่ต้องการเสริมสภาพคล่องในระยะสั้น การเข้าใจข้อดีและข้อควรระวังก่อนทำการตัดสินใจขอสินเชื่อ OD จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถตัดสินใจได้อย่างรอบคอบและไม่กระทบกับการดำเนินธุรกิจ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยผู้ประกอบการจัดการเรื่องภาษีและบัญชีได้อย่างถูกต้องรองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

8 min

รหัส Swift code คืออะไร รวมรหัส Swift code จากทุกธนาคาร

รหัส SWIFT CODE เป็นหนึ่งในรหัสที่สำคัญที่สุดในโลกการเงินยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ เพราะเมื่อเวลาที่คุณต้องการโอนเงินไปยังประเทศอื่น คุณจำเป็นต้องใช้รหัสนี้เพื่อให้แน่ใจว่าเงินจะส่งถึงปลายทางถูกต้องและรวดเร็ว บทความนี้จะช่วยให้คุณทำความเข้าใจกับรหัส SWIFT CODE พร้อมกับให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับรหัสที่ใช้ในแต่ละธนาคารในประเทศไทย เพื่อให้คุณสามารถใช้ SWIFT CODE ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยมากที่สุด รหัส SWIFT CODE คืออะไร? รหัส SWIFT CODEหรือ รหัส BIC (Business Identifier Code) คือ รหัสประจำตัวที่ใช้เจาะจงธนาคารและสถาบันการเงินทั่วโลก ทำให้การทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศสะดวก รวดเร็ว และถูกต้อง ซึ่งรหัสนี้จะประกอบด้วยตัวอักษรและตัวเลขจำนวน 8-11 ตัว โดยรหัสแต่ละตัวก็จะมีความหมายที่แตกต่างกันไป รวมรหัส SWIFT CODE จากทุกธนาคาร ในประเทศไทย ธนาคารแต่ละแห่งจะมีรหัส SWIFT CODE เฉพาะตัว สำหรับใช้ในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ ซึ่งในส่วนของรหัสของแต่ละธนาคารจะมีดังนี้  รหัสธนาคารกรุงเทพ รหัสธนาคารกสิกรไทย รหัสธนาคารไทยพาณิชย์  รหัสธนาคารกรุงไทย รหัสธนาคารทหารไทยธนชาต  รหัสธนาคารกรุงศรีอยุธยา  รหัสธนาคารเกียรตินาคินภัทร รหัสธนาคารซีไอเอ็มบีไทย  รหัสธนาคารยูโอบี รหัสธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย รหัสธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ รหัสธนาคารไอซีบีซี รหัสธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ รหัสธนาคารออมสิน รหัสธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย รหัสธนาคารซิตี้แบงค์ SWIFT CODE เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการโอนเงินระหว่างประเทศ เพราะเป็นรหัสที่เอาไว้ใช้ระบุว่าการโอนเงินนั้นเป็นของธนาคารใด และด้วยระบบความปลอดภัยที่สูง อีกทั้งมีความแม่นยำ รวมถึงการที่สามารถตรวจสอบได้ทำให้ SWIFT CODE เป็นระบบที่ธนาคารทั่วโลกไว้วางใจ สำหรับข้อมูลในด้านอื่น ๆ คุณสามารถค้นหาจากเว็บไซต์ของธนาคารที่คุณใช้งานโดยตรงได้เลย  ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

9 min

รู้จัก Payment Gateway คืออะไร มีกี่รูปแบบ มีประโยชน์ยังไงบ้าง

การทำธุรกรรมออนไลน์เกิดขึ้นได้ในทุกวินาที และ Payment Gateway ก็ได้กลายมาเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้กระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างสะดวกราบรื่น ซึ่งการมีระบบ Payment Gateway ที่ดีนั้นจะทำให้ลูกค้ารู้สึกมั่นใจและสะดวกสบายในการซื้อสินค้าจากร้านค้าออนไลน์ของคุณ และนอกจากนี้ Payment Gateway ไม่เพียงแต่จะเป็นสื่อกลางที่ใช้ในการรับชำระเงินเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ และป้องกันการฉ้อโกงได้อีกด้วย Payment Gateway คืออะไร? Payment Gateway คือ ช่องทางการชำระเงิน เปรียบดั่งเส้นทางที่เชื่อมต่อระหว่างร้านค้าออนไลน์ของคุณกับลูกค้าที่ต้องการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต เดบิต หรือช่องทางออนไลน์อื่น ๆ เช่น PayPal TrueMoney Wallet เป็นต้น Payment Gateway มีกี่รูปแบบ Payment Gateway มีหลายรูปแบบให้เลือกใช้งาน ซึ่งแต่ละรูปแบบก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่เหมาะสมกับธุรกิจของตัวเองต่างกัน ซึ่งการเลือกใช้ Payment Gateway ที่เหมาะสมจะช่วยทำให้เราทำธุรกิจได้ราบรื่นมากขึ้น โดยจำแนกเป็นรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้ Payment Gateway แบบ Bank Payment Gateway แบบธนาคาร หรือที่เรียกกันว่า Payment Gateway ของธนาคารนั้นเป็นระบบการชำระเงินที่พัฒนาโดยธนาคารเอง มีจุดเด่นคือคุณสามารถเชื่อมต่อได้โดยตรงกับระบบของธนาคาร ทำให้การทำธุรกรรมต่าง ๆ เช่น การโอนเงิน การตรวจสอบยอดเงินได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยสูงมาก Payment Gateway แบบ Non-Bank Payment Gateway แบบ Non-Bank หรือ ระบบการชำระเงินออนไลน์ผ่านตัวกลางที่ไม่ใช่ธนาคาร เป็นหนึ่งในทางเลือกสำหรับธุรกิจออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมาก ๆ  ในปัจจุบัน โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง เนื่องจากมีความยืดหยุ่นสูง สมัครใช้งานง่าย และมีค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่าธนาคาร Payment Gateway แบบ Bank มีอะไรบ้าง Payment Gateway แบบธนาคาร หรือ ระบบรับชำระเงินออนไลน์ของธนาคาร เป็นบริการที่ธนาคารต่าง ๆ พัฒนาขึ้นมา เพื่อรองรับธุรกิจในการชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์ของธนาคารได้โดยตรง ซึ่งมีความปลอดภัยและน่าเชื่อถือในการทำธุรกรรมเป็นอย่างมาก ซึ่งในส่วนของธนาคารต่าง ๆ นั้นจะมีดังนี้ Merchant iPay ธนาคารกรุงเทพ Merchant iPay คือ บริการรับชำระเงินออนไลน์ที่พัฒนาโดยธนาคารกรุงเทพ เพื่อให้ธุรกิจมีช่องทางการรับชำระเงินจากลูกค้าแบบสะดวกมากขึ้น โดยสามารถชำระผ่านเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน และโซเชียลมีเดีย ทำให้ธุรกิจมีโอกาสดันยอดขายจากการขยายฐานลูกค้าได้มากขึ้น K Payment Gateway ธนาคารกสิกรไทย K Payment Gateway คือ บริการรับชำระเงินออนไลน์ที่พัฒนาโดยธนาคารกสิกรไทย มีระบบรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่งตามมาตรฐานสากล แถมยังปกป้องข้อมูลลูกค้าและธุรกรรมทางการเงินได้ โดยสามารถชำระเงินผ่านบัตรเครดิต เดบิต และ QR Code ได้เลย ทั้ง Thai QR และ QR Code ของ e-Wallet ชื่อดัง เช่น Alipay WeChat Pay และช่องทางอื่น ๆ อีกด้วย Krungsri Biz Payment Gateway ธนาคารกรุงศรี Krungsri Biz Payment Gateway หรือ บริการรับชำระเงินออนไลน์ผ่านบัตรเครดิต ของธนาคารกรุงศรี สามารถสร้างลิงก์ชำระเงินได้เองผ่านระบบ รวมถึงกำหนดจำนวนเงิน วันเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดการใช้งานลิงก์ด้วยตัวเองได้ อีกทั้ง ยังสามารถชำระเงินผ่านแอปพลิเคชันของธนาคารโดยตรง เพิ่มความสะดวกให้กับผู้ขายและผู้ซื้อได้ Payment gateway แบบ Non-Bank มีอะไรบ้าง  Payment Gateway แบบ Non-Bank เป็นระบบการชำระเงินที่มีความหลากหลายและยืดหยุ่น จึงได้รับความสนใจจากหลายธุรกิจ แต่การที่จะตัดสินใจเลือกใช้ Payment Gateway แบบ Non-Bank ในแบบไหนนั้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของธุรกิจเป็นหลัก ซึ่งโดยทั่วไปจะมีให้เลือกดังนี้ Paypal PayPal เป็นระบบการชำระเงินออนไลน์ที่รองรับการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต เดบิต และ e-Wallet ต่าง ๆ ใช้งานได้ง่าย และมีระบบรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่ง จึงทำให้ได้รับความนิยมและเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก GB PrimePay GB Prime Pay เป็นระบบการชำระเงินออนไลน์ของไทยที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ใช้งานได้กับธุรกิจทุกรูปแบบทั้งการวางขายสินค้าบนเว็บไวต์ หรือการขายผ่านโซเชียลมิเดีย แถมรองรับการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิตทุกประเภท Omise Omise Payment Gateway คือ ระบบรับชำระเงินออนไลน์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในธุรกิจอีคอมเมิร์ซขนาดเล็กและขนาดกลาง ทั้งในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองรับการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต/เดบิต, e-Wallet ต่าง ๆ เช่น Alipay WeChat Pay และยังสามารถเชื่อมต่อกับช่องทางการชำระเงินอื่น ๆ ได้อีกมากมาย 2C2P 2C2P Payment Gateway คือ เป็นบริษัทรับชำระเงินออนไลน์ที่มีสำนักงานใหญ่ในสิงคโปร์ ให้บริการเกตเวย์การชำระเงินแก่ธุรกิจเป็นหลัก ชำระเงินได้หลากหลายช่องทาง มีระบบรักษาความปลอดภัยในการโจรกกรมข้อมูลธุรกรรมทางการเงินของลูกค้าที่แข็งแกร่ง Pay Solution Pay Solution Payment gateway คือ บริษัทที่ให้บริการระบบรับชำระเงินออนไลน์ในประเทศไทย มีช่องทางรองรับการชำระเงินที่หลากหลาย เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต e-Wallet โอนเงินผ่านธนาคาร และการชำระเงินแบบ QR Code นอกจากนี้ก็ยังมีบริการอื่น ๆ เช่น การสร้างใบเสร็จ การติดตามยอดขาย และการเชื่อมต่อกับระบบอื่น ๆ อีกด้วย Payment Gateway คือ กุญแจสำคัญ ในการอำนวยความสะดวกให้ผู้ขายและผู้ซื้อทำธุรกรรมออนไลน์ง่ายขึ้นทั้งนี้การที่จะตัดสินใจเลือกใช้ Payment Gateway รูปแบบไหนนั้น จำเป็นต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับธุรกิจของคุณร่วมด้วย เพราะจะเป็นการช่วยเสริมความมั่นใจให้กับลูกค้า และทำให้ธุรกิจออนไลน์ของคุณเติบโตได้ดีและมั่นคงมากยิ่งขึ้น PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ มีระบบ Payment Gateway ที่ช่วยเชื่อมโยงการรับชำระเงินออนไลน์ให้กับธุรกิจของคุณอย่างง่ายดายและปลอดภัย คุณสามารถเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการชำระเงินทั้งรูปแบบบัตรเครดิตและบัตรเดบิตได้ในระบบเดียว ทำให้กระบวนการชำระเงินสะดวกสบายทั้งสำหรับคุณและลูกค้า ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

17 min

กิจการเจ้าของคนเดียวคืออะไร มีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง

กิจการเจ้าของคนเดียว คือ ธุรกิจที่มีเจ้าของในการตัดสินใจและบริหารธุรกิจเพียงคนเดียว ซึ่งต้องรับผิดชอบทุกเรื่องของธุรกิจ ทั้งด้านการเงิน การบริหาร การตลาด หรือการพัฒนาธุรกิจก็ตาม ซึ่งเป็นรูปแบบธุรกิจที่พบได้มากในกลุ่มผู้ที่เริ่มต้นดำเนินธุรกิจใหม่ หรือผู้ที่ต้องการทำธุรกิจขนาดเล็ก เพราะสามารถควบคุมได้โดยง่าย ทั้งนี้ในปัจจุบันกิจการประเภทนี้กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากใน แต่กิจการรูปแบบนี้ก็มีความท้าทายที่ต้องเผชิญอยู่ด้วยเช่นเดียวกัน เราจึงจะพาทุกคนไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับกิจการเจ้าของคนเดียวว่าคืออะไร วิธีการจัดตั้งกิจการเจ้าของคนเดียว และกิจการเจ้าของคนเดียวข้อดีข้อเสียมีอะไรบ้าง ไปดูกัน  กิจการเจ้าของคนเดียวคืออะไร? กิจการเจ้าของคนเดียว คือ ธุรกิจที่ดำเนินการโดยบุคคลธรรมดาเพียงคนเดียว ซึ่งเป็นทั้งผู้บริหารและเจ้าของกิจการ ซึ่งคนคนเดียวนี้จะเป็นผู้ที่ต้องตัดสินใจทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ โดยจะต้องรับผิดชอบปัญหาหรือหนี้สินทั้งหมดของธุรกิจที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย ซึ่งการดำเนินธุรกิจแบบนี้เป็นรูปแบบที่ทำได้ง่ายและค่อนข้างที่นิยมในหมู่ผู้ประกอบการรายย่อยอย่างมาก กิจการเจ้าของคนเดียว ข้อดีข้อเสียมีอะไรบ้าง? กิจการเจ้าของคนเดียว หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าธุรกิจบุคคลธรรมดานั้น เป็นรูปแบบธุรกิจที่เริ่มต้นง่ายที่สุด โดยมีคุณเป็นทั้งเจ้าของและผู้บริหารกิจการเพียงคนเดียว ไม่ต้องมีหุ้นส่วนหรือจดทะเบียนบริษัทใด ๆ ทั้งสิ้น ทำให้การเริ่มต้นธุรกิจสะดวกในการตัดสินใจหรือวางแผนธุรกิจได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้การทำกิจการเจ้าของคนเดียวก็มีข้อดีและข้อเสียอยู่ด้วยเช่นกัน ซึ่งผู้ที่กำลังเริ่มต้นควรพิจารณาทุกด้านให้รอบคอบดังนี้ ข้อดีของกิจการเจ้าของคนเดียว กิจการเจ้าของคนเดียวนั้นมีข้อดีหลายประการที่ทำให้เป็นรูปแบบธุรกิจที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจของตัวเอง ซึ่งในส่วนของข้อดีมีดังนี้ ข้อเสียของกิจการเจ้าของคนเดียว ถึงแม้กิจการเจ้าของคนเดียวจะมีข้อดีตามข้างต้น แต่ก็มีข้อเสียที่ต้องพิจารณาเพื่อตัดสินใจอย่างรอบคอบก่อนเริ่มต้นทำธุรกิจเช่นกัน สำหรับข้อเสียที่กิจการเจ้าของคนเดียวควรรู้มีดังนี้ เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการเป็นเจ้าของคนเดียวกับการเป็นผู้ประกอบการ แม้ว่าคำว่า “เจ้าของคนเดียว” และ “ผู้ประกอบการ” อาจมีการใช้สลับกันอยู่เป็นประจำ แต่ความหมายของสองคำนี้แตกต่างกันและบ่งบอกถึงความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน ดังนี้ การดำเนินธุรกิจ 1. ขอบเขตความรับผิดชอบ 2. ทัศนคติต่อธุรกิจ 3. การใช้ทรัพยากร 4. ความเสี่ยง 5. การเติบโต จุดมุ่งหมาย จุดมุ่งหมายของเจ้าของคนเดียว จุดมุ่งหมายของผู้ประกอบการ การตัดสินใจ เจ้าของคนเดียว ผู้ประกอบการ ความเสี่ยงทางการเงิน เจ้าของคนเดียว ผู้ประกอบการ อาชีพอิสระนับว่าเป็นการทำกิจการเจ้าของคนเดียวไหม? การที่จะนับอาชีพอิสระว่าเป็นกิจการเจ้าของคนเดียวหรือไม่ จะพิจารณาจากลักษณะและขอบเขตของงานที่ทำเป็นหลัก เพราะอาชีพอิสระบางประเภทอาจไม่ถือว่าเป็นกิจการเจ้าของคนเดียว เช่น พนักงานบริษัทที่รับงานนอกเวลา หรือผู้ที่ทำกิจกรรมอดิเรกแล้วนำไปขายเป็นรายได้เสริม เป็นต้น แต่ถ้าหากอาชีพอิสระของคุณมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับธุรกิจทั่วไป เช่น มีลูกค้า มีรายรับรายจ่าย และต้องเสียภาษี คุณก็สามารถถือว่าตัวเองเป็นเจ้าของธุรกิจได้เช่นกัน กิจการเจ้าของคนเดียวมีข้อดีมากมาย โดยเฉพาะในเรื่องการตัดสินใจที่รวดเร็วและมีความยืดหยุ่น แต่ก็มีเรื่องให้ที่ต้องระมัดระวังอยู่ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในเรื่องของภาระหนี้สินและความเสี่ยงทางการเงิน หากคุณต้องการเริ่มต้นกิจการเจ้าของคนเดียว สิ่งสำคัญที่ควรมีก็คือการมีแผนธุรกิจที่ชัดเจน รู้จักบริหารความเสี่ยง ปรับตัวได้ทันตามการเปลี่ยนแปลง และพร้อมพัฒนาความรู้และข้อผิดพลาดเสมอ เพื่อให้ธุรกิจเติบโตและมีความมั่นคงในอนาคตได้อย่างยั่งยืน PEAK โปรแกรงบัญชีออนไลน์ ช่วยจัดการบัญชีให้กิจการเจ้าของคนเดียวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยระบบบัญชีออนไลน์ที่ใช้งานง่ายและครบวงจร คุณสามารถติดตามรายรับ-รายจ่าย บริหารเงินสด และดูรายงานทางการเงินได้แบบเรียลไทม์ ช่วยให้คุณวิเคราะห์ผลการดำเนินงานและตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้ ระบบ PEAK ยังรองรับการยื่นภาษีอัตโนมัติ ลดภาระงานเอกสารและข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น ด้วย PEAK คุณจะมีเวลามากขึ้นในการพัฒนาธุรกิจ และสามารถมุ่งเน้นไปที่การสร้างกลยุทธ์เพื่อความเติบโตได้อย่างมั่นใจ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

7 min

เข้าใจเงินเกษียณอายุคืออะไร พร้อมวิธีคิดเงินเกษียณ 400 วัน

การวางแผนเกษียณเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่มนุษย์ทำงานทุกคนไม่ควรมองข้าม เพราะถ้าหากคุณเริ่มวางแผนตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะสามารถจัดการกับรายได้และรายจ่ายหลังเกษียณได้ดีมากขึ้น ซึ่งหลายคนมักจะเริ่มต้นวางแผนตอนที่พวกเขารู้สึกว่าช่วงเวลาเกษียณกำลังใกล้เข้ามา แต่การเริ่มต้นวางแผนเก็บเงินเกษียณล่วงหน้าเป็นสิ่งสำคัญที่ควรรีบทำให้เร็วที่สุด เพราะชีวิตหลังเกษียณไม่ใช่แค่เรื่องของการหยุดทำงานเท่านั้น แต่คือการเริ่มต้นชีวิตในรูปแบบใหม่ที่คุณควรพร้อมด้วยความมั่นคงทางการเงิน และลดความกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี ก่อนดูวิธีคิดเงินเกษียณ 400 วัน รู้จักเงินเกษียณอายุคืออะไรก่อน  เงินเกษียณ คือ เงินที่คุณสะสมไว้ตลอดช่วงเวลาการทำงานเพื่อใช้ในวัยหลังเกษียณ ซึ่งเป็นวัยที่รายได้จากการทำงานลดลงหรือหมดไป ดังนั้น การมีเงินเกษียณอายุจึงจำเป็นในการใช้ชีวิตอย่างมาก เพื่อให้คุณสามารถดำเนินชีวิตในวัยหลังเกษียณจากการทำงาน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีโดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายและไม่ต้องหวังพึ่งพาผู้อื่นให้ลำบากใจ เงินเกษียณอายุกรณีบริษัทไม่มีการกำหนดอายุเกษียณ? เข้าใจง่าย ๆ คือ ถ้าบริษัทคุณไม่มีการกำหนดอายุเกษียณที่ชัดเจน คุณก็สามารถเลือกที่จะเกษียณได้เมื่ออายุ 60 ปีบริบูรณ์ โดยไม่จำเป็นต้องรอถึงอายุที่บริษัทกำหนด (ถ้ามี) เหตุผลที่เป็นเช่นนี้ เพราะตามกฎหมายแรงงานไทยกำหนดให้ลูกจ้างที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ มีสิทธิที่จะขอเกษียณอายุ แม้ว่าบริษัทจะไม่มีการกำหนดอายุเกษียณไว้ก็ตาม แต่ยังจะได้รับสิ่งเหล่านี้เมื่อเกษียณอายุ  วิธีคิดเงินเกษียณ 400 วัน เงินเกษียณ 400 วัน จะได้รับเมื่อพนักงานทำงานครบ 20 ปีขึ้นไป โดยจะคำนวณจากเงินเดือนในเดือนสุดท้ายที่ทำงาน คูณด้วยจำนวน 400 วัน โดยคุณสามารถใช้สูตรพื้นฐานเช่น “ค่าใช้จ่ายต่อวัน x จำนวนวันที่ต้องการคำนวณ” เพื่อกำหนดเป้าหมายเงินเกษียณ แต่สิ่งสำคัญคือต้องเผื่อค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่ารักษาพยาบาลที่อาจสูงขึ้น หรือค่าครองชีพที่ขึ้นตามเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม เงินเกษียณ 400 วัน เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเงินที่คุณจะได้รับเมื่อเกษียณ ซึ่งคุณอาจมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือสวัสดิการอื่น ๆ เพิ่มเติม ทั้งนี้การคำนวณอาจมีรายละเอียดแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท หรือตามข้อกำหนดในสัญญาจ้างงาน โดยเป็นกฎหมายที่กำหนดสิทธิประโยชน์ขั้นต่ำที่ลูกจ้างจะได้รับเมื่อเกษียณอายุ การมีแผนเกษียณที่ดีจะช่วยทำให้คุณสามารถวางแผนใช้ชีวิตได้อย่างสบายใจ มีความมั่นคง และไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการเงินในอนาคต อีกทั้งการมีแผนที่ชัดเจนทำให้คุณสามารถเพลิดเพลินกับชีวิตหลังเกษียณได้อย่างเต็มที่โดยที่ไม่ต้องเป็นภาระให้กับผู้อื่น ดังนั้นการวางแผนเกษียณจึงไม่ใช่เรื่องที่ควรมองข้าม ซึ่งการเตรียมตัวที่ดีโดยเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้จะช่วยนำพาคุณไปสู่ชีวิตที่เต็มไปด้วยความสุข ความมั่นคง และความสงบในชีวิตช่วงหลังเกษียณอย่างแน่นอน ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

18 ต.ค. 2024

PEAK Account

9 min

ตัววัดความสำเร็จสำหรับผู้ประกอบการ SME EP.2

ในการบริหารธุรกิจ SME อย่างมีประสิทธิภาพ การวัดผลความสำเร็จด้วยตัวชี้วัด (KPI) ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถติดตามผลการดำเนินงานและพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่อง จากบทความ 12 ตัววัดความสำเร็จสำหรับผู้ประกอบการ SME (EP.1) ที่ช่วยให้เห็นภาพชัดเจนถึงสถานะและการเติบโตของธุรกิจขึ้น ใน EP.2 นี้ จะมานำเสนอตัวชี้วัดเพิ่มเติมอีก 7 ตัว ที่มีความสำคัญในการประเมินทั้งด้านการเงิน ประสิทธิภาพการดำเนินงาน และการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า เพื่อให้คุณสามารถนำไปปรับใช้ในการพัฒนาธุรกิจได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ตัววัดความสำเร็จสำหรับผู้ประกอบการ SME ที่สำคัญ ดังนี้ 1. Churn Rate (อัตราการยกเลิกการใช้บริการ) อัตราการยกเลิกการใช้บริการ คือ เปอร์เซ็นต์ลูกค้าที่ยกเลิกการใช้บริการในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยตัวชี้วัดนี้ช่วยวัดความพึงพอใจของลูกค้าและความสามารถในการรักษาลูกค้า อัตราการยกเลิกการใช้บริการที่มีค่าน้อยหมายถึงว่าอัตราการยกเลิกการใช้บริการต่ำ แสดงว่าลูกค้าพึงพอใจและมีแนวโน้มที่จะใช้บริการของธุรกิจต่อ Churn Rate = ((จำนวนลูกค้าที่สูญเสีย + จำนวนลูกค้าที่กลับมา) ÷ จำนวนลูกค้าทั้งหมด) -1 หน่วย : % 2. Cash Burn (การใช้เงินทุน) การใช้เงินทุน หมายถึงจำนวนเงินสดที่ธุรกิจใช้จ่ายในช่วงเวลาหนึ่ง โดยทั่วไปจะใช้คำนี้เมื่อพูดถึงธุรกิจที่กำลังเติบโตหรือสตาร์ทอัพที่ยังไม่มีกำไรและจำเป็นต้องใช้เงินทุนที่ได้รับมาเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน คำว่า “Burn” หรือ “เผาผลาญ” สื่อถึงการใช้เงินทุนเพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้จนกว่าจะถึงจุดที่สามารถทำกำไรได้ การใช้เงินทุนค่าน้อย แสดงว่า ธุรกิจใช้เงินน้อยหรือสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดี การคำนวณ Cash Burn มักจะแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก Gross Burn = เงินสดคงเหลือในช่วงต้นเดือน − เงินสดคงเหลือในช่วงสิ้นเดือน ÷ จำนวนเดือน Net Burn = ค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อเดือน − รายรับทั้งหมดต่อเดือน หน่วย : บาท 3. Cash Out Date (วันหมดเงินสด) วันหมดเงินสด หมายถึง วันที่บริษัทคาดว่าจะใช้เงินสดทั้งหมดที่มีอยู่จนหมด โดยใช้การวิเคราะห์จากการใช้เงินทุนปัจจุบัน เป็นตัวชี้วัดสำคัญในการจัดการกระแสเงินสดและการ วันหมดเงินสด ยิ่งมากยิ่งดี แสดงว่า ธุรกิจสามารถดำเนินการต่อได้โดยไม่ต้องการเงินทุนเพิ่มเติมในทันทีพยากรณ์ทางการเงินสำหรับธุรกิจเริ่มต้น จำนวนวันที่เหลือก่อนหมดเงินสด = เงินสดคงเหลือ ÷ ค่าใช้จ่ายสุทธิต่อเดือน หน่วย : บาท 4. Runway (ระยะเวลาที่สามารถดำเนินธุรกิจได้) Runway หมายถึง ระยะเวลาที่ธุรกิจสามารถดำเนินการได้จนกว่าเงินสดจะหมด ซึ่งคำนวณจากจำนวนเงินสดคงเหลือที่ธุรกิจมีและอัตราการใช้เงินสดต่อเดือน (Burn Rate) เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญในการจัดการกระแสเงินสดของธุรกิจ โดยเฉพาะสำหรับสตาร์ทอัพหรือธุรกิจที่ยังไม่มีกำไร Runway ยิ่งมากยิ่งดี แสดงว่า ธุรกิจสามารถดำเนินการได้เป็นระยะเวลานานจนกว่าเงินสดจะหมด Runway = เงินสดคงเหลือ ÷ อัตราการใช้เงินสดต่อเดือน หน่วย : เดือน 5. Operating Expenses (ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน) Operating Expenses (ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน) คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจในแต่ละวัน ซึ่งจำเป็นสำหรับการทำงานของธุรกิจ เช่น ค่าเช่าสำนักงาน เงินเดือนพนักงาน ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค (ค่าน้ำ ค่าไฟ) โดยค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไม่เกี่ยวข้องกับต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการโดยตรง แต่เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานทั้งหมดของธุรกิจ 6. Budget Attainment (การบรรลุเป้าหมายงบประมาณ) การบรรลุเป้าหมายงบประมาณหมายถึงเปอร์เซ็นต์ที่บริษัทสามารถทำรายได้ได้ตามที่ตั้งเป้าหมายในงบประมาณที่วางไว้ การบรรลุเป้าหมายงบประมาณ ยิ่งมากยิ่งดี แสดงว่า สามารถสร้างรายได้ตามหรือเกินกว่างบประมาณที่กำหนดไว้ การบรรลุเป้าหมายงบประมาณ = รายได้จริง ×100 รายได้ที่ตั้งไว้ หน่วย : % 7. Sales Attainment (การบรรลุเป้าหมายการขาย) การบรรลุเป้าหมายการขาย คือเปอร์เซ็นต์ที่ทีมขายสามารถทำรายได้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในช่วงเวลาหนึ่ง การบรรลุเป้าหมายการขายยิ่งมากยิ่งดี แสดงว่า ทีมขายสามารถทำยอดขายได้ตามหรือเกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ การบรรลุเป้าหมายการขาย = ยอดขายจริง÷ เป้าหมายยอดขาย​ ×100 หน่วย : % แหล่งที่มา : อย่างไรก็ตามการจะนำข้อมูลต่างๆ ในธุรกิจมาวิเคราะห์หรือหาค่าจากตัวชี้วัดได้นั้น ควรต้องมีระบบข้อมูลที่แข็งแรง อย่าง PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยให้ผู้ประกอบการ SME จัดการงานบัญชีที่ซับซ้อนให้เป็นระบบอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การติดตามรายงานทางการเงิน เช่น ต้นทุนขายและกำไร-ขาดทุน เป็นเรื่องง่ายและชัดเจน การใช้งาน PEAK ยังช่วยให้คุณเห็นรายงานสำคัญ เช่น งบกำไรขาดทุนและงบฐานะการเงินแบบ Real-Time ซึ่งสอดคล้องกับตัวชี้วัดสำคัญที่กล่าวถึงในบทความด้านบน ไม่ว่าจะเป็น การบริหารจัดการต้นทุน และ การวัดกำไรขาดทุน ที่มีบทบาทสำคัญในการประเมินความสำเร็จของธุรกิจ SME ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

11 ต.ค. 2024

PEAK Account

12 min

9 เคล็ดลับการเทรนพนักงานในองค์กรให้เป็นพนักงานมืออาชีพ

การฝึกพนักงานให้กลายเป็นมืออาชีพเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สามารถเสริมสร้างความสำเร็จและความยั่งยืนให้กับธุรกิจ การฝึกฝนไม่ได้เน้นเพียงแค่ทักษะในการทำงาน แต่ยังครอบคลุมถึงการพัฒนาทัศนคติและคุณสมบัติอื่น ๆ ที่ส่งเสริมประสิทธิภาพและความเป็นผู้นำในระยะยาว ต่อไปนี้คือ 9 เคล็ดลับสำคัญที่ผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้ในการเทรนพนักงาน 1. ฝึกนิสัยทำงานให้สำเร็จ ก่อนจะเริ่มต้นฝึกฝนพนักงาน เราต้องเข้าใจก่อนว่าอะไรคือปัจจัยที่ทำให้พนักงานทำงานไม่เสร็จตามเป้าหมาย อาจเป็นเพราะขาดทักษะในการจัดการเวลา, ขาดแรงจูงใจ, หรือมีอุปสรรคในการทำงานที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข เมื่อทราบสาเหตุแล้วจึงจะสามารถวางแผนการฝึกอบรมที่ตรงจุดได้ การฝึกให้พนักงานมีนิสัยในการทำงานให้เสร็จสมบูรณ์ตามเป้าหมายที่กำหนดเป็นสิ่งสำคัญมาก การสอนให้พนักงานรู้จักตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนและมีความรับผิดชอบต่อผลงานของตนเองช่วยเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเวลาและงานอย่างมีประสิทธิภาพ การส่งเสริมให้พนักงานทำงานด้วยความมุ่งมั่นจนงานสำเร็จจะช่วยสร้างแรงผลักดันให้พนักงานมีความภาคภูมิใจในผลงานที่ทำได้ และทำให้องค์กรได้งานที่มีคุณภาพ เนื่องจากมีการวางแผนและติดตามอย่างเป็นระบบ 2. พัฒนาการตระหนักรู้ในตนเอง การตระหนักรู้ในตนเองหรือ Self-awareness เป็นทักษะที่ช่วยให้พนักงานเข้าใจจุดแข็ง จุดอ่อน และรู้ว่าตนเองต้องพัฒนาหรือปรับปรุงอะไร การมีความตระหนักรู้ในตนเองสูงทำให้พนักงานสามารถปรับตัวได้ดีต่อสถานการณ์ต่าง ๆ พร้อมทั้งรับฟังคำแนะนำหรือคำวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ การสอนพนักงานให้ตระหนักรู้ในตนเองจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การให้ Feedback อย่างตรงไปตรงมา ช่วยให้พนักงานทราบถึงจุดแข็ง จุดอ่อน และสิ่งที่ควรปรับปรุงของตนเอง ส่งผลให้พนักงานสามารถพัฒนาและปรับปรุงข้อบกพร่องได้อย่างตรงจุด ทำให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น 3. สร้างความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น การมีความเห็นอกเห็นใจหรือ Empathy เป็นทักษะที่ช่วยให้พนักงานเข้าใจและเห็นคุณค่าของเพื่อนร่วมงานและลูกค้า การส่งเสริมให้พนักงานมีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานร่วมกับผู้อื่นและแสดงความเข้าใจต่อความรู้สึกหรือปัญหาของคนรอบข้างจะทำให้เกิดการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การทำงานร่วมกันในทีมที่มีความเข้าใจกันเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จในการทำงาน เจ้าของธุรกิจที่สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นการช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน การฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างตั้งใจ เพื่อให้พนักงานเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น จะทำให้เกิดความร่วมมือในองค์กรและสภาพแวดล้อมการทำงานมีความเป็นมิตรมากขึ้น 4. พัฒนาทักษะการสื่อสาร การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญในทุกองค์กร พนักงานควรได้รับการฝึกฝนในการสื่อสารให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย ทั้งการพูด การเขียน และการฟัง เช่น การใช้ภาษาให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย การใช้คำถามเพื่อสร้างความเข้าใจ เป็นต้น ซึ่งช่วยลดความเข้าใจผิดและส่งเสริมการทำงานเป็นทีมที่ดี  จัดกิจกรรมนำเสนองานต่างๆ เพื่อให้พนักงานได้ฝึกพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จะทำให้เกิดดการสื่อสารในองค์กรที่ดีขึ้น และการสื่อสารที่ดียังช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ส่งผลให้เกิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ 5. สอนวิธีการนำเสนอข้อมูลที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่ายขึ้น การนำเสนอข้อมูลที่ซับซ้อนควรทำให้เข้าใจง่าย โดยการสอนเทคนิคต่างๆ เช่น การใช้กราฟ การสรุปเนื้อหาให้กระชับ และการใช้ตัวอย่างที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยให้ผู้ฟังสามารถเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น สามารถเริ่มจากการสอนให้เข้าใจระดับความรู้ของผู้ฟัง เพื่อเลือกใช้ภาษาและเนื้อหาที่เหมาะสมในการนำเสนอ โดยเฉพาะเมื่อพูดคุยกับฝ่ายงานอื่น การพัฒนาทักษะนี้ช่วยให้พนักงานสามารถถ่ายทอดความรู้และข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพพนักงานเข้าใจตรงกันและนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างถูกต้อง ทำให้ลดความผิดพลาดในการทำงาน ส่งผลให้การทำงานราบรื่นขึ้น 6. ฝึกการจัดการอารมณ์ การจัดการอารมณ์เป็นทักษะที่สำคัญในที่ทำงาน พนักงานควรได้รับการสอนให้รู้จักการระบุและจัดการกับอารมณ์ของตนเอง เช่น การหาวิธีผ่อนคลาย การตั้งเป้าหมายเพื่อจัดการกับความเครียด ซึ่งเมื่อพนักงานจัดการกับความเครียดและความกดดันได้ดีขึ้น ส่งผลให้มีบรรยากาศในการทำงานที่ดี ทั้งยังช่วยให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีสมาธิและลดความขัดแย้งในทีม 7. ฝึกให้กล้าแสดงความคิดเห็น การส่งเสริมให้พนักงานกล้าแสดงความคิดเห็นช่วยสร้างบรรยากาศที่เปิดกว้างและส่งเสริมการเรียนรู้ การเปิดช่องทางให้แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ เช่น มีกล่องสำหรับรับข้อเสนอแนะให้พนักงานเขียนความคิดเห็น แล้วนำความคิดเห็นที่ดีไปปรับใช้ เพื่อให้พนักงานเข้าใจว่าความคิดเห็นของพวกเขามีค่าต่อองค์กร  เพราะความคิดเห็นจากคนทำงานจะช่วยให้องค์กรปรับปรุงกระบวนการทำงานได้ตรงจุด หรืออาจได้ไอเดียใหม่ๆจากพนักงาน ที่นำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ 8. พัฒนาทักษะบริหารเวลา ทักษะการบริหารเวลาเป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน พนักงานควรได้รับการสอนวิธีการวางแผนและจัดการเวลาให้มีประสิทธิภาพ การสอนให้จัดลำดับความสำคัญของงานและวางกำหนดการที่ชัดเจนการตั้งเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว การใช้เครื่องมือช่วยในการบริหารเวลา อย่างเช่นปฏิทินหรือแอปพลิเคชันที่ช่วยติดตามงาน จะทำให้พนักงานรู้ว่างานไหนควรทำก่อน ทำให้สามารถส่งมอบงานได้ตรงเวลา 9. ฝึกให้ยอมรับความผิดพลาดได้ การยอมรับความผิดพลาดเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ พนักงานควรได้รับการฝึกฝนให้เห็นคุณค่าของการเรียนรู้จากความผิดพลาด และเข้าใจว่ามันเป็นโอกาสในการพัฒนาตนเอง แทนที่จะมองว่าความผิดพลาดเป็นความล้มเหลว การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เปิดใจรับฟังและให้ความสำคัญกับการเรียนรู้จากความผิดพลาดจะทำให้พนักงานรู้สึกปลอดภัยที่จะยอมรับความผิดพลาด ช่วยให้พนักงานมีความมั่นใจมากขึ้นในการทำงาน พร้อมหาทางแก้ไขปัญหาและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีก แหล่งที่มา : การพัฒนาเหล่านี้จะช่วยสร้างพนักงานที่มีคุณภาพ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กรในระยะยาวได้ นอกจากนี้ การใช้โปรแกรมบัญชี PEAK ในการจัดการข้อมูลทางการเงินและบัญชี ก็สามารถช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน ด้วยระบบที่ใช้งานง่ายและครอบคลุมทุกขั้นตอนทางการเงินและบัญชี ช่วยลดข้อผิดพลาดในการทำงาน เพิ่มความแม่นยำในการ และทำให้สามารถมุ่งเน้นไปที่การวางแผนเชิงกลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้าได้ดียิ่งขึ้น ทั้งยังรองรับการทำงานแบบออนไลน์ ทำให้การทำงานร่วมกันภายในทีมเป็นไปอย่างราบรื่น  ทั้งนี้ การใช้งานโปรแกรมบัญชีที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการทำงาน แต่ยังเป็นการส่งเสริมให้พนักงานสามารถใช้ทักษะและความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรได้อย่างต่อเนื่อง ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

13 ก.ย. 2024

PEAK Account

9 min

สูตร(ไม่)ลับ ตรวจวัดสถานะทางการเงินของธุรกิจ

การเข้าใจสถานะทางการเงินของธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องในเรื่องการลงทุน การขยายกิจการ หรือแม้กระทั่งการวางแผนการเงินในระยะยาว ในบทความนี้ เราจะมาเปิดเผย “สูตร(ไม่)ลับ” ที่จะช่วยให้คุณสามารถตรวจวัดสถานะทางการเงินของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ 8 สูตรอัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratios) ที่ผู้ประกอบการควรรู้ อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratios) คือ ตัวชี้วัดที่ใช้ในการวิเคราะห์สถานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของธุรกิจ โดยอัตราส่วนเหล่านี้จะถูกคำนวณจากข้อมูลทางการเงินที่ปรากฏในงบการเงินของบริษัท เช่น งบกำไรขาดทุน งบแสดงฐานะทางการเงิน (งบดุล) และงบกระแสเงินสด อัตราส่วนทางการเงินเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการ เพราะสามารถช่วยให้เข้าใจถึงความสามารถของธุรกิจในการสร้างรายได้, การบริหารสินทรัพย์, และการจัดการหนี้สินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถคำนวณได้การสูตรดังต่อไปนี้ การวัดความสามารถในการจัดการหนี้สินของบริษัท 1. หนี้สินรวมต่อส่วนผู้ถือหุ้น (Total Debt to Equity Ratio) หนี้สินรวมต่อส่วนผู้ถือหุ้น = หนี้สินรวม/ส่วนผู้ถือหุ้น หนี้สินรวมต่อส่วนผู้ถือหุ้น เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดระดับความมั่นคงทางการเงินของบริษัทโดยการเปรียบเทียบระหว่างหนี้สินทั้งหมดของบริษัทกับส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราส่วนนี้จะแสดงให้เห็นว่าบริษัทใช้หนี้สินเท่าไหร่ในการระดมทุนเมื่อเทียบกับการใช้ทุนจากผู้ถือหุ้น 2. อัตราส่วนสภาพคล่อง (Current Ratio) อัตราส่วนสภาพคล่อง = สินทรัพย์หมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน อัตราส่วนสภาพคล่อง เป็นอัตราส่วนที่แสดงถึงความสามารถของบริษัทในการจ่ายหนี้ระยะสั้นโดยใช้สินทรัพย์หมุนเวียน อัตราส่วนนี้ใช้ในการวัดความสามารถของบริษัทในการจัดการกับหนี้สินที่มีการชำระภายในระยะเวลา 1 ปี เป็นการดูว่าบริษัทมีเงินหรือสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้เร็วพอที่จะจ่ายหนี้ระยะสั้นหรือไม่ช่วยให้เรารู้ว่าบริษัทมีความสามารถในการจ่ายหนี้ระยะสั้น (เช่น หนี้ที่ต้องจ่ายภายใน 1 ปี) มากน้อยแค่ไหน ถ้าอัตราส่วนนี้สูง แปลว่าบริษัทมีเงินพอจ่ายหนี้ แต่ถ้าต่ำ แปลว่าบริษัทอาจเจอปัญหาในการจ่ายหนี้ได้ การวัดประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์และทุนของบริษัท 3. ROE (Return on Equity) หรือ อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ROE (%) = กำไรสุทธิ/ส่วนผู้ถือหุ้น ROE ใช้วัดว่าบริษัทสามารถทำกำไรได้เท่าไหร่จากเงินที่เจ้าของหรือผู้ถือหุ้นลงทุนไว้ บ่งบอกถึงความสามารถในการทำกำไรของบริษัท โดยทั่วไป ถ้า ROE สูง หมายความว่าบริษัทสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้น 4. ROA (Return on Assets) หรือ อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม ROA (%) = กำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี/สินทรัพย์รวมถัวเฉลี่ย ROA ใช้วัดว่าบริษัทสามารถทำกำไรได้เท่าไหร่จากสินทรัพย์ทั้งหมดที่มี ช่วยให้เห็นว่าบริษัทใช้ทรัพยากรทั้งหมดที่มีอย่างมีประสิทธิภาพแค่ไหน ถ้า ROA สูง แปลว่าบริษัทใช้สินทรัพย์ได้ดีในการสร้างกำไร 5. อัตราหมุนเวียนสินทรัพย์รวม (Total Asset Turnover Ratio) อัตราหมุนเวียนสินทรัพย์รวม = รายได้/สินทรัพย์รวม อัตราหมุนเวียนสินทรัพย์รวม ใช้วัดว่าบริษัทใช้สินทรัพย์ทั้งหมดที่มีในการสร้างรายได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าอัตรานี้สูง แสดงว่าบริษัทสามารถใช้สินทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพในการสร้างรายได้ แต่ถ้าต่ำ อาจแปลว่าบริษัทใช้สินทรัพย์ไม่เต็มประสิทธิภาพ การวัดและวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรของบริษัท 6. อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) อัตรากำไรขั้นต้น (%) = กำไรขั้นต้น/รายได้จากการขาย อัตรากำไรขั้นต้น ใช้วัดว่าบริษัททำกำไรได้เท่าไหร่หลังจากหักต้นทุนขาย (เช่น ค่าวัตถุดิบและค่าแรงในการผลิต) ออกแล้ว ช่วยให้เราเห็นว่าบริษัทมีประสิทธิภาพในการผลิตและขายสินค้า/บริการเพียงใด ถ้าอัตรานี้สูง แปลว่าบริษัทควบคุมต้นทุนการผลิตได้ดี และยังคงทำกำไรได้มากเมื่อเทียบกับรายได้ 7. อัตรากำไรจากการดำเนินงาน (Operating Profit Margin) อัตรากำไรจากการดำเนินงาน (%) = กำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี/รายได้รวม อัตรากำไรจากการดำเนินงาน วัดว่าบริษัททำกำไรได้เท่าไหร่จากการดำเนินงานหลักของธุรกิจหลังจากหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน (ยกเว้นดอกเบี้ยและภาษี) บอกให้รู้ถึงความสามารถในการจัดการค่าใช้จ่ายของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจหลัก ถ้าอัตรานี้สูง แปลว่าบริษัทมีการจัดการค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ 8. อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) อัตรากำไรสุทธิ (%) = กำไรสุทธิ/รายได้รวม อัตรากำไรสุทธิ  วัดว่าบริษัททำกำไรได้เท่าไหร่หลังจากหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด รวมถึงดอกเบี้ยและภาษีออกจากรายได้ทั้งหมด แสดงถึงความสามารถในการทำกำไรสุทธิของบริษัท อัตรานี้บอกให้เรารู้ว่าในทุก 100 บาทของรายได้ บริษัทมีกำไรสุทธิเหลืออยู่เท่าไหร่ ถ้าอัตรานี้สูง แปลว่าบริษัทมีความสามารถในการทำกำไรที่ดี โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

26 มิ.ย. 2024

PEAK Account

14 min

เจ้าของกิจการอยากเปลี่ยนสำนักงานบัญชี ต้องเตรียมตัวอย่างไร

ในยุคที่ธุรกิจแข่งขันสูง การบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นหัวใจสำคัญหนึ่งในนั้นคือ การมีระบบบัญชีที่รัดกุมและถูกต้อง ซึ่งสำนักงานบัญชีมีบทบาทสำคัญในการดูแลงานบัญชีให้กับธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุผลหลายประการ บางครั้งธุรกิจอาจมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนสำนักงานบัญชีใหม่ การเปลี่ยนสำนักงานบัญชี เปรียบเสมือนการเริ่มต้นใหม่กับพันธมิตรทางธุรกิจคนสำคัญ เจ้าของกิจการจึงควรเตรียมตัวให้พร้อม เพื่อให้กระบวนการเปลี่ยนผ่านราบรื่นและส่งผลกระทบต่อธุรกิจน้อยที่สุด ก่อนตัดสินใจเปลี่ยนสำนักงานบัญชี สิ่งที่ควรนำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจคือ เมื่อไหร่ที่ควรเปลี่ยนสำนักงานบัญชี การตัดสินใจเปลี่ยนสำนักงานบัญชีนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทำงานกับบริษัทเดียวกันมาเป็นเวลานาน แต่หากคุณประสบปัญหาเหล่านี้ แสดงว่าถึงเวลาแล้วที่ควรพิจารณาหาสำนักงานบัญชีใหม่ 1. สำนักงานบัญชีเดิมมีขนาดเล็กเกินไป เมื่อธุรกิจของคุณเติบโตขึ้น ความต้องการด้านบัญชีก็ย่อมซับซ้อนมากขึ้น สำนักงานบัญชีขนาดเล็กอาจมักมีพนักงานจำนวนน้อย กำลังคนไม่พอหรือบริการที่ไม่ครอบคลุม ทำให้ไม่สามารถรองรับการขยับขยายของกิจการเราได้   2. ปัญหาการสื่อสารและการทำงานร่วมกัน การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับสำนักงานบัญชี หากคุณมีปัญหาในการสื่อสารกับสำนักงานบัญชีของคุณ อาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดและปัญหาอื่นๆ คุณควรได้รับคำตอบจากสำนักงานบัญชีของคุณอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ หากคุณต้องรอเป็นเวลานานเพื่อรับคำตอบ แสดงว่าพวกเขาอาจไม่ให้ความสำคัญกับธุรกิจของคุณ บางทีบริษัทหรือกิจการก็มีระบบการออกเอกสาร หรือระบบการทำงานเป็นของตัวเอง ถ้าสำนักงานบัญชีไม่สามารถใช้โปรแกรมร่วมกับเจ้าของกิจการได้ เช่น ถ้ากิจการทำงานแบบออนไลน์ทั้งหมด แต่ว่าสำนักงานบัญชียังทำงานแบบออฟไลน์ เจ้าของกิจการเข้าถึงข้อมูลยากก็อาจเป็นเหตุผลให้เจ้าของกิจการหันไปหาทางเลือกใหม่ๆ ที่ทำงานด้วยกันง่ายขึ้น 3. ต้องการลดค่าใช้จ่าย สำนักงานบัญชีมีราคาแตกต่างกันไป บางสำนักงานบัญชีคิดค่าธรรมเนียมแบบเหมาจ่าย ในขณะที่บางแห่งคิดค่าธรรมเนียมตามเวลา หากคิดว่าราคาที่จ่ายให้สำนักงานบัญชีต่อเดือนแพงเกินไป  เจ้าของกิจการอาจต้องตัดสินใจเปลี่ยนสำนักงานบัญชีเพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย  4. ไม่ได้รับคำปรึกษาและคำแนะนำที่เพียงพอ สำนักงานบัญชีที่ดีจะช่วยคุณวางแผนภาษีเพื่อลดภาระภาษีของกิจการ พร้อมให้คำปรึกษาและคำแนะนำที่มีประโยชน์ให้แก่กิจการ ในทางกลับกันหากสำนักงานบัญชีไม่สามารถช่วยเหลือ หรือให้คำปรึกษาต่างๆ ทางบัญชีและภาษีได้ เจ้าของกิจการก็อาจมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปใช้บริการจากสำนักงานบัญชีใหม่ หลังจากตัดสินใจที่จะเปลี่ยนสำนักงานบัญชีแล้ว หลายๆคนอาจเกิดคำถามว่า ควรเปลี่ยนสำนักงานบัญชีช่วงไหนดี สามารถเปลี่ยนทันทีเลยได้ไหม หากมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนสำนักงานบัญชีทันที สามารถทำได้แต่อาจจะต้องจ่ายค่าทำบัญชีซ้ำซ้อน เพราะสำนักงานบัญชีใหม่จะต้องเริ่มต้นทำใหม่ตั้งแต่ต้นปีจนถึงข้อมูลที่กิจการมีล่าสุด อีกทั้งการเปลี่ยนสำนักงานบัญชีทันที ในบางกรณีอาจต้องเสียค่าปรับการยกเลิกสัญญากับสำนักงานบัญชีที่เดิม การรอจนจบรอบบัญชีก่อนค่อยเปลี่ยนสำนักงานบัญชีอาจดูเป็นทางเลือกที่สะดวกกว่า เพื่อความต่อเนื่องของงานบัญชี แต่ก็ยังมีสิ่งที่น่ากังวลคือ  ในกรณีที่สำนักงานบัญชีเดิมไม่รับผิดชอบงาน ซึ่งทำให้กิจการได้ข้อมูลจากการบันทึกบัญชีที่ไม่ถูกต้อง หรืออาจเกิดภาระค่าปรับภาษีหรือค่าปรับอื่นๆตามมาได้ ดังนั้นเจ้าของกิจการจะต้องคำนึงว่าหากยังใช้สำนักงานบัญชีเดิมอยู่ไปจนจบรอบบัญชี จะทำให้ก่อความเสียหายมากกว่าหรือไม่ เจ้าของกิจการอยากเปลี่ยนสำนักงานบัญชี ต้องเตรียมตัวอย่างไร 1.ติดต่อสำนักงานบัญชีใหม่ การเปลี่ยนสำนักงานบัญชีนั้น เจ้าของกิจการควรเริ่มต้นด้วยการสรรหาและติดต่อสำนักงานบัญชีที่สนใจไว้ล่วงหน้า ไม่ควรรอจนถึงนาทีสุดท้าย เพราะอาจทำให้ไม่มีเวลาเปรียบเทียบข้อเสนอ หรือเลือกสำนักงานบัญชีที่ไม่ตรงกับความต้องการ การติดต่อล่วงหน้าจะทำให้เจ้าของกิจการมีเวลาคุยกับสำนักงานบัญชี อธิบายความต้องการของธุรกิจ และ สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับบริการต่างๆ การมีสำนักงานบัญชีใหม่รองรับไว้แล้ว จะช่วยให้ช่วงเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างราบรื่น โดยไม่ต้องกังวลว่าจะไม่มีคนดูแลเรื่องบัญชี 2.แจ้งสำนักงานบัญชีเก่า เมื่อได้ตัดสินใจเลือกสำนักงานบัญชีใหม่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การแจ้งสำนักงานบัญชีเก่า เจ้าของกิจการควรแจ้งล่วงหน้าตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อให้สำนักงานบัญชีเก่ามีเวลาเตรียมตัวส่งมอบเอกสารและข้อมูลต่างๆ และการแจ้งลาออกจากสำนักงานบัญชีนั้น ควรทำอย่างสุภาพ ตรงไปตรงมา และแสดงถึงความเป็นมืออาชีพ โดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในอนาคต 3.ขอเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีคืน การโบกมือลาสำนักงานบัญชีเดิมนั้นไม่ใช่จุดจบของภารกิจการเปลี่ยนสำนักงานบัญชี ยังมีอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญที่หลายคนมักมองข้าม นั่นคือ การแจ้งข้อมูลและเอกสาร ที่เกี่ยวข้องกับบัญชีให้ครบถ้วนแก่สำนักงานบัญชีใหม่ ปัญหาที่พบเจอได้บ่อยครั้งคือ เจ้าของกิจการไม่ทราบแน่ชัดว่ามีข้อมูลอะไรบ้างที่ส่งให้สำนักงานบัญชีเก่าเก็บไว้ ส่งผลต่อความมั่นใจว่าข้อมูลบัญชีที่ส่งต่อนั้นครบถ้วนหรือไม่ เพื่อความมั่นใจและความราบรื่นในการเปลี่ยนผ่าน โดยทั่วไปแล้ว สำนักงานบัญชีควรจะมีข้อมูลกิจการตามนี้ สำหรับเจ้าของกิจการที่ต้องการขอเอกสารหลังจากจากปิดงบเสร็จแล้ว สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : ปิดงบการเงินเสร็จแล้ว…ต้องขอเอกสารอะไรบ้างจากสำนักงานบัญชี? 4.ขอรหัสผ่านที่ใช้ติดต่อทำธุรกรรม เมื่อต้องการเปลี่ยนสำนักงานบัญชี สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือต้องขอ Username และ Password ที่ใช้ติดต่อทำธุรกรรมต่างๆ จากสำนักงานบัญชีเดิม รหัสผ่านเหล่านี้จำเป็นสำหรับการเข้าถึงระบบและดำเนินการทางการเงินต่างๆ เช่น ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน ระบบ DBD e-Filing ของกรมพัฒนาธุรกิจ, ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน ระบบจ่ายภาษีออนไลน์ ของกรมสรรพากร, ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน ระบบทำธุรกรรมของสำนักงานประกันสังคม 5.กำหนดเวลาการโยกย้ายให้ชัดเจน เจ้าของกิจการควร กำหนดเวลาในการส่งคืนเอกสารและงบการเงินให้แน่นอน กับสำนักงานบัญชีเก่า เพื่อป้องกันปัญหาความล่าช้า และป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น โดยเจ้าของกิจการสามารถกำหนดระยะเวลาคร่าวๆได้ ยกตัวอย่างเช่น : กิจการที่กำลังมองหาโปรแกรมบัญชีออนไลน์ มาช่วยจัดการเอกสาร ออกใบเสร็จหรือใบแจ้งหนี้ ทาง PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยจัดการเอกสารบัญชีของคุณให้เป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

8 min

KPI คืออะไร วิธีวัดผลและความสำคัญต่อองค์กร

Key Performance Indicators คือ เครื่องมือในการวัดผลธุรกิจที่ดีที่องค์กรนิยมใช้โดยเฉพาะในยุคที่มีการแข่งขันทางธุรกิจสูง เพราะสามารถช่วยให้องค์กรสามารถติดตามและประเมินความสำเร็จได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่ง KPI จะมีการวัดผลอย่างไร ทำไมสำคัญกับองค์กรไปดูกัน KPI หรือ Key Performance Indicators คืออะไร KPI หรือ Key Performance Indicators คือ เป็นวิธีวัดผลการทำธุรกิจในด้านต่าง ๆ ขององค์กร ด้วยการดูว่าผลตรงกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ไหม ทำให้องค์กรสามารถติดตามความก้าวหน้า ประเมินประสิทธิภาพ และปรับปรุงการทำธุรกิจได้ดีมากขึ้น โดยแต่ละตัวอักษรมีความหมาย ดังนี้  ประเภทการวัดผล KPI การวัดผลการปฏิบัติงานจะขึ้นอยู่กับลักษณะของงานและเป้าหมายที่ต้องการวัด โดยตัวชี้วัด KPI แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ การวัดผลทางตรงและการวัดผลทางอ้อม การวัดผลทางตรง การวัดผลทางตรงเป็นการประเมินผลงานที่สามารถวัดเป็นตัวเลขได้ชัดเจน ไม่ต้องตีความหรือแปลผล เช่น ยอดขาย จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ อัตราของเสีย หรือจำนวนลูกค้าใหม่ ข้อดีของการวัดผลแบบนี้คือเราสามารถตรวจสอบได้และมีหลักฐานอ้างอิงชัดเจน ทำให้การประเมินผลมีความโปร่งใส การวัดผลทางอ้อม การวัดผลทางอ้อมเป็นการประเมินผลงานที่ไม่สามารถวัดเป็นตัวเลขได้โดยตรง ต้องอาศัยการสังเกต การประเมิน หรือการสำรวจความคิดเห็น เช่น การให้บริการ ความประทับใจของลูกค้า หรือการมีผู้นำ การวัดผลประเภทนี้อาจมีความคลาดเคลื่อนได้ เนื่องจากขึ้นอยู่กับมุมมองและการตีความของผู้ประเมิน ความสำคัญต่อองค์กร KPI มีความสำคัญต่อองค์กรในหลายด้าน สามารถช่วยให้องค์กรรู้ความคืบหน้าในการทำงานของพนักงานและประเมินความสำเร็จได้อย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ ยังใช้ประเมินผลงานของพนักงาน การพิจารณาผลตอบแทน และการวางแผนพัฒนาบุคลากร รวมถึงช่วยในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์และการจัดสรรทรัพยากรขององค์กร ใช้หลักการ SMART ในการตั้ง KPI หลักการ SMART เป็นแนวทางมาตรฐานในการกำหนด key performance indicators เป็นการสร้างตัวชี้วัดที่มีประสิทธิภาพ มาดูรายละเอียดแต่ละองค์ประกอบ ตัวอย่างการตั้ง KPI ในองค์กร การกำหนด key performance indicators เป็นการสร้างมาตรฐานการวัดผลที่ตรงตามเป้าหมายขององค์กร มาดูตัวอย่างการตั้ง KPI ในแต่ละแผนก  ฝ่ายขายและการตลาด ฝ่ายผลิต ฝ่ายบุคคล ข้อควรระวังในการใช้ KPI การกำหนดและใช้ KPI (Key Performance Indicators) เป็นการวัดผลความสำเร็จขององค์กรหรือโครงการ แต่หากใช้อย่างไม่ระมัดระวัง อาจเกิดการตีความที่ผิดพลาด หรือการสร้างผลกระทบเชิงลบต่อการทำงานโดยรวม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเข้าใจถึงข้อควรระวังต่าง ๆ เพื่อให้การใช้ KPI สอดคล้องกับเป้าหมายที่แท้จริง และช่วยพัฒนาองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ประโยชน์ของการใช้ KPI ที่ดี KPI (Key Performance Indicators) เป็นตัวชี้วัดที่ช่วยให้องค์กรรู้ความคืบหน้าของการทำธุรกิจว่าได้ตามเป้าหมายที่ตั้งใจไหม การใช้ KPI ที่ออกแบบมาอย่างเหมาะสมไม่เพียงแต่ช่วยวัดผลสำเร็จ แต่ยังสร้างแรงจูงใจให้ทีมงานพัฒนาการทำงานได้ดียิ่งขึ้น การเข้าใจถึงประโยชน์ของการใช้ KPI จะช่วยเพิ่มโอกาสในการบริหารจัดการและพัฒนาองค์กรในระยะยาว การใช้ KPI จะช่วยให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน แต่ต้องระวังความเหมาะสมและความเป็นกลางในการประเมินผล เพื่อคนในองค์กรอยากพัฒนาเปลี่ยนแปลงการทำงานจริง ๆ ซึ่ง Key Performance Indicators คือ เครื่องมือที่จะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ หากใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

8 min

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการยื่นประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่สำหรับนายจ้าง

การจ้างงานพนักงานใหม่นั้นนายจ้างมีหน้าที่สำคัญในการดูแลสวัสดิการพื้นฐาน โดยเฉพาะการขึ้นทะเบียนประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่ให้ถูกต้องตามกฎหมาย การจัดการประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่อย่างรวดเร็วและถูกต้องไม่เพียงแต่ช่วยให้พนักงานได้รับสิทธิประโยชน์ที่ควรได้รับ แต่ยังช่วยให้องค์กรหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมายและค่าปรับที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งนายจ้างต้องทำอะไรบ้างไปดูกัน  ทำไมเจ้าของธุรกิจต้องประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่ให้พนักงาน การขึ้นทะเบียนประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่เป็นหน้าที่สำคัญที่นายจ้างต้องดำเนินการ ไม่เพียงเพราะเป็นข้อกำหนดทางกฎหมาย แต่ยังส่งผลดีต่อทั้งองค์กรและพนักงาน มาดูเหตุผลสำคัญที่นายจ้างควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ กฎหมายกำหนด พระราชบัญญัติประกันสังคมกำหนดให้นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่ภายใน 30 วันนับจากวันที่เริ่มจ้างงาน หากไม่ดำเนินการจะมีโทษปรับสูงสุด 20,000 บาท นอกจากนี้ ยังต้องจ่ายเงินสมทบย้อนหลังพร้อมเงินเพิ่ม 2% ต่อเดือนของเงินสมทบที่ต้องจ่าย ซึ่งถ้าบริษัททำตามกฎหมายนี้ก็จะช่วยป้องกันปัญหาและค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น พนักงานได้ประโยชน์ทำให้อยู่กับบริษัทได้นาน การขึ้นทะเบียนประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่อย่างรวดเร็วช่วยให้พนักงานได้รับสิทธิประโยชน์ที่ครอบคลุมทั้งค่ารักษาพยาบาล เงินทดแทนการขาดรายได้ สิทธิประโยชน์กรณีคลอดบุตร ทุพพลภาพ และเสียชีวิต ทำให้พนักงานรู้สึกมั่นคงในการทำงาน มีหลักประกันชีวิตที่ดี ส่งผลให้เกิดความผูกพันกับองค์กรจึงมีโอกาสทำงานกับบริษัทได้ยาวนานขึ้น สร้างภาพลักษณ์ที่ดี องค์กรที่ดูแลสวัสดิการพนักงานอย่างดี โดยเฉพาะการจัดการประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่อย่างรวดเร็วและถูกต้อง จะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในฐานะนายจ้างที่มีความรับผิดชอบ ช่วยดึงดูดบุคลากรที่มีคุณภาพให้เข้ามาร่วมงาน และสร้างความน่าเชื่อถือในสายตาของลูกค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ วิธีการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม การคำนวณเงินสมทบประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่คำนวณจากฐานค่าจ้าง โดยทั้งนายจ้างและลูกจ้างต้องจ่ายในอัตราเท่ากันคือ 5% ของค่าจ้าง ซึ่งมีฐานค่าจ้างขั้นต่ำ 1,650 บาท และสูงสุด 15,000 บาท ต่อเดือน หากค่าจ้างต่ำกว่า 1,650 บาท ให้คำนวณจาก 1,650 บาท และหากสูงกว่า 15,000 บาท ให้คำนวณจาก 15,000 บาท ตัวอย่าง กรณีพนักงานเข้าใหม่มีเงินเดือน 20,000 บาท การคำนวณจะใช้ฐานสูงสุดที่ 15,000 บาท เอกสารจำเป็นระหว่างการยื่นประกันสังคมออนไลน์ ในการยื่นประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่ผ่านระบบออนไลน์ ต้องเตรียมเอกสารให้พร้อมและครบถ้วน เพื่อให้การยื่นประกันสังคมออนไลน์เร็วและไม่มีปัญหา โดยเอกสารที่จำเป็นต้องใช้มี ดังนี้  ขั้นตอนการยื่นประกันสังคมพนักงานใหม่ การยื่นประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่ผ่านระบบออนไลน์มีขั้นตอนที่ชัดเจนและไม่ซับซ้อน แต่ต้องดำเนินการอย่างรอบคอบเพื่อป้องกันข้อผิดพลาด โดยมีขั้นตอนในการยื่น ดังนี้  การจัดการประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกองค์กร นอกจากจะช่วยให้พนักงานได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายแล้ว ยังช่วยให้องค์กรหลีกเลี่ยงปัญหาและค่าปรับที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งการใช้ระบบบริหารจัดการพนักงานที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยให้กระบวนการนี้ง่ายและรวดเร็วขึ้น โดย PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยผู้ประกอบการจัดการเรื่องภาษีและบัญชีได้อย่างถูกต้องรองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

7 min

อากรแสตมป์คืออะไร พร้อมรวมทุกเรื่องสำคัญที่ต้องรู้

อากรแสตมป์เป็นภาษีรูปแบบหนึ่งที่จัดเก็บภาษีจากการทำตราสารหรือเอกสารต่าง ๆ ทางกฎหมายในประเทศไทย ซึ่งมักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นแสตมป์ทั่วไปที่ใช้ในการส่งจดหมาย แต่ในความเป็นจริงอากรแสตมป์มีความสำคัญในด้านกฎหมายและธุรกรรมทางการเงิน การเข้าใจว่าอากรแสตมป์ใช้ทำอะไรได้บ้าง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรเรียนรู้ โดยเฉพาะผู้ที่มีกิจการเป็นของตัวเอง อากรแสตมป์ คืออะไร อากรแสตมป์ คือ ภาษีตามประมวลรัษฎากรรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจะจัดเก็บในลักษณะของดวงแสตมป์ที่ใช้สำหรับเอกสารราชการและสัญญาต่าง ๆ เช่น สัญญาซื้อขาย ใบมอบอำนาจ โดยอากรบนเอกสารเหล่านี้เป็นการแสดงว่าภาษีได้ถูกชำระเรียบร้อยแล้ว และเอกสารนั้นได้รับการรับรองตามกฎหมาย สามารถช่วยป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษี แถมยังช่วยรับรองความถูกต้องของเอกสารทางกฎหมายอีกด้วย อากรแสตมป์ ไม่ใช่แสตมป์ปกติ หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าอากรแสตมป์เป็นแสตมป์ที่ใช้ในการส่งจดหมายหรือไปรษณีย์ แต่ความจริงแล้วอากรแสตมป์กับแสตมป์แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยแสตมป์ หรือ ตราไปรษณียากร มีลักษณะเป็นกระดาษรูปสี่เหลี่ยม โดยจะนำไปใช้ติดบนซองจดหมายเพื่อใช้เป็นหลักฐานว่าได้ชำระค่าบริการส่งไปรษณีย์แล้ว ซึ่งจะมีแสตมป์ทั่วไปกับแสตมป์ที่ระลึกที่มีการออกแบบเนื่องในโอกาสพิเศษ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ เป็นต้น รูปแบบของอากรแสตมป์ เอกสารที่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์มีอะไรบ้าง การทำตราสารหรือเอกสารบางประเภทในประเทศไทยต้องมีการประทับตราอากรแสตมป์เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยเอกสารที่ต้องจ่ายค่าอากรแสตมป์ เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าที่ดิน สัญญาจำนอง สัญญาร่วมลงทุน สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ สัญญาจ้างทำของ สัญญากู้ยืมเงิน สัญญาค้ำประกัน และเอกสารอื่น ๆ ที่มีผลทางกฎหมาย  วิธีการเสียค่าอากรแสตมป์ ข้อควรรู้เกี่ยวกับอากรแสตมป์ สรุปบทความ อากรแสตมป์เป็นส่วนสำคัญในการทำตราสารและเอกสารทางกฎหมายในประเทศไทย ความเข้าใจในเรื่องอากรแสตมป์และการใช้แสตมป์อากรอย่างถูกต้อง เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ที่ต้องการทำธุรกรรมทางการเงินหรือจัดการกับเอกสารสำคัญ โดยเฉพาะเจ้าของธุรกิจมือใหม่ที่ต้องเรียนรู้เรื่องบัญชี การเงิน และภาษีเพื่อความโปร่งใสในการดำเนินกิจการ และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเหล่านักลงทุน PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยผู้ประกอบการจัดการเรื่องภาษีและบัญชีได้อย่างถูกต้องรองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

8 min

สินเชื่อ OD คืออะไร เรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการ SME ต้องรู้

สินเชื่อ OD คือ สินเชื่อประเภทหนึ่งที่ธนาคารให้บริการแก่ผู้ประกอบการ SME เพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องทางการเงิน หรือที่คนส่วนใหญ่รู้จักในชื่อ “เงินหมุน” โดยเฉพาะในช่วงที่ธุรกิจต้องการเงินสดอย่างเร่งด่วน แต่ไม่ต้องการกู้ยืมเงินเป็นเงินก้อนใหญ่ สินเชื่อ OD คือ สินเชื่อที่ช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถเบิกเงินจากบัญชีเงินฝากเกินกว่ายอดเงินที่มีอยู่ ได้ตามวงเงินที่ได้รับอนุมัติ โดยธนาคารจะคิดดอกเบี้ยเฉพาะในส่วนที่เบิกเกิน ซึ่งทำให้สินเชื่อ OD คือตัวเลือกที่ยืดหยุ่นและเหมาะสมสำหรับธุรกิจที่ต้องการเงินทุนสำหรับหมุนเวียนในระยะสั้น สินเชื่อ OD (Overdraft) คืออะไร? สินเชื่อ OD หรือ เงิน OD คือ การให้กู้เงินในรูปแบบของ “เงินหมุน” โดยที่ธนาคารผู้ให้กู้นั้นจะตั้งวงเงินไว้ในบัญชีกระแสรายวัน (Current Account) ที่บริษัทได้เปิดไว้กับธนาคารตั้งแต่ต้น โดยสามารถเบิกใช้เงินกู้นี้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่แจ้งเอาไว้กับธนาคารได้เลย ทั้งยังสามารถทยอยเบิกใช้ในยามที่จำเป็นได้ โดยไม่จำเป็นต้องเบิกภายในครั้งเดียวทั้งจำนวน แต่มีข้อแม้ว่าต้องไม่เบิกใช้เกินวงเงินที่ทางธนาคารกำหนดไว้ ซึ่งเงื่อนไขการผ่อนชำระนั้นจะเป็นไปที่กำหนดเอาไว้ในสัญญาสินเชื่อ มีการคำนวณดอกเบี้ยเป็นรายวัน ตามจำนวนที่ไปใช้จริงทุกสิ้นเดือน สินเชื่อ OD แตกต่างกับสินเชื่อเงินก้อน Loan อย่างไร สินเชื่อ OD คือ เงินที่กู้มาใช้ในระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อนำเงินมาหมุนในกรณีฉุกเฉินหมุนเงินไม่ทัน โดยจะเสียดอกเบี้ยเฉพาะวงเงินที่ใช้ ซึ่งจะแตกต่างกับสินเชื่อเงินก้อน (Loan) อย่างชัดเจน เนื่องจากสินเชื่อเงินก้อน (Loan) จะได้รับมาเป็นเงินก้อนเพื่อนำไปใช้ขยายกิจการหรือลงทุนระยะยาวตามแจ้งไว้กับธนาคาร โดยจะเสียดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกและผ่อนชำระเท่ากันทุกเดือน  ข้อดีของสินเชื่อ OD คืออะไร สินเชื่อ OD มีข้อดีมากมายทำให้ได้รับความนิยมมาก ๆ ในธุรกิจ SME เนื่องจากมีความยืดหยุ่นในการเบิกถอนเงินจากบัญชีตามความต้องการได้ทันที ดอกเบี้ยที่จ่ายตามการใช้งานจริง ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยเฉพาะในส่วนที่เบิกเกินเท่านั้น ช่วยเสริมสภาพคล่องในระยะสั้นทำให้ธุรกิจสามารถรับมือกับการขาดแคลนเงินสดหรือการชำระค่าใช้จ่ายฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที โดยผู้ประกอบการจะเบิกเงินได้ทันทีหลังได้รับการอนุมัติ โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนการอนุมัติใหม่อีกทุกครั้ง สินเชื่อ OD เหมาะสำหรับใคร สินเชื่อ OD เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่มีความต้องการเสริมสภาพคล่องทางการเงินในระยะสั้น โดยเฉพาะธุรกิจที่มีการหมุนเวียนเงินสดสูง เช่น ธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง หรือธุรกิจที่ต้องการเงินสดเพื่อซื้อวัตถุดิบหรือชำระค่าใช้จ่ายในทันที สินเชื่อ OD ยังเหมาะกับธุรกิจที่มีรายรับไม่แน่นอนหรือมีรอบการชำระเงินยืดเยื้อ เนื่องจากสามารถใช้วงเงิน OD เพื่อรับมือกับค่าใช้จ่ายฉุกเฉินได้ทันที นอกจากนี้ ธุรกิจที่ต้องการความยืดหยุ่นในการจัดการสภาพคล่อง และไม่ต้องการภาระดอกเบี้ยสูงเมื่อไม่ได้ใช้เงินเต็มวงเงิน จะเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากสินเชื่อ OD นี้ด้วย ข้อควรรู้ก่อนกู้สินเชื่อ OD คืออะไร แม้สินเชื่อ OD จะมีข้อดีที่น่าสนใจอย่างไร แต่สินเชื่อ OD ก็มีข้อควรระวังให้เราต้องพิจารณาก่อนการตัดสินใจกู้สินเชื่อ OD ด้วยเช่นกัน ดังนี้ สินเชื่อ OD คือ เงินกู้ประเภทที่มีความยืดหยุ่นสูง เป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการเงินที่เหมาะกับผู้ประกอบการ SME ที่ต้องการเสริมสภาพคล่องในระยะสั้น การเข้าใจข้อดีและข้อควรระวังก่อนทำการตัดสินใจขอสินเชื่อ OD จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถตัดสินใจได้อย่างรอบคอบและไม่กระทบกับการดำเนินธุรกิจ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยผู้ประกอบการจัดการเรื่องภาษีและบัญชีได้อย่างถูกต้องรองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

8 min

รหัส Swift code คืออะไร รวมรหัส Swift code จากทุกธนาคาร

รหัส SWIFT CODE เป็นหนึ่งในรหัสที่สำคัญที่สุดในโลกการเงินยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ เพราะเมื่อเวลาที่คุณต้องการโอนเงินไปยังประเทศอื่น คุณจำเป็นต้องใช้รหัสนี้เพื่อให้แน่ใจว่าเงินจะส่งถึงปลายทางถูกต้องและรวดเร็ว บทความนี้จะช่วยให้คุณทำความเข้าใจกับรหัส SWIFT CODE พร้อมกับให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับรหัสที่ใช้ในแต่ละธนาคารในประเทศไทย เพื่อให้คุณสามารถใช้ SWIFT CODE ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยมากที่สุด รหัส SWIFT CODE คืออะไร? รหัส SWIFT CODEหรือ รหัส BIC (Business Identifier Code) คือ รหัสประจำตัวที่ใช้เจาะจงธนาคารและสถาบันการเงินทั่วโลก ทำให้การทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศสะดวก รวดเร็ว และถูกต้อง ซึ่งรหัสนี้จะประกอบด้วยตัวอักษรและตัวเลขจำนวน 8-11 ตัว โดยรหัสแต่ละตัวก็จะมีความหมายที่แตกต่างกันไป รวมรหัส SWIFT CODE จากทุกธนาคาร ในประเทศไทย ธนาคารแต่ละแห่งจะมีรหัส SWIFT CODE เฉพาะตัว สำหรับใช้ในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ ซึ่งในส่วนของรหัสของแต่ละธนาคารจะมีดังนี้  รหัสธนาคารกรุงเทพ รหัสธนาคารกสิกรไทย รหัสธนาคารไทยพาณิชย์  รหัสธนาคารกรุงไทย รหัสธนาคารทหารไทยธนชาต  รหัสธนาคารกรุงศรีอยุธยา  รหัสธนาคารเกียรตินาคินภัทร รหัสธนาคารซีไอเอ็มบีไทย  รหัสธนาคารยูโอบี รหัสธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย รหัสธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ รหัสธนาคารไอซีบีซี รหัสธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ รหัสธนาคารออมสิน รหัสธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย รหัสธนาคารซิตี้แบงค์ SWIFT CODE เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการโอนเงินระหว่างประเทศ เพราะเป็นรหัสที่เอาไว้ใช้ระบุว่าการโอนเงินนั้นเป็นของธนาคารใด และด้วยระบบความปลอดภัยที่สูง อีกทั้งมีความแม่นยำ รวมถึงการที่สามารถตรวจสอบได้ทำให้ SWIFT CODE เป็นระบบที่ธนาคารทั่วโลกไว้วางใจ สำหรับข้อมูลในด้านอื่น ๆ คุณสามารถค้นหาจากเว็บไซต์ของธนาคารที่คุณใช้งานโดยตรงได้เลย  ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

9 min

รู้จัก Payment Gateway คืออะไร มีกี่รูปแบบ มีประโยชน์ยังไงบ้าง

การทำธุรกรรมออนไลน์เกิดขึ้นได้ในทุกวินาที และ Payment Gateway ก็ได้กลายมาเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้กระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างสะดวกราบรื่น ซึ่งการมีระบบ Payment Gateway ที่ดีนั้นจะทำให้ลูกค้ารู้สึกมั่นใจและสะดวกสบายในการซื้อสินค้าจากร้านค้าออนไลน์ของคุณ และนอกจากนี้ Payment Gateway ไม่เพียงแต่จะเป็นสื่อกลางที่ใช้ในการรับชำระเงินเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ และป้องกันการฉ้อโกงได้อีกด้วย Payment Gateway คืออะไร? Payment Gateway คือ ช่องทางการชำระเงิน เปรียบดั่งเส้นทางที่เชื่อมต่อระหว่างร้านค้าออนไลน์ของคุณกับลูกค้าที่ต้องการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต เดบิต หรือช่องทางออนไลน์อื่น ๆ เช่น PayPal TrueMoney Wallet เป็นต้น Payment Gateway มีกี่รูปแบบ Payment Gateway มีหลายรูปแบบให้เลือกใช้งาน ซึ่งแต่ละรูปแบบก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่เหมาะสมกับธุรกิจของตัวเองต่างกัน ซึ่งการเลือกใช้ Payment Gateway ที่เหมาะสมจะช่วยทำให้เราทำธุรกิจได้ราบรื่นมากขึ้น โดยจำแนกเป็นรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้ Payment Gateway แบบ Bank Payment Gateway แบบธนาคาร หรือที่เรียกกันว่า Payment Gateway ของธนาคารนั้นเป็นระบบการชำระเงินที่พัฒนาโดยธนาคารเอง มีจุดเด่นคือคุณสามารถเชื่อมต่อได้โดยตรงกับระบบของธนาคาร ทำให้การทำธุรกรรมต่าง ๆ เช่น การโอนเงิน การตรวจสอบยอดเงินได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยสูงมาก Payment Gateway แบบ Non-Bank Payment Gateway แบบ Non-Bank หรือ ระบบการชำระเงินออนไลน์ผ่านตัวกลางที่ไม่ใช่ธนาคาร เป็นหนึ่งในทางเลือกสำหรับธุรกิจออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมาก ๆ  ในปัจจุบัน โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง เนื่องจากมีความยืดหยุ่นสูง สมัครใช้งานง่าย และมีค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่าธนาคาร Payment Gateway แบบ Bank มีอะไรบ้าง Payment Gateway แบบธนาคาร หรือ ระบบรับชำระเงินออนไลน์ของธนาคาร เป็นบริการที่ธนาคารต่าง ๆ พัฒนาขึ้นมา เพื่อรองรับธุรกิจในการชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์ของธนาคารได้โดยตรง ซึ่งมีความปลอดภัยและน่าเชื่อถือในการทำธุรกรรมเป็นอย่างมาก ซึ่งในส่วนของธนาคารต่าง ๆ นั้นจะมีดังนี้ Merchant iPay ธนาคารกรุงเทพ Merchant iPay คือ บริการรับชำระเงินออนไลน์ที่พัฒนาโดยธนาคารกรุงเทพ เพื่อให้ธุรกิจมีช่องทางการรับชำระเงินจากลูกค้าแบบสะดวกมากขึ้น โดยสามารถชำระผ่านเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน และโซเชียลมีเดีย ทำให้ธุรกิจมีโอกาสดันยอดขายจากการขยายฐานลูกค้าได้มากขึ้น K Payment Gateway ธนาคารกสิกรไทย K Payment Gateway คือ บริการรับชำระเงินออนไลน์ที่พัฒนาโดยธนาคารกสิกรไทย มีระบบรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่งตามมาตรฐานสากล แถมยังปกป้องข้อมูลลูกค้าและธุรกรรมทางการเงินได้ โดยสามารถชำระเงินผ่านบัตรเครดิต เดบิต และ QR Code ได้เลย ทั้ง Thai QR และ QR Code ของ e-Wallet ชื่อดัง เช่น Alipay WeChat Pay และช่องทางอื่น ๆ อีกด้วย Krungsri Biz Payment Gateway ธนาคารกรุงศรี Krungsri Biz Payment Gateway หรือ บริการรับชำระเงินออนไลน์ผ่านบัตรเครดิต ของธนาคารกรุงศรี สามารถสร้างลิงก์ชำระเงินได้เองผ่านระบบ รวมถึงกำหนดจำนวนเงิน วันเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดการใช้งานลิงก์ด้วยตัวเองได้ อีกทั้ง ยังสามารถชำระเงินผ่านแอปพลิเคชันของธนาคารโดยตรง เพิ่มความสะดวกให้กับผู้ขายและผู้ซื้อได้ Payment gateway แบบ Non-Bank มีอะไรบ้าง  Payment Gateway แบบ Non-Bank เป็นระบบการชำระเงินที่มีความหลากหลายและยืดหยุ่น จึงได้รับความสนใจจากหลายธุรกิจ แต่การที่จะตัดสินใจเลือกใช้ Payment Gateway แบบ Non-Bank ในแบบไหนนั้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของธุรกิจเป็นหลัก ซึ่งโดยทั่วไปจะมีให้เลือกดังนี้ Paypal PayPal เป็นระบบการชำระเงินออนไลน์ที่รองรับการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต เดบิต และ e-Wallet ต่าง ๆ ใช้งานได้ง่าย และมีระบบรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่ง จึงทำให้ได้รับความนิยมและเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก GB PrimePay GB Prime Pay เป็นระบบการชำระเงินออนไลน์ของไทยที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ใช้งานได้กับธุรกิจทุกรูปแบบทั้งการวางขายสินค้าบนเว็บไวต์ หรือการขายผ่านโซเชียลมิเดีย แถมรองรับการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิตทุกประเภท Omise Omise Payment Gateway คือ ระบบรับชำระเงินออนไลน์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในธุรกิจอีคอมเมิร์ซขนาดเล็กและขนาดกลาง ทั้งในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองรับการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต/เดบิต, e-Wallet ต่าง ๆ เช่น Alipay WeChat Pay และยังสามารถเชื่อมต่อกับช่องทางการชำระเงินอื่น ๆ ได้อีกมากมาย 2C2P 2C2P Payment Gateway คือ เป็นบริษัทรับชำระเงินออนไลน์ที่มีสำนักงานใหญ่ในสิงคโปร์ ให้บริการเกตเวย์การชำระเงินแก่ธุรกิจเป็นหลัก ชำระเงินได้หลากหลายช่องทาง มีระบบรักษาความปลอดภัยในการโจรกกรมข้อมูลธุรกรรมทางการเงินของลูกค้าที่แข็งแกร่ง Pay Solution Pay Solution Payment gateway คือ บริษัทที่ให้บริการระบบรับชำระเงินออนไลน์ในประเทศไทย มีช่องทางรองรับการชำระเงินที่หลากหลาย เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต e-Wallet โอนเงินผ่านธนาคาร และการชำระเงินแบบ QR Code นอกจากนี้ก็ยังมีบริการอื่น ๆ เช่น การสร้างใบเสร็จ การติดตามยอดขาย และการเชื่อมต่อกับระบบอื่น ๆ อีกด้วย Payment Gateway คือ กุญแจสำคัญ ในการอำนวยความสะดวกให้ผู้ขายและผู้ซื้อทำธุรกรรมออนไลน์ง่ายขึ้นทั้งนี้การที่จะตัดสินใจเลือกใช้ Payment Gateway รูปแบบไหนนั้น จำเป็นต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับธุรกิจของคุณร่วมด้วย เพราะจะเป็นการช่วยเสริมความมั่นใจให้กับลูกค้า และทำให้ธุรกิจออนไลน์ของคุณเติบโตได้ดีและมั่นคงมากยิ่งขึ้น PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ มีระบบ Payment Gateway ที่ช่วยเชื่อมโยงการรับชำระเงินออนไลน์ให้กับธุรกิจของคุณอย่างง่ายดายและปลอดภัย คุณสามารถเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการชำระเงินทั้งรูปแบบบัตรเครดิตและบัตรเดบิตได้ในระบบเดียว ทำให้กระบวนการชำระเงินสะดวกสบายทั้งสำหรับคุณและลูกค้า ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก