ภาษีทั่วไป

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

9 min

เจ้าของธุรกิจทำสัญญาให้มีผลทางกฎหมาย ต้องจ่ายภาษีอากรแสตมป์

การทำธุรกิจย่อมต้องเกี่ยวข้องกับการทำสัญญาและเอกสารสำคัญต่าง ๆ ซึ่งจำเป็นต้องติดอากรแสตมป์และจ่ายภาษีอากรแสตมป์ เพื่อให้ใช้ได้ตามกฎหมาย แต่หลายคนอาจยังสงสัยว่าต้องติดอย่างไร เมื่อไหร่ และมีอัตราเท่าไร วันนี้เรามาทำความเข้าใจเรื่องอากรแสตมป์อย่างละเอียด เพื่อให้การทำสัญญาของเราถูกต้องและใช้ได้ตามกฎหมาย ภาษีอากรแสตมป์ คืออะไร ภาษีอากรแสตมป์เป็นภาษีรูปแบบหนึ่งที่รัฐจัดเก็บจากการทำนิติกรรมหรือสัญญาต่าง ๆ เพื่อรับรองความถูกต้องของเอกสารและสร้างรายได้ให้กับรัฐ โดยมีลักษณะเป็นแสตมป์ที่ต้องติดลงบนตราสารหรือเอกสารสำคัญภายใน 15 วันหลังจากการลงนาม เช่น สัญญาจ้างงาน สัญญาเช่า หนังสือมอบอำนาจ หรือใบมอบฉันทะ ทั้งนี้ อัตราค่าอากรแสตมป์จะแตกต่างกันไปตามประเภทของตราสาร ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร อากรแสตมป์สำคัญกับการทำสัญญาอย่างไร การติดอากรแสตมป์ไม่ใช่เพียงการปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญต่อการทำธุรกิจในหลายด้าน มาดูกันว่าทำไมอากรแสตมป์จึงมีความสำคัญ ยืนยันความถูกต้องตามกฎหมาย การติดภาษีอากรแสตมป์ในเอกสารหรือสัญญาเป็นการรับรองว่าเอกสารนั้นได้ทำขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เปรียบเสมือนตราประทับรับรองจากภาครัฐ ทำให้เอกสารน่าเชื่อถือและใช้ได้ตามกฎหมายอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ ยังทำให้เห็นว่าผู้ทำสัญญามีความตั้งใจในการปฏิบัติตามข้อตกลงและเคารพกฎหมาย ป้องกันความขัดแย้ง การติดอากรแสตมป์ช่วยป้องกันข้อขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น เพราะเป็นหลักฐานยืนยันว่าทั้งคู่ได้ตกลงทำสัญญานี้กันจริง และสัญญานั้นผ่านการรับรองตามกฎหมายแล้ว ในกรณีที่เกิดข้อโต้แย้ง สัญญาที่ติดอากรแสตมป์ครบถ้วนจะมีน้ำหนักในการพิจารณามากกว่าสัญญาที่ไม่ได้ติดอากรแสตมป์  ใช้ในกระบวนการยุติธรรมได้ สัญญาที่ติดภาษีอากรแสตมป์ครบถ้วนใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้ทันที ในขณะที่สัญญาที่ไม่ได้ติดอากรแสตมป์หรือติดไม่ครบถ้วน อาจถูกปฏิเสธการรับฟังเป็นพยานหลักฐานในชั้นศาล หรือต้องเสียค่าปรับเพิ่มเติมก่อนนำไปใช้ ดังนั้น การติดอากรแสตมป์จึงเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการยุติธรรม การชำระค่าอากรแสตมป์มีกี่วิธี การชำระค่าอากรแสตมป์สามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความสะดวกและลักษณะของเอกสาร ดังนี้ ตัวอย่างอัตราอากรแสตมป์ที่ต้องจ่าย การชำระอากรแสตมป์ขึ้นอยู่กับประเภทเอกสารตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งมีอัตราที่แตกต่างกัน โดยตัวอย่างอัตราอากรแสตมป์ที่พบบ่อย ได้แก่ 1. สัญญาเช่าทรัพย์สินอากรแสตมป์สำหรับสัญญาเช่าทรัพย์สินมีอัตราอยู่ที่ 1 บาทต่อค่าเช่า 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท ตัวอย่างเช่น หากค่าเช่าระบุไว้ที่ 10,500 บาท อากรแสตมป์ที่ต้องจ่ายคือ 11 บาท ซึ่งการคำนวณนี้ครอบคลุมถึงสัญญาเช่าประเภทต่าง ๆ เช่น เช่าที่ดิน อาคาร หรืออุปกรณ์ 2. ตั๋วเงิน (ตั๋วสัญญาใช้เงินหรือเช็ค)สำหรับเอกสารประเภทตั๋วเงิน เช่น ตั๋วสัญญาใช้เงินหรือเช็ค อากรแสตมป์จะคิดในอัตรา 3 บาทต่อยอดเงินทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท เช่น หากยอดเงินในตั๋วเงินระบุไว้ที่ 6,500 บาท ผู้ที่ออกตั๋วจะต้องชำระอากรแสตมป์จำนวน 12 บาท 3. หนังสือมอบอำนาจหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นเอกสารที่มักใช้ในทางธุรกิจหรือการดำเนินการทางกฎหมาย จะต้องติดอากรแสตมป์ในอัตรา 10 บาทต่อฉบับ โดยไม่มีการคิดเพิ่มตามมูลค่าหรือรายละเอียดของเอกสาร 4. สัญญากู้ยืมเงินในกรณีของสัญญากู้ยืมเงิน อากรแสตมป์จะคิดในอัตรา 1 บาทต่อยอดเงินทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท โดยมีอัตราสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท ตัวอย่างเช่น หากมีการกู้เงินจำนวน 50,000 บาท อากรแสตมป์ที่ต้องชำระคือ 25 บาท 5. สัญญาจ้างแรงงานหรือจ้างทำของสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการจ้างแรงงานหรือจ้างทำของ เช่น งานก่อสร้าง หรืองานออกแบบ จะต้องติดอากรแสตมป์ในอัตรา 1 บาทต่อค่าแรง 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท เช่น หากค่าแรงรวมทั้งหมดเป็น 15,000 บาท อากรแสตมป์ที่ต้องจ่ายคือ 15 บาท 6. สัญญาค้ำประกันสัญญาค้ำประกันที่ใช้ในการรับรองหรือค้ำประกันภาระผูกพันทางการเงิน จะต้องชำระอากรแสตมป์ในอัตรา 1 บาทต่อยอดเงินทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท โดยมีอัตราสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท 7. สัญญาซื้อขายหรือโอนลิขสิทธิ์สำหรับสัญญาซื้อขายหรือโอนลิขสิทธิ์ อากรแสตมป์จะคิดในอัตรา 0.1% ของมูลค่าที่ระบุไว้ในสัญญา เช่น หากมูลค่าการซื้อขายลิขสิทธิ์ระบุไว้ที่ 1,000,000 บาท อากรแสตมป์ที่ต้องชำระคือ 1,000 บาท การติดอากรแสตมป์และจ่ายภาษีอากรแสตมป์ เป็นขั้นตอนที่จะช่วยรับรองความถูกต้องของเอกสารและสัญญาต่าง ๆ เจ้าของธุรกิจจึงควรศึกษาและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เอกสารมีผลทางกฎหมายและหากเกิดความขัดแย้งสามารถใช้เป็นหลักฐานได้ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

9 min

ทำธุรกิจนำเข้า-ส่งออกต้องรู้จัก ภาษีศุลกากรคืออะไร

ในโลกยุคดิจิทัลเราสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้มากขึ้น แค่เพียงคลิกเดียวก็ได้รับสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์จากทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ทันใจ ทำให้ผู้ผลิตต้องพากันแข่งขันกันการนำเสนอสินค้าใหม่ ๆ หลากหลายรูปแบบ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และนั่นทำให้การค้าขายข้ามพรมแดนได้กลายมาเป็นโอกาสในการทำธุรกิจที่น่าสนใจ แต่ทั้งนี้ก่อนจะก้าวเข้าสู่สนามการค้าจำเป็นต้องทำความรู้จักกฎเกณฑ์สำคัญที่คอยกำกับการค้าขายระหว่างประเทศเสียก่อนนั่นคือ ภาษีศุลกากร นั่นเอง เราจะได้รู้จักกับภาษีศุลกากรว่าคืออะไร มีกี่ประเภท ผ่านบทความนี้ เพื่อให้เราสามารถทำธุรกิจได้สะดวกมากขึ้น ภาษีศุลกากร คืออะไร? ภาษีศุลกากร คือ การเรียกเก็บภาษีนำเข้าและส่งออกสินค้าข้ามพรมแดนโดยรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค วัตถุดิบ หรือสินค้าอื่น ๆ ก็ตาม ซึ่งภาษีนี้เป็นกลไกที่รัฐบาลใช้เพื่อควบคุมระบบเศรษฐกิจ การค้า และสร้างรายได้ให้กับประเทศ ซึ่งการทำความเข้าใจเรื่องภาษีศุลกากรไม่ใช่เพียงแค่เข้าใจเรื่องจำนวนเงินภาษีที่ต้องจ่ายเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงราคาสินค้าและการแข่งขันในตลาดอีกด้วย ภาษีศุลกากรมีกี่ประเภท ภาษีศุลกากรแม้จะมีการแบ่งประเภทออกมาเป็นหลายรูปแบบ แต่จุดประสงค์หลักก็คือการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้และปกป้องผลประโยชน์ให้กับประเทศ ทั้งนี้อัตราภาษีและประเภทของภาษีที่เรียกเก็บจะแตกต่างกันไปตามชนิดของสินค้าและนโยบายของรัฐบาล ดังนี้ ภาษีนำเข้า ภาษีศุลกากรแม้จะมีการแบ่งประเภทออกมาเป็นหลายรูปแบบ แต่จุดประสงค์หลักก็คือการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้และปกป้องผลประโยชน์ให้กับประเทศ ทั้งนี้อัตราภาษีและประเภทของภาษีที่เรียกเก็บจะแตกต่างกันไปตามชนิดของสินค้าและนโยบายของรัฐบาลดังนี้ ภาษีส่งออก ภาษีส่งออกจะถูกเก็บก็ต่อเมื่อสินค้านั้นมีการส่งออกไปสู่ประเทศต่าง ๆ ซึ่งการจัดเก็บภาษีประเภทนี้มักถูกนำมาใช้ในกรณีที่รัฐบาลต้องการควบคุมการส่งออกสินค้าที่มีมูลค่า หรือสินค้าที่เป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับการพัฒนาภายในประเทศ การนำเข้า-ส่งออกสินค้าต้องเสียภาษีอะไรบ้าง? การนำเข้าหรือส่งออกสินค้าจะมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภาษีหลายประเภท ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้า ประเทศต้นทางหรือปลายทางเป็นหลัก รวมถึงนโยบายทางการค้าของรัฐบาลในขณะนั้น สำหรับภาษีที่สัมพันธ์กับการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าจะมีดังนี้ ภาษีที่ต้องจ่ายเมื่อนำเข้าสินค้า การนำเข้าสินค้าเข้ามาในประเทศไทยนั้น จะต้องเสียภาษีหลายชนิด ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า ประเทศต้นทาง และมูลค่าของสินค้า โดยภาษีที่พบบ่อยในการนำเข้าสินค้า ได้แก่ ภาษีที่ต้องจ่ายเมื่อส่งออกสินค้า โดยทั่วไปแล้วการส่งออกสินค้าจากประเทศไทยนั้น ไม่ต้องเสียภาษีอากรขาออก แต่เนื่องจากนโยบายที่ส่งเสริมการส่งออกของรัฐบาลเพื่อเพิ่มจำนวนรายได้เข้าสู่ประเทศ จึงทำให้มีภาษีและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าและประเทศปลายทาง สำหรับภาษีและค่าธรรมเนียมที่มีความสัมพันธ์กับการส่งออกสินค้ามีดังนี้ การเข้าใจภาษีศุลกากรและกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้การนำเข้าและส่งออกของเราดำเนินไปอย่างราบรื่น โดยเริ่มตั้งแต่การคำนวณภาษี การจัดการเอกสาร จนกระทั่งการชำระเงิน ซึ่งทุกขั้นตอนจำเป็นต้องวางแผนและตรวจสอบอย่างละเอียด รอบคอบ ดังนั้นการทำความเข้าใจภาษีศุลกากร ช่วยให้ผู้ประกอบกิจการลดค่าใช้จ่าย และยังช่วยเพิ่มความได้เปรียบในด้านการแข่งขันในตลาดโลกอีกด้วย  ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

7 min

อัปเดตปี 2568! “Easy E-Receipt 2.0” สินค้าไหน ลดหย่อนภาษีได้บ้าง

ในปีภาษี 2568 กรมสรรพากรได้เปิดตัวมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ “Easy E-Receipt 2.0” ที่ช่วยให้ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถลดหย่อนภาษีได้มากขึ้น จากการนำค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการที่เข้าเงื่อนไขมายื่นลดหย่อนภาษี แต่สินค้าและบริการประเภทใดบ้างที่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้? บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับประเภทสินค้าที่อยู่ในเกณฑ์ รวมถึงเงื่อนไขต่างๆ เพื่อลดหย่อนภาษีในยุคดิจิทัลให้คุ้มค่าที่สุด “Easy E-Receipt 2.0” คืออะไร? มาตรการ “Easy E-Receipt 2.0” เปิดโอกาสให้ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ยกเว้นห้างหุ้นส่วนสามัญ) นำค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้าและบริการภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดมาลดหย่อนภาษีได้ สูงสุด 50,000 บาท “Easy E-Receipt 2.0” ใช้ได้ตอนไหน ระยะเวลาที่ใช้ได้: ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568 สินค้าและบริการที่ลดหย่อนภาษีได้ ผู้เสียภาษีสามารถใช้สิทธิลดหย่อนค่าซื้อสินค้าและค่าบริการภายในประเทศได้สูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 1. ลดหย่อนตามจำนวนที่จ่ายจริง (สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท) สำหรับค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าที่ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ต้องมีหลักฐานเป็น e-Tax Invoice แบบเต็มรูป หนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร รวมถึงข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น E-Book 2. ลดหย่อนเพิ่มเติมตามจำนวนที่จ่ายจริง (สูงสุดไม่เกิน 20,000 บาท) สำหรับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมธุรกิจชุมชน ดังนี้ สินค้าและบริการที่ไม่เข้าร่วม “Easy E-Receipt 2.0”  เอกสารหลักฐานสำคัญที่ใช้ลดหย่อนในมาตรการ “Easy E-Receipt 2.0” ต้องมีหลักฐานการชำระเงินเป็นใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) เท่านั้น ตัวอย่าง e-Tax Invoice & e-Receipt ของ PEAK สำหรับผู้ประกอบการที่ขายสินค้าและบริการตามเงื่อนไข ต้องการรองรับมาตรการ “Easy E-Receipt 2.0” และเพิ่มความสะดวกในการจัดการเอกสารทางบัญชี PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการเอกสารทางบัญชีได้อย่างสะดวกและครบวงจร ด้วยฟีเจอร์ที่รองรับการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ได้ง่ายเพียงคลิกเดียว โดยเอกสารทั้งหมดเป็นไปตามมาตรฐานของกรมสรรพากร พร้อมทั้งเชื่อมโยงระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถส่งเอกสารถึงลูกค้าได้ทันที นอกจากนี้ PEAK ยังช่วยให้การจัดการเอกสารเป็นเรื่องง่าย ด้วยระบบที่ครอบคลุมการออกใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จรับเงิน และใบกำกับภาษีภายในระบบเดียว โดยสามารถส่งข้อมูล e-Tax Invoice และ e-Receipt ไปยังกรมสรรพากรได้โดยตรง ช่วยลดขั้นตอนและประหยัดเวลาในการจัดเตรียมเอกสารได้อย่างมาก รองรับการใช้งานได้ทั้งสำหรับทุกร้านค้าไม่ว่าจะเป็นร้านค้าปลีก ร้านค้าออนไลน์ หรือธุรกิจบริการ ด้วยระบบออนไลน์ 100% ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ ทุกเวลา ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

28 พ.ย. 2024

PEAK Account

12 min

ธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้า ต้องรู้ภาษีอะไรบ้าง?

การดำเนินธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้าและบริการ ถือเป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีโอกาสสร้างรายได้สูง แต่ในขณะเดียวกันก็มีความซับซ้อนในด้านภาษี เพื่อป้องกันความผิดพลาดและลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจ ผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประเภทนี้ บทความนี้จะอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับภาษีที่ธุรกิจนำเข้า-ส่งออกควรทราบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นและถูกต้องตามกฎหมาย ทำความรู้จักการนำเข้าสินค้าและภาษีนำเข้า การนำเข้า คือ การนำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามายังประเทศไทย โดยต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบและเสียภาษีที่ด่านศุลกากร สินค้าที่นำเข้ามักถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราที่แตกต่างกันตามประเภทสินค้า เช่น ภาษีนำเข้า คือ ภาษีที่ต้องจ่ายเมื่อซื้อสินค้าจากต่างประเทศ โดยอัตราภาษีที่ต้องจ่ายจะขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า เช่น รถยนต์หรูหราหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มักถูกเก็บภาษีสูง เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศและสร้างรายได้ให้รัฐบาล ทำความรู้จักการส่งออกสินค้าและภาษีส่งออก การส่งออก คือ การส่งสินค้าไปยังต่างประเทศ เช่นเดียวกับการนำเข้า สินค้าส่งออกต้องผ่านการตรวจสอบที่ด่านศุลกากร สินค้าบางประเภท เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ อาจถูกเรียกเก็บภาษีเพื่อควบคุมการส่งออก ภาษีส่งออก คือ ภาษีที่ต้องจ่ายเมื่อมีการส่งออกสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่มีปริมาณจำกัดหรือเป็นทรัพยากรธรรมชาติ เช่น น้ำมันดิบ ประเทศผู้ส่งออกจะเก็บภาษีเพื่อควบคุมปริมาณการส่งออกและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้า 1. อากรขาเข้า (Import Duties) อากรขาเข้า เป็นภาษีที่เรียกเก็บเมื่อสินค้ามีมูลค่าเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด โดยจะคำนวณภาษีจากมูลค่าของสินค้า บวกด้วยค่าขนส่งและค่าประกันภัย (CIF – Cost, Insurance, Freight) หากสินค้าเข้าข่ายที่กฎหมายกำหนดให้ต้องเสียอากรขาเข้า อัตราภาษีจะแตกต่างกันไปตามประเภทสินค้า โดยระบุไว้ใน พิกัดศุลกากร (HS Code – Harmonized System Code) ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานสากลในการจัดประเภทสินค้าตัวอย่างเช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์อาจมีอัตราภาษีที่ต่ำกว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากมีการกำหนดอัตราภาษีตามนโยบายเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ 2. ภาษีสรรพสามิต (Excise Tax) ภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีที่เรียกเก็บเพิ่มเติมจากสินค้าฟุ่มเฟือยหรือสินค้าที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เช่น รถยนต์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สุรา ยาสูบ เป็นต้นอัตราภาษีสรรพสามิตคำนวณจาก  ภาษีสรรพสามิต=(มูลค่าศุลกากร + อากรนำเข้า)×อัตราภาษีสรรพสามิต 3. ภาษีเพื่อมหาดไทย (Interior Tax) ภาษีเพื่อมหาดไทย เป็นการจัดเก็บภาษีเพิ่มเติมจาก ภาษีสรรพสามิต โดยมีจุดประสงค์เพื่อจัดสรรรายได้ให้แก่กรุงเทพมหานคร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรเงินภาษีสุรา โดยคำนวณจากมูลค่าภาษีสรรพสามิตที่กำหนดไว้ ด้วยอัตรา 10% ดังนี้ ภาษีเพื่อมหาดไทย=ภาษีสรรพสามิต×10% 4. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีมูลค่าเพิ่ม เรียกเก็บจากมูลค่าของสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นในทุกขั้นตอนการผลิตและการค้า ผู้นำเข้าจะต้องเสีย VAT จากมูลค่าสินค้า พร้อมกับอากรขาเข้าและภาษีสรรพสามิต (ถ้ามี) โดยทั่วไปอัตรา VAT คือ 7% ภาษีมูลค่าเพิ่มจะถูกคำนวณจากฐานภาษีซึ่งประกอบด้วย VAT สามารถขอคืนได้ในฐานะ “ภาษีซื้อ” ภายใน 6 เดือน อย่างไรก็ตาม อากรขาเข้าไม่สามารถขอคืนได้ ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกสินค้า 1. อากรขาออก (Export Duties) อากรขาออกเป็นภาษีที่เรียกเก็บสำหรับการส่งออกสินค้าบางประเภทเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น โดยจะคำนวณจากมูลค่าของสินค้า บวกด้วยค่าขนส่งและค่าประกันภัย (CIF – Cost, Insurance, Freight) หากสินค้าเข้าข่ายที่กฎหมายกำหนดให้ต้องเสียอากรขาเข้าอัตราภาษีจะแตกต่างกันไปตามประเภทสินค้า โดยระบุไว้ใน พิกัดศุลกากร (HS Code – Harmonized System Code) ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานสากลในการจัดประเภทสินค้า อัตราภาษีขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า โดยระบุไว้ใน ประกาศกรมศุลกากร ซึ่งเป็นเอกสารที่กำหนดประเภทสินค้าและอัตราภาษีที่เกี่ยวข้อง เช่น ประกาศกรมศุลกากรที่ 103/2561ตัวอย่างเช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์อาจมีอัตราภาษีที่ต่ำกว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากมีการกำหนดอัตราภาษีตามนโยบายเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ 2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) การส่งออกสินค้าจากประเทศไทยได้รับการ ยกเว้น VAT หรือเรียกว่าอัตรา 0% (Zero Rate) เนื่องจากรัฐบาลสนับสนุนการส่งออกเพื่อเพิ่มรายได้จากต่างประเทศ แต่ผู้ส่งออกต้องจัดทำใบกำกับภาษีเพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าและจำนวนภาษีที่เกี่ยวข้องและยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.30) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการส่งออกสินค้า และต้องมีหลักฐานยืนยันการส่งออก เช่น ใบขนสินค้าขาออก (Export Declaration) และใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading) อย่างไรก็ตาม หากผู้ส่งออกไม่มีเอกสารหลักฐานครบถ้วน เช่น ไม่มีใบขนสินค้าขาออกที่สมบูรณ์ทไม่มีหลักฐานการรับชำระเงินจากต่างประเทศ สินค้านั้นอาจไม่ได้รับสิทธิยกเว้น VAT เคล็ดลับในการดำเนินธุรกิจนำเข้า-ส่งออก การดำเนินธุรกิจนำเข้า-ส่งออกเป็นโอกาสที่ดีในการขยายตลาดและสร้างรายได้ กาศึกษารายละเอียดภาษีอย่างครบถ้วน จะช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสความสำเร็จในระยะยาว นอกจากนี้การออกเอกสารภาษีอย่างถูกต้องก็เป็นเรื่องสำคัญ เพื่อป้องกันปัญหาและความล่าช้าในกระบวนการดำเนินธุรกิจ โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK สามารถเป็นตัวช่วยสำคัญสำหรับธุรกิจนำเข้า-ส่งออก ด้วยฟีเจอร์ที่ช่วยจัดการงานด้านบัญชีและภาษีอย่างครบวงจร เช่น การออกใบกำกับภาษี การจัดเก็บเอกสารบัญชีอย่างเป็นระบบ ช่วยให้ค้นหาและตรวจสอบข้อมูลได้ง่ายและรายงานการเงินที่ครบถ้วนและทันสมัย ทำให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนธุรกิจได้อย่างมั่นใจ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

23 พ.ค. 2024

จักรพงษ์

6 min

นักบัญชีเฮ! สรรพากรขยายระยะเวลายื่นแบบภาษีออนไลน์จนถึงปี 2570

รู้หรือไม่ว่าการยื่นแบบภาษีทั้งหลายผ่านระบบอินเทอร์เน็ต(ออนไลน์) ที่ได้สิทธิขยายเวลาเพิ่มเติมอีก 8 วัน จากวันสุดท้ายของการยื่นแบบภาษีนั้น มีวันหมดอายุ แปลว่าถ้าสรรพากรไม่ได้ออกกฎหมายฉบับใหม่มาต่ออายุการขยายเวลา เราก็จะไม่สามารถยืดระยะเวลาออกไปอีก 8 วันได้เลย ถ้ายืดเวลายื่นแบบไม่ได้ เท่ากับนักบัญชีต้องรีบทำบัญชีและภาษีให้เร็วขึ้นตามวันสิ้นสุดการยื่นแบบกระดาษเหมือนเดิมนั่นเอง การประกาศขยายเวลาการยื่นแบบภาษีทางอินเทอร์เน็ต แต่ๆ ข่าวดีมาแล้ว กรมสรรพากรได้ออกประกาศกระทรวงการคลังมาเพื่อขยายระยะเวลาสิทธิการยื่นแบบภาษีออกไปอีก 8 วันจากวันสุดท้ายของการยื่นแบบภาษี โดยมีผลตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 จนถึง 31 มกราคม 2570 รวมเป็นระยะเวลาถึง 3 ปีเลยครับ เชื่อว่ามีบางคนที่อ่านมาถึงจุดนี้ โดยเฉพาะมือใหม่ที่กำลังหัดยื่นภาษีว่าสิทธิการยื่นแบบภาษีออกไปอีก 8 วันจากวันสุดท้ายของการยื่นแบบภาษี นับยังไง เพื่อให้เห็นภาพง่ายขึ้น ผมทำตารางสรุปมาให้แล้ว ตารางสรุปวันสิ้นสุดการยื่นแบบภาษี สิ่งที่ต้องทราบคือ กรณีที่บวกวันเพิ่มไปอีก 8 วันแล้วตกวันเสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ วันสิ้นสุดท้ายของการยื่นแบบภาษีออนไลน์จะขยับไปเป็นวันทำการถัดไปแทนครับ นักบัญชีที่เคยยื่นภาษีมาสักพักก็จะทราบดีว่า การยื่นแบบภาษีรอบแรก เราจะเรียกว่า “ยื่นปกติ” แต่ถ้ามาตรวจพบทีหลังว่าทำแบบภาษีผิด เช่น มีรายการไม่ครบถ้วน หรือมีรายการมากเกินไป อาจต้องปรับปรุงแบบ ทำให้แบบที่ยื่นหลังครั้งแรก เราจะเรียกว่า “ยื่นเพิ่มเติม” โอเคถ้าเข้าใจแล้ว ล่ะยังไงต่อ? ผมตอบว่าก็ไม่มีอะไรครับ แต่ๆๆ ปัญหาจะเกิดทันทีถ้าการยื่นครั้งแรกเป็นการยื่นแบบกระดาษ และต่อมามีการปรับปรุงจึงยื่นเพิ่มเติมไปเป็นแบบออนไลน์ แบบนี้จะยังได้สิทธิเพิ่มอีก 8 วันหรือไม่? จะสังเกตว่าการวิธีที่ใช้ยื่นแบบไม่เหมือนกันนั้น ส่งผลต่อการที่เราจะได้สิทธิหรือไม่ได้สิทธิขยายระยะเวลายื่นแบบเพิ่มอีก 8 วัน ผมได้สรุปเป็นตารางเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น ดังนี้ครับ ตารางเปรียบเทียบการยื่นแบบกระดาษ vs ยื่นแบบออนไลน์ การขยายเวลาการยื่นแบบเพิ่มอีก 8 วัน เท่ากับว่านักบัญชีจะมีระยะเวลาทำบัญชีและตรวจสอบภาษีได้ละเอียดมากขึ้น แต่ทำไมขยายเวลาแล้ว นักบัญชีก็ยังทำจนถึงวันสุดท้ายอยู่ดี อันนี้ก็ลองสอบถามนักบัญชีดูเล่นๆ ก็ได้นะครับ🤣 สรุป ตอนนี้นักบัญชีคงโล่งใจไปมากแล้วใช่ไหมครับ เรายังได้รับสิทธิขยายอีก 8 วันเหมือนเดิม และยังไม่พอสิทธินี้มีผลบังคับไปจนถึงเดือนมกราคม 2570 พูดง่ายๆ ก็คือ อีก 3 ปี คุณคือผู้โชคดี ขอแสดงความยินดีด้วยคร๊าบบ แต่ที่สำคัญอย่าลืมว่าจะได้สิทธิต้องเป็นการยื่นแบบภาษีผ่านทางออนไลน์เท่านั้นนะครับ เอ้า ทำไมล่ะ! ก็เพราะสรรพากรต่ออายุกฎหมายนี้เพื่อจูงใจให้คนหันมายื่นแบบภาษีทางออนไลน์แทนแบบกระดาษครับ ถือได้ว่าได้ทั้งประหยัดเวลา ไม่เปลืองกระดาษ เหมือนรักษ์โลกร้อนไปในตัวเลยยย โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK มีฟังก์ชั่น PEAK Tax ช่วยผู้ประกอบการและนักบัญชีจัดการภาษีให้เป็นเรื่องง๊าย ง่าย ช่วยทั้งทำแบบฟอร์มภาษี ปิดภาษีอัตโนมัติได้ทันที ช่วยประหยัดการทำภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม

2 พ.ค. 2024

PEAK Account

30 min

เรื่องสำคัญของ “ใบกำกับภาษี” ที่เจ้าของกิจการควรรู้ และใครออกได้บ้าง?

ประเด็นสำคัญ : ใบกำกับภาษีคืออะไร ใบกำกับภาษี (Tax invoice) คือ เอกสารหลักฐานสำคัญที่ผู้ขายสินค้าหรือให้บริการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจัดทำและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือให้บริการ โดยใบกำกับภาษีจะแสดงมูลค่าสินค้าหรือบริการและจำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในแต่ละครั้ง  โดยภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT ย่อมาจาก Value added tax) เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้าหรือให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต ทั้งที่ผลิตภายในประเทศหรือนำเข้าจากต่างประเทศ โดยปกติผู้ประกอบการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% จากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ แล้วนำส่งให้กรมสรรพากรโดยการยื่นแบบภ.พ.30  ใครเป็นผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี การออกใบกำกับภาษีแต่ละประเภท กรมสรรพากรได้แบ่งประเภทของใบกำกับภาษีออกเป็น 7 ประเภทดังนี้ ในที่นี้จะขอกล่าวถึงรายละเอียดของใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบเท่านั้น เนื่องจากเป็นประเภทใบกำกับภาษีที่กิจการส่วนใหญ่ใช้งาน การออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยทั่วไปมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปให้แก่ผู้ซื้อสินค้า หรือบริการ (เว้นแต่ผู้ประกอบกิจการค้าปลีกซึ่งมีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ) โดยใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปต้องมีรายการดังต่อไปนี้ 1. ตำแหน่งที่แสดงคำว่า “ใบกำกับภาษี” คำว่า “ใบกำกับภาษี” เป็นข้อความที่กฎหมายบังคับให้ต้องระบุไว้ในเอกสารซึ่งมีความมุ่งหมายให้เป็นใบกำกับภาษี นอกจากนี้ถ้าผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปรวมกับเอกสารทางการค้าอื่น เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของ ใบแจ้งหนี้ ซึ่งมีจำนวนหลายฉบับอยู่ในชุดเดียวกัน โดยใบกำกับภาษีมิใช่เอกสารฉบับแรกของเอกสารดังกล่าว ให้ปฏิบัติดังนี้ 2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่ออกใบกำกับภาษี 2.1 ชื่อของผู้ออกใบกำกับภาษี หมายถึง ชื่อผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือชื่อสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ชื่อของผู้ออกใบกำกับภาษีจะใช้ชื่อย่อไม่ได้ แต่กรณีผู้ออกใบกำกับภาษีหรือผู้ได้รับใบกำกับภาษีที่เป็นนิติบุคคล สามารถใช้คำย่อสำหรับบอกสถานะได้ เช่น บริษัทจำกัด ใช้คำว่า บ. ……จก. หรือ บจ., ห้างหุ้นส่วนจำกัด ใช้คำว่า หจก. เป็นต้น 2.2 ที่อยู่ของผู้ออกใบกำกับภาษี หมายถึง ที่ตั้งของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) กรณีที่เป็นสำนักงานใหญ่ ให้ระบุคำว่า “สำนักงานใหญ่” หรือ “HO” หรือ “HQ” หรือ ระบุเป็น ตัวเลขศูนย์จำนวนห้าหลัก (00000) เพื่อแสดงรหัสของสำนักงานใหญ่ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย กรณีที่เป็นสาขา ให้ระบุคำว่า “สาขาที่…”, “Branch No. …”, ”br.no. …” หรือระบุเป็นตัวเลขจำนวนห้าหลักเพื่อแสดงว่าเป็นรหัสของ “สาขาที่…” ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย ข้อสังเกต 2.3 เลขประจำตัวผู้เสียอากรของผู้ออกใบกำกับภาษี       ข้อสังเกต ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการไว้ในใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป เฉพาะกรณีผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ที่เป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น แต่ถ้าผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการไม่ใช่ผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ไม่จำเป็นต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรเมื่อออกใบกำกับภาษี 3. ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ 3.1 ชื่อของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ หมายถึง ชื่อผู้ประกอบการ ชื่อสถานประกอบการ หรือชื่อการค้าของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 3.2 ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ หมายถึง ที่ตั้งของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ข้อสังเกต การระบุชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ จะตีพิมพ์หรือจัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับตราด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้ 4. รายการ “หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขของเล่ม  (ถ้ามี)” ใบกำกับภาษีที่ไม่มีหมายเลขลำดับ จะไม่สามารถนำไปคำนวณภาษีซื้อได้ 5. รายการ “ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ” ชื่อ ชนิด ประเภท ของสินค้าหรือของบริการ ให้ระบุเฉพาะชื่อ ชนิด ประเภทของสินค้าหรือบริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกํากับภาษี เว้นแต่ในกรณีที่มีความจําเป็นต้องระบุชื่อ ชนิด ประเภทของสินค้าหรือของบริการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกํากับภาษีด้วย ให้กระทําได้โดยต้องจัดให้มีเครื่องหมายหรือแยกรายการแสดงให้เห็นชัดเจนว่าเป็นสินค้า หรือบริการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 6. รายการ “จํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คํานวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการให้ชัดแจ้ง” 7. รายการ “วัน เดือน ปี ที่ออกใบกํากับภาษี” วัน เดือน ปี ที่ออกใบกํากับภาษี เป็นรายการที่เป็นสาระสําคัญที่ประมวลรัษฎากรกําหนดให้ต้องมีในใบกํากับภาษี และเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงวันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น คือ เป็นวันที่ได้มีการส่งมอบสินค้า โอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้กับผู้ซื้อได้มีการใช้บริการนั้นไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่น ได้รับชําระค่าสินค้าหรือบริการ หรือวันที่ออกใบกํากับภาษี โดยวัน เดือน ปี ที่ออกใบกํากับภาษี จะใช้ตัวเลขแทนการระบุชื่อเดือนก็ได้ และใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) หรือคริสต์ศักราช (ค.ศ.) ก็ได้ ภาพตัวอย่างใบกำกับภาษี วิธีการจัดทํารายการของใบกํากับภาษีแบบเต็มรูป ออกใบกำกับภาษีได้เมื่อไร หลักเกณฑ์การออกใบกำกับภาษีมีการกำหนดจุดรับรู้ภาษีซึ่งเป็นจุดที่ผู้ประกอบการถูกกำหนดว่ามีภาระภาษีเกิดขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดสิทธิ์และหน้าที่ในการเรียกเก็บ VATจากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการรวมไปถึงการออกใบกำกับภาษีตามมา ซึ่งจุดรับรู้ภาษีแบ่งออกตามกิจกรรมในการดำเนินธุรกิจออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้ 1. การขายสินค้า ในการขายสินค้า โดยส่วนใหญ่มีด้วยกัน 2 กรณี ได้แก่ หลักเกณฑ์การออกใบกำกับภาษีในการขายสินค้า แบ่งออกเป็น 3 กรณี ขึ้นอยู่กับจุดที่รับรู้ภาษี 1.1 การออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการส่งมอบสินค้า ในการขายสินค้าทั่วไป กิจการออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการส่งมอบสินค้าซึ่งเป็นจุดที่รับรู้ภาษี ถึงแม้ว่าผู้ขายยังไม่ได้รับชำระค่าสินค้า กรณีนี้พบมากที่สุดในการขายสินค้า 1.2 การออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการรับชำระราคาสินค้าก่อนส่งมอบสินค้า เมื่อมีการรับชำระเงินสำหรับค่าสินค้าซึ่งเป็นจุดที่รับรู้ภาษี ถึงแม้ยังไม่ได้มีการส่งมอบสินค้าก็ตาม กิจการก็ต้องออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้า กรณีนี้เกิดจากการรับชำระค่าสินค้าใน รูปแบบเงินมัดจำก่อนส่งมอบสินค้า 1.3 การออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้แก่ลูกค้าก่อนส่งมอบสินค้า เมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้แก่ลูกค้าก่อนส่งมอบสินค้าซึ่งเป็นจุดที่รับรู้ภาษี ก็ต้องออกใบกำกับภาษีทันทีที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ ถึงแม้ว่ายังไม่มีการส่งมอบสินค้า หรือยังไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้าก็ตาม 2. การให้บริการ ในการให้บริการของกิจการ มีด้วยกัน 2 กรณี ได้แก่  หลักเกณฑ์การออกใบกำกับภาษีในการให้บริการ แบ่งออกเป็น 2 กรณี ขึ้นอยู่กับจุดที่รับรู้ภาษี 2.1 การออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการรับชำระค่าบริการก่อนการให้บริการ   เป็นการออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการรับชำระค่าบริการซึ่งถือเป็นจุดที่รับรู้ภาษี ถึงแม้ว่าจะยังไม่ได้มีการให้บริการ 2.2 การออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการใช้บริการก่อนการรับชำระค่าบริการ เป็นการออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการใช้บริการซึ่งถือเป็นจุดที่รับรู้ภาษี ถึงแม้ว่าจะยังไม่ได้มีการรับชำระเงินก็ตาม ในทางปฏิบัติ การออกใบกำกับภาษีในการให้บริการ กิจการมักจะออกใบกำกับภาษีเมื่อรับชำระค่าบริการ โดยไม่ได้คำนึงถึงว่าจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังการให้บริการก็ตาม ซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในการออกใบกำกับภาษีในการให้บริการ กิจการควรออกใบกำกับภาษีถึงแม้ว่ากิจการจะยังไม่ได้รับชำระเงิน แต่มีการให้บริการก่อนรับชำระเงิน อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไป การให้บริการและการรับชำระเงินมักจะเกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน ซึ่งโดยมากจะเป็นการรับชำระเงิน ก่อนการให้บริการ ทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าในการให้บริการ การออกใบกำกับภาษี กิจการจะออกเมื่อมีการรับชำระเงิน สิ่งที่สำคัญคือผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องทำ ก็คือ การจัดทำทั้งต้นฉบับใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษี ตลอดจนเก็บรักษาเพื่อเป็นหลักฐานประกอบในการยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) โดยเก็บไว้ที่สถานประกอบการหรือสถานที่อื่นที่อธิบดีกำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ได้จัดทำใบกำกับภาษี “ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปได้ง่ายๆ ด้วยระบบ PEAK“ ใบกำกับภาษีมีผลกับเรื่องภาษีหรือไม่ ใบกำกับภาษีมีผลกับเรื่องภาษีอย่างแน่นอน เนื่องจากใบกำกับภาษีเป็นเอกสารที่ผู้จดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มต้องออกให้ลูกค้า โดยใบกำกับภาษีมีผลกับเรื่องภาษีดังนี้ จุดที่ต้องระวังในการออกใบกำกับภาษี ในการออกใบกำกับภาษีให้ถูกต้องตามมาตรฐานที่กรมสรรพากรกำหนดนั้นมีจุดที่ควรระวัง ดังต่อไปนี้ 1. สิทธิ์ในการออกใบกำกับภาษี สิ่งที่ต้องระวังเป็นอันดับแรกในการออกใบกำกับภาษี ก็คือ สิทธิ์ในการออกใบกำกับภาษี กิจการใดที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กิจการนั้นสามารถออกใบกำกับภาษีได้ แต่หากกิจการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีการออกใบกำกับภาษี จะถือว่ามีความผิดทางกฎหมาย 2. ระบุรายละเอียดในใบกำกับภาษีให้ครบถ้วน ในการออกใบกำกับภาษีนั้น ผู้ประกอบการต้องตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ ให้ถูกต้อง ครบถ้วน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง ไม่ว่าจะเป็นชื่อที่อยู่ผู้ซื้อสินค้าและบริการ รายละเอียดราคาสินค้าและบริการ เป็นต้น 3. ออกใบกำกับภาษีให้ทันต่อสถานการณ์ ทุกครั้งเมื่อเกิดจุดความรับผิดในการเสียมูลค่าเพิ่ม (Tax Point) ในการขายสินค้าและบริการขึ้นมา ผู้ประกอบการจะต้องมีการออกใบกำกับภาษีเพื่อส่งมอบให้กับผู้ซื้อสินค้าและบริการนั้นทันที หากละเลย หรือฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 4. ไม่หลงลืมการเสียภาษี เมื่อมีการออกใบกำกับภาษีจากการขายสินค้าและบริการขึ้นมาแล้วนั้น กิจการต้องไม่ลืมที่จะลงรายงานภาษีขาย และจ่ายภาษีให้ถูกต้องเป็นประจำ มิฉะนั้นจะถือว่ามีความผิดทางกฎหมายเช่นเดียวกัน 5. แสดงความรับผิดชอบต่อลูกค้า ในกรณีที่ใบกำกับภาษีเกิดมีความผิดพลาดใดๆ ที่ทำให้ต้องมีการแก้ไขข้อมูล หรือยกเลิกใบกำกับภาษีดังกล่าวนั้น กิจการต้องดำเนินการให้เรียบร้อยโดยไม่ขาดตกบกพร่อง การขายสินค้าและบริการที่ไม่ต้องออกใบกำกับภาษี ตามปกติแล้วผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อมีการขายสินค้าและบริการ จะต้องมีการออกใบกำกับภาษีทุกครั้ง แต่ในบางกรณีกรมสรรพากรก็มีการยกเว้นเช่นกัน สำหรับผู้ประกอบการรายย่อยที่มีการขายสินค้าหรือบริการครั้งละไม่เกิน 1,000 บาท โดยผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องออกใบกำกับภาษีนั้นจะต้องเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้ สรุป จากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าต้องออกใบกำกับภาษีกิจการก็จะมีความเข้าใจหลักเกณฑ์ในการออกใบกำกับภาษี จุดที่ต้องออกใบกำกับภาษี มีความเข้าใจว่าต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อไร ซึ่งมีผลต่อการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มและการบันทึกบัญชีที่ถูกต้องตรงตามงวดเวลาในการขายสินค้าหรือให้บริการ PEAK โปรแกรมบัญชีที่ช่วยกิจการเตรียมเอกสารทางบัญชีและสร้างเอกสารทางออนไลน์ซึ่งสามารถปรับแต่งได้ในแบบที่คุณต้องการได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นใบเสนอราคา ใบกำกับภาษี ใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จรับเงิน ทั้งยังรองรับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์รวมถึงการรับชำระเงินผ่าน QR CODE เมื่อสร้างเอกสารแล้ว ระบบจะบันทึกรายการบัญชีให้โดยอัตโนมัติ ช่วยให้กิจการออกใบกำกับภาษี ได้อย่างถูกต้อง ตรงตามงวดเวลาและยื่นแบบได้ภายในกำหนดเวลา รวมทั้งบันทึกบัญชีได้อย่างครบถ้วนถูกต้อง ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม อ้างอิง:ประเภทของใบกำกับภาษี | กรมสรรพากร – The Revenue Department (rd.go.th)หลักเกณฑ์การออกใบกำกับภาษี ต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อไหร่? หลักเกณฑ์การออกใบกำกับภาษี ต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อไหร่? (peakaccount.com),7 ตุลาคม 2564taxinvoice.pdf (rd.go.th), คู่มือใบกำกับภาษี, กรมสรรพากร

31 ม.ค. 2024

จักรพงษ์

9 min

ร้านค้าออนไลน์ต้องรู้ แพลตฟอร์มออนไลน์ต้องส่งข้อมูลรายได้ให้กรมสรรพากร

ประเด็นสำคัญ  เรียกได้ว่าเหล่าร้านค้าออนไลน์ต้องเตรียมตัวอย่างหนักเลยทีเดียว เมื่อกรมสรรพากรได้ออกกฎหมายบังคับให้กลุ่มแพลตฟอร์มออนไลน์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น Shopee, Lazada, Line, Grab และอื่นๆ ต้องนำส่งข้อมูลรายได้ บัญชีธนาคาร เลขบัตรประชาชน ทั้งหมดของร้านค้าที่ขายสินค้าหรือให้บริการผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์นั้นให้แก่กรมสรรพากรทุกปี มีผลบังคับใช้เริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 รายละเอียดเชิงลึกมีอะไรบ้าง เรามาดูกันต่อครับ ทำไมกรมสรรพากรต้องบังคับแพลตฟอร์มออนไลน์ให้ส่งรายได้ของร้านค้าออนไลน์? ก่อนหน้านี้สรรพากรเคยออกกฎหมาย E-payment ที่บังคับให้เหล่าธนาคาร หรือผู้ให้บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) ต้องนำส่งรายการบัญชีของผู้ฝากเงินที่เข้าเงื่อนไขที่มีเงินเข้า 3,000 ครั้ง หรือเงินเข้า 400 ครั้งและมียอดเกิน 2 ล้านบาทให้แก่กรมสรรพากร เพื่อตรวจจับบุคคลที่หลีกเลี่ยงภาษีหรือส่งภาษีไม่ครบ ส่วนตัวเชื่อว่าวิธีการดังกล่าว บางครั้งก็พิสูจน์ได้ยากว่าเงินรับมาจากรายได้หรือเงินโอนทั่วไป และยังมีช่องโหว่ในการหลบหลีกเพื่อไม่เข้าเงื่อนไขดังกล่าว กรมสรรพากรจึงหาแนวทางใหม่เพิ่มเติมที่ตรงประเด็นมากขึ้น โดยเล็งเป้าไปยังกลุ่มผู้ค้าขายออนไลน์ที่ยังมีแนวโน้มว่าส่งภาษีไม่ครบหรือไม่ถูกต้อง  แพลตฟอร์มออนไลน์ที่ต้องส่งข้อมูลรายได้ให้กรมสรรพากร รายละเอียดต่างๆ ของกฎหมายฉบับนี้ถูกกำหนดอยู่ที่ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ เรื่อง กำหนดให้อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มมีบัญชีพิเศษ โดยแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ต้องนำส่งข้อมูลร้านค้าออนไลน์ต้องเข้าเงื่อนไขทั้ง 2 ข้อ ได้แก่ 1. จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทย และ 2. มีรายได้เกิน 1 พันล้านบาทต่อปี PEAK ขอเล่า : ร้านค้าออนไลน์จะต้องถูกนำส่งข้อมูลอะไรบ้าง? จากเอกสารแนบที่กรมสรรพากรกำหนดรายละเอียดข้อมูลที่ต้องนำส่ง ผมขอสรุปเฉพาะข้อมูลสำคัญของร้านค้าออนไลน์ที่ต้องถูกนำส่งไว้ ดังนี้ครับ 1. เลขประจำตัวประชาชน หรือเลขทะเบียนนิติบุคคล 2. ชื่อผู้ประกอบการ หรือชื่อนิติบุคคล 3. จำนวนรายได้ที่ใช้คิดฐานคำนวณค่านายหน้าและค่าธรรมเนียมการชำระเงิน (พูดง่ายๆ คือ รายได้ทั้งหมดของร้านค้าแต่ละร้าน) 4. ชื่อธนาคารและเลขที่บัญชีธนาคารที่ใช้รับเงินจากแพลตฟอร์มออนไลน์ นั่นแปลว่ากรมสรรพากรจะรู้รายได้ของร้านค้าอย่างละเอียด ทุกบาท ทุกสตางค์ และรู้ว่าร้านค้าชื่ออะไร และใช้บัญชีอะไรในการรับรายได้อีกด้วย พออ่านมาถึงตรงนี้ผู้ประกอบการคงเริ่มขนลุกกันแล้วใช่ไหมละคร๊าบบ ข้อมูลจะถูกส่งให้กรมสรรพากรเมื่อไหร่? กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป นั่นหมายความว่าข้อมูลรายได้ที่ร้านค้าออนไลน์ขายสินค้าหรือให้บริการในแพลตฟอร์มออนไลน์จะเป็นรายได้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป จนถึงสิ้นรอบบัญชีของแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยแพลตฟอร์มออนไลน์ต้องนำส่งข้อมูลดังกล่าวภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ตัวอย่าง เช่น แพลตฟอร์มออนไลน์ S จะต้องนำส่งข้อมูลรายได้ของร้านค้าทุกร้านที่ขายบนแพลตฟอร์ม S ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 – 31 ธันวาคม 2567 ให้แก่กรมสรรพากรภายในวันที่ 29 พฤษภาคม 2568 (150 วัน) PEAK ขอเล่า : กฎหมายฉบับนี้จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการอย่างไร? เชื่อว่าคำถามนี้หลายคนคงมีคำถามในใจกันแล้ว แต่คำตอบนั้นก็อาจจะไม่ได้เหมือนกัน ส่วนตัวผมคิดว่าเป็นทั้งผลดีและผลเสีย ขึ้นอยู่กับว่าเรากำลังมองในฝั่งไหน เช่น ในมุมของคนที่เสียภาษีอย่างถูกต้องมาโดยตลอด เขาจะเชื่อว่ากฎหมายนี้จะส่งเสริมความเป็นธรรมในการค้าขายมากขึ้น เพราะเดิมคู่แข่งไม่เสียภาษีอย่างถูกต้อง ทำให้คู่แข่งขายสินค้าได้ดีกว่าเพราะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า และเกิดกระแสเงินสดที่มากกว่า แต่ในมุมของคนที่เสียภาษีไม่ครบถ้วนหรือหลีกเลี่ยง กฎหมายตัวนี้จะเข้ามาปิดช่องโหว่แทบทุกด้านที่เคยมีอยู่ ทำให้การหลีกเลี่ยงยากมากขึ้น  สุดท้ายนี้กฎหมายฉบับนี้จะบังคับให้ทุกคนทำบัญชี ภาษีได้ถูกต้องมากขึ้น ทางผู้ประกอบการต้องเตรียมพร้อม โดยเริ่มจากเก็บเอกสารให้ครบถ้วน ถูกต้อง หรือหาสำนักงานบัญชีที่น่าเชื่อถือมาช่วยจัดการ รวมถึงการหาโปรแกรมจัดการด้านบัญชีที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากแพลตฟอร์มออนไลน์มาลงบันทึกบัญชีได้แบบเรียลไทม์  ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก หรือสนใจโปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลจากแพลตฟอร์ม Shopee Lazada TikTok ทดลองใช้ฟรี 30 วัน คลิก 

24 ม.ค. 2024

PEAK Account

12 min

เช็กลิสต์มาตรการรัฐ สร้างการเติบโตของธุรกิจในยุคดิจิทัล

เมื่อโลกเปลี่ยน เทคโนโลยีเปลี่ยน การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันก็ต้องมีการปรับตัวให้รองรับกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เช่น เรื่องช่องทางการขาย การชำระเงิน การจัดการบัญชี ภาษีต่างๆ ก็มีการนำเครื่องมือต่างๆ เข้ามาช่วยสร้างการทำงานในรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น โดยรัฐบาลเองมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจด้านดิจิทัลอย่างเป็นระบบ ดังตัวอย่างของมาตรการภาครัฐต่อไปนี้ที่จะช่วยส่งเสริมการดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ e-Payment ชำระเงิน สะดวก รวดเร็ว ทุกที่ ทุกเวลา ทุกธุรกิจ    ระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์มาตรการภาครัฐที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้มีระบบรองรับการชำระเงินทางออนไลน์ที่ได้มาตรฐาน สอดคล้องกับการใช้งานเทคโนโลยีที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์จะช่วยลดความซับซ้อนในกระบวนการการเงินและทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำธุรกรรม โดยเฉพาะในส่วนของผู้ประกอบการที่นำระบบ e-Payment มาใช้ในธุรกิจ นอกจากจะเป็นการเพิ่มความสะดวกสบายแก่ลูกค้าแล้ว ยังเสริมสร้างประสิทธิภาพในการบริหารจัดการการเงินของธุรกิจได้เป็นอย่างดีอีกด้วย  สำหรับเงื่อนไขของกฎหมายภาษี  e-Payment เป็นสิ่งที่เจ้าของกิจการ ร้านค้าต่างๆ ควรศึกษารายละเอียดอย่างแม่นยำ เพื่อการปฏิบัติทางกฎหมายที่ถูกต้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 ที่มีสาระสำคัญคือการกำหนดให้สถาบันการเงิน และผู้ให้บริการทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ e-wallet ต้องรายงานข้อมูลผู้มีบัญชีธุรกรรมเฉพาะให้กรมสรรพากร ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคล โดยมีเงื่อนไขดังนี้       e-Tax Invoice ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ตอบโจทย์ธุรกิจในยุคดิจิทัล e-Tax Invoice หรือใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เป็นมาตรการภาครัฐในการออกใบกํากับภาษีในรูปแบบใหม่ที่กรมสรรพากรได้พัฒนาขึ้นมาใช้แทนการออกใบกำกับภาษีแบบกระดาษ โดยจะปรับเปลี่ยนข้อมูลทั้งหมดเป็นในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางระบบออนไลน์ ซึ่งจะช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ถึงกรมสรรพากรได้อย่างสะดวกรวดเร็วผ่านช่องทางอีเมล หรือเว็บไซต์กรมสรรพากรได้ในทันท่วงที ไม่ต้องจัดเตรียม และรวบรวมใบกํากับภาษีแบบกระดาษอีกต่อไป นอกจากนั้นการจัดทำใบกำกับภาษีอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ยังมีประโยชน์ต่อเจ้าของธุรกิจอีกหลายประการ ได้แก่ การลดต้นทุนแฝงอย่างเช่น ค่ากระดาษ ค่าหมึกพิมพ์ ค่าจัดส่ง ค่าจัดเก็บใบกำกับภาษี การป้องกันเอกสารสูญหายหรือได้รับความเสียหาย นอกจากนั้น e-Tax Invoice ยังรองรับสิทธิประโยชน์จากทางภาครัฐ อย่างโครงการ การช้อปดีมีคืนในปี 2566 และล่าสุดกับโครงการ Easy E-Receipt เป็นต้น โดย e-Tax Invoice นั้นแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ 1. e-Tax Invoice by Time Stamp เป็นระบบการจัดทำใบกำกับภาษีโดยการประทับรับรองเวลา (Time Stamp) เกิดขึ้นจากความร่วมมือของกรมสรรพากรกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีรายได้ ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี หรือมีการออกใบกำกับภาษีจำนวนไม่มาก ได้ตระหนักถึงความสะดวกของการออกและใช้งานใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนสำหรับผู้ประกอบการที่จะพัฒนาไปสู่ระบบการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์อย่างสมบูรณ์แบบในอนาคต  2. e-Tax Invoice & e-Receipt เป็นระบบที่กรมสรรพากรพัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ประกอบการจัดทำใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และใบเสร็จรับเงินในรููปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการด้วยช่องทางทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่ตกลงกัน รวมถึงการนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรผ่านช่องทางที่กรมสรรพากรกำหนดด้วย Easy E-Receipt  โอกาสสำหรับผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล Easy E-Receipt คือ โครงการลดหย่อนภาษีประจำปี 2567 ที่กรมสรรพากรกำหนดให้ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถนำใบกำกับภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกกันว่า e-Tax Invoice และ e-Receipt ที่ได้รับจากการซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าที่จดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อใช้ลดหย่อนภาษีในปีภาษี 2567 โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมีเงื่อนไขการใช้จ่ายดังต่อไปนี้ 1. ต้องเป็นผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2. ซื้อสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียน VAT ที่ออกใบกำกับภาษีเต็มรูปในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากรเท่านั้น 3. ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามจริง จำนวนไม่เกิน 50,000 บาท นับเป็นโอกาสดีอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มที่สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่จะสร้างการขายสินค้าและบริการตามที่โครงการกำหนด 2 มาตรการภาษี  โอกาสดีๆ สำหรับผู้ประกอบการ เป็นการขยายเวลาต่อเนื่องสำหรับมาตรการภาครัฐที่กำหนดขึ้นเพื่อส่งเสริมการลงทุนในระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์และส่งเสริมการใช้ระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถหักรายจ่ายการลงทุนในระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt และระบบ e-Withholding Tax รวมถึงหักรายจ่ายค่าบริการระบบดังกล่าวได้ 2 เท่าของรายจ่ายที่จ่ายจริง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 – 31 ธันวาคม 2568  มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการใช้ระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax) สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินผ่านระบบ e-Withholding Tax ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 -31 ธันวาคม 2568” จะมีการลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เหลืออัตราร้อยละ 1 ทั้ง 2 มาตรการดังกล่าวจะเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการในการลดต้นทุนในการจัดทำและการจัดเก็บเอกสาร รวมทั้งยังช่วยให้ผู้ประกอบการมีกระแสเงินสดเพิ่มขึ้นในช่วงระยะเวลาดำเนินมาตรการลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายได้อีกด้วย PromptBiz  ตอบโจทย์ธุรกิจดิจิทัล สร้างระบบการทำงานแบบมืออาชีพ PromptBiz คือ โครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินกลางสำหรับภาคธุรกิจ ทำให้เกิดการทำธุรกิจแบบดิจิทัลที่สามารถข้ามธนาคารได้อย่างครบวงจร โดยจะมีการเชื่อมโยงข้อมูลการค้าและการชำระเงิน ตั้งแต่ข้อมูลใบแจ้งหนี้ การวางบิล การชำระเงิน จนถึงการออกใบเสร็จ โดย PromptBiz จะมีบริการ 2 ด้านสำคัญ ได้แก่ บริการด้านการค้าและการชำระเงิน และบริการด้านสินเชื่อ PromptBiz จะเปลี่ยนเอกสารทางการค้าจากรูปแบบกระดาษมาเป็นเอกสารดิจิทัลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การวางบิล รับวางบิล ตรวจสอบความถูกต้อง และชำระเงินผ่านแพลตฟอร์ม พร้อมจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ครอบคลุมไปถึงการทำรายการหักและนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายอัตโนมัติ  ขณะเดียวกันระบบ PromptBiz จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ พัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  ช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ SMEs ได้เป็นอย่างดี

31 พ.ค. 2023

PEAK Account

6 min

ช้อปดีมีคืน 2566 ลดหย่อนภาษีอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด

ใกล้ก้าวเข้าสู่กลางปีกันแล้ว แม้จะยังไม่ถึงเวลาที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ผู้ประกอบการควรมีการเตรียมพร้อมอยู่เสมอสำหรับโครงการช้อปดีมีคืนประจำปี 2566 โดยเฉพาะการออกใบกำกับภาษีที่จะต้องดำเนินการอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทั้งในรูปแบบของกระดาษและอิเล็กทรอนิกส์ สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกอบการจะได้รับจากโครงการช้อปดีมีคืน 2566 โดยเงื่อนไขสิทธิประโยชน์ช้อปดีมีคืน ถูกกำหนดไว้ดังนี้ ค่าซื้อสินค้าหรือบริการ จำนวน 30,000 บาทแรก สำหรับผู้มีหลักฐานใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบกระดาษหรืออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt และ e-Tax Invoice by Email ของกรมสรรพากรเท่านั้น ค่าซื้อสินค้าหรือบริการ เพิ่มอีกจำนวน 10,000 บาท สำหรับผู้มีหลักฐานใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt และ e-Tax Invoice by Email ของกรมสรรพากรเท่านั้น ซึ่งใบกำกับภาษีแบบกระดาษนั้นไม่สามารถใช้ได้ หมายความว่า หากผู้ประกอบการสามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ จะตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าอย่างมาก เนื่องจากลูกค้าสามารถใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 40,000 บาท ซึ่งอาจส่งผลให้มีลูกค้ามาซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นได้ ผู้ประกอบการที่ต้องการสร้างใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่สะดวก รวดเร็ว และเป็นมืออาชีพ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ตอบโจทย์คุณ เพราะ PEAK สามารถสร้างใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายๆ อย่างถูกต้องและแม่นยำ อีกทั้งยังช่วยลดพื้นที่ในการจัดเก็บเอกสารแบบกระดาษ และที่สำคัญยังเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างรายได้จากโครงการช้อปดีมีคืนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอีกด้วย โดยขั้นตอนการดำเนินการผ่านโปรแกรม PEAK นั้นไม่ยากอย่างที่คิด ผู้ประกอบการสามารถสมัครใช้งานโปรแกรม PEAK ได้ที่เว็บไซต์ www.peakaccount.com แล้วสมัครเข้าระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากรได้ที่เว็บไซต์ etax.rd.go.th เพียงเท่านี้ก็สามารถสร้างใบกำกับภาษีเต็มรูปในแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างถูกต้อง ลูกค้าที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จากโครงการช้อปดีมีคืน 2566 สำหรับลูกค้า ที่ต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีให้ได้จำนวนสูงสุดถึง 40,000 บาท มีรายละเอียดและข้อปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ถูกต้อง ดังนี้ ☑️ เลือกร้านค้าที่สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ เนื่องจากใบกำกับภาษีแบบกระดาษไม่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้หากจำนวนเกิน 30,000 บาทแรก หมายความว่า เมื่อลูกค้าเลือกซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าที่ใช้โปรแกรมบัญชีที่สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ เช่น PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ก็จะสามารถได้รับใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 40,000 บาท ☑️ ตรวจสอบหลักฐานให้ถูกต้อง หากต้องการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้โดยไม่เกิดปัญหานั้น การตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะส่วนของใบกำกับภาษี จากเดิมที่ผู้ประกอบการนำส่งใบกำกับภาษีรูปแบบกระดาษนั้น จะต้องแสดงรายละเอียดใบกำกับภาษีเต็มรูปตามมาตรา 86/4 โดยมีข้อความครบถ้วน และใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีการแสดงรายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้ ดังนั้น เมื่อเราได้รับข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์จากผู้ประกอบการแล้ว ลูกค้าต้องตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ให้ถูกต้องเพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีของตนเอง PEAK สามารถสร้างใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายๆ เพียงไม่กี่คลิก พร้อมเอกสารที่มีดีไซน์สวยงาม อ่านง่ายถูกใจลูกค้า ช่วยให้ธุรกิจของคุณเป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

9 min

เจ้าของธุรกิจทำสัญญาให้มีผลทางกฎหมาย ต้องจ่ายภาษีอากรแสตมป์

การทำธุรกิจย่อมต้องเกี่ยวข้องกับการทำสัญญาและเอกสารสำคัญต่าง ๆ ซึ่งจำเป็นต้องติดอากรแสตมป์และจ่ายภาษีอากรแสตมป์ เพื่อให้ใช้ได้ตามกฎหมาย แต่หลายคนอาจยังสงสัยว่าต้องติดอย่างไร เมื่อไหร่ และมีอัตราเท่าไร วันนี้เรามาทำความเข้าใจเรื่องอากรแสตมป์อย่างละเอียด เพื่อให้การทำสัญญาของเราถูกต้องและใช้ได้ตามกฎหมาย ภาษีอากรแสตมป์ คืออะไร ภาษีอากรแสตมป์เป็นภาษีรูปแบบหนึ่งที่รัฐจัดเก็บจากการทำนิติกรรมหรือสัญญาต่าง ๆ เพื่อรับรองความถูกต้องของเอกสารและสร้างรายได้ให้กับรัฐ โดยมีลักษณะเป็นแสตมป์ที่ต้องติดลงบนตราสารหรือเอกสารสำคัญภายใน 15 วันหลังจากการลงนาม เช่น สัญญาจ้างงาน สัญญาเช่า หนังสือมอบอำนาจ หรือใบมอบฉันทะ ทั้งนี้ อัตราค่าอากรแสตมป์จะแตกต่างกันไปตามประเภทของตราสาร ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร อากรแสตมป์สำคัญกับการทำสัญญาอย่างไร การติดอากรแสตมป์ไม่ใช่เพียงการปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญต่อการทำธุรกิจในหลายด้าน มาดูกันว่าทำไมอากรแสตมป์จึงมีความสำคัญ ยืนยันความถูกต้องตามกฎหมาย การติดภาษีอากรแสตมป์ในเอกสารหรือสัญญาเป็นการรับรองว่าเอกสารนั้นได้ทำขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เปรียบเสมือนตราประทับรับรองจากภาครัฐ ทำให้เอกสารน่าเชื่อถือและใช้ได้ตามกฎหมายอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ ยังทำให้เห็นว่าผู้ทำสัญญามีความตั้งใจในการปฏิบัติตามข้อตกลงและเคารพกฎหมาย ป้องกันความขัดแย้ง การติดอากรแสตมป์ช่วยป้องกันข้อขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น เพราะเป็นหลักฐานยืนยันว่าทั้งคู่ได้ตกลงทำสัญญานี้กันจริง และสัญญานั้นผ่านการรับรองตามกฎหมายแล้ว ในกรณีที่เกิดข้อโต้แย้ง สัญญาที่ติดอากรแสตมป์ครบถ้วนจะมีน้ำหนักในการพิจารณามากกว่าสัญญาที่ไม่ได้ติดอากรแสตมป์  ใช้ในกระบวนการยุติธรรมได้ สัญญาที่ติดภาษีอากรแสตมป์ครบถ้วนใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้ทันที ในขณะที่สัญญาที่ไม่ได้ติดอากรแสตมป์หรือติดไม่ครบถ้วน อาจถูกปฏิเสธการรับฟังเป็นพยานหลักฐานในชั้นศาล หรือต้องเสียค่าปรับเพิ่มเติมก่อนนำไปใช้ ดังนั้น การติดอากรแสตมป์จึงเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการยุติธรรม การชำระค่าอากรแสตมป์มีกี่วิธี การชำระค่าอากรแสตมป์สามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความสะดวกและลักษณะของเอกสาร ดังนี้ ตัวอย่างอัตราอากรแสตมป์ที่ต้องจ่าย การชำระอากรแสตมป์ขึ้นอยู่กับประเภทเอกสารตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งมีอัตราที่แตกต่างกัน โดยตัวอย่างอัตราอากรแสตมป์ที่พบบ่อย ได้แก่ 1. สัญญาเช่าทรัพย์สินอากรแสตมป์สำหรับสัญญาเช่าทรัพย์สินมีอัตราอยู่ที่ 1 บาทต่อค่าเช่า 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท ตัวอย่างเช่น หากค่าเช่าระบุไว้ที่ 10,500 บาท อากรแสตมป์ที่ต้องจ่ายคือ 11 บาท ซึ่งการคำนวณนี้ครอบคลุมถึงสัญญาเช่าประเภทต่าง ๆ เช่น เช่าที่ดิน อาคาร หรืออุปกรณ์ 2. ตั๋วเงิน (ตั๋วสัญญาใช้เงินหรือเช็ค)สำหรับเอกสารประเภทตั๋วเงิน เช่น ตั๋วสัญญาใช้เงินหรือเช็ค อากรแสตมป์จะคิดในอัตรา 3 บาทต่อยอดเงินทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท เช่น หากยอดเงินในตั๋วเงินระบุไว้ที่ 6,500 บาท ผู้ที่ออกตั๋วจะต้องชำระอากรแสตมป์จำนวน 12 บาท 3. หนังสือมอบอำนาจหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นเอกสารที่มักใช้ในทางธุรกิจหรือการดำเนินการทางกฎหมาย จะต้องติดอากรแสตมป์ในอัตรา 10 บาทต่อฉบับ โดยไม่มีการคิดเพิ่มตามมูลค่าหรือรายละเอียดของเอกสาร 4. สัญญากู้ยืมเงินในกรณีของสัญญากู้ยืมเงิน อากรแสตมป์จะคิดในอัตรา 1 บาทต่อยอดเงินทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท โดยมีอัตราสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท ตัวอย่างเช่น หากมีการกู้เงินจำนวน 50,000 บาท อากรแสตมป์ที่ต้องชำระคือ 25 บาท 5. สัญญาจ้างแรงงานหรือจ้างทำของสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการจ้างแรงงานหรือจ้างทำของ เช่น งานก่อสร้าง หรืองานออกแบบ จะต้องติดอากรแสตมป์ในอัตรา 1 บาทต่อค่าแรง 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท เช่น หากค่าแรงรวมทั้งหมดเป็น 15,000 บาท อากรแสตมป์ที่ต้องจ่ายคือ 15 บาท 6. สัญญาค้ำประกันสัญญาค้ำประกันที่ใช้ในการรับรองหรือค้ำประกันภาระผูกพันทางการเงิน จะต้องชำระอากรแสตมป์ในอัตรา 1 บาทต่อยอดเงินทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท โดยมีอัตราสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท 7. สัญญาซื้อขายหรือโอนลิขสิทธิ์สำหรับสัญญาซื้อขายหรือโอนลิขสิทธิ์ อากรแสตมป์จะคิดในอัตรา 0.1% ของมูลค่าที่ระบุไว้ในสัญญา เช่น หากมูลค่าการซื้อขายลิขสิทธิ์ระบุไว้ที่ 1,000,000 บาท อากรแสตมป์ที่ต้องชำระคือ 1,000 บาท การติดอากรแสตมป์และจ่ายภาษีอากรแสตมป์ เป็นขั้นตอนที่จะช่วยรับรองความถูกต้องของเอกสารและสัญญาต่าง ๆ เจ้าของธุรกิจจึงควรศึกษาและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เอกสารมีผลทางกฎหมายและหากเกิดความขัดแย้งสามารถใช้เป็นหลักฐานได้ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

9 min

ทำธุรกิจนำเข้า-ส่งออกต้องรู้จัก ภาษีศุลกากรคืออะไร

ในโลกยุคดิจิทัลเราสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้มากขึ้น แค่เพียงคลิกเดียวก็ได้รับสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์จากทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ทันใจ ทำให้ผู้ผลิตต้องพากันแข่งขันกันการนำเสนอสินค้าใหม่ ๆ หลากหลายรูปแบบ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และนั่นทำให้การค้าขายข้ามพรมแดนได้กลายมาเป็นโอกาสในการทำธุรกิจที่น่าสนใจ แต่ทั้งนี้ก่อนจะก้าวเข้าสู่สนามการค้าจำเป็นต้องทำความรู้จักกฎเกณฑ์สำคัญที่คอยกำกับการค้าขายระหว่างประเทศเสียก่อนนั่นคือ ภาษีศุลกากร นั่นเอง เราจะได้รู้จักกับภาษีศุลกากรว่าคืออะไร มีกี่ประเภท ผ่านบทความนี้ เพื่อให้เราสามารถทำธุรกิจได้สะดวกมากขึ้น ภาษีศุลกากร คืออะไร? ภาษีศุลกากร คือ การเรียกเก็บภาษีนำเข้าและส่งออกสินค้าข้ามพรมแดนโดยรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค วัตถุดิบ หรือสินค้าอื่น ๆ ก็ตาม ซึ่งภาษีนี้เป็นกลไกที่รัฐบาลใช้เพื่อควบคุมระบบเศรษฐกิจ การค้า และสร้างรายได้ให้กับประเทศ ซึ่งการทำความเข้าใจเรื่องภาษีศุลกากรไม่ใช่เพียงแค่เข้าใจเรื่องจำนวนเงินภาษีที่ต้องจ่ายเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงราคาสินค้าและการแข่งขันในตลาดอีกด้วย ภาษีศุลกากรมีกี่ประเภท ภาษีศุลกากรแม้จะมีการแบ่งประเภทออกมาเป็นหลายรูปแบบ แต่จุดประสงค์หลักก็คือการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้และปกป้องผลประโยชน์ให้กับประเทศ ทั้งนี้อัตราภาษีและประเภทของภาษีที่เรียกเก็บจะแตกต่างกันไปตามชนิดของสินค้าและนโยบายของรัฐบาล ดังนี้ ภาษีนำเข้า ภาษีศุลกากรแม้จะมีการแบ่งประเภทออกมาเป็นหลายรูปแบบ แต่จุดประสงค์หลักก็คือการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้และปกป้องผลประโยชน์ให้กับประเทศ ทั้งนี้อัตราภาษีและประเภทของภาษีที่เรียกเก็บจะแตกต่างกันไปตามชนิดของสินค้าและนโยบายของรัฐบาลดังนี้ ภาษีส่งออก ภาษีส่งออกจะถูกเก็บก็ต่อเมื่อสินค้านั้นมีการส่งออกไปสู่ประเทศต่าง ๆ ซึ่งการจัดเก็บภาษีประเภทนี้มักถูกนำมาใช้ในกรณีที่รัฐบาลต้องการควบคุมการส่งออกสินค้าที่มีมูลค่า หรือสินค้าที่เป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับการพัฒนาภายในประเทศ การนำเข้า-ส่งออกสินค้าต้องเสียภาษีอะไรบ้าง? การนำเข้าหรือส่งออกสินค้าจะมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภาษีหลายประเภท ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้า ประเทศต้นทางหรือปลายทางเป็นหลัก รวมถึงนโยบายทางการค้าของรัฐบาลในขณะนั้น สำหรับภาษีที่สัมพันธ์กับการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าจะมีดังนี้ ภาษีที่ต้องจ่ายเมื่อนำเข้าสินค้า การนำเข้าสินค้าเข้ามาในประเทศไทยนั้น จะต้องเสียภาษีหลายชนิด ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า ประเทศต้นทาง และมูลค่าของสินค้า โดยภาษีที่พบบ่อยในการนำเข้าสินค้า ได้แก่ ภาษีที่ต้องจ่ายเมื่อส่งออกสินค้า โดยทั่วไปแล้วการส่งออกสินค้าจากประเทศไทยนั้น ไม่ต้องเสียภาษีอากรขาออก แต่เนื่องจากนโยบายที่ส่งเสริมการส่งออกของรัฐบาลเพื่อเพิ่มจำนวนรายได้เข้าสู่ประเทศ จึงทำให้มีภาษีและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าและประเทศปลายทาง สำหรับภาษีและค่าธรรมเนียมที่มีความสัมพันธ์กับการส่งออกสินค้ามีดังนี้ การเข้าใจภาษีศุลกากรและกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้การนำเข้าและส่งออกของเราดำเนินไปอย่างราบรื่น โดยเริ่มตั้งแต่การคำนวณภาษี การจัดการเอกสาร จนกระทั่งการชำระเงิน ซึ่งทุกขั้นตอนจำเป็นต้องวางแผนและตรวจสอบอย่างละเอียด รอบคอบ ดังนั้นการทำความเข้าใจภาษีศุลกากร ช่วยให้ผู้ประกอบกิจการลดค่าใช้จ่าย และยังช่วยเพิ่มความได้เปรียบในด้านการแข่งขันในตลาดโลกอีกด้วย  ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

7 min

อัปเดตปี 2568! “Easy E-Receipt 2.0” สินค้าไหน ลดหย่อนภาษีได้บ้าง

ในปีภาษี 2568 กรมสรรพากรได้เปิดตัวมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ “Easy E-Receipt 2.0” ที่ช่วยให้ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถลดหย่อนภาษีได้มากขึ้น จากการนำค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการที่เข้าเงื่อนไขมายื่นลดหย่อนภาษี แต่สินค้าและบริการประเภทใดบ้างที่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้? บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับประเภทสินค้าที่อยู่ในเกณฑ์ รวมถึงเงื่อนไขต่างๆ เพื่อลดหย่อนภาษีในยุคดิจิทัลให้คุ้มค่าที่สุด “Easy E-Receipt 2.0” คืออะไร? มาตรการ “Easy E-Receipt 2.0” เปิดโอกาสให้ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ยกเว้นห้างหุ้นส่วนสามัญ) นำค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้าและบริการภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดมาลดหย่อนภาษีได้ สูงสุด 50,000 บาท “Easy E-Receipt 2.0” ใช้ได้ตอนไหน ระยะเวลาที่ใช้ได้: ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568 สินค้าและบริการที่ลดหย่อนภาษีได้ ผู้เสียภาษีสามารถใช้สิทธิลดหย่อนค่าซื้อสินค้าและค่าบริการภายในประเทศได้สูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 1. ลดหย่อนตามจำนวนที่จ่ายจริง (สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท) สำหรับค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าที่ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ต้องมีหลักฐานเป็น e-Tax Invoice แบบเต็มรูป หนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร รวมถึงข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น E-Book 2. ลดหย่อนเพิ่มเติมตามจำนวนที่จ่ายจริง (สูงสุดไม่เกิน 20,000 บาท) สำหรับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมธุรกิจชุมชน ดังนี้ สินค้าและบริการที่ไม่เข้าร่วม “Easy E-Receipt 2.0”  เอกสารหลักฐานสำคัญที่ใช้ลดหย่อนในมาตรการ “Easy E-Receipt 2.0” ต้องมีหลักฐานการชำระเงินเป็นใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) เท่านั้น ตัวอย่าง e-Tax Invoice & e-Receipt ของ PEAK สำหรับผู้ประกอบการที่ขายสินค้าและบริการตามเงื่อนไข ต้องการรองรับมาตรการ “Easy E-Receipt 2.0” และเพิ่มความสะดวกในการจัดการเอกสารทางบัญชี PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการเอกสารทางบัญชีได้อย่างสะดวกและครบวงจร ด้วยฟีเจอร์ที่รองรับการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ได้ง่ายเพียงคลิกเดียว โดยเอกสารทั้งหมดเป็นไปตามมาตรฐานของกรมสรรพากร พร้อมทั้งเชื่อมโยงระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถส่งเอกสารถึงลูกค้าได้ทันที นอกจากนี้ PEAK ยังช่วยให้การจัดการเอกสารเป็นเรื่องง่าย ด้วยระบบที่ครอบคลุมการออกใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จรับเงิน และใบกำกับภาษีภายในระบบเดียว โดยสามารถส่งข้อมูล e-Tax Invoice และ e-Receipt ไปยังกรมสรรพากรได้โดยตรง ช่วยลดขั้นตอนและประหยัดเวลาในการจัดเตรียมเอกสารได้อย่างมาก รองรับการใช้งานได้ทั้งสำหรับทุกร้านค้าไม่ว่าจะเป็นร้านค้าปลีก ร้านค้าออนไลน์ หรือธุรกิจบริการ ด้วยระบบออนไลน์ 100% ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ ทุกเวลา ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

28 พ.ย. 2024

PEAK Account

12 min

ธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้า ต้องรู้ภาษีอะไรบ้าง?

การดำเนินธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้าและบริการ ถือเป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีโอกาสสร้างรายได้สูง แต่ในขณะเดียวกันก็มีความซับซ้อนในด้านภาษี เพื่อป้องกันความผิดพลาดและลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจ ผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประเภทนี้ บทความนี้จะอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับภาษีที่ธุรกิจนำเข้า-ส่งออกควรทราบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นและถูกต้องตามกฎหมาย ทำความรู้จักการนำเข้าสินค้าและภาษีนำเข้า การนำเข้า คือ การนำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามายังประเทศไทย โดยต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบและเสียภาษีที่ด่านศุลกากร สินค้าที่นำเข้ามักถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราที่แตกต่างกันตามประเภทสินค้า เช่น ภาษีนำเข้า คือ ภาษีที่ต้องจ่ายเมื่อซื้อสินค้าจากต่างประเทศ โดยอัตราภาษีที่ต้องจ่ายจะขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า เช่น รถยนต์หรูหราหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มักถูกเก็บภาษีสูง เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศและสร้างรายได้ให้รัฐบาล ทำความรู้จักการส่งออกสินค้าและภาษีส่งออก การส่งออก คือ การส่งสินค้าไปยังต่างประเทศ เช่นเดียวกับการนำเข้า สินค้าส่งออกต้องผ่านการตรวจสอบที่ด่านศุลกากร สินค้าบางประเภท เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ อาจถูกเรียกเก็บภาษีเพื่อควบคุมการส่งออก ภาษีส่งออก คือ ภาษีที่ต้องจ่ายเมื่อมีการส่งออกสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่มีปริมาณจำกัดหรือเป็นทรัพยากรธรรมชาติ เช่น น้ำมันดิบ ประเทศผู้ส่งออกจะเก็บภาษีเพื่อควบคุมปริมาณการส่งออกและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้า 1. อากรขาเข้า (Import Duties) อากรขาเข้า เป็นภาษีที่เรียกเก็บเมื่อสินค้ามีมูลค่าเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด โดยจะคำนวณภาษีจากมูลค่าของสินค้า บวกด้วยค่าขนส่งและค่าประกันภัย (CIF – Cost, Insurance, Freight) หากสินค้าเข้าข่ายที่กฎหมายกำหนดให้ต้องเสียอากรขาเข้า อัตราภาษีจะแตกต่างกันไปตามประเภทสินค้า โดยระบุไว้ใน พิกัดศุลกากร (HS Code – Harmonized System Code) ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานสากลในการจัดประเภทสินค้าตัวอย่างเช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์อาจมีอัตราภาษีที่ต่ำกว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากมีการกำหนดอัตราภาษีตามนโยบายเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ 2. ภาษีสรรพสามิต (Excise Tax) ภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีที่เรียกเก็บเพิ่มเติมจากสินค้าฟุ่มเฟือยหรือสินค้าที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เช่น รถยนต์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สุรา ยาสูบ เป็นต้นอัตราภาษีสรรพสามิตคำนวณจาก  ภาษีสรรพสามิต=(มูลค่าศุลกากร + อากรนำเข้า)×อัตราภาษีสรรพสามิต 3. ภาษีเพื่อมหาดไทย (Interior Tax) ภาษีเพื่อมหาดไทย เป็นการจัดเก็บภาษีเพิ่มเติมจาก ภาษีสรรพสามิต โดยมีจุดประสงค์เพื่อจัดสรรรายได้ให้แก่กรุงเทพมหานคร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรเงินภาษีสุรา โดยคำนวณจากมูลค่าภาษีสรรพสามิตที่กำหนดไว้ ด้วยอัตรา 10% ดังนี้ ภาษีเพื่อมหาดไทย=ภาษีสรรพสามิต×10% 4. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีมูลค่าเพิ่ม เรียกเก็บจากมูลค่าของสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นในทุกขั้นตอนการผลิตและการค้า ผู้นำเข้าจะต้องเสีย VAT จากมูลค่าสินค้า พร้อมกับอากรขาเข้าและภาษีสรรพสามิต (ถ้ามี) โดยทั่วไปอัตรา VAT คือ 7% ภาษีมูลค่าเพิ่มจะถูกคำนวณจากฐานภาษีซึ่งประกอบด้วย VAT สามารถขอคืนได้ในฐานะ “ภาษีซื้อ” ภายใน 6 เดือน อย่างไรก็ตาม อากรขาเข้าไม่สามารถขอคืนได้ ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกสินค้า 1. อากรขาออก (Export Duties) อากรขาออกเป็นภาษีที่เรียกเก็บสำหรับการส่งออกสินค้าบางประเภทเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น โดยจะคำนวณจากมูลค่าของสินค้า บวกด้วยค่าขนส่งและค่าประกันภัย (CIF – Cost, Insurance, Freight) หากสินค้าเข้าข่ายที่กฎหมายกำหนดให้ต้องเสียอากรขาเข้าอัตราภาษีจะแตกต่างกันไปตามประเภทสินค้า โดยระบุไว้ใน พิกัดศุลกากร (HS Code – Harmonized System Code) ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานสากลในการจัดประเภทสินค้า อัตราภาษีขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า โดยระบุไว้ใน ประกาศกรมศุลกากร ซึ่งเป็นเอกสารที่กำหนดประเภทสินค้าและอัตราภาษีที่เกี่ยวข้อง เช่น ประกาศกรมศุลกากรที่ 103/2561ตัวอย่างเช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์อาจมีอัตราภาษีที่ต่ำกว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากมีการกำหนดอัตราภาษีตามนโยบายเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ 2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) การส่งออกสินค้าจากประเทศไทยได้รับการ ยกเว้น VAT หรือเรียกว่าอัตรา 0% (Zero Rate) เนื่องจากรัฐบาลสนับสนุนการส่งออกเพื่อเพิ่มรายได้จากต่างประเทศ แต่ผู้ส่งออกต้องจัดทำใบกำกับภาษีเพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าและจำนวนภาษีที่เกี่ยวข้องและยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.30) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการส่งออกสินค้า และต้องมีหลักฐานยืนยันการส่งออก เช่น ใบขนสินค้าขาออก (Export Declaration) และใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading) อย่างไรก็ตาม หากผู้ส่งออกไม่มีเอกสารหลักฐานครบถ้วน เช่น ไม่มีใบขนสินค้าขาออกที่สมบูรณ์ทไม่มีหลักฐานการรับชำระเงินจากต่างประเทศ สินค้านั้นอาจไม่ได้รับสิทธิยกเว้น VAT เคล็ดลับในการดำเนินธุรกิจนำเข้า-ส่งออก การดำเนินธุรกิจนำเข้า-ส่งออกเป็นโอกาสที่ดีในการขยายตลาดและสร้างรายได้ กาศึกษารายละเอียดภาษีอย่างครบถ้วน จะช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสความสำเร็จในระยะยาว นอกจากนี้การออกเอกสารภาษีอย่างถูกต้องก็เป็นเรื่องสำคัญ เพื่อป้องกันปัญหาและความล่าช้าในกระบวนการดำเนินธุรกิจ โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK สามารถเป็นตัวช่วยสำคัญสำหรับธุรกิจนำเข้า-ส่งออก ด้วยฟีเจอร์ที่ช่วยจัดการงานด้านบัญชีและภาษีอย่างครบวงจร เช่น การออกใบกำกับภาษี การจัดเก็บเอกสารบัญชีอย่างเป็นระบบ ช่วยให้ค้นหาและตรวจสอบข้อมูลได้ง่ายและรายงานการเงินที่ครบถ้วนและทันสมัย ทำให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนธุรกิจได้อย่างมั่นใจ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

23 พ.ค. 2024

จักรพงษ์

6 min

นักบัญชีเฮ! สรรพากรขยายระยะเวลายื่นแบบภาษีออนไลน์จนถึงปี 2570

รู้หรือไม่ว่าการยื่นแบบภาษีทั้งหลายผ่านระบบอินเทอร์เน็ต(ออนไลน์) ที่ได้สิทธิขยายเวลาเพิ่มเติมอีก 8 วัน จากวันสุดท้ายของการยื่นแบบภาษีนั้น มีวันหมดอายุ แปลว่าถ้าสรรพากรไม่ได้ออกกฎหมายฉบับใหม่มาต่ออายุการขยายเวลา เราก็จะไม่สามารถยืดระยะเวลาออกไปอีก 8 วันได้เลย ถ้ายืดเวลายื่นแบบไม่ได้ เท่ากับนักบัญชีต้องรีบทำบัญชีและภาษีให้เร็วขึ้นตามวันสิ้นสุดการยื่นแบบกระดาษเหมือนเดิมนั่นเอง การประกาศขยายเวลาการยื่นแบบภาษีทางอินเทอร์เน็ต แต่ๆ ข่าวดีมาแล้ว กรมสรรพากรได้ออกประกาศกระทรวงการคลังมาเพื่อขยายระยะเวลาสิทธิการยื่นแบบภาษีออกไปอีก 8 วันจากวันสุดท้ายของการยื่นแบบภาษี โดยมีผลตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 จนถึง 31 มกราคม 2570 รวมเป็นระยะเวลาถึง 3 ปีเลยครับ เชื่อว่ามีบางคนที่อ่านมาถึงจุดนี้ โดยเฉพาะมือใหม่ที่กำลังหัดยื่นภาษีว่าสิทธิการยื่นแบบภาษีออกไปอีก 8 วันจากวันสุดท้ายของการยื่นแบบภาษี นับยังไง เพื่อให้เห็นภาพง่ายขึ้น ผมทำตารางสรุปมาให้แล้ว ตารางสรุปวันสิ้นสุดการยื่นแบบภาษี สิ่งที่ต้องทราบคือ กรณีที่บวกวันเพิ่มไปอีก 8 วันแล้วตกวันเสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ วันสิ้นสุดท้ายของการยื่นแบบภาษีออนไลน์จะขยับไปเป็นวันทำการถัดไปแทนครับ นักบัญชีที่เคยยื่นภาษีมาสักพักก็จะทราบดีว่า การยื่นแบบภาษีรอบแรก เราจะเรียกว่า “ยื่นปกติ” แต่ถ้ามาตรวจพบทีหลังว่าทำแบบภาษีผิด เช่น มีรายการไม่ครบถ้วน หรือมีรายการมากเกินไป อาจต้องปรับปรุงแบบ ทำให้แบบที่ยื่นหลังครั้งแรก เราจะเรียกว่า “ยื่นเพิ่มเติม” โอเคถ้าเข้าใจแล้ว ล่ะยังไงต่อ? ผมตอบว่าก็ไม่มีอะไรครับ แต่ๆๆ ปัญหาจะเกิดทันทีถ้าการยื่นครั้งแรกเป็นการยื่นแบบกระดาษ และต่อมามีการปรับปรุงจึงยื่นเพิ่มเติมไปเป็นแบบออนไลน์ แบบนี้จะยังได้สิทธิเพิ่มอีก 8 วันหรือไม่? จะสังเกตว่าการวิธีที่ใช้ยื่นแบบไม่เหมือนกันนั้น ส่งผลต่อการที่เราจะได้สิทธิหรือไม่ได้สิทธิขยายระยะเวลายื่นแบบเพิ่มอีก 8 วัน ผมได้สรุปเป็นตารางเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น ดังนี้ครับ ตารางเปรียบเทียบการยื่นแบบกระดาษ vs ยื่นแบบออนไลน์ การขยายเวลาการยื่นแบบเพิ่มอีก 8 วัน เท่ากับว่านักบัญชีจะมีระยะเวลาทำบัญชีและตรวจสอบภาษีได้ละเอียดมากขึ้น แต่ทำไมขยายเวลาแล้ว นักบัญชีก็ยังทำจนถึงวันสุดท้ายอยู่ดี อันนี้ก็ลองสอบถามนักบัญชีดูเล่นๆ ก็ได้นะครับ🤣 สรุป ตอนนี้นักบัญชีคงโล่งใจไปมากแล้วใช่ไหมครับ เรายังได้รับสิทธิขยายอีก 8 วันเหมือนเดิม และยังไม่พอสิทธินี้มีผลบังคับไปจนถึงเดือนมกราคม 2570 พูดง่ายๆ ก็คือ อีก 3 ปี คุณคือผู้โชคดี ขอแสดงความยินดีด้วยคร๊าบบ แต่ที่สำคัญอย่าลืมว่าจะได้สิทธิต้องเป็นการยื่นแบบภาษีผ่านทางออนไลน์เท่านั้นนะครับ เอ้า ทำไมล่ะ! ก็เพราะสรรพากรต่ออายุกฎหมายนี้เพื่อจูงใจให้คนหันมายื่นแบบภาษีทางออนไลน์แทนแบบกระดาษครับ ถือได้ว่าได้ทั้งประหยัดเวลา ไม่เปลืองกระดาษ เหมือนรักษ์โลกร้อนไปในตัวเลยยย โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK มีฟังก์ชั่น PEAK Tax ช่วยผู้ประกอบการและนักบัญชีจัดการภาษีให้เป็นเรื่องง๊าย ง่าย ช่วยทั้งทำแบบฟอร์มภาษี ปิดภาษีอัตโนมัติได้ทันที ช่วยประหยัดการทำภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม