ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

8 min

แจกขั้นตอนยื่นภาษีออนไลน์ ภ.ง.ด. 91 พร้อมลิสต์เอกสารที่ต้องใช้

ใกล้ถึงเวลายื่นภาษีประจำปีแล้ว หลายคนอาจกังวลเรื่องการเตรียมเอกสารและขั้นตอนการยื่นภาษี โดยเฉพาะการยื่น ภ.ง.ด.91 ออนไลน์ ที่แม้จะสะดวกกว่าการเดินทางไปสรรพากร แต่ก็มีข้อมูลที่เราต้องรอบคอบก่อนทำการยื่นภาษีอยู่ด้วย ซึ่งก่อนที่เราจะทำการยื่นภาษีออนไลน์กันนั้น เราไปรายละเอียดของดูเอกสาร ขั้นตอน และข้อควรระวังต่าง ๆ กัน การยื่นภาษี ภ.ง.ด.91 ออนไลน์ คืออะไร การยื่น ภ.ง.ด.91 ออนไลน์ เป็นช่องทางที่กรมสรรพากรทำให้การยื่นภาษีสะดวกมากขึ้น โดยสามารถยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ต้องเดินทางไปสำนักงานสรรพากร ระบบจะช่วยคำนวณภาษีให้อัตโนมัติ ไม่ต้องกังวลเรื่องความผิดพลาด และยังสามารถบันทึกข้อมูลไว้ใช้อ้างอิงในปีถัดไปได้ นอกจากนี้ ยังช่วยประหยัดทรัพยากรและลดการใช้กระดาษ ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผู้ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 ผู้มีหน้าที่ยื่น ภ.ง.ด.91 ออนไลน์ คือผู้ที่มีรายได้จากการจ้างแรงงานเพียงประเภทเดียว โดยแบ่งเป็นสองกรณี คือ กรณีโสดที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี และกรณีสมรสที่มีรายได้รวมกันเกิน 220,000 บาทต่อปี ทั้งนี้ รายได้ดังกล่าวต้องเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนจากการทำงานให้นายจ้างเท่านั้น ไม่รวมรายได้จากแหล่งอื่น เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นภาษี ภ.ง.ด.91 ออนไลน์ ก่อนเริ่มยื่น ภ.ง.ด.91 ออนไลน์ เราควรเตรียมเอกสารให้พร้อม เพื่อความสะดวกในการกรอกข้อมูลและป้องกันความผิดพลาด โดยเอกสารจะแตกต่างกันระหว่างผู้ที่มีสถานะโสดและสมรส มาดูกันว่าแต่ละกลุ่มต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง คนโสด สำหรับผู้มีสถานะโสด เอกสารหลักที่ต้องเตรียมคือหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) จากนายจ้าง ซึ่งแสดงรายได้และภาษีที่ถูกหักไว้ตลอดปี ซึ่งหากเรามีตัวช่วยลดหย่อนภาษีในด้านต่าง ๆ ต้องเตรียมหลักฐานประกอบ เช่น ใบเสร็จค่าเบี้ยประกันชีวิตและสุขภาพ หนังสือรับรองการซื้อกองทุน RMF/SSF/SSFX หลักฐานการบริจาค และใบเสร็จจากโครงการช้อปดีมีคืน รวมถึงหนังสือรับรองดอกเบี้ยเงินกู้จากสถาบันการเงินกรณีผ่อนบ้าน ทั้งนี้ควรจัดเก็บเอกสารในรูปแบบไฟล์ดิจิทัลเพื่อความสะดวกในการอัพโหลด คนมีคู่ ผู้ที่สมรสแล้วต้องเตรียมเอกสารเพิ่มเติมนอกเหนือจากหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) คือ ทะเบียนสมรสและใบสูติบัตรบุตร(ถ้ามี) สำหรับการลดหย่อน ส่วนเอกสารการลดหย่อนอื่น ๆ เหมือนกับคนโสด ได้แก่ ใบเสร็จค่าเบี้ยประกัน หลักฐานการลงทุนในกองทุน หลักฐานการบริจาค ใบเสร็จช้อปดีมีคืน และหนังสือรับรองดอกเบี้ยเงินกู้ โดยสามารถนำค่าลดหย่อนของคู่สมรสมารวมในการคำนวณภาษีได้ ขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์ ภ.ง.ด. 91 ยื่นภาษีไม่ทันหรือชำระภาษีไม่ทันทำอย่างไรดี กรณีที่ไม่สามารถยื่น ภ.ง.ด.91 ออนไลน์ หรือชำระภาษีได้ทันตามกำหนด จะมีบทลงโทษตามกฎหมาย โดยหากมีภาษีที่ต้องชำระ จะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน นับจากวันที่เลยเวลาจ่าย และต้องเสียค่าปรับอีกหนึ่งเท่าของภาษีที่ต้องชำระ ส่วนกรณีที่ไม่มีภาษีต้องชำระแต่ยื่นแบบล่าช้า จะถูกปรับ 1,000 บาท ดังนั้นควรวางแผนยื่นภาษีล่วงหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับและเงินเพิ่ม การยื่นภ.ง.ด.91 ออนไลน์ทำให้การจัดการภาษีง่ายมากขึ้น เพียงเตรียมเอกสารให้พร้อมและทำความเข้าใจขั้นตอนการยื่นแบบผ่านระบบออนไลน์ ทั้งนี้ควรวางแผนยื่นล่วงหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับและเงินเพิ่ม โดยสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร หรือโทรสอบถามที่ 1161  PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ รองรับการทำ ภ.ง.ด. 91 (ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี) โดยช่วยคำนวณภาษีและจัดทำรายงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ระบบสามารถบันทึกและสรุปข้อมูลรายได้ ค่าใช้จ่าย และการหักภาษี ณ ที่จ่าย พร้อมทั้งสร้างแบบฟอร์มภ.ง.ด. 91 ที่สามารถยื่นผ่านระบบออนไลน์ได้ทันที ช่วยให้การยื่นภาษีเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว และถูกต้อง ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

8 min

โอนเงินเข้าออกบ่อยเป็นไรไหม เงินเข้าออกบัญชีห้ามเกินกี่ครั้ง

การโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นการทำธุรกรรมทางการเงินที่นอกจากเป็นเรื่องปกติในการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ยังกลายเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้สำหรับคนส่วนใหญ่อีกด้วย หลายคนมักจะนิยมใช้เพื่อซื้อสินค้าออนไลน์ ไปจนถึงการโอนเงินให้เพื่อนหรือครอบครัวก็ตาม ซึ่งการโอนเงินผ่านระบบนั้น นับว่าช่วยทำให้ชีวิตได้รับสะดวกสบายมากขึ้น แต่ทั้งนี้หากมีการเงินเข้าออกบัญชีบ่อย หลายคนอาจจะเกิดคำถามว่าโอนเงินเข้าออกบ่อยเป็นไรไหม และมีผลกระทบอะไรกับเราบ้างไปดูกัน โอนเงินเข้าออกบ่อยเป็นไรไหม ตามจริงแล้วเงินเข้าออกบัญชีบ่อย ๆ ไม่ได้ผิดกฎหมาย แต่หากทำบ่อยเกินไปและมีมูลค่ารวมที่สูง ก็อาจถูกตรวจสอบภาษีได้ เนื่องจากกรมสรรพากรต้องการตรวจสอบว่าที่มาของเงินนั้นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ และตรวจสอบที่มาของเงินเพื่อป้องกันการฟอกเงินหรือการได้เงินมาแบบผิดกฎหมายนั่นเอง เงินเข้าออกบัญชีบ่อยห้ามเกินกี่ครั้ง ปัจจุบันมีกฎหมายที่ระบุว่าสามารถมีการโอนเงินเข้าออกบัญชีห้ามเกินกี่ครั้งต่อปีขึ้นมา ซึ่งถ้าหากมีการโอนเงินเข้าออกบัญชีจำนวนมาก และมีมูลค่าสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ธนาคารจะต้องรายงานข้อมูลให้กรมสรรพากรทราบ และหากพฤติกรรมการทำธุรกรรมผิดปกติ เช่น การโอนเงินไปมาระหว่างบัญชีหลาย ๆ บัญชีบ่อยครั้ง กรมสรรพากรอาจจะสงสัยว่าเรามีการฟอกเงินหรือทำผิดกฎหมายได้ ซึ่งจำนวนหารโอนเงินที่กำหนดไว้มีดังนี้ ถูกสรรพากรเรียกตรวจสอบต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง? เมื่อถูกกรมสรรพากรเรียกตรวจสอบไม่ต้องตกใจไป ให้เราควรเตรียมเอกสารต่าง ๆเกี่ยวข้องให้ครบถ้วนเพื่ออำนวยความสะดวกกับเจ้าหน้าที่และเพื่อป้องกันเอกสารตกหล่นจนมีปัญหาตามมาได้ ซึ่งเอกสารที่ควรเตรียมโดยทั่วไปจะมีดังนี้ ต้องทำยังไงถึงจะไม่เสียภาษี เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงภาษีที่จะต้องเสียในแต่ละปีได้ เพราะนอกจากจะเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องเสียภาษีตามกฎหมายแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานและการบริการสาธารณะต่างๆ อย่างไรก็ตาม เราสามารถลดหย่อนภาษีที่ต้องจ่ายอย่างถูกกฎหมายด้วยวิธีการ ดังนี้ สิ่งที่ไม่ควรทำ การโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ทุกวันเป็นเรื่องปกติของคนส่วนใหญ่ แต่ทั้งนี้เงินเข้าออกบัญชีบ่อย ๆ อาจนำมาซึ่งปัญหาที่คุณไม่คาดคิดขึ้นได้ ดังนั้น การโอนเงินอย่างมีระเบียบและวางแผนอย่างรอบคอบจะสามารถช่วยลดค่าธรรมเนียมที่ไม่จำเป็น และลดปัญหาด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะปัญหาด้านกฎหมายได้ นอกจากนี้ การรู้จักการจัดการธุรกรรมของตนเองจะช่วยให้คุณสามารถปกป้องทรัพย์สินของตัวเองให้ปลอดภัยได้อีกด้วย ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

9 พ.ค. 2024

จักรพงษ์

10 min

ยูทูปเบอร์ อินฟลูเอนเซอร์ และคอนเทนต์ครีเอเตอร์ เสียภาษีอย่างไร?

คอนเทนต์ครีเอเตอร์เสียภาษีอย่างไร? … เมื่อรายได้ทั้งปีเกิน 6 หมื่นบาทต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ครึ่งปี(ภ.ง.ด.94) และประจำปี(ภ.ง.ด.90) โดยไม่สนใจว่าจะมีภาษีที่ต้องจ่ายหรือไม่ ทั้งนี้ถ้ารายได้ทั้งปีเกิน 1.8 ล้านบาทจะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเรียกเก็บภาษีอีก 7% ให้กรมสรรพากรด้วย การแข่งขันอย่างดุเดือดบนโลกออนไลน์ทำให้เกิดแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียใหม่ๆเกิดขึ้นจำนวนมาก ซึ่งอีกหนึ่งอาชีพที่เติบโตไปพร้อมกับกระแสเหล่านี้นี้ คือ คอนเทนต์ครีเอเตอร์(Content Creator) ไม่ว่าจะเป็น ยูทูปเบอร์ (Youtuber) ติ๊กต๊อกเกอร์ (TikToker) หรืออินฟลูเอนเซอร์(Influencer) ที่จะสร้างเนื้อหาที่มีสาระตลกขบขันเพื่อให้เกิดการกดไลค์ กดแชร์ และกดติดตาม ยิ่งมีคนชื่นชอบมากเท่าไหร่ รายได้ก็จะเยอะขึ้นตาม ไม่ว่าจะเป็นรายได้จากการรับจ้างรีวิวสินค้า หรือส่วนแบ่งจากค่าโฆษณาก็ตาม ทำให้อาชีพกลุ่มนี้เป็นที่จับตามองของกรมสรรพากรว่าเสียภาษีกันบ้างหรือเปล่า แล้วภาษีที่เหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์ต้องรู้มีอะไรบ้าง เรามีดูกันครับ รายได้ของยูทูปเบอร์ ติ๊กต๊อกเกอร์ อินฟลูเอนเซอร์ และคอนเทนต์ครีเอเตอร์  มีอะไรบ้าง? เพราะเป็นอาชีพที่พึ่งได้รับความนิยมมาไม่นาน ในด้านภาษีจึงยังไม่มีข้อกำหนดภาษีสำหรับอาชีพเหล่านี้โดยเฉพาะ การคำนวณภาษีในปัจจุบันจึงต้องนำประเภทรายได้มาพิจารณาดูว่าแต่ละรายได้เป็นประเภทไหน ซึ่งรายได้แต่ละประเภทก็จะมีอัตราค่าใช้จ่ายที่นำมาหักได้ไม่เท่ากันครับ โดยรายได้หลักๆ จะมาจากค่ารีวิวสินค้า ส่วนแบ่งค่าโฆษณา สรุปเป็นตารางได้ดังนี้ครับ เมื่อแยกได้ว่ามีรายได้ประเภทอะไรบ้าง เราก็จะนำไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(Personal Income Tax: PIT) ต่อได้ ในขณะเดียวกันถ้ารายได้รวมเกิน 1.8 ล้านต่อปีก็จะมีภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม(Value Added Tax: VAT) อีก 7% จากรายได้เพิ่มเติม ทีนี้เรามาทำความเข้าใจในแต่ละภาษีกันครับ 1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เมื่อเราทราบประเภทของรายได้ว่าเรามีประเภทไหนบ้าง รวมถึงค่าใช้จ่ายที่สามารถหักได้ตามตารางด้านบนแล้ว ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการคำนวณ ดังนี้ครับ ขั้นตอนที่ 1 : รายได้ หัก ค่าใช้จ่าย หัก ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิขั้นตอนที่ 2 : เงินได้สุทธิ คูณ อัตราภาษีขั้นบรรได 5% – 35% = ภาษีที่ต้องจ่าย ตัวอย่าง นาย ก มีรายได้จากการรับจ้างรีวิวสินค้า 1 ล้านบาท มีรายจ่ายและต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นจริง 5 แสนบาท แต่เนื่องจากการรีวิวสินค้าเป็นรายได้ประเภทที่ 2 ทำให้จะหักค่าใช้จ่ายสูงสุดได้เพียง 1 แสนบาท ภาษีที่ต้องชำระคำนวณได้ดังนี้ Step1:  รายได้ขายสินค้า 1 ล้าน หัก รายจ่าย 1 แสน หัก ลดหย่อนส่วนตัว 6 หมื่น = เงินได้สุทธิ 8.4 แสนStep2 : เงินได้สุทธิ 8.4 แสน คูณ อัตราภาษีขั้นบรรได 5% – 35% = ภาษีที่ต้องจ่าย 83,000 บาทถ้าอยากทราบวิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบละเอียดขึ้น ผมขอแนะนำให้อ่านบทความ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คำนวณภาษีอย่างไร? PEAK ขอเล่า : กำหนดยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถ้าปีใดเรามีรายได้ทั้งปีถึง 6 หมื่นบาท(กรณีสถานะสมรส ต้องรายได้ถึง 1.2 แสนบาท) ต้องมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีละ 2 ครั้งดังนี้ 2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) นอกจากภาษีเงินได้ เราต้องตรวจสอบอีกว่ารายได้รวมกันทั้งปีเกิน 1.8 ล้านบาทหรือไม่ เพราะถ้าปีใดเกินจะมีหน้าที่เพิ่มเติมคือ ต้องจดทะเบียนและเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่รายได้เกิน 1.8 ล้านบาท โดยต้องยื่นเสียภาษีเป็นรายเดือนตามแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป แล้วเมื่อเราต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) หน้าที่ที่คอนเทนต์ครีเอเตอร์ต้องทำเพิ่มเติมคือเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จากผู้จ้างเพิ่มเติม เช่น เดิมเราคิดค่ารีวิวสินค้าครั้ง 1,000 บาท แต่เมื่อเราจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT)แล้ว เราต้องเรียเก็บค่ารีวิวสินค้าเป็น 1,070 บาท โดยเรายังได้รับรายได้เท่าเดิมคือ 1,000 บาท แต่อีก 70 บาท(1,000*7%) เราต้องนำเงินส่งกรมสรรพากร  ในเชิงธุรกิจข้อเสียของการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ทำให้ผู้ว่าจ้างต้องจ่ายเงินแพงขึ้นอีก 7% ถ้าเราไม่ได้โดดเด่นพอ ผู้ว่าจ้างอาจไปใช้บริการคนที่รีวิวสินค้าได้เหมือนเราแต่ค่าตัวถูกกว่า แต่ในส่วนของข้อดีก็มีเช่นกัน คือ เมื่อซื้อสินค้าหรือบริการที่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถนำส่วนที่เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ที่เราจ่ายไปขอคืนได้ หลายคนอาจจะเกิดข้อสงสัยได้ว่าก็เสียภาษีเงินได้ไปแล้ว ทำไมยังต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีก? เพราะภาษีมูลค่าเพิ่มมีวัตถุประสงค์แตกต่างจากภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้เก็บจากรายได้ที่เราได้รับจากการขายสินค้าหรือให้บริการ แต่ภาษีมูลค่าเพิ่มจะเป็นภาษีที่เก็บจากการบริโภคสินค้าหรือใช้บริการ สรุปภาษียูทูปเบอร์ อินฟลูเอนเซอร์ และคอนเทนต์ครีเอเตอร์เสียภาษีอย่างไร? เมื่อเหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์มีรายได้จากการค่ารีวิวสินค้า ค่าโชว์ตัว ส่วนแบ่งโฆษณาต้องยื่นแบบภาษีครึ่งและสิ้นปี(ภ.ง.ด.90/94) พร้อมเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และถ้ารายได้รวมทั้งปีเกิน 1.8 ล้านบาทจะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเรียกเก็บภาษีอีก 7% ให้กรมสรรพากรอีกด้วย หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณต้องการที่ปรึกษาเพื่อวางแผนและจัดการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก

6 พ.ค. 2024

จักรพงษ์

12 min

บุคคลธรรมดามีรายได้น้อย ต้องยื่นแบบเสียภาษีไหม?

เชื่อไหมครับว่ามีหลายคนมักเข้าใจผิดว่าบุคคลธรรมดามีรายได้น้อย หรือเคยโดนหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้วก็ไม่ต้องทำอะไรต่อ ถือว่าไม่มีภาระเกี่ยวกับภาษีอะไรแล้ว ผมขอบอกได้เลยว่าผิด! ครับ จริงๆ แล้วจะมีเกณฑ์ในการพิจารณาการเสียภาษีอยู่  เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น ผมขอแบ่งหน้าที่ของบุคคลธรรมดาออกเป็น 2 เรื่อง คือ หน้าที่ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ และหน้าที่ในการเสียภาษีเงินได้ ครับ 1. หน้าที่ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หน้าที่แรก คือ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล พูดง่ายๆ ก็คือ เป็นการแจ้งต่อเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรว่าในปีที่ผ่านมาว่าบุคคลธรรมดามีรายได้อะไรบ้าง จำนวนเงินทั้งหมดเท่าไหร่ผ่านการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือชื่อสั้นๆ ที่หลายคนอาจเคยได้ยินบ่อยๆ เช่น ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 และ ภ.ง.ด.94  ทั้งนี้คนที่มีหน้ายื่นแบบฯ ต้องเข้า 2 เงื่อนไข คือ หนึ่ง ต้องเป็นบุคคลธรรมดา และสอง มีเงินได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งผมได้เอาเกณฑ์ขั้นต่ำมาทำเป็นตารางเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นดังนี้ PEAK ขอเล่า : เมื่อเข้าเกณฑ์ทั้ง 2 ข้อข้างต้นแล้วก็เข้าเงื่อนไขที่ต้องยื่นแบบ โดยสรรพากรกำหนดระยะเวลาปีละ 2 ครั้ง ดังนี้ 1.1 “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี” เป็นการยื่นแบบแสดงรายการรายได้ประเภท 40(5)-(8) เช่น ค่าเช่า ค่าวิชาชีพอิสระ ค่าขายสินค้า เป็นต้น ที่ได้รับตั้งแต่มกราคมถึงมิถุนายน โดยยื่นภายในเดือนกันยายนของปีภาษีนั้นด้วยแบบ ภ.ง.ด.94 และภาษีที่เสียนี้นำไปเป็นเครดิตหักออกจากภาษีสิ้นปีได้  เช่น นาย ก มีรายได้จากการขายสินค้า(เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8) ตั้งแต่เดือน 1 – 6 ปี 2566 รวมทั้งหมด 200,000 บาท นาย ก สามารถยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ได้ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม – 30 กันยายน 2566 1.2 “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี” เป็นการยื่นแบบแสดงรายการเงินได้พึงประเมินที่ได้รับแล้วตั้งแต่มกราคมถึงธันวาคม และต้องยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป โดยถ้าทั้งปีมีรายได้จากเงินเดือน(เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1) เพียงอย่างใดให้ยื่นด้วยแบบ ภ.ง.ด. 91 แต่ถ้ามีรายได้ที่มากกว่าเงินเดือนให้ยื่นด้วยแบบ ภ.ง.ด. 90 แทน  เช่น นาย ก มีรายได้จากเงินเดือนเพียงอย่างเดียวที่ได้รับในปี 2566 รวมทั้งหมด 300,000 บาท นาย ก สามารถยื่นแบบ ภ.ง.ด. 91 ได้ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2567 PEAK ขอเล่า : 2. หน้าที่ในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับคนที่ไม่เข้าเงื่อนไขของหน้าที่ในการยื่นแบบภาษี ผมขอยินดีด้วยครับ เพราะนอกจากไม่ต้องยื่นแบบภาษีแล้วก็ไม่ต้องเสียภาษีด้วยครับ แต่ใครที่เข้าเงื่อนไขก็ต้องมาทำขั้นตอนนี้กันต่อ นั่นก็คือการคำนวณยอดภาษีที่ต้องชำระให้กรมสรรพากรกันครับ แต่ไม่ต้องกังวลนะครับ ในขั้นตอนนี้เมื่อคำนวณแล้วอาจจะมียอดภาษีที่ต้องชำระหรืออาจไม่มีภาษีก็ได้ครับ การคำนวณภาษีบุคคลธรรมดาอย่างละเอียดผมขอแนะนำบทความ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คำนวณภาษีอย่างไร? ส่วนวิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเบื้องต้น ผมสรุปให้ดังนี้ครับ Step1: รายได้ หัก ค่าใช้จ่าย หัก ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิStep2 : เงินได้สุทธิ คูณ อัตราภาษีขั้นบรรได 5% – 35% = ภาษีที่ต้องจ่ายStep2: เงินได้สุทธิ คูณ อัตราภาษีขั้นบรรได 5% – 35% = ภาษีที่ต้องจ่าย PEAK ขอเล่า : ตัวอย่าง นาย ก มีรายได้จากการขายสินค้า 1 ล้านบาท มีรายจ่ายและต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นจริง 5 แสนบาท ภาษีที่ต้องชำระคำนวณได้ดังนี้ Step1:  รายได้ขายสินค้า 1 ล้าน หัก รายจ่าย 5 แสน หัก ลดหย่อนส่วนตัว 6 หมื่น = เงินได้สุทธิ 4.4 แสนStep2: เงินได้สุทธิ 4.4 แสน คูณ อัตราภาษีขั้นบรรได 5% – 35% = ภาษีที่ต้องจ่าย 21,500 บาท สรุปแล้ว บุคคลธรรมดามีรายได้น้อย ต้องยื่นแบบเสียภาษีไหม? ผมขอทบทวนอีกให้อีกครั้ง ถ้าเราเป็นบุคคลธรรมดามีรายได้ขั้นต่ำเกินเกณฑ์ที่กำหนดต้องมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90/91/94) เมื่อมีหน้าที่ต้องยื่นแบบก็จะต้องคำนวณยอดภาษีแล้วชำระให้กรมสรรพากรด้วย  แต่ถ้าคำนวณแล้วไม่มีภาษีที่ต้องชำระก็ยื่นแค่แบบแสดงรายการภาษีเงินได้อย่างเดียวได้เลยครับ ขอเตือนตรงจุดนี้ว่าหลายคนมักเข้าใจผิดว่าตนเองเป็น บุคคลธรรมดามีรายได้น้อย ไม่มีภาษีที่ต้องเสียก็ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้จึงโดนปรับกันมาแล้ว จำไว้ว่าหน้าที่ในการยื่นแบบภาษีและหน้าที่ในการเสียภาษีเป็นคนละส่วนกันครับ 3. ผ่อนชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ไหม? สรรพากรเปิดโอกาสให้บุคคลธรรมดาสามารถผ่อนชำระได้ถ้ามีภาษีที่ต้องชำระตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ทั้งภาษีครึ่งปีและภาษีสิ้นปี โดยแบ่งผ่อน 3 งวดเท่า ๆ กันและไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ผู้เสียภาษีติดต่อขอผ่อนชำระได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาโดยใช้แบบบ.ช. 35 จำนวน 1 ชุด 3 แผ่น ข้อความเหมือนกัน โดย งวดที่ 1: ชำระพร้อมยื่นแบบแสดงรายการภายในวันที่ 30 กันยายน หรือวันที่ 31 มีนาคมงวดที่ 2: ชำระภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ต้องชำระงวดที่ 1งวดที่ 3: ชำระภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ต้องชำระงวดที่ 2 ถ้าภาษีงวดใดงวดหนึ่งมิได้ชำระภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ผู้เสียภาษีหมดสิทธิที่จะชำระภาษีเป็นรายงวด และต้องชำระคืนภาษีที่เหลือทั้งหมดพร้อมเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ 4. ถ้าไม่ยื่นแบบแสดงรายการ หรือไม่ชำระภาษีจะมีความผิดอะไรบ้าง หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณต้องการที่ปรึกษาเพื่อวางแผนและจัดการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก

29 พ.ย. 2023

จักรพงษ์

22 min

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คำนวณภาษีอย่างไร?

โดยทั่วไปการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ใช้วิธีดังนี้วิธีที่ 1 = [เงินได้ทั้งปี หัก ค่าใช้จ่าย หัก ค่าลดหย่อน] คูณ อัตราภาษีขั้นบันได 0% – 35% = ภาษีที่ต้องชำระนอกจากนี้กรณีมีเงินได้ประเภท 40(2)-(8) ตั้งแต่ 1.2 แสนบาทขึ้นไป ให้คำนวณวิธีที่ 2 เปรียบเทียบ แล้วเสียภาษีจากวิธีที่คำนวณภาษีได้มากกว่าวิธีที่ 2 = เงินได้ทั้งปี (ยกเว้นเงินได้ 40(1)) คูณ 0.5% = ภาษีที่ต้องชำระ การเสียภาษีถือเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนชาวไทยอย่างเราๆ แม้จะมีรายได้มากหรือน้อยก็ยังต้องเสียภาษีอยู่ดี เช่น พี่เอกเป็นพนักงานบริษัท PEAK เมื่อได้เงินเดือนเกินเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนดก็ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี หรือแม้แต่ป้าชม้อยที่เป็นคนว่างงานเดินเข้าร้านสะดวกซื้อ ซื้อขนมซองละ 20 บาท ก็ยังต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยที่คุณป้าก็ไม่รู้ตัว นอกจากนี้ยังมีภาษีอีกหลายประเภทที่เราต้องจ่ายในชีวิตประจำวัน วันนี้ผมจะพาผู้อ่านทุกคนมารู้จักกับภาษีจากรายได้ที่บุคคลอย่างเราๆ ต้องจ่ายให้รัฐหรือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากันครับ บุคคลธรรมดา คือ ใคร? พอนึกถึงคำว่า “บุคคลธรรมดา” เราคงนึกถึงสิ่งมีชีวิตที่มีสองแขนสองขาที่เรียกว่ามนุษย์แบบเราใช่ไหมครับ แต่รู้หรือไม่ว่าในทางภาษี ไม่ได้หมายถึงแค่บุคคลที่มีชีวิตเท่านั้น แสดงว่าอาจจะเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิตก็ได้เหรอ? ใช่เลยครับ กรมสรรพากรได้กำหนดให้นิยามของ “บุคคลธรรมดา” ครอบคลุมถึง 5 กลุ่ม ดังนี้ เงินได้อะไรบ้างที่ต้องเสียภาษี? ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นภาษีที่จัดเก็บจากรายได้ที่บุคคลหามาได้ไม่ว่าจะด้วยวิธีไหนก็ตาม เพื่อที่จะนำรายได้นั้นไปเป็นฐานเพื่อเสียภาษี ในทางภาษีจะเรียก “รายได้” ว่า “เงินได้” หรือเรียกชื่อเต็มๆ คือ “เงินได้พึงประเมิน” ได้แก่ จะเห็นได้ว่าเงินได้เพื่อเสียภาษีไม่ได้จำกัดว่าต้องรับเป็นเงินเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสิ่งของ หรือผลประโยชน์อื่นๆ เช่น นายจ้างได้เช่าบ้านให้เป็นที่พักอาศัยของพนักงาน ค่าเช่าบ้านจึงถือเป็นเงินได้ของพนักงาน ถือเป็นผลประโยชน์ที่พนักงานได้รับทั้งสิ้น ซึ่งต้องนำมาเสียภาษีด้วย หรือแม้แต่ของที่มีคนเอาให้เราฟรีๆ ก็ยังถือเป็นเงินได้ด้วยนะครับ ก่อนคำนวณภาษี ต้องรู้จักเงินได้พึงประเมิน 8 ประเภทก่อน เนื่องจากแต่ละคนประกอบอาชีพแตกต่างกัน มีความยากง่ายหรือมีต้นทุนที่มากน้อยไม่เท่ากัน เพื่อความเป็นธรรม ในกฎหมายภาษีจึงได้แบ่งลักษณะเงินได้ (พึงประเมิน) ออกเป็นกลุ่มๆ ตามความยากง่ายของงาน และจำนวนเงินที่จ่ายค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนเพื่อกำหนดวิธีคำนวณภาษีให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด เพราะงานที่ใช้ต้นทุนสูงก็ควรหักค่าใช้จ่ายได้เยอะ ถ้าต้นทุนน้อยก็ควรหักค่าใช้จ่ายได้น้อย  ตัวอย่างเช่น เงินได้ประเภทที่ 1 เงินเดือน กำหนดค่าใช้จ่ายให้หักเหมา 50% สูงสุดไม่เกิน 1 แสนบาท เพราะค่าใช้จ่ายในการทำงานของมนุษย์เงินเดือนไม่ได้สูงมากนัก หรือ เงินได้ประเภทที่ 7 ค่ารับเหมาก่อสร้างจะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้สูงถึง 60% เพราะการรับเหมาต้องมีค่าแรงงานและซื้อค่าวัสดุก่อสร้างซึ่งมีมูลค่าที่สูง ถ้าอยากเข้าใจเงินได้ทั้ง 8 ประเภทมากขึ้น ผมขอแนะนำให้อ่านบทความ ต้องรู้ก่อนเสียภาษี เงินได้ 8 ประเภทมีอะไรบ้าง? เพิ่มเติมครับ มาเริ่มคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากัน? หลังที่เรารู้ว่าใครบ้างที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อะไรบ้างที่ถือเป็นเงินได้และประเภทของเงินได้กันแล้ว ก็ถือเวลาที่เราต้องเข้าใจขั้นตอนถัดมา คือ การคำนวณภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาครับ สิ่งแรกที่เราต้องทำคือรวบรวมเงินได้ที่หามาได้ตลอดทั้งปีภาษีมารวมกันครับ (ยกเว้นเงินได้ที่ยกเว้นภาษีหรือที่ไม่ต้องเสียภาษี) และนำไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตาม 3 ขั้นตอน ดังนี้ครับ ขั้นที่ 1 คำนวณหาจำนวนภาษีตาม วิธีที่ 1 ก่อน การหักค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการคำนวณภาษี ถือเป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ สำหรับหักเป็นต้นทุนในการทำงาน โดยมีอัตราการหักค่าใช้จ่ายมากหรือน้อยตามแต่ละประเภทของเงินได้ และบางเงินได้ กรมสรรพากรได้เปิดโอกาสในการเลือกหักค่าใช้จ่ายตามที่จ่ายจริงหรือในอัตราเหมาได้ ดังนี้ การหักลดหย่อน ค่าลดหย่อนเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบในการคำนวณภาษีที่กฎหมายกำหนดให้นำไปหักออกจากเงินได้ได้อีกหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว การหักลดหย่อนกรณีต่างๆ แตกต่างกันออกไป สรุปค่าลดหย่อนพื้นฐานได้ดังนี้            –  เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษา/กีฬา/พัฒนาสังคม หักลดหย่อนได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน            –  เงินบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) หักลดหย่อนได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน            –  เงินบริจาคทั่วไป หักลดหย่อนได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น            –  เงินบริจาคแก่พรรคการเมือง หักลดหย่อนได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อัตราภาษีที่ใช้คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีลักษณะเป็นอัตราก้าวหน้าหรือตามขั้นบันไดตั้งแต่อัตราภาษีต่ำสุด 0% จนถึงเพดานสูงสุดที่ 35% พูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ ถ้ายิ่งมีฐานเงินได้สูง ระดับอัตราภาษีก็จะสูงขึ้นตาม และภาษีที่ต้องจ่ายก็จะมีจำนวนที่มากขึ้น ดังนี้ ขั้นที่ 2 ดูว่าเข้าเงื่อนไขที่ต้องคำนวณภาษีตาม วิธีที่ 2 หรือไม่ ถ้าเข้าเงื่อนไขให้คำนวณวิธีที่ 2 ถ้าไม่เข้าเงื่อนไข ข้ามไปที่ขั้นตอนที่ 3 ได้เลย กรณีที่ต้องคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 ได้แก่ กรณีที่เงินได้ทุกประเภทในปี แต่ไม่รวมเงินได้ประเภทที่ 1 (เงินเดือน) มีจำนวนรวมกันตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป ให้คำนวณในอัตราร้อยละ 0.5 ดังนี้ รายได้ทั้งหมด (ยกเว้นรายได้ประเภทที่1) คูณ 0.5% = ภาษีที่คำนวณได้ตามวิธีที่ 2 จากตัวอย่างในวิธีที่ 1 นาย ก มีรายได้ที่มิใช่ประเภทที่ 1 (เงินเดือน) เฉพาะรายได้ค่าเช่ารถยนต์ 1.5 ล้านบาท จะคำนวณภาษีวิธีที่ 2 ได้ดังนี้ 1,500,000 บาท คูณ 0.5% = 7,500 บาท (ภาษีที่คำนวณได้ตามวิธีที่ 2) หมายเหตุ: หากคำนวณตามวิธีที่ 2 แล้วมีภาษีเงินได้ที่ต้องเสียจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 5,000 บาท ผู้มีเงินได้ ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามวิธีที่ 2 แต่ยังต้องเสียภาษีตามจำนวนที่คำนวณได้ตามวิธีที่ 1 อยู่ ขั้นที่ 3 สรุปจำนวนภาษีที่ต้องเสีย ให้คำนวณภาษีที่คำนวณได้ระหว่างวิธีที่ 1 และวิธีที่ 2 มาเปรียบเทียบกัน โดยต้องเสียภาษีจากภาษีที่คำนวณแล้วเสียสูงกว่า จากนั้นดูต่อว่าระหว่างปีมีภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย ภาษีที่ชำระตอนครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) ภาษีที่ได้ชำระล่วงหน้า หรือเครดิตภาษีเงินปันผล เพราะภาษีเหล่านี้เหมือนเราได้ชำระไปแล้วล่วงหน้า จึงต้องนำมาหักให้เหลือเพียงภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเท่านั้น ในบางกรณีภาษีที่ชำระล่วงหน้าอาจสูงกว่าภาษีที่คำนวณได้ ผู้เสียภาษีสามารถทำเรื่องขอคืนภาษีส่วนเกินนั้นได้ สรุปก็คือ นาย ก จริงๆ ต้องมีภาษีที่ต้องเสียให้กรมสรรพากรรวม 212,500 บาท แต่เนื่องจากระหว่างปีมีการถูกหัก ณ ที่จ่ายภาษีไปบางส่วนแล้ว รวมถึงมีการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) ด้วย ทำให้เหลือภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเติมอีกเพียง 57,500 บาทครับ คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้ว ต้องยื่นภาษีเมื่อไหร่ อย่างไร? เมื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเสร็จแล้ว ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีและเงินภาษีให้กรมสรรพากรภายในเวลาที่กำหนด แต่แบบภาษีที่ใช้ต้องสอดคล้องกับประเภทเงินได้ที่มีในปีนั้น โดยมีแบบภาษีที่เกี่ยวข้อง 3 แบบ ดังนี้ 1. ภ.ง.ด.91 : แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี สำหรับผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานประเภทที่ 1 ประเภทเดียว ต้องยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป 2. ภ.ง.ด.90 : แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี สำหรับผู้มีเงินได้ประเภทที่ 5-8 ต้องยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป 3. ภ.ง.ด.94 : แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ครึ่งปี สำหรับผู้มีเงินได้ประเภทที่ 5-8 ต้องยื่นภายในเดือนกันยายนของทุกปี โดยต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้พร้อมเงินภาษี ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรือกรณียื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตจะขยายเวลาออกไปอีก 8 วัน ผ่อนชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้หรือไม่? เมื่อคำนวณแล้วมีภาษีที่ต้องเสีย กรมสรรพากรเปิดโอกาสให้บุคคลธรรมดาสามารถผ่อนชำระได้ถ้ามีภาษีที่ต้องชำระตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ทั้งภาษีครึ่งปีและภาษีสิ้นปีสามารถขอผ่อนชำระได้ 3 งวดเท่าๆ กัน โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่มใดๆ ผู้เสียภาษีอาจติดต่อขอผ่อนชำระได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาโดยใช้แบบบ.ช. 35 จำนวน 1 ชุด 3 แผ่น ข้อความเหมือนกัน โดย ถ้าภาษีงวดใดงวดหนึ่งมิได้ชำระภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ผู้เสียภาษีหมดสิทธิ์ที่จะชำระภาษีเป็นรายงวด และต้องชำระคืนภาษีที่เหลือทั้งหมดพร้อมเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ ถ้าไม่ยื่นแบบแสดงรายการ หรือไม่ชำระภาษีจะมีความผิดอะไรบ้าง เมื่อเราไม่ยื่นภาษีภายในเวลาที่กำหนดเท่ากับว่าเราจะไม่ได้ยื่นทั้งแบบภาษีและเงินภาษีให้กรมสรรพากรทำให้เราจะมีโทษที่เกี่ยวข้อง 2 เรื่องหลักๆ ดังนี้ 1. กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภายในกำหนดเวลา ต้องระวางโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท 2. กรณีไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลา จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) ของเงินภาษีที่ต้องชำระนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี บทความนี้ชวนผู้อ่านทำความเข้าใจตั้งแต่บุคคลธรรมดาคือใคร เงินได้อะไรที่ต้องเสียภาษี เกณฑ์การหักค่าใช้จ่ายและสิทธิลดหย่อนมีอะไรบ้าง วิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จนถึงการผ่อนชำระภาษีและค่าปรับต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น หวังว่าท่านผู้อ่านจะสามารถนำวิธีการคำนวณภาษีไปประยุกต์ใช้กับประเภทรายได้ของตนเองได้นะครับ หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณต้องการที่ปรึกษาเพื่อวางแผนและจัดการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

8 min

แจกขั้นตอนยื่นภาษีออนไลน์ ภ.ง.ด. 91 พร้อมลิสต์เอกสารที่ต้องใช้

ใกล้ถึงเวลายื่นภาษีประจำปีแล้ว หลายคนอาจกังวลเรื่องการเตรียมเอกสารและขั้นตอนการยื่นภาษี โดยเฉพาะการยื่น ภ.ง.ด.91 ออนไลน์ ที่แม้จะสะดวกกว่าการเดินทางไปสรรพากร แต่ก็มีข้อมูลที่เราต้องรอบคอบก่อนทำการยื่นภาษีอยู่ด้วย ซึ่งก่อนที่เราจะทำการยื่นภาษีออนไลน์กันนั้น เราไปรายละเอียดของดูเอกสาร ขั้นตอน และข้อควรระวังต่าง ๆ กัน การยื่นภาษี ภ.ง.ด.91 ออนไลน์ คืออะไร การยื่น ภ.ง.ด.91 ออนไลน์ เป็นช่องทางที่กรมสรรพากรทำให้การยื่นภาษีสะดวกมากขึ้น โดยสามารถยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ต้องเดินทางไปสำนักงานสรรพากร ระบบจะช่วยคำนวณภาษีให้อัตโนมัติ ไม่ต้องกังวลเรื่องความผิดพลาด และยังสามารถบันทึกข้อมูลไว้ใช้อ้างอิงในปีถัดไปได้ นอกจากนี้ ยังช่วยประหยัดทรัพยากรและลดการใช้กระดาษ ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผู้ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 ผู้มีหน้าที่ยื่น ภ.ง.ด.91 ออนไลน์ คือผู้ที่มีรายได้จากการจ้างแรงงานเพียงประเภทเดียว โดยแบ่งเป็นสองกรณี คือ กรณีโสดที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี และกรณีสมรสที่มีรายได้รวมกันเกิน 220,000 บาทต่อปี ทั้งนี้ รายได้ดังกล่าวต้องเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนจากการทำงานให้นายจ้างเท่านั้น ไม่รวมรายได้จากแหล่งอื่น เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นภาษี ภ.ง.ด.91 ออนไลน์ ก่อนเริ่มยื่น ภ.ง.ด.91 ออนไลน์ เราควรเตรียมเอกสารให้พร้อม เพื่อความสะดวกในการกรอกข้อมูลและป้องกันความผิดพลาด โดยเอกสารจะแตกต่างกันระหว่างผู้ที่มีสถานะโสดและสมรส มาดูกันว่าแต่ละกลุ่มต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง คนโสด สำหรับผู้มีสถานะโสด เอกสารหลักที่ต้องเตรียมคือหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) จากนายจ้าง ซึ่งแสดงรายได้และภาษีที่ถูกหักไว้ตลอดปี ซึ่งหากเรามีตัวช่วยลดหย่อนภาษีในด้านต่าง ๆ ต้องเตรียมหลักฐานประกอบ เช่น ใบเสร็จค่าเบี้ยประกันชีวิตและสุขภาพ หนังสือรับรองการซื้อกองทุน RMF/SSF/SSFX หลักฐานการบริจาค และใบเสร็จจากโครงการช้อปดีมีคืน รวมถึงหนังสือรับรองดอกเบี้ยเงินกู้จากสถาบันการเงินกรณีผ่อนบ้าน ทั้งนี้ควรจัดเก็บเอกสารในรูปแบบไฟล์ดิจิทัลเพื่อความสะดวกในการอัพโหลด คนมีคู่ ผู้ที่สมรสแล้วต้องเตรียมเอกสารเพิ่มเติมนอกเหนือจากหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) คือ ทะเบียนสมรสและใบสูติบัตรบุตร(ถ้ามี) สำหรับการลดหย่อน ส่วนเอกสารการลดหย่อนอื่น ๆ เหมือนกับคนโสด ได้แก่ ใบเสร็จค่าเบี้ยประกัน หลักฐานการลงทุนในกองทุน หลักฐานการบริจาค ใบเสร็จช้อปดีมีคืน และหนังสือรับรองดอกเบี้ยเงินกู้ โดยสามารถนำค่าลดหย่อนของคู่สมรสมารวมในการคำนวณภาษีได้ ขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์ ภ.ง.ด. 91 ยื่นภาษีไม่ทันหรือชำระภาษีไม่ทันทำอย่างไรดี กรณีที่ไม่สามารถยื่น ภ.ง.ด.91 ออนไลน์ หรือชำระภาษีได้ทันตามกำหนด จะมีบทลงโทษตามกฎหมาย โดยหากมีภาษีที่ต้องชำระ จะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน นับจากวันที่เลยเวลาจ่าย และต้องเสียค่าปรับอีกหนึ่งเท่าของภาษีที่ต้องชำระ ส่วนกรณีที่ไม่มีภาษีต้องชำระแต่ยื่นแบบล่าช้า จะถูกปรับ 1,000 บาท ดังนั้นควรวางแผนยื่นภาษีล่วงหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับและเงินเพิ่ม การยื่นภ.ง.ด.91 ออนไลน์ทำให้การจัดการภาษีง่ายมากขึ้น เพียงเตรียมเอกสารให้พร้อมและทำความเข้าใจขั้นตอนการยื่นแบบผ่านระบบออนไลน์ ทั้งนี้ควรวางแผนยื่นล่วงหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับและเงินเพิ่ม โดยสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร หรือโทรสอบถามที่ 1161  PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ รองรับการทำ ภ.ง.ด. 91 (ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี) โดยช่วยคำนวณภาษีและจัดทำรายงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ระบบสามารถบันทึกและสรุปข้อมูลรายได้ ค่าใช้จ่าย และการหักภาษี ณ ที่จ่าย พร้อมทั้งสร้างแบบฟอร์มภ.ง.ด. 91 ที่สามารถยื่นผ่านระบบออนไลน์ได้ทันที ช่วยให้การยื่นภาษีเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว และถูกต้อง ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

8 min

โอนเงินเข้าออกบ่อยเป็นไรไหม เงินเข้าออกบัญชีห้ามเกินกี่ครั้ง

การโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นการทำธุรกรรมทางการเงินที่นอกจากเป็นเรื่องปกติในการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ยังกลายเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้สำหรับคนส่วนใหญ่อีกด้วย หลายคนมักจะนิยมใช้เพื่อซื้อสินค้าออนไลน์ ไปจนถึงการโอนเงินให้เพื่อนหรือครอบครัวก็ตาม ซึ่งการโอนเงินผ่านระบบนั้น นับว่าช่วยทำให้ชีวิตได้รับสะดวกสบายมากขึ้น แต่ทั้งนี้หากมีการเงินเข้าออกบัญชีบ่อย หลายคนอาจจะเกิดคำถามว่าโอนเงินเข้าออกบ่อยเป็นไรไหม และมีผลกระทบอะไรกับเราบ้างไปดูกัน โอนเงินเข้าออกบ่อยเป็นไรไหม ตามจริงแล้วเงินเข้าออกบัญชีบ่อย ๆ ไม่ได้ผิดกฎหมาย แต่หากทำบ่อยเกินไปและมีมูลค่ารวมที่สูง ก็อาจถูกตรวจสอบภาษีได้ เนื่องจากกรมสรรพากรต้องการตรวจสอบว่าที่มาของเงินนั้นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ และตรวจสอบที่มาของเงินเพื่อป้องกันการฟอกเงินหรือการได้เงินมาแบบผิดกฎหมายนั่นเอง เงินเข้าออกบัญชีบ่อยห้ามเกินกี่ครั้ง ปัจจุบันมีกฎหมายที่ระบุว่าสามารถมีการโอนเงินเข้าออกบัญชีห้ามเกินกี่ครั้งต่อปีขึ้นมา ซึ่งถ้าหากมีการโอนเงินเข้าออกบัญชีจำนวนมาก และมีมูลค่าสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ธนาคารจะต้องรายงานข้อมูลให้กรมสรรพากรทราบ และหากพฤติกรรมการทำธุรกรรมผิดปกติ เช่น การโอนเงินไปมาระหว่างบัญชีหลาย ๆ บัญชีบ่อยครั้ง กรมสรรพากรอาจจะสงสัยว่าเรามีการฟอกเงินหรือทำผิดกฎหมายได้ ซึ่งจำนวนหารโอนเงินที่กำหนดไว้มีดังนี้ ถูกสรรพากรเรียกตรวจสอบต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง? เมื่อถูกกรมสรรพากรเรียกตรวจสอบไม่ต้องตกใจไป ให้เราควรเตรียมเอกสารต่าง ๆเกี่ยวข้องให้ครบถ้วนเพื่ออำนวยความสะดวกกับเจ้าหน้าที่และเพื่อป้องกันเอกสารตกหล่นจนมีปัญหาตามมาได้ ซึ่งเอกสารที่ควรเตรียมโดยทั่วไปจะมีดังนี้ ต้องทำยังไงถึงจะไม่เสียภาษี เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงภาษีที่จะต้องเสียในแต่ละปีได้ เพราะนอกจากจะเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องเสียภาษีตามกฎหมายแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานและการบริการสาธารณะต่างๆ อย่างไรก็ตาม เราสามารถลดหย่อนภาษีที่ต้องจ่ายอย่างถูกกฎหมายด้วยวิธีการ ดังนี้ สิ่งที่ไม่ควรทำ การโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ทุกวันเป็นเรื่องปกติของคนส่วนใหญ่ แต่ทั้งนี้เงินเข้าออกบัญชีบ่อย ๆ อาจนำมาซึ่งปัญหาที่คุณไม่คาดคิดขึ้นได้ ดังนั้น การโอนเงินอย่างมีระเบียบและวางแผนอย่างรอบคอบจะสามารถช่วยลดค่าธรรมเนียมที่ไม่จำเป็น และลดปัญหาด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะปัญหาด้านกฎหมายได้ นอกจากนี้ การรู้จักการจัดการธุรกรรมของตนเองจะช่วยให้คุณสามารถปกป้องทรัพย์สินของตัวเองให้ปลอดภัยได้อีกด้วย ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

9 พ.ค. 2024

จักรพงษ์

10 min

ยูทูปเบอร์ อินฟลูเอนเซอร์ และคอนเทนต์ครีเอเตอร์ เสียภาษีอย่างไร?

คอนเทนต์ครีเอเตอร์เสียภาษีอย่างไร? … เมื่อรายได้ทั้งปีเกิน 6 หมื่นบาทต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ครึ่งปี(ภ.ง.ด.94) และประจำปี(ภ.ง.ด.90) โดยไม่สนใจว่าจะมีภาษีที่ต้องจ่ายหรือไม่ ทั้งนี้ถ้ารายได้ทั้งปีเกิน 1.8 ล้านบาทจะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเรียกเก็บภาษีอีก 7% ให้กรมสรรพากรด้วย การแข่งขันอย่างดุเดือดบนโลกออนไลน์ทำให้เกิดแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียใหม่ๆเกิดขึ้นจำนวนมาก ซึ่งอีกหนึ่งอาชีพที่เติบโตไปพร้อมกับกระแสเหล่านี้นี้ คือ คอนเทนต์ครีเอเตอร์(Content Creator) ไม่ว่าจะเป็น ยูทูปเบอร์ (Youtuber) ติ๊กต๊อกเกอร์ (TikToker) หรืออินฟลูเอนเซอร์(Influencer) ที่จะสร้างเนื้อหาที่มีสาระตลกขบขันเพื่อให้เกิดการกดไลค์ กดแชร์ และกดติดตาม ยิ่งมีคนชื่นชอบมากเท่าไหร่ รายได้ก็จะเยอะขึ้นตาม ไม่ว่าจะเป็นรายได้จากการรับจ้างรีวิวสินค้า หรือส่วนแบ่งจากค่าโฆษณาก็ตาม ทำให้อาชีพกลุ่มนี้เป็นที่จับตามองของกรมสรรพากรว่าเสียภาษีกันบ้างหรือเปล่า แล้วภาษีที่เหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์ต้องรู้มีอะไรบ้าง เรามีดูกันครับ รายได้ของยูทูปเบอร์ ติ๊กต๊อกเกอร์ อินฟลูเอนเซอร์ และคอนเทนต์ครีเอเตอร์  มีอะไรบ้าง? เพราะเป็นอาชีพที่พึ่งได้รับความนิยมมาไม่นาน ในด้านภาษีจึงยังไม่มีข้อกำหนดภาษีสำหรับอาชีพเหล่านี้โดยเฉพาะ การคำนวณภาษีในปัจจุบันจึงต้องนำประเภทรายได้มาพิจารณาดูว่าแต่ละรายได้เป็นประเภทไหน ซึ่งรายได้แต่ละประเภทก็จะมีอัตราค่าใช้จ่ายที่นำมาหักได้ไม่เท่ากันครับ โดยรายได้หลักๆ จะมาจากค่ารีวิวสินค้า ส่วนแบ่งค่าโฆษณา สรุปเป็นตารางได้ดังนี้ครับ เมื่อแยกได้ว่ามีรายได้ประเภทอะไรบ้าง เราก็จะนำไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(Personal Income Tax: PIT) ต่อได้ ในขณะเดียวกันถ้ารายได้รวมเกิน 1.8 ล้านต่อปีก็จะมีภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม(Value Added Tax: VAT) อีก 7% จากรายได้เพิ่มเติม ทีนี้เรามาทำความเข้าใจในแต่ละภาษีกันครับ 1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เมื่อเราทราบประเภทของรายได้ว่าเรามีประเภทไหนบ้าง รวมถึงค่าใช้จ่ายที่สามารถหักได้ตามตารางด้านบนแล้ว ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการคำนวณ ดังนี้ครับ ขั้นตอนที่ 1 : รายได้ หัก ค่าใช้จ่าย หัก ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิขั้นตอนที่ 2 : เงินได้สุทธิ คูณ อัตราภาษีขั้นบรรได 5% – 35% = ภาษีที่ต้องจ่าย ตัวอย่าง นาย ก มีรายได้จากการรับจ้างรีวิวสินค้า 1 ล้านบาท มีรายจ่ายและต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นจริง 5 แสนบาท แต่เนื่องจากการรีวิวสินค้าเป็นรายได้ประเภทที่ 2 ทำให้จะหักค่าใช้จ่ายสูงสุดได้เพียง 1 แสนบาท ภาษีที่ต้องชำระคำนวณได้ดังนี้ Step1:  รายได้ขายสินค้า 1 ล้าน หัก รายจ่าย 1 แสน หัก ลดหย่อนส่วนตัว 6 หมื่น = เงินได้สุทธิ 8.4 แสนStep2 : เงินได้สุทธิ 8.4 แสน คูณ อัตราภาษีขั้นบรรได 5% – 35% = ภาษีที่ต้องจ่าย 83,000 บาทถ้าอยากทราบวิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบละเอียดขึ้น ผมขอแนะนำให้อ่านบทความ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คำนวณภาษีอย่างไร? PEAK ขอเล่า : กำหนดยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถ้าปีใดเรามีรายได้ทั้งปีถึง 6 หมื่นบาท(กรณีสถานะสมรส ต้องรายได้ถึง 1.2 แสนบาท) ต้องมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีละ 2 ครั้งดังนี้ 2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) นอกจากภาษีเงินได้ เราต้องตรวจสอบอีกว่ารายได้รวมกันทั้งปีเกิน 1.8 ล้านบาทหรือไม่ เพราะถ้าปีใดเกินจะมีหน้าที่เพิ่มเติมคือ ต้องจดทะเบียนและเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่รายได้เกิน 1.8 ล้านบาท โดยต้องยื่นเสียภาษีเป็นรายเดือนตามแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป แล้วเมื่อเราต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) หน้าที่ที่คอนเทนต์ครีเอเตอร์ต้องทำเพิ่มเติมคือเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จากผู้จ้างเพิ่มเติม เช่น เดิมเราคิดค่ารีวิวสินค้าครั้ง 1,000 บาท แต่เมื่อเราจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT)แล้ว เราต้องเรียเก็บค่ารีวิวสินค้าเป็น 1,070 บาท โดยเรายังได้รับรายได้เท่าเดิมคือ 1,000 บาท แต่อีก 70 บาท(1,000*7%) เราต้องนำเงินส่งกรมสรรพากร  ในเชิงธุรกิจข้อเสียของการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ทำให้ผู้ว่าจ้างต้องจ่ายเงินแพงขึ้นอีก 7% ถ้าเราไม่ได้โดดเด่นพอ ผู้ว่าจ้างอาจไปใช้บริการคนที่รีวิวสินค้าได้เหมือนเราแต่ค่าตัวถูกกว่า แต่ในส่วนของข้อดีก็มีเช่นกัน คือ เมื่อซื้อสินค้าหรือบริการที่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถนำส่วนที่เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ที่เราจ่ายไปขอคืนได้ หลายคนอาจจะเกิดข้อสงสัยได้ว่าก็เสียภาษีเงินได้ไปแล้ว ทำไมยังต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีก? เพราะภาษีมูลค่าเพิ่มมีวัตถุประสงค์แตกต่างจากภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้เก็บจากรายได้ที่เราได้รับจากการขายสินค้าหรือให้บริการ แต่ภาษีมูลค่าเพิ่มจะเป็นภาษีที่เก็บจากการบริโภคสินค้าหรือใช้บริการ สรุปภาษียูทูปเบอร์ อินฟลูเอนเซอร์ และคอนเทนต์ครีเอเตอร์เสียภาษีอย่างไร? เมื่อเหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์มีรายได้จากการค่ารีวิวสินค้า ค่าโชว์ตัว ส่วนแบ่งโฆษณาต้องยื่นแบบภาษีครึ่งและสิ้นปี(ภ.ง.ด.90/94) พร้อมเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และถ้ารายได้รวมทั้งปีเกิน 1.8 ล้านบาทจะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเรียกเก็บภาษีอีก 7% ให้กรมสรรพากรอีกด้วย หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณต้องการที่ปรึกษาเพื่อวางแผนและจัดการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก

6 พ.ค. 2024

จักรพงษ์

12 min

บุคคลธรรมดามีรายได้น้อย ต้องยื่นแบบเสียภาษีไหม?

เชื่อไหมครับว่ามีหลายคนมักเข้าใจผิดว่าบุคคลธรรมดามีรายได้น้อย หรือเคยโดนหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้วก็ไม่ต้องทำอะไรต่อ ถือว่าไม่มีภาระเกี่ยวกับภาษีอะไรแล้ว ผมขอบอกได้เลยว่าผิด! ครับ จริงๆ แล้วจะมีเกณฑ์ในการพิจารณาการเสียภาษีอยู่  เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น ผมขอแบ่งหน้าที่ของบุคคลธรรมดาออกเป็น 2 เรื่อง คือ หน้าที่ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ และหน้าที่ในการเสียภาษีเงินได้ ครับ 1. หน้าที่ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หน้าที่แรก คือ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล พูดง่ายๆ ก็คือ เป็นการแจ้งต่อเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรว่าในปีที่ผ่านมาว่าบุคคลธรรมดามีรายได้อะไรบ้าง จำนวนเงินทั้งหมดเท่าไหร่ผ่านการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือชื่อสั้นๆ ที่หลายคนอาจเคยได้ยินบ่อยๆ เช่น ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 และ ภ.ง.ด.94  ทั้งนี้คนที่มีหน้ายื่นแบบฯ ต้องเข้า 2 เงื่อนไข คือ หนึ่ง ต้องเป็นบุคคลธรรมดา และสอง มีเงินได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งผมได้เอาเกณฑ์ขั้นต่ำมาทำเป็นตารางเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นดังนี้ PEAK ขอเล่า : เมื่อเข้าเกณฑ์ทั้ง 2 ข้อข้างต้นแล้วก็เข้าเงื่อนไขที่ต้องยื่นแบบ โดยสรรพากรกำหนดระยะเวลาปีละ 2 ครั้ง ดังนี้ 1.1 “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี” เป็นการยื่นแบบแสดงรายการรายได้ประเภท 40(5)-(8) เช่น ค่าเช่า ค่าวิชาชีพอิสระ ค่าขายสินค้า เป็นต้น ที่ได้รับตั้งแต่มกราคมถึงมิถุนายน โดยยื่นภายในเดือนกันยายนของปีภาษีนั้นด้วยแบบ ภ.ง.ด.94 และภาษีที่เสียนี้นำไปเป็นเครดิตหักออกจากภาษีสิ้นปีได้  เช่น นาย ก มีรายได้จากการขายสินค้า(เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8) ตั้งแต่เดือน 1 – 6 ปี 2566 รวมทั้งหมด 200,000 บาท นาย ก สามารถยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ได้ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม – 30 กันยายน 2566 1.2 “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี” เป็นการยื่นแบบแสดงรายการเงินได้พึงประเมินที่ได้รับแล้วตั้งแต่มกราคมถึงธันวาคม และต้องยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป โดยถ้าทั้งปีมีรายได้จากเงินเดือน(เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1) เพียงอย่างใดให้ยื่นด้วยแบบ ภ.ง.ด. 91 แต่ถ้ามีรายได้ที่มากกว่าเงินเดือนให้ยื่นด้วยแบบ ภ.ง.ด. 90 แทน  เช่น นาย ก มีรายได้จากเงินเดือนเพียงอย่างเดียวที่ได้รับในปี 2566 รวมทั้งหมด 300,000 บาท นาย ก สามารถยื่นแบบ ภ.ง.ด. 91 ได้ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2567 PEAK ขอเล่า : 2. หน้าที่ในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับคนที่ไม่เข้าเงื่อนไขของหน้าที่ในการยื่นแบบภาษี ผมขอยินดีด้วยครับ เพราะนอกจากไม่ต้องยื่นแบบภาษีแล้วก็ไม่ต้องเสียภาษีด้วยครับ แต่ใครที่เข้าเงื่อนไขก็ต้องมาทำขั้นตอนนี้กันต่อ นั่นก็คือการคำนวณยอดภาษีที่ต้องชำระให้กรมสรรพากรกันครับ แต่ไม่ต้องกังวลนะครับ ในขั้นตอนนี้เมื่อคำนวณแล้วอาจจะมียอดภาษีที่ต้องชำระหรืออาจไม่มีภาษีก็ได้ครับ การคำนวณภาษีบุคคลธรรมดาอย่างละเอียดผมขอแนะนำบทความ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คำนวณภาษีอย่างไร? ส่วนวิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเบื้องต้น ผมสรุปให้ดังนี้ครับ Step1: รายได้ หัก ค่าใช้จ่าย หัก ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิStep2 : เงินได้สุทธิ คูณ อัตราภาษีขั้นบรรได 5% – 35% = ภาษีที่ต้องจ่ายStep2: เงินได้สุทธิ คูณ อัตราภาษีขั้นบรรได 5% – 35% = ภาษีที่ต้องจ่าย PEAK ขอเล่า : ตัวอย่าง นาย ก มีรายได้จากการขายสินค้า 1 ล้านบาท มีรายจ่ายและต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นจริง 5 แสนบาท ภาษีที่ต้องชำระคำนวณได้ดังนี้ Step1:  รายได้ขายสินค้า 1 ล้าน หัก รายจ่าย 5 แสน หัก ลดหย่อนส่วนตัว 6 หมื่น = เงินได้สุทธิ 4.4 แสนStep2: เงินได้สุทธิ 4.4 แสน คูณ อัตราภาษีขั้นบรรได 5% – 35% = ภาษีที่ต้องจ่าย 21,500 บาท สรุปแล้ว บุคคลธรรมดามีรายได้น้อย ต้องยื่นแบบเสียภาษีไหม? ผมขอทบทวนอีกให้อีกครั้ง ถ้าเราเป็นบุคคลธรรมดามีรายได้ขั้นต่ำเกินเกณฑ์ที่กำหนดต้องมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90/91/94) เมื่อมีหน้าที่ต้องยื่นแบบก็จะต้องคำนวณยอดภาษีแล้วชำระให้กรมสรรพากรด้วย  แต่ถ้าคำนวณแล้วไม่มีภาษีที่ต้องชำระก็ยื่นแค่แบบแสดงรายการภาษีเงินได้อย่างเดียวได้เลยครับ ขอเตือนตรงจุดนี้ว่าหลายคนมักเข้าใจผิดว่าตนเองเป็น บุคคลธรรมดามีรายได้น้อย ไม่มีภาษีที่ต้องเสียก็ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้จึงโดนปรับกันมาแล้ว จำไว้ว่าหน้าที่ในการยื่นแบบภาษีและหน้าที่ในการเสียภาษีเป็นคนละส่วนกันครับ 3. ผ่อนชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ไหม? สรรพากรเปิดโอกาสให้บุคคลธรรมดาสามารถผ่อนชำระได้ถ้ามีภาษีที่ต้องชำระตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ทั้งภาษีครึ่งปีและภาษีสิ้นปี โดยแบ่งผ่อน 3 งวดเท่า ๆ กันและไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ผู้เสียภาษีติดต่อขอผ่อนชำระได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาโดยใช้แบบบ.ช. 35 จำนวน 1 ชุด 3 แผ่น ข้อความเหมือนกัน โดย งวดที่ 1: ชำระพร้อมยื่นแบบแสดงรายการภายในวันที่ 30 กันยายน หรือวันที่ 31 มีนาคมงวดที่ 2: ชำระภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ต้องชำระงวดที่ 1งวดที่ 3: ชำระภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ต้องชำระงวดที่ 2 ถ้าภาษีงวดใดงวดหนึ่งมิได้ชำระภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ผู้เสียภาษีหมดสิทธิที่จะชำระภาษีเป็นรายงวด และต้องชำระคืนภาษีที่เหลือทั้งหมดพร้อมเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ 4. ถ้าไม่ยื่นแบบแสดงรายการ หรือไม่ชำระภาษีจะมีความผิดอะไรบ้าง หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณต้องการที่ปรึกษาเพื่อวางแผนและจัดการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก

29 พ.ย. 2023

จักรพงษ์

22 min

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คำนวณภาษีอย่างไร?

โดยทั่วไปการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ใช้วิธีดังนี้วิธีที่ 1 = [เงินได้ทั้งปี หัก ค่าใช้จ่าย หัก ค่าลดหย่อน] คูณ อัตราภาษีขั้นบันได 0% – 35% = ภาษีที่ต้องชำระนอกจากนี้กรณีมีเงินได้ประเภท 40(2)-(8) ตั้งแต่ 1.2 แสนบาทขึ้นไป ให้คำนวณวิธีที่ 2 เปรียบเทียบ แล้วเสียภาษีจากวิธีที่คำนวณภาษีได้มากกว่าวิธีที่ 2 = เงินได้ทั้งปี (ยกเว้นเงินได้ 40(1)) คูณ 0.5% = ภาษีที่ต้องชำระ การเสียภาษีถือเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนชาวไทยอย่างเราๆ แม้จะมีรายได้มากหรือน้อยก็ยังต้องเสียภาษีอยู่ดี เช่น พี่เอกเป็นพนักงานบริษัท PEAK เมื่อได้เงินเดือนเกินเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนดก็ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี หรือแม้แต่ป้าชม้อยที่เป็นคนว่างงานเดินเข้าร้านสะดวกซื้อ ซื้อขนมซองละ 20 บาท ก็ยังต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยที่คุณป้าก็ไม่รู้ตัว นอกจากนี้ยังมีภาษีอีกหลายประเภทที่เราต้องจ่ายในชีวิตประจำวัน วันนี้ผมจะพาผู้อ่านทุกคนมารู้จักกับภาษีจากรายได้ที่บุคคลอย่างเราๆ ต้องจ่ายให้รัฐหรือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากันครับ บุคคลธรรมดา คือ ใคร? พอนึกถึงคำว่า “บุคคลธรรมดา” เราคงนึกถึงสิ่งมีชีวิตที่มีสองแขนสองขาที่เรียกว่ามนุษย์แบบเราใช่ไหมครับ แต่รู้หรือไม่ว่าในทางภาษี ไม่ได้หมายถึงแค่บุคคลที่มีชีวิตเท่านั้น แสดงว่าอาจจะเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิตก็ได้เหรอ? ใช่เลยครับ กรมสรรพากรได้กำหนดให้นิยามของ “บุคคลธรรมดา” ครอบคลุมถึง 5 กลุ่ม ดังนี้ เงินได้อะไรบ้างที่ต้องเสียภาษี? ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นภาษีที่จัดเก็บจากรายได้ที่บุคคลหามาได้ไม่ว่าจะด้วยวิธีไหนก็ตาม เพื่อที่จะนำรายได้นั้นไปเป็นฐานเพื่อเสียภาษี ในทางภาษีจะเรียก “รายได้” ว่า “เงินได้” หรือเรียกชื่อเต็มๆ คือ “เงินได้พึงประเมิน” ได้แก่ จะเห็นได้ว่าเงินได้เพื่อเสียภาษีไม่ได้จำกัดว่าต้องรับเป็นเงินเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสิ่งของ หรือผลประโยชน์อื่นๆ เช่น นายจ้างได้เช่าบ้านให้เป็นที่พักอาศัยของพนักงาน ค่าเช่าบ้านจึงถือเป็นเงินได้ของพนักงาน ถือเป็นผลประโยชน์ที่พนักงานได้รับทั้งสิ้น ซึ่งต้องนำมาเสียภาษีด้วย หรือแม้แต่ของที่มีคนเอาให้เราฟรีๆ ก็ยังถือเป็นเงินได้ด้วยนะครับ ก่อนคำนวณภาษี ต้องรู้จักเงินได้พึงประเมิน 8 ประเภทก่อน เนื่องจากแต่ละคนประกอบอาชีพแตกต่างกัน มีความยากง่ายหรือมีต้นทุนที่มากน้อยไม่เท่ากัน เพื่อความเป็นธรรม ในกฎหมายภาษีจึงได้แบ่งลักษณะเงินได้ (พึงประเมิน) ออกเป็นกลุ่มๆ ตามความยากง่ายของงาน และจำนวนเงินที่จ่ายค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนเพื่อกำหนดวิธีคำนวณภาษีให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด เพราะงานที่ใช้ต้นทุนสูงก็ควรหักค่าใช้จ่ายได้เยอะ ถ้าต้นทุนน้อยก็ควรหักค่าใช้จ่ายได้น้อย  ตัวอย่างเช่น เงินได้ประเภทที่ 1 เงินเดือน กำหนดค่าใช้จ่ายให้หักเหมา 50% สูงสุดไม่เกิน 1 แสนบาท เพราะค่าใช้จ่ายในการทำงานของมนุษย์เงินเดือนไม่ได้สูงมากนัก หรือ เงินได้ประเภทที่ 7 ค่ารับเหมาก่อสร้างจะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้สูงถึง 60% เพราะการรับเหมาต้องมีค่าแรงงานและซื้อค่าวัสดุก่อสร้างซึ่งมีมูลค่าที่สูง ถ้าอยากเข้าใจเงินได้ทั้ง 8 ประเภทมากขึ้น ผมขอแนะนำให้อ่านบทความ ต้องรู้ก่อนเสียภาษี เงินได้ 8 ประเภทมีอะไรบ้าง? เพิ่มเติมครับ มาเริ่มคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากัน? หลังที่เรารู้ว่าใครบ้างที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อะไรบ้างที่ถือเป็นเงินได้และประเภทของเงินได้กันแล้ว ก็ถือเวลาที่เราต้องเข้าใจขั้นตอนถัดมา คือ การคำนวณภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาครับ สิ่งแรกที่เราต้องทำคือรวบรวมเงินได้ที่หามาได้ตลอดทั้งปีภาษีมารวมกันครับ (ยกเว้นเงินได้ที่ยกเว้นภาษีหรือที่ไม่ต้องเสียภาษี) และนำไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตาม 3 ขั้นตอน ดังนี้ครับ ขั้นที่ 1 คำนวณหาจำนวนภาษีตาม วิธีที่ 1 ก่อน การหักค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการคำนวณภาษี ถือเป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ สำหรับหักเป็นต้นทุนในการทำงาน โดยมีอัตราการหักค่าใช้จ่ายมากหรือน้อยตามแต่ละประเภทของเงินได้ และบางเงินได้ กรมสรรพากรได้เปิดโอกาสในการเลือกหักค่าใช้จ่ายตามที่จ่ายจริงหรือในอัตราเหมาได้ ดังนี้ การหักลดหย่อน ค่าลดหย่อนเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบในการคำนวณภาษีที่กฎหมายกำหนดให้นำไปหักออกจากเงินได้ได้อีกหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว การหักลดหย่อนกรณีต่างๆ แตกต่างกันออกไป สรุปค่าลดหย่อนพื้นฐานได้ดังนี้            –  เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษา/กีฬา/พัฒนาสังคม หักลดหย่อนได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน            –  เงินบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) หักลดหย่อนได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน            –  เงินบริจาคทั่วไป หักลดหย่อนได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น            –  เงินบริจาคแก่พรรคการเมือง หักลดหย่อนได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อัตราภาษีที่ใช้คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีลักษณะเป็นอัตราก้าวหน้าหรือตามขั้นบันไดตั้งแต่อัตราภาษีต่ำสุด 0% จนถึงเพดานสูงสุดที่ 35% พูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ ถ้ายิ่งมีฐานเงินได้สูง ระดับอัตราภาษีก็จะสูงขึ้นตาม และภาษีที่ต้องจ่ายก็จะมีจำนวนที่มากขึ้น ดังนี้ ขั้นที่ 2 ดูว่าเข้าเงื่อนไขที่ต้องคำนวณภาษีตาม วิธีที่ 2 หรือไม่ ถ้าเข้าเงื่อนไขให้คำนวณวิธีที่ 2 ถ้าไม่เข้าเงื่อนไข ข้ามไปที่ขั้นตอนที่ 3 ได้เลย กรณีที่ต้องคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 ได้แก่ กรณีที่เงินได้ทุกประเภทในปี แต่ไม่รวมเงินได้ประเภทที่ 1 (เงินเดือน) มีจำนวนรวมกันตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป ให้คำนวณในอัตราร้อยละ 0.5 ดังนี้ รายได้ทั้งหมด (ยกเว้นรายได้ประเภทที่1) คูณ 0.5% = ภาษีที่คำนวณได้ตามวิธีที่ 2 จากตัวอย่างในวิธีที่ 1 นาย ก มีรายได้ที่มิใช่ประเภทที่ 1 (เงินเดือน) เฉพาะรายได้ค่าเช่ารถยนต์ 1.5 ล้านบาท จะคำนวณภาษีวิธีที่ 2 ได้ดังนี้ 1,500,000 บาท คูณ 0.5% = 7,500 บาท (ภาษีที่คำนวณได้ตามวิธีที่ 2) หมายเหตุ: หากคำนวณตามวิธีที่ 2 แล้วมีภาษีเงินได้ที่ต้องเสียจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 5,000 บาท ผู้มีเงินได้ ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามวิธีที่ 2 แต่ยังต้องเสียภาษีตามจำนวนที่คำนวณได้ตามวิธีที่ 1 อยู่ ขั้นที่ 3 สรุปจำนวนภาษีที่ต้องเสีย ให้คำนวณภาษีที่คำนวณได้ระหว่างวิธีที่ 1 และวิธีที่ 2 มาเปรียบเทียบกัน โดยต้องเสียภาษีจากภาษีที่คำนวณแล้วเสียสูงกว่า จากนั้นดูต่อว่าระหว่างปีมีภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย ภาษีที่ชำระตอนครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) ภาษีที่ได้ชำระล่วงหน้า หรือเครดิตภาษีเงินปันผล เพราะภาษีเหล่านี้เหมือนเราได้ชำระไปแล้วล่วงหน้า จึงต้องนำมาหักให้เหลือเพียงภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเท่านั้น ในบางกรณีภาษีที่ชำระล่วงหน้าอาจสูงกว่าภาษีที่คำนวณได้ ผู้เสียภาษีสามารถทำเรื่องขอคืนภาษีส่วนเกินนั้นได้ สรุปก็คือ นาย ก จริงๆ ต้องมีภาษีที่ต้องเสียให้กรมสรรพากรรวม 212,500 บาท แต่เนื่องจากระหว่างปีมีการถูกหัก ณ ที่จ่ายภาษีไปบางส่วนแล้ว รวมถึงมีการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) ด้วย ทำให้เหลือภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเติมอีกเพียง 57,500 บาทครับ คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้ว ต้องยื่นภาษีเมื่อไหร่ อย่างไร? เมื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเสร็จแล้ว ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีและเงินภาษีให้กรมสรรพากรภายในเวลาที่กำหนด แต่แบบภาษีที่ใช้ต้องสอดคล้องกับประเภทเงินได้ที่มีในปีนั้น โดยมีแบบภาษีที่เกี่ยวข้อง 3 แบบ ดังนี้ 1. ภ.ง.ด.91 : แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี สำหรับผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานประเภทที่ 1 ประเภทเดียว ต้องยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป 2. ภ.ง.ด.90 : แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี สำหรับผู้มีเงินได้ประเภทที่ 5-8 ต้องยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป 3. ภ.ง.ด.94 : แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ครึ่งปี สำหรับผู้มีเงินได้ประเภทที่ 5-8 ต้องยื่นภายในเดือนกันยายนของทุกปี โดยต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้พร้อมเงินภาษี ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรือกรณียื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตจะขยายเวลาออกไปอีก 8 วัน ผ่อนชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้หรือไม่? เมื่อคำนวณแล้วมีภาษีที่ต้องเสีย กรมสรรพากรเปิดโอกาสให้บุคคลธรรมดาสามารถผ่อนชำระได้ถ้ามีภาษีที่ต้องชำระตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ทั้งภาษีครึ่งปีและภาษีสิ้นปีสามารถขอผ่อนชำระได้ 3 งวดเท่าๆ กัน โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่มใดๆ ผู้เสียภาษีอาจติดต่อขอผ่อนชำระได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาโดยใช้แบบบ.ช. 35 จำนวน 1 ชุด 3 แผ่น ข้อความเหมือนกัน โดย ถ้าภาษีงวดใดงวดหนึ่งมิได้ชำระภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ผู้เสียภาษีหมดสิทธิ์ที่จะชำระภาษีเป็นรายงวด และต้องชำระคืนภาษีที่เหลือทั้งหมดพร้อมเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ ถ้าไม่ยื่นแบบแสดงรายการ หรือไม่ชำระภาษีจะมีความผิดอะไรบ้าง เมื่อเราไม่ยื่นภาษีภายในเวลาที่กำหนดเท่ากับว่าเราจะไม่ได้ยื่นทั้งแบบภาษีและเงินภาษีให้กรมสรรพากรทำให้เราจะมีโทษที่เกี่ยวข้อง 2 เรื่องหลักๆ ดังนี้ 1. กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภายในกำหนดเวลา ต้องระวางโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท 2. กรณีไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลา จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) ของเงินภาษีที่ต้องชำระนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี บทความนี้ชวนผู้อ่านทำความเข้าใจตั้งแต่บุคคลธรรมดาคือใคร เงินได้อะไรที่ต้องเสียภาษี เกณฑ์การหักค่าใช้จ่ายและสิทธิลดหย่อนมีอะไรบ้าง วิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จนถึงการผ่อนชำระภาษีและค่าปรับต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น หวังว่าท่านผู้อ่านจะสามารถนำวิธีการคำนวณภาษีไปประยุกต์ใช้กับประเภทรายได้ของตนเองได้นะครับ หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณต้องการที่ปรึกษาเพื่อวางแผนและจัดการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก