ธุรกิจ SMEs

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

20 พ.ย. 2024

จักรพงษ์

7 min

ธุรกิจควรมีเงินสดขั้นต่ำกี่เดือน ถึงจะเรียกว่าปลอดภัย

เคยสงสัยกันไหมว่า ธุรกิจควรมีเงินสดสำรองไว้อย่างน้อยกี่บาท จึงจะปลอดภัย? คำว่า ‘ปลอดภัย’ ในที่นี้ หมายถึง มีเงินเพียงต่อการซื้อของมาสต๊อกเพื่อขาย เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายดำเนินงาน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่า รวมถึง เงินเดือนพนักงานที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน ถ้าเรามีเงินเยอะมากๆ เราจะไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องว่าธุรกิจจะขาดสภาพคล่องไหม จะมีเงินจ่ายเจ้าหนี้ไหม แต่ในความเป็นจริงธุรกิจส่วนใหญ่หาเงินมาหมุนในธุรกิจได้ยากและไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่เราควรรู้ว่าควรมีเงินหมุนเวียนอยู่ในธุรกิจขั้นต่ำกี่เดือนจึงจะปลอดภัย ธุรกิจควรถือเงินสดขั้นต่ำกี่เดือน นักธุรกิจหลายๆคน เชื่อกันว่าธุรกิจควรมีเงินสดสำรองไว้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 3-6 เดือน การมีเงินสำรองอย่างน้อย 3-6 เดือนจะช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินการต่อได้ในกรณีที่มีปัญหาขาดรายได้ รายได้เข้ามาน้อยลงหรือมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น การสูญเสียลูกค้ารายใหญ่ หรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันอื่น ๆ หลายคนอาจสงสัยต่อว่า ควรสำรองเงินไว้ 3 เดือน 4 เดือน 5 เดือน หรือ 6 เดือนกันแน่ ทำไมไม่บอกให้ชัดๆ ไปเลย นั่นก็เพราะแต่ละธุรกิจมีเป้าหมายและความเสี่ยงไม่เหมือนกัน เงินสดสำรองที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัย การคำนวณเงินสดสำรองขั้นต่ำ ตอนนี้เรารู้กันแล้วว่าธุรกิจควรมีเงินสดสำรองขั้นต่ำอย่างน้อย 3-6 เดือน แต่คำถามถัดไปคือ แล้วต้องคำนวณอย่างไร? คิดเป็นมูลค่าตัวเงินคือกี่บาท? มาหาคำตอบกันต่อได้เลย เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ขอกำหนดว่าธุรกิจที่จะนำมาเป็นตัวอย่างนี้มีความเสี่ยงต่ำจึงสำรองเงินขั้นต่ำที่ 3 เดือน หรือ 90 วันเท่านั้น วิธีคิดก็คือ ต้องหาว่าในแต่ละวันเรามีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยวันละกี่บาท โดยใช้สูตร (ค่าใช้จ่ายทั้งเดือน/30วัน)จากนั้น จากนั้นให้นำค่าใช้จ่ายต่อวันคูณด้วย 90 วัน (3เดือน) ก็จะได้จำนวนที่ควรสำรองขั้นต่ำ 3 เดือนทันที จำนวนที่ควรสำรอง 3 เดือน = (ค่าใช้จ่ายต่อเดือน) x 3 เดือ ตัวอย่างการคำนวณเงินสดสำรองขั้นต่ำ บริษัท A มีค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่ 30,000 บาท ต้องการมีสำรองเงินสดอย่างน้อย 3 เดือน บริษัท A ควรมีเงินสดสำรองกี่บาท(1) เริ่มจากหาค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อวัน ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อวัน = 30,000 /30 วัน จะได้ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อวันที่ 1,000 บาท (2) คำนวณเงินสดสำรอง 3 เดือน หรือ 90 วัน จำนวนที่ควรสำรอง 3 เดือน = 1,000 x 90 วัน                                      = 90,000 บาทดังนั้นจึงสรุปได้ว่าบริษัท A ควรมีเงินสดสำรองใน 3 เดือน 90,000 บาท ธุรกิจควรสำรองเงินขั้นต่ำอย่างน้อย 3-6 เดือน ซึ่งคำนวณง่ายๆ โดยนำค่าใช้จ่ายเฉลี่ยที่จ่ายต่อวันคูณด้วย 90 วัน (3 เดือน) ซึ่งถ้าใครอยากปลอดภัยมากกว่าก็เปลี่ยนจำนวนวันที่สำรองจาก 90 วัน ไปเป็น 180 วันหรือมากกว่านั้นก็ได้ อย่างไรก็ตามการสำรองเงินที่เหมาะสมควรพิจารณาตามลักษณะและความเสี่ยงของแต่ละธุรกิจและควรวางแผนการบริหารจัดการเงินทุนให้เหมาะสมกับเป้าหมายของธุรกิจนั้นๆ ดังนั้นการมีเครื่องมือจัดการข้อมูลบัญชีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจรับรู้ค่าใช้จ่ายได้อย่างครบถ้วน โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK จะช่วยให้การจัดการบัญชีของคุณง่ายขึ้น ด้วยระบบบัญชีที่ครบครันและตอบโจทย์ทุกความต้องการของธุรกิจ ตั้งแต่การบันทึกบัญชี การออกเอกสาร ไปจนถึงการวิเคราะห์ข้อมูลสำคัญ เพื่อสนับสนุนการเติบโตและเพิ่มโอกาสสู่ความสำเร็จทางธุรกิจ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

19 พ.ย. 2024

PEAK Account

9 min

ขายออนไลน์แบบไหนต้องจดทะเบียนการตลาดแบบตรง

การขายออนไลน์ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในยุคดิจิทัล ธุรกิจหลายประเภทสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายและรวดเร็วผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ อย่างไรก็ตามหากการดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับ “การตลาดแบบตรง” (Direct Marketing) กฎหมายได้กำหนดให้ผู้ประกอบการบางรายต้องดำเนินการจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เพื่อป้องกันความเสียหายต่อผู้บริโภคและส่งเสริมความโปร่งใสในธุรกิจ การตลาดแบบตรงคืออะไร “ตลาดแบบตรง” หมายความว่า การทําตลาดสินค้าหรือบริการในลักษณะของการสื่อสารข้อมูล เพื่อเสนอขายสินค้าหรือบริการโดยตรงต่อผู้บริโภคซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทางและมุ่งหวังให้ผู้บริโภคแต่ละราย ตอบกลับเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงนั้นที่มา: พูดง่ายๆก็คือ การเสนอขายสินค้าหรือบริการโดยตรงถึงผู้บริโภคผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์, อีเมล, ข้อความ SMS, หรือการโฆษณาทางสื่อออนไลน์ที่กระตุ้นให้ผู้บริโภคตอบสนองทันที โดยไม่ผ่านหน้าร้านค้าหรือช่องทางตัวแทนจำหน่าย ขายออนไลน์แบบไหนต้องจดทะเบียนการตลาดแบบตรง วิธีการยื่นคำขอจดทะเบียนการตลาดแบบตรงกับ สคบ. ธุรกิจที่มีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ที่ สคบ. กำหนดนั้น ต้องทำการยื่นคำขอจดทะเบียนการตลาดแบบตรง โดยมีข้อกำหนดดังนี้ อย่างไรก็ตาม บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จะทำการตลาดแบบตรง จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) มิฉะนั้น จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ที่มา : ? ธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นการขึ้นทะเบียนการตลาดแบบตรง การจดทะเบียนการตลาดแบบตรงกับ สคบ. ไม่เพียงแต่เป็นการปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมาย แต่ยังช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจในสายตาผู้บริโภคอีกด้วย  การขายออนไลน์ในรูปแบบการตลาดแบบตรงมีโอกาสสูงในการสร้างรายได้ แต่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงหากร้านค้าออนไลน์ต้องการเติบโตอย่างยั่งยืน การทำบัญชีที่ถูกต้องและเป็นระบบคือกุญแจสำคัญในการบริหารร้านค้าออนไลน์ การเลือกใช้ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถจัดการบัญชีได้ง่ายดายเพียงแค่การเชื่อมต่อ API ให้บันทึกข้อมูลบัญชี สร้างเอกสารอัตโนมัติ ครบถ้วนทุกรายการขาย เพียงเท่านี้ก็ช่วยลดขั้นตอนและลดต้นทุนในการทำงาน  เพื่อให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปอย่างราบรื่นและเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

7 พ.ย. 2024

PEAK Account

7 min

EBITDA คืออะไร? ทำไมนักลงทุนถึงให้ความสำคัญ

EBITDA คือเครื่องมือสำคัญสำหรับนักลงทุนในการวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ เพื่อการตัดสินใจลงทุนที่รอบคอบ นักลงทุนควรเข้าใจทั้งข้อดีและข้อจำกัดของ EBITDA เพื่อใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม EBITDA คืออะไร? EBITDA ย่อมาจาก Earnings Before Interest Taxes Depreciation Amortization หมายถึง กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย ซึ่งเป็นกำไรจากการดำเนินงานของบริษัท EBITDA เป็นตัววัดความสามารถในการทำกำไรของบริษัท โดย วิธีคำนวณ EBITDA จากงบกำไรขาดทุน เมื่อเราพิจารณาผลประกอบการของบริษัท กำไรสุทธิ (Net Profit) อาจเป็นตัวเลขแรกที่เราให้ความสนใจ แต่ตัวเลขนี้ไม่ได้บอกเล่าเรื่องราวทั้งหมดของธุรกิจเสมอไป เนื่องจากกำไรสุทธิไรสุทธินั้นรวมปัจจัยอื่นๆ เช่น ดอกเบี้ย ภาษี และค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการดำเนินงานหลักของธุรกิจ เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังนั้นเราควรดู EBITDA ด้วย เนื่องจาก EBITDA คือเครื่องมือวิเคราะห์ที่จะช่วยให้คุณเห็นภาพความสามารถในการทำกำไรอย่างแท้จริง  สูตรการคำนวณ (1) รายได้จากการขาย – ต้นทุนขาย = กำไรขั้นต้น(2) กำไรขั้นต้น – ค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร = กำไรจากการดำเนินงาน (EBIT)(3) กำไรจากการดำเนินงาน (EBIT) + ค่าเสื่อมราคา (D)+ ค่าตัดจำหน่าย (A) = EBITDA กำไรขั้นต้น (Gross Profit) เปรียบเสมือนการตรวจสอบว่าธุรกิจสามารถขายสินค้าได้กำไรมากน้อยแค่ไหน อย่างไรก็ตาม ต้นทุนของธุรกิจ ยังมีส่วนของค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เพื่อแสดงกำไรที่แท้จริง จึงต้องมีการคำนวณกำไรโดยหักต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารออกแล้ว เรียกว่า “กำไรจากการดำเนินงาน” หรือ EBIT EBIT เป็นกำไรที่หักค่าเสื่อมราคา (Depreciation) และค่าใช้จ่ายตัดจ่าย (Amortization) ซึ่งไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่ทั้งหมดเสียเงินจริงๆ โดยค่าเสื่อมราคา (Depreciation) และค่าใช้จ่ายตัดจ่าย (Amortization) ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายเป็นเพียงภาระทางบัญชี ซึ่งในความเป็นจริงค่าใช้จ่ายดังกล่าวบริษัทได้จ่ายเงินซื้อไปตั้งแต่ต้นแล้ว ดังนั้น EBIT + ค่าเสื่อมราคา (D) +ค่าตัดจำหน่าย (A) = EBITDA นั่นเอง การบวกกลับ ค่าเสื่อมราคา (D)+ ค่าตัดจำหน่าย (A) เข้าไป จะทำให้เห็นกำไรจากการดำเนินงานที่แท้จริงของบริษัท โดยไม่รวมค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้มีผลกระทบต่อกระแสเงินสดจริง และหากนำกำไรจากการดำเนินงาน หักลบด้วย ค่าเสื่อมราคา (D) และ ค่าตัดจำหน่าย (A) จะได้ กำไรสุทธิ (Net Profit) EBITDA เป็นกำไรจากการดำเนินงานจริงๆ เนื่องจากทั้ง I, T, D และ A นั้น ล้วนเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานปกติ เมื่อตัดทั้ง 4 ตัวดังกล่าวออกไป จะทำให้เห็น “ภาพที่แท้จริง” ของการประกอบธุรกิจของบริษัท แต่อย่างไรก็ตาม EBIDA เป็นกำไรแบบหนึ่งในงบกำไรขาดทุน ควรดูกำไรระดับอื่นๆ ประกอบด้วย ทำไม EBITDA จึงสำคัญสำหรับนักลงทุน? แสดงความสามารถในการทำกำไรที่แท้จริง ใช้ในการประเมินมูลค่ากิจการ EBITDA เป็นเครื่องมือสำคัญในการวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ ช่วยให้นักลงทุนและเจ้าของกิจการเห็นภาพรวมการดำเนินงานที่ชัดเจนขึ้น แต่ธุรกิจควรใช้ EBITDA ร่วมกับตัวชี้วัดอื่นๆ เพื่อการตัดสินใจที่รอบคอบ การเข้าใจทั้งข้อดีและข้อจำกัดของ EBITDA จะช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากตัวชี้วัดนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด อย่างไรก็ตาม การที่เราจะนำตัวเลขดังกล่าวมาคำนวณได้อย่างถูกต้องนั้น ธุรกิจควรมีระบบจัดการบัญชีที่ดี เพื่อให้มั่นใจในข้อมูลทางการเงินของคุณ โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK สามารถช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ บันทึกข้อมูลทางการเงินได้อย่างครบถ้วน ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

9 ต.ค. 2024

PEAK Account

10 min

12 ตัววัดความสำเร็จสำหรับผู้ประกอบการ SME (EP.1)

สำหรับธุรกิจ SME การวัดผลการดำเนินงานของธุรกิจถือเป็นเรื่องสำคัญในการประเมินความสำเร็จและวางแผนการเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปแล้วธุรกิจที่กำลังเติบโตมักจะมี Key Metrics หรือตัววัดต่างๆ ในการประเมินสถานการณ์ของธุรกิจ การใช้ตัววัดทางธุรกิจที่เหมาะสมไม่เพียงแต่ช่วยให้ธุรกิจสามารถวิเคราะห์ประสิทธิภาพได้แม่นยำ แต่ยังช่วยในการตัดสินใจในเชิงกลยุทธ์ได้อย่างถูกต้อง ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับ 12 KPI วัดความสำเร็จสำหรับผู้ประกอบการ SME (EP.1) ดังนี้ 1. Gross Margin (อัตรากำไรขั้นต้น) อัตรากำไรขั้นต้น คือ อัตราส่วนเปรียบเทียบผลกำไรขั้นต้นกับยอดขาย บอกถึงความสามารถในการควบคุมต้นทุนสินค้า และการตั้งราคาขายสินค้า หากอัตรากำไรขั้นต้นยิ่งมากแสดงว่าเราขายสินค้าได้ราคาดี ในขณะที่ต้นทุนถูก สูตรคำนวณ อัตรากำไรขั้นต้น = (กำไรขั้นต้น ÷ ยอดขายหรือรายได้หลัก) x 100หน่วย : % 2. Gross Profit (กำไรขั้นต้น) กำไรขั้นต้น คือ กำไรที่เกิดจากรายได้ทั้งหมด หักด้วย ต้นทุนขาย คำนวณจากยอดขายทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการขายสินค้าหรือบริการ กำไรขั้นต้น เป็นตัวช่วยบอกเราได้ว่า สินค้าและบริการของบริษัท สามารถตั้งราคาขายได้สูงกว่าต้นทุนมากน้อยเพียงใด กำไรขั้นต้นยิ่งมากยิ่งดี แสดงว่า ธุรกิจสามารถทำกำไรได้มากจากยอดขายสุทธิ สูตรคำนวณ กำไรขั้นต้น = รายได้ – ต้นทุนขายหน่วย : บาท 3. Net Income (กำไรสุทธิ) กำไรสุทธิ คือ รายได้สุทธิหรือผลกำไรที่บริษัทได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด รวมถึงภาษีและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดสำคัญสำหรับความสามารถในการทำกำไรของบริษัท สูตรคำนวณ กำไรสุทธิ = รายได้รวม – ค่าใช้จ่ายรวมหน่วย : บาท 4. Customer Acquisition Cost (ต้นทุนในการหาลูกค้า) Customer Acquisition Cost (CAC) คือ ต้นทุนในการหาลูกค้า ซึ่งคำนวณมาจากค่าใช้จ่ายทางการตลาดและการขายที่บริษัทใช้ในการหาลูกค้าในช่วงเวลาที่กำหนด อย่างไรก็ตาม ต้นทุนในการหาลูกค้าควรสัมพันธ์กับจำนวนลูกค้าที่ได้มา ต้นทุนในการหาลูกค้า = ค่าใช้จ่ายทั้งหมดทางการตลาดและการขายหน่วย : บาท สูตรคำนวณ ต้นทุนในการหาลูกค้าต่อ 1 ราย = ค่าใช้จ่ายทั้งหมดทางการตลาดและการขาย ÷ จำนวนลูกค้าใหม่ หน่วย : บาท/ราย 5. CAC Payback (ระยะเวลาคืนทุนจากการหาลูกค้า) CAC Payback เป็นระยะเวลาที่ใช้ในการคืนทุนจากการลงทุนในการหาลูกค้า โดยการคำนวณจากระยะเวลาที่ต้องใช้เพื่อให้ได้กำไรที่เท่ากับต้นทุนในการหาลูกค้า CAC Payback ยิ่งน้อยยิ่งดี แสดงว่าใช้ระยะเวลาคืนทุนน้อย สูตรคำนวณ ระยะเวลาคืนทุนจากการหาลูกค้า = (CAC ต่อ 1 ราย ÷ รายได้ที่ได้รับจากลูกค้าต่อ 1 รายต่อเดือน) x อัตรากำไรขั้นต้นหน่วย : เดือน 6. EBITDA Margin (อัตรากำไร EBITDA) อัตรากำไร EBITDA คือกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย คำนวณนำกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทบวกกับ ค่าเสื่อมราคา และบวกกับ ค่าตัดจำหน่าย สูตรคำนวณ อัตรากำไร EBITDA = EBITDA ÷ รายได้ทั้งหมดหน่วย : % 7. EBITDA EBITDA คือ ตัววัดความสามารถในการทำกำไรจากการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งเป็นกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย ทำให้เห็นถึงผลการดำเนินงานโดยตรง ค่า EBITDA ยิ่งมาก แสดงว่าทำกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทได้มาก สูตรคำนวณ EBITDA = กำไรก่อนหักดอกเบี้ย, ภาษี, ค่าเสื่อมราคา, และค่าตัดจำหน่ายหน่วย :บาท 8. Monthly Recurring Revenue (รายได้ที่เกิดขึ้นเป็นประจำต่อเดือน) รายได้ที่เกิดขึ้นเป็นประจำต่อเดือน เป็นจำนวนเงินที่บริษัทคาดว่าจะได้รับเป็นรายเดือนจากลูกค้าที่ใช้บริการแบบสมัครสมาชิกหรือบริการที่มีระยะเวลาสัญญา 9. Annual Recurring Revenue (รายได้ที่เกิดขึ้นซ้ำต่อปี) Annual Recurring Revenue คือ รายได้ที่เกิดขึ้นซ้ำต่อปี เป็นรายได้ที่เกิดขึ้นซ้ำต่อปี เพื่อประเมินอัตราการเติบโต และผลกระทบจากกรณีลูกค้ายกเลิกการเป็นสมาชิก 10. Revenue Run Rate (อัตรารายได้) อัตรารายได้ คือการคาดการณ์รายได้ของธุรกิจที่คาดว่าจะได้รับในอนาคต โดยอิงจากข้อมูลในปัจจุบัน ซึ่งใช้เพื่อคาดการณ์รายได้ประจำปี สูตรคำนวณ อัตรารายได้ = รายได้ในช่วงเวลาสั้น (เช่น หนึ่งเดือน) ×จำนวนช่วงเวลาในปีหน่วย : บาท 11. Expansion Revenue (รายได้จากการขยายตัว) รายได้จากการขยายตัว คือรายได้ที่เกิดจากการขายสินค้าและบริการเพิ่มเติมให้กับลูกค้าเดิม เช่น รายได้จากการอัปเกรดบริการ สูตรคำนวณ รายได้จากการขยายตัว = รายได้จากการเกิดจากการขายเพิ่มเติม−รายได้เดิมของลูกค้าเดิมหน่วย : บาท 12. Average Revenue per User (รายได้เฉลี่ยต่อลูกค้า 1 คน) Average Revenue Per User หรือ ARPU คือ รายได้เฉลี่ยของผู้ให้บริการต่อลูกค้า 1 คน ในช่วงเวลาหนึ่ง มักจะคิดเป็นรายเดือน ARPU เป็นตัววัดที่สำคัญสำหรับการประเมินมูลค่าของลูกค้าแต่ละราย ARPU ยิ่งมาก แสดงว่าธุรกิจมีความสามารถในการสร้างรายได้ต่อหัวของลูกค้าสูง สูตรคำนวณ รายได้เฉลี่ยต่อลูกค้า 1 คน = รายได้จากการให้บริการต่อเดือน ÷ จำนวนผู้ใช้บริการทั้งหมดหน่วย : บาท จะเห็นว่ามีตัวชี้วัดที่หลายหลากในการประเมินประสิทธิภาพของธุรกิจและการวางแผนเชิงกลยุทธ์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแต่ละอุตสาหกรรมอาจมีตัวชี้วัดที่แตกต่างกัน แม้อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ตัววัดอาจเปลี่ยนไปตามช่วงการเติบโตของธุรกิจ การเลือกตัววัดที่เหมาะสม สามารถช่วยให้ธุรกิจมีข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญในการตัดสินใจ ทั้งในด้านการปรับปรุงการดำเนินงานและการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ยังมีตัวชี้วัดความสำเร็จอีกหลายตัวที่น่าสนใจ ซึ่งเราจะนำมาแบ่งปันเพิ่มเติมใน EP.2 อย่าลืมติดตามเพื่อไม่พลาดข้อมูลสำคัญที่จะช่วยยกระดับธุรกิจของคุณ! แหล่งที่มา : PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ พร้อมช่วยจัดการงานบัญชีที่ยุ่งยากของคุณให้เป็นระบบ เพื่อให้คุณติดตามรายงานการเคลื่อนไหวทางการเงินรวมถึงต้นทุนขายได้ นอกจากนี้ยังสามารถรายงานสำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น รายงานสมุดบัญชีรายวัน รายงานแยกประเภท งบกำไรขาดทุน งบฐานะการเงิน ทำให้เห็นกำไร-ขาดทุน แบบ Real-Time ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

3 ต.ค. 2024

PEAK Account

11 min

การใช้ข้อมูลทางบัญชีเพื่อเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจ

ในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการสำนักงานบัญชี การใช้ข้อมูลทางบัญชี งบการเงิน และข้อมูลการตลาดถือเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาและสร้างการเติบโตได้อย่างยั่งยืน บทความนี้จะสรุปภาพรวมความสำคัญของข้อมูลต่างๆ การวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชีเพื่อการบริหารและการนำข้อมูลทางการตลาดมาวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า พร้อมกับการวางแผนการหาลูกค้า ทำไมข้อมูลทางบัญชีถึงความสำคัญในการพัฒนาธุรกิจ ในยุคที่การแข่งขันทางธุรกิจมีความซับซ้อน การใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพช่วยให้ผู้ประกอบการ เข้าใจสถานการณ์ทางธุรกิจของตนเองอย่างลึกซึ้ง ทั้งในด้านการเงิน การตลาดและการปฏิบัติงานภายใน ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้วิเคราะห์และตัดสินใจในการวางแผนทางธุรกิจได้แม่นยำ ช่วยในการประเมินผลการดำเนินงานของธุรกิจและช่วยในการระบุและจัดการความเสี่ยงทางการเงิน การใช้ข้อมูลบัญชีเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงิน ข้อมูลทางบัญชีไม่เพียงแต่เป็นบันทึกการทำธุรกรรม แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจ นักบัญชีสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์เพื่อกำหนดแนวทางการบริหารจัดการต้นทุนและการกำหนดราคาสินค้าและบริการ ที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังช่วยในการคาดการณ์กระแสเงินสด และวางแผนการลงทุนเพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างราบรื่น การวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชี ช่วยผู้ประกอบการและนักบัญชีเข้าใจถึงสถานะการดำเนินธุรกิจอย่างลึกซึ้ง จะแบ่งการวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชีออกเป็นสองกลุ่มหลัก ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชีเพื่อการบริหาร และการวิเคราะห์งบการเงิน 1. การวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชีเพื่อการบริหาร การวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชีเพื่อการบริหารเน้นการให้ข้อมูลสำหรับการตัดสินใจภายในองค์กร ผู้ประกอบการและผู้บริหารใช้ข้อมูลนี้เพื่อวางแผนและควบคุมการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิเคราะห์ที่สำคัญในด้านนี้ ได้แก่ 1.1 การวิเคราะห์ต้นทุน การวิเคราะห์ต้นทุนช่วยให้ผู้ประกอบการทราบถึงต้นทุนในการผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญในการประเมินกำไรและประสิทธิภาพของธุรกิจ โดยจะคำนวณและแยกประเภทต้นทุน เช่น ต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เพื่อช่วยในการกำหนดราคาขาย รวมถึงการคำนวณจุดคุ้มทุน 1.2 การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนเป็นกระบวนการที่ช่วยผู้ประกอบการทราบถึงจำนวนการขายที่จำเป็นเพื่อให้รายได้เท่ากับต้นทุน โดยข้อมูลนี้สำคัญต่อการกำหนดกลยุทธ์ด้านการตลาด การผลิต และการจัดสรรทรัพยากร ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถปรับแผนให้เหมาะสมเพื่อหลีกเลี่ยงการขาดทุน 1.3 การวิเคราะห์งบประมาณ การจัดทำงบประมาณเป็นกระบวนการสำคัญในการควบคุมค่าใช้จ่ายและการลงทุนในธุรกิจ การวิเคราะห์งบประมาณจะช่วยให้ผู้ประกอบการทราบถึงความสามารถในการดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ โดยสามารถปรับปรุงและแก้ไขแผนงานได้ตามสภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง 2. การวิเคราะห์งบการเงิน การวิเคราะห์งบการเงินมุ่งเน้นการพิจารณาสถานะการเงินของธุรกิจ ทั้งในด้านความสามารถในการทำกำไร การจัดการทรัพยากร และภาระหนี้สิน โดยแบ่งเป็นหัวข้อสำคัญดังนี้ 2.1 การวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไร การวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรช่วยให้ผู้ประกอบการประเมินว่าธุรกิจมีความสามารถในการสร้างกำไรจากรายได้ได้มากน้อยเพียงใด โดยใช้ตัวชี้วัดอย่างอัตรากำไรสุทธิ ซึ่งบ่งบอกถึงสัดส่วนของกำไรที่ธุรกิจเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (Return on Equity – ROE) ช่วยให้ทราบว่าธุรกิจใช้ทุนของผู้ถือหุ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด 2.2 การวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน การวิเคราะห์นี้ช่วยให้ผู้ประกอบการทราบว่าธุรกิจมีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ โดยดูจากอัตราส่วนการหมุนเวียนสินทรัพย์ ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการใช้สินทรัพย์เพื่อสร้างรายได้ และอัตราการหมุนเวียนสินค้าคงคลัง ที่บ่งบอกถึงความสามารถในการจัดการสินค้าคงคลัง 2.3 การวิเคราะห์การจัดการสภาพคล่อง การจัดการสภาพคล่องเป็นการประเมินความสามารถของธุรกิจในการชำระหนี้สินระยะสั้น โดยใช้ตัวชี้วัดอย่างอัตราส่วนสภาพคล่อง ซึ่งคำนวณจากการเปรียบเทียบสินทรัพย์หมุนเวียนกับหนี้สินหมุนเวียน ซึ่งตัดสินจากสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็ว เช่น เงินสดและลูกหนี้ 2.4 การวิเคราะห์ภาระหนี้สิน การวิเคราะห์ภาระหนี้สินช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจถึงสถานะหนี้สินของธุรกิจและความเสี่ยงทางการเงิน โดยใช้อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน ซึ่งบ่งบอกถึงจำนวนหนี้สินที่ธุรกิจมีเปรียบเทียบกับทุนของผู้ถือหุ้น ยิ่งอัตราส่วนนี้สูงก็แสดงถึงความเสี่ยงในการที่ธุรกิจจะไม่สามารถชำระหนี้ได้ในอนาคต การใช้ข้อมูลทางบัญชี งบการเงิน และข้อมูลการตลาดเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาธุรกิจของผู้ประกอบการ การวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้เห็นภาพรวมของธุรกิจ เข้าใจพฤติกรรมของลูกค้า และตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างมีข้อมูลสนับสนุน เป็นการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันและความยั่งยืน คลิกเพื่อเรียน! นอกจากข้อมูลทางการเงินแล้ว ข้อมูลการตลาดก็มีความสำคัญในการพัฒนาธุรกิจเช่นกัน ข้อมูลการตลาดช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อของลูกค้า และนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในการพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์จากกรณีศึกษานั้น จะช่วยให้ใช้ข้อมูลได้อย่างถูกต้องมากขึ้น สำหรับนักบัญชีที่สนใจยกระดับสำนักงานบัญชี สู่การเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่คอร์สเรียน การใช้ข้อมูลทางบัญชีเพื่อเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ พร้อมช่วยจัดการงานบัญชีที่ยุ่งยากของคุณให้เป็นระบบ เรามีฟังก์ชั่นแสดงผล Dashboard แบบเรียลไทม์ ที่ช่วยให้เห็นภาพรวมข้อมูลทางบัญชีของธุรกิจได้ง่ายขึ้น เพื่อให้คุณสามารถนำข้อมูลไปใช้ตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ก.ย. 2024

PEAK Account

15 min

12 วิธีเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสำหรับธุรกิจ SME

ธุรกิจ SME ในยุคดิจิทัลต้องเผชิญกับความท้าทายมากมายในการแข่งขัน ทั้งเรื่องเวลาที่จำกัด ทรัพยากรบุคคล และงบประมาณที่จำกัด การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน บทความนี้จะมาแชร์ 12 วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานที่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในธุรกิจ SME ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนงาน การใช้เครื่องมือดิจิทัล หรือการพัฒนาทีมงาน เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจได้เร็วยิ่งขึ้น ข้อดีของการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสำหรับธุรกิจ SME 1. ลดต้นทุนและเพิ่มกำไร การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานช่วยลดต้นทุนการดำเนินงาน การกำจัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นหรือใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยทำงานจะลดการใช้ทรัพยากร เช่น เวลา แรงงาน และวัสดุ ส่งผลให้ธุรกิจสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดียิ่งขึ้น ในขณะเดียวกัน การทำงานที่มีประสิทธิภาพจะเพิ่มผลผลิตและทำให้ธุรกิจสร้างกำไรได้มากขึ้น 2. เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ธุรกิจ SME ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงจากคู่แข่งรายใหญ่ที่มีทรัพยากรและเทคโนโลยีที่ทันสมัย การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้ธุรกิจสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้รวดเร็วขึ้น มีคุณภาพที่ดีกว่า และมีความยืดหยุ่นในการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงของตลาด ซึ่งช่วยให้ธุรกิจสามารถแข่งขันได้ในตลาดที่มีการแข่งขันสูง 3. ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงของตลาด ในยุคที่เทคโนโลยีและความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การมีประสิทธิภาพในการทำงานจะช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่สูญเสียคุณภาพหรือเวลาการผลิตที่สำคัญ การปรับตัวอย่างรวดเร็วเป็นสิ่งจำเป็นในการรักษาความเป็นผู้นำในตลาดและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้ทันท่วงที 4. เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า การทำงานที่มีประสิทธิภาพช่วยให้ธุรกิจสามารถให้บริการลูกค้าได้เร็วขึ้นและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด ส่งผลให้ลูกค้ามีความพึงพอใจในสินค้าและบริการมากยิ่งขึ้น ความพึงพอใจนี้จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า และเพิ่มโอกาสในการสร้างฐานลูกค้าใหม่ ๆ รวมถึงการรักษาลูกค้าเก่า 5. เสริมสร้างความยั่งยืนของธุรกิจ ธุรกิจ SME ที่มีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพจะสามารถใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ การใช้พลังงานและวัสดุอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยลดต้นทุนในระยะยาว รวมถึงการลดของเสียและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มการทำธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน 6. ปรับปรุงความพึงพอใจของพนักงาน การทำงานที่มีประสิทธิภาพช่วยลดความตึงเครียดและภาระงานที่ซ้ำซ้อนของพนักงาน พนักงานจะสามารถทำงานได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิผลมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มความพึงพอใจในการทำงานและลดอัตราการลาออกของพนักงาน พนักงานที่มีความสุขกับการทำงานจะมีแรงจูงใจในการทำงานที่สูงขึ้นและสร้างสรรค์ผลงานที่ดีขึ้นให้กับธุรกิจ 7. เสริมสร้างโอกาสการเติบโต การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพช่วยให้ธุรกิจมีเวลามากขึ้นในการพัฒนากลยุทธ์การเติบโต เช่น การขยายตลาด การเพิ่มผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ และการสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานช่วยให้ธุรกิจ SME มีทรัพยากรที่เพียงพอในการพัฒนาและเติบโตอย่างมั่นคง 12 วิธีเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสำหรับธุรกิจ SME การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจ SME เนื่องจากการทำงานที่มีประสิทธิภาพจะช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และทำให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างมั่นคง บทความนี้จะอธิบายถึงขั้นตอนที่สามารถนำไปใช้เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานของธุรกิจได้อย่างยั่งยืน 1. ทำความเข้าใจกระบวนการทำงานในปัจจุบัน ก่อนที่จะทำการปรับปรุงกระบวนการทำงาน สิ่งแรกที่ต้องทำคือการเข้าใจกระบวนการทำงานที่มีอยู่ในปัจจุบันอย่างถ่องแท้ การวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานที่ใช้อยู่ในขณะนี้จะช่วยให้ทราบถึงความเป็นจริงในการปฏิบัติงานประจำวัน ซึ่งจะเป็นข้อมูลสำคัญในการระบุปัญหาและความล่าช้าที่อาจเกิดขึ้น 2. จัดทำเอกสารกระบวนการทำงานปัจจุบัน การจัดทำเอกสารที่แสดงถึงกระบวนการทำงาน (เช่น Flowchart) และการบันทึกรายละเอียดของแต่ละขั้นตอนเป็นสิ่งที่สำคัญในการเห็นภาพรวมของการทำงานทั้งหมด เอกสารนี้จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สามารถตรวจสอบและเปรียบเทียบการปรับปรุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. กำหนดเป้าหมาย หลังจากที่ได้วิเคราะห์กระบวนการทำงานแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการตั้งเป้าหมายในการปรับปรุงกระบวนการ เป้าหมายเหล่านี้อาจเป็นการลดเวลาในการทำงาน ลดข้อผิดพลาด หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐาน การมีเป้าหมายที่ชัดเจนจะช่วยให้ธุรกิจสามารถวัดผลและประเมินความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลงได้ 4. ระบุปัญหาและจุดคอขวด การระบุปัญหาและจุดคอขวด (Bottleneck) ในกระบวนการทำงานเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก การค้นหาสาเหตุของความล่าช้า ปัญหาที่เกิดขึ้น หรือจุดที่กระบวนการหยุดชะงัก จะช่วยให้สามารถแก้ไขได้อย่างตรงจุด ซึ่งจะส่งผลให้การทำงานมีความราบรื่นมากยิ่งขึ้น 5. การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง การดึงผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น พนักงาน ผู้จัดการ หรือทีมงานจากส่วนอื่น ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและความคิดเห็นจะช่วยให้กระบวนการปรับปรุงเป็นไปอย่างครอบคลุมและมีความสมบูรณ์ การมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายยังช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันและลดความเข้าใจผิดในการปฏิบัติงาน 6. ศึกษาวิธีปฏิบัติที่เหมาะสม การค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการทำงานที่ประสบความสำเร็จจากธุรกิจอื่น ๆ หรือการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้ธุรกิจสามารถนำแนวทางที่ดีมาปรับใช้กับตัวเองได้ การศึกษาและวิเคราะห์กรณีศึกษาที่มีความคล้ายคลึงกับธุรกิจ จะช่วยให้เห็นภาพชัดเจนว่าควรปรับปรุงอะไรและอย่างไร 7. ออกแบบกระบวนการทำงานใหม่ เมื่อได้ข้อมูลและแนวทางจากขั้นตอนก่อนหน้าแล้ว สามารถนำมาออกแบบกระบวนการทำงานใหม่ โดยให้ความสำคัญกับการลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นหรือการใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ กระบวนการทำงานใหม่ควรตอบโจทย์ทั้งด้านเวลาและคุณภาพในการทำงาน 8. บันทึกกระบวนการทำงานที่ได้รับการปรับปรุง หลังจากที่ได้ปรับปรุงกระบวนการทำงานแล้ว ควรบันทึกขั้นตอนใหม่ลงในเอกสารที่จัดทำขึ้น เพื่อให้ทุกคนในทีมสามารถติดตามและทำตามขั้นตอนใหม่ได้อย่างถูกต้อง การจัดทำคู่มือการทำงานที่ชัดเจนจะช่วยลดความสับสนและทำให้กระบวนการทำงานเป็นมาตรฐานเดียวกัน 9. ดำเนินการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป การเปลี่ยนแปลงไม่ควรทำอย่างรวดเร็วเกินไป ควรเริ่มจากการปรับปรุงทีละขั้นตอน เพื่อติดตามผลลัพธ์และดูว่ามีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้นบ้าง การปรับเปลี่ยนอย่างค่อยเป็นค่อยไปจะช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับตัวได้ดีและสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันเวลา 10. จัดอบรมทีมงาน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานแล้ว ควรจัดอบรมให้กับทีมงานเพื่อให้ทุกคนมีความเข้าใจในกระบวนการใหม่และสามารถใช้งานเครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การฝึกอบรมเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงเป็นไปได้อย่างราบรื่น 11. ติดตามผลและวัดผลความสำเร็จ การใช้ตัวชี้วัดหรือ KPI ในการติดตามผลลัพธ์ของการปรับปรุงเป็นสิ่งที่จำเป็น การวัดผลจะช่วยให้ธุรกิจสามารถประเมินได้ว่าการเปลี่ยนแปลงที่ทำนั้นได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายหรือไม่ หากพบว่ามีปัญหาหรือไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จะสามารถปรับแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว 12. ทบทวนและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การปรับปรุงกระบวนการทำงานควรเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง ธุรกิจควรใช้ข้อมูลจากตัวชี้วัดและคำแนะนำต่าง ๆ ที่ได้รับมาพิจารณาและปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ การทำเช่นนี้จะช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับตัวตามความเปลี่ยนแปลงของตลาดและยังคงประสิทธิภาพสูงสุด การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสำหรับธุรกิจ SME ไม่เพียงแต่ช่วยลดต้นทุน แต่ยังช่วยเพิ่มคุณภาพในการทำงาน และนำพาธุรกิจไปสู่ความสำเร็จในระยะยาว การดำเนินการตามวิธีการทั้ง 12 ข้อนี้จะช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับปรุงการทำงานได้อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เรามีฟังก์ชันหลากหลายที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพงานบัญชีของคุณ ไม่ว่าจะเป็น  AI ช่วยแนะนำรายการสินค้า/บริการและผังบัญชีที่ใช้บ่อย ช่วยประหยัดเวลาบันทึกเอกสาร นอกจากนี้ยังมีระบบวิเคราะห์ธุรกิจอย่างมืออาชีพออนไลน์ ที่ช่วยให้เห็นภาพรวมของธุรกิจได้ง่ายขึ้น และฟังก์ชันการจัดการเอกสารทางบัญชีอย่างเป็นระบบ ช่วยให้การจัดการข้อมูลบัญชีเป็นเรื่องง่ายและปลอดภัยมากขึ้น ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

26 ก.ย. 2024

PEAK Account

12 min

7 วิธีการสร้างคุณค่าของแบรนด์ให้ตรงใจลูกค้า

การสร้างคุณค่าให้กับแบรนด์นั้นเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความไว้วางใจและความผูกพันกับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย การสร้างเอกลักษณ์ หรือการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการอย่างต่อเนื่อง บทความนี้จะอธิบาย 7 วิธีการสร้างคุณค่าของแบรนด์ให้ตรงใจลูกค้า เพื่อทำให้แบรนด์ของคุณโดดเด่นและเป็นที่จดจำในตลาด วิธีการสร้างคุณค่าให้แบรนด์ มีดังนี้ 1. กำหนดกลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจน การรู้จักกลุ่มเป้าหมายเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่ง ต้องเข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายของคุณคือใคร มีความต้องการอะไร และปัญหาอะไรที่ลูกค้ากำลังเผชิญอยู่ การวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้อย่างละเอียด เช่น การใช้ข้อมูลประชากร (Demographic) และข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค (Behavioral) จะช่วยให้สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ยกตัวอย่าง สำนักงานบัญชีที่เน้นให้บริการธุรกิจ SMEs ต้องเข้าใจว่าลูกค้าของพวกเขาส่วนใหญ่ต้องการความช่วยเหลือด้านการจัดการภาษีและระบบบัญชีที่ไม่ซับซ้อน การกำหนดกลุ่มเป้าหมายนี้จะช่วยออกแบบบริการที่เหมาะสม เช่น การจัดทำรายงานที่เข้าใจง่ายและไม่ใช้ศัพท์บัญชีซับซ้อน 2. การกำหนดเอกลักษณ์ของแบรนด์ เอกลักษณ์ของแบรนด์ที่ชัดเจนเป็นสิ่งสำคัญในการทำให้แบรนด์แตกต่างจากคู่แข่ง การสร้างเอกลักษณ์สามารถเริ่มต้นจากการพัฒนาค่านิยมหลักของแบรนด์ (Brand Values) ที่สะท้อนถึงวิสัยทัศน์และความเชื่อของบริษัท ซึ่งสิ่งเหล่านี้ควรสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า นอกจากนี้ การใช้สี โลโก้ และการออกแบบที่สอดคล้องกับเอกลักษณ์ของแบรนด์จะช่วยสร้างการจดจำในใจของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น เช่น แบรนด์เครื่องสำอางที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมชาติ อาจเลือกใช้สีเขียวและน้ำตาลในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อสื่อถึงความเป็นธรรมชาติและความยั่งยืน 3. ปรับแต่งคุณค่าแบรนด์ตามกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน แม้ว่าแบรนด์จะมีคุณค่าหลักที่ชัดเจน การปรับแต่งเนื้อหา ผลิตภัณฑ์ หรือบริการให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเจาะจงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม กลุ่มลูกค้าแต่ละกลุ่มอาจมีความต้องการหรือปัญหาที่แตกต่างกัน ดังนั้น การปรับแต่งผลิตภัณฑ์หรือบริการให้ตอบโจทย์กลุ่มต่างๆ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าและเพิ่มยอดขาย ยกตัวอย่างแบรนด์ที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสามารถปรับแต่งผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น ผลิตภัณฑ์สำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนักและผลิตภัณฑ์สำหรับกล้ามเนื้ออาจมีสูตรและการตลาดที่แตกต่างกัน เพื่อรองรับความต้องการที่แตกต่างกันของลูกค้า 4. แก้ไขปัญหาที่กลุ่มเป้าหมายเผชิญ ลูกค้าทุกคนต้องการผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ช่วยแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันของพวกเขา การที่แบรนด์ของคุณสามารถเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาหรือช่วยลดความเจ็บปวดในกระบวนการของลูกค้าได้ จะทำให้คุณได้รับความเชื่อถือและความพึงพอใจมากขึ้น การวิเคราะห์ปัญหาที่ดีจะช่วยให้คุณเข้าใจปัญหาของลูกค้าและสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามความต้องการหรือช่วยแก้ไขปัญหาได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าลูกค้าของคุณคือเจ้าของธุรกิจร้านค้าออนไลน์ พวกเขาอาจมีปัญหากับการจัดการบัญชีที่ซับซ้อน การที่คุณมีบริการหรือระบบที่ช่วยจัดการบัญชีสำหรับร้านค้าออนไลน์ จะทำให้คุณเป็นะเป็นที่ต้องการในตลาดได้ 5. สื่อสารด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องเน้นการใช้ภาษาที่ลูกค้าเข้าใจได้ง่าย ไม่ควรใช้ศัพท์เฉพาะที่ซับซ้อนหรือมีการสื่อสารที่ไม่ชัดเจน เพราะอาจทำให้ลูกค้าเกิดความสับสนและไม่เข้าใจว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณมีประโยชน์อย่างไร ควรใช้ภาษาเรียบง่ายที่สื่อถึงคุณสมบัติเด่นของผลิตภัณฑ์และประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับอย่างชัดเจน การนำเสนอกรณีศึกษา ตัวอย่างการใช้งานจริง หรือคำแนะนำจากลูกค้ารายอื่น จะช่วยเพิ่มความเข้าใจและเชื่อมั่นได้มากยิ่งขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ใช้คำโฆษณาว่า “ผลิตภัณฑ์นี้ช่วยทำความสะอาดคราบสกปรกได้อย่างง่ายดาย และทำให้พื้นผิวของคุณสะอาดเหมือนใหม่” แทนที่จะใช้ประโยคว่า “ผลิตภัณฑ์นี้มีฟอร์มูลาที่ได้รับการพัฒนาอย่างเข้มข้น เพื่อจัดการกับคราบสกปรกที่มีโพลีเมอร์ซึ่งช่วยในการยึดเกาะ”  6. เพิ่มช่องทางสื่อสารผ่าน Social Media Social Media เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการเชื่อมต่อกับลูกค้า คุณสามารถใช้แพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Facebook, Instagram, TikTok หรือ LinkedIn ในการสื่อสารและแสดงให้เห็นถึงคุณค่าแบรนด์ของคุณ การแชร์รีวิวจากลูกค้า กรณีศึกษา หรือการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของแบรนด์ในสายตาลูกค้า เช่น สำนักงานบัญชีอาจใช้ Facebook เพื่อแชร์กรณีศึกษาของลูกค้าที่ได้รับความช่วยเหลือในการลดภาษี พร้อมกับนำเสนอเทคนิคการจัดการบัญชีง่ายๆ ที่ธุรกิจขนาดเล็กสามารถนำไปใช้ได้จริง 7. คอยติดตามและปรับปรุงผลลัพธ์อย่างสม่ำเสมอ สุดท้ายแล้ว การประเมินผลเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างคุณค่าแบรนด์ การทดสอบและการปรับปรุงเป็นกระบวนการที่ควรทำอย่างต่อเนื่อง คุณสามารถใช้แบบสำรวจ สัมภาษณ์ลูกค้า หรือวัดอัตราการแปลง (Conversion Rate) เพื่อวัดผลว่ากลยุทธ์ของคุณได้ผลหรือไม่ เช่น การพัฒนารสชาติหรือบรรจุภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวตามข้อเสนอแนะของลูกค้า การสร้างคุณค่าของแบรนด์ให้ตรงใจลูกค้าเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยการวางแผนและการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ แต่เมื่อทำได้ดี จะช่วยให้แบรนด์ของเติบโตและสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับลูกค้าได้อย่างยั่งยืน จากตัวอย่างจะเห็นว่า การสร้างคุณค่าของแบรนด์ให้ตรงใจลูกค้านั้น สามารถนำมาปรับใช้กับธุรกิจที่เน้นการให้บริการอย่างสำนักงานบัญชีได้ อย่างไรก็ตามการสร้างคุณค่าของแบรนด์เป็นเพียงหนึ่งในวิธีที่จะช่วยให้ลูกค้าเข้าใจและจดจำแบรนด์ของคุณได้ โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจที่เน้นการให้บริการอย่างสำนักงานบัญชียังมีเทคนิคอีกมากมายที่จะช่วยให้นำเสนอแผนงานให้ชนะใจลูกค้าได้หากคุณต้องการพัฒนาและยกระดับการสร้างแบรนด์ของสำนักงานบัญชีไปอีกขั้น สามารถลงทะเบียนคอร์สเรียน การนำเสนอแผนงานเพื่อชนะใจลูกค้า กับเราได้ คอร์สนี้จะช่วยให้สำนักงานบัญชีพัฒนาทักษะการนำเสนอแผนงานที่มีประสิทธิภาพ โดยจะมุ่งเน้นที่ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

31 ต.ค. 2023

PEAK Account

12 min

บริษัทจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล รูปแบบไหนเหมาะกับคุณที่สุด

จากความเห็นของผู้เขียน ปัจจุบันการจัดตั้งในรูปแบบบริษัทจำกัดมีความยืดหยุ่นในเรื่องผู้ก่อตั้งที่เริ่มต้นเพียง 2 คนเท่านั้น โครงสร้างทุนสะดวกต่อการระดมทุน และมีการจำกัดความรับผิดของผู้ถือหุ้นกรณีบริษัทล้มละลาย อีกทั้งไม่มีความแตกต่างในเรื่องอัตราภาษีเมื่อเทียบกับการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จากบทความ ทำธุรกิจในนามบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลประหยัดภาษีที่สุด? (สำหรับท่านผู้อ่านที่อยากเป็นนิติบุคคลให้อ่านอันนี้) มีผู้อ่านหลายท่านสอบถามเข้ามาว่าถ้าอยากเป็นนิติบุคคลบ้าง จะต้องเลือกรูปแบบการจัดตั้งแบบไหนที่เหมาะกับเรา? มีข้อมูลอะไรที่สามารถศึกษาได้เบื้องต้นได้ก่อน?  ครั้งนี้ผมจึงพาทุกคนมารู้จักประเภทของนิติบุคคลสำหรับบุคคลธรรมดาที่กำลังอยากปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจมาเป็นนิติบุคคลว่ามีตัวเลือกอะไรบ้าง ผมขอแนะนำ 2 รูปแบบกิจการที่เป็นที่นิยมในการดำเนินการในรูปแบบนิติบุคคล นั้นก็คือ รูปแบบบริษัทจำกัดและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ทำความเข้าใจรูปแบบกิจการ 1. บริษัทจำกัด เชื่อว่าหลายๆ คนคงจะคุ้นเคยกับรูปแบบนี้ที่สุด เพราะสามารถพบเห็นกันได้ทั่วไป และกว่า 80% ของนิติบุคคลที่จัดตั้งในปี 2565 เป็นรูปแบบบริษัท ซึ่งพอจะประมาณได้ว่ารูปแบบนี้ได้รับความนิยมเลยทีเดียวครับ 2. ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จากข้อมูลจำนวนนิติบุคคลที่จัดตั้งใหม่ในปี 2565 ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือ DBD ระบุว่ามีสัดส่วนของห้างหุ้นส่วนเพียง 20% ของนิติบุคคลที่จดทะเบียนใหม่ แต่บางคนอาจเกิดคำถามหรือเคยเห็นทั้งห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน และห้างหุ้นส่วนจำกัดว่าแตกต่างกันอย่างไร ขอสรุปง่ายๆ ว่าแตกต่างกันที่ความรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการ โดยห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนจะมีเพียงเฉพาะหุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิดในหนี้สินของกิจการ แต่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะหุ้นส่วน 2 ประเภท คือ หุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิดและหุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดในหนี้สินของกิจการ สรุปแล้วจดบริษัทจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดีกว่ากัน? หลังจากที่เราได้เข้าใจลักษณะเบื้องต้นของแต่ละรูปแบบกิจการไปแล้ว ต่อไปก็เป็นท่านที่ต้องเลือกและตัดสินใจว่าแบบไหนที่เราสนใจ ในส่วนที่ทั้งบริษัทจำกัดและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเหมือนกันคือ การจัดทำบัญชีต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีและส่งงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) และกรมสรรพากร (RD) และด้านภาษีก็ต้องจัดทำให้ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร ซึ่งเสียอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราเดียวกัน สำหรับในเรื่องที่แตกต่างที่ต้องพิจารณา ผมจะให้แนวทางเบื้องต้นไว้ 4 เรื่อง ดังนี้ 1. ด้านความน่าเชื่อ 1.1 การรับรู้โดยทั่วไป(Public Perception) : คนทั่วไปมักมองว่าบริษัทจำกัดมีความน่าเชื่อถือกว่า และรูปแบบนี้ก็เป็นที่นิยมในระดับสากลเช่นกัน ขณะที่รูปแบบห้างหุ้นส่วนคนบางส่วนมองเป็นธุรกิจขนาดเล็ก หรือธุรกิจครอบครัว เพราะในอดีตการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจะทำได้ง่ายกว่าบริษัทจำกัด 1.2 ความรับผิดทางกฎหมาย : ในมุมมองของเจ้าหนี้การค้าจะคาดหวังเงินจากการค้าขายเมื่อครบเครดิตเทอม แต่ถ้าบริษัทจำกัดต้องปิดตัวลง เจ้าหนี้อาจได้รับเงินคืนไม่เต็มจำนวนเพราะถ้าหนี้สินที่บริษัทไม่สามารถจ่ายได้ ผู้ถือหุ้นไม่ต้องรับผิดชอบในส่วนที่ขาด แต่ห้างหุ้นส่วนจะมีหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดที่ต้องรับผิดชอบในหนี้สินส่วนนี้เพิ่ม กรณีที่เงินทุนของห้างหุ้นส่วนไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้สิน 2. ด้านความยืดหยุ่น 2.1 การรับรองงบการเงิน : บริษัทจำกัดถูกบังคับให้ต้องมีการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นปีละ 1 ครั้ง เพื่ออนุมัติงบการเงินและส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ภายในระยะเวลาที่กำหนด ขณะที่ห้างหุ้นส่วนไม่ได้มีข้อกำหนดนี้ 2.2 การบริหารงาน : บริษัทจำกัดสามารถแต่งตั้งบุคคลภายนอกเป็นกรรมการบริษัทเพื่อบริหารงานในองค์กรได้ ขณะที่ห้างหุ้นส่วนต้องเป็นหุ้นส่วน (เฉพาะประเภทรับผิดไม่จำกัด) เท่านั้นที่จะสามารถบริหารงานในองค์กรได้ 2.3 การขยายกิจการ : รูปแบบการลงทุนเป็นทุนเรือนหุ้นของบริษัทจำกัดซึ่งเอื้อต่อการขยายกิจการ และการระดมทุนจากบุคคลภายนอกได้ง่ายกว่า อีกทั้งสามารถแปรสภาพไปเป็นบริษัทมหาชนได้ง่ายเพราะมีรูปแบบการลงทุนเป็นหุ้นเช่นเดียวกัน ขณะที่ห้างหุ้นส่วนมีรูปแบบการลงทุนตามสัดส่วนจำนวนเงินที่นำมาลงทุนซึ่งยากต่อการระดมทุนมากกว่า 2.4 การเลิกกิจการ : ห้างหุ้นส่วนถือคุณสมบัติของผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นสำคัญ เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดเสียชีวิตอาจทำให้ห้างหุ้นส่วนต้องเลิกกันได้ (ยกเว้นมีหุ้นส่วนคนอื่นๆ ตกลงเข้ารับซื้อหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นแทน) ขณะที่บริษัทจำกัดถือเรื่องทุนเป็นสำคัญ ไม่ได้มีข้อจำกัดในเรื่องนี้ เมื่อผู้ถือหุ้นเสียชีวิตไม่เป็นเหตุให้บริษัทต้องเลิกกัน 2.5 สิทธิที่ตกแก่ทายาท : สำหรับบริษัทจำกัดเมื่อผู้ถือหุ้นเสียชีวิต ความเป็นผู้ถือหุ้นจะตกทอดไปยังทายาททันทีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1599 และ 1600 ขณะที่ห้างหุ้นส่วนเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนเสียชีวิต ความเป็นหุ้นส่วนจะไม่ตกทอดเป็นมรดกไปยังทายาทเพราะถือว่าเป็นสิทธิเฉพาะตน 3. ความรับผิดในหนี้สินของกิจการ เมื่อเกิดกรณีที่หนี้สินของบริษัทมากกว่าสินทรัพย์หรือทุนของกิจการ บริษัทจำกัดจะถูกกำหนดให้รับผิดชอบในหนี้สินบริษัทไม่เกินกว่าค่าหุ้นที่ต้องชำระ กล่าวง่ายๆ คือ ถ้าหนี้สินมีมากกว่าทุน เจ้าของก็รับผิดชอบต่อบรรดาหนี้สินต่างๆ ไม่เกินกว่าจำนวนทุนที่ต้องชำระ แต่ในกรณีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะมีหุ้นส่วนประเภทที่ไม่จำกัดความรับผิดทำให้เมื่อต้องชำระหนี้สินของห้างหุ้นส่วนแต่ทุนไม่เพียงพอหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดก็ต้องรับผิดชอบในหนี้สินส่วนที่เหลือด้วย ตัวอย่าง : ห้างหุ้นส่วนเจริญจำกัด มีนาย ก เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด และนาย ข เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด ต่อมาห้างหุ้นส่วนล้มละลาย ห้างฯ มีหนี้สินที่ค้างชำระจากการล้มละลายจำนวน 10 ล้านบาท นาย ก ซึ่งเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดต้องรับผิดชอบในการชำระหนี้จนหมด ส่วนนาย ข กรณีที่ชำระเงินตามจำนวนที่ตนรับจะลงหุ้นในห้างฯ ครบถ้วนแล้ว ไม่ต้องร่วมรับผิดในหนี้สินที่เหลืออีกเนื่องจากเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด 4. ค่าธรรมเนียมจดจัดตั้ง กรณีจดจัดตั้งบริษัทจำกัดจะมีค่าธรรมเนียมที่สูงกว่าการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนค่อนข้างมาก อาจเพราะรูปแบบบริษัทจำกัดต้องมีการจัดทำรายงานการประชุมหรือเอกสารทางกฎหมาย และรายงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากกว่า รวมทั้งในอดีตบริษัทจำกัดต้องใช้ผู้เริ่มก่อตั้งถึงเจ็ดคน เลยอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ค่าธรรมเนียมจดจัดตั้งสูงกว่าห้างหุ้นส่วน จากความเห็นของผู้เขียน ปัจจุบันภาพรวมการจัดตั้งในรูปแบบบริษัทจำกัด มีความยืดหยุ่นและมีความน่าเชื่อถือที่มากกว่า อีกทั้งไม่มีความแตกต่างในเรื่องอัตราภาษี หรือความแตกต่างในเรื่องของจำนวนผู้ก่อของบริษัทจำกัดอย่างที่เคยเป็นในอดีตแล้ว แต่อย่างไรก็ตามผู้อ่านต้องใช้ดุลยพินิจหรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อการตัดสินใจในการเลือกรูปแบบนิติบุคคลอีกครั้งอย่างถี่ถ้วน หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณยังไม่แน่ใจ หรือยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเลือกรูปแบบนิติบุคคลไหน แต่อยากได้คนที่ช่วยให้คำปรึกษาหรือช่วยเรื่องการจดจัดตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก

31 ต.ค. 2023

จักรพงษ์

12 min

ทำธุรกิจรูปแบบบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลแบบไหนดีที่สุด?

ถ้าเริ่มต้นธุรกิจได้ด้วยทุนจำนวนน้อย ความเสี่ยงต่ำ หรือไม่แน่ใจในการเติบโตของธุรกิจ การดำเนินธุรกิจในรูปแบบเป็นบุคคลก็เหมาะสมและเพียงพอ แต่ถ้าอยากขยายธุรกิจ ต้องการเพิ่มความน่าเชื่อถือเพื่อระดมทุน อยากจำกัดความเสี่ยงของผู้ลงทุน การทำธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลจะได้ประโยชน์มากกว่า ผู้ประกอบการอาจเคยได้ยินมาว่า “พอเราทำธุรกิจแล้วมีรายได้หรือกำไรถึงจุดหนึ่ง เราควรเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจจากบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคล เช่น บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน” ข้อความนี้เป็นจริงหรือไม่? ผมขอบอกว่า ไม่จริงเสมอไป เพราะมันอยู่ที่หลายปัจจัย ทั้งด้านบริหารธุรกิจ หรือด้านการประหยัดภาษี การตัดสินใจเลือกลักษณะการดำเนินธุรกิจไม่ได้มองแค่ในมุมของตัวเลขหรือจำนวนเงินเท่านั้น แต่ต้องมองให้รอบถึงมุมอื่นๆ ที่ส่งผลต่อรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่เราเลือกด้วย วันนี้ผมอยากชวนทุกคนมาเจาะลึกของทั้งสองมุมมองกันว่าการทำธุรกิจนั้น ควรทำในรูปแบบบุคคลธรรมดาหรือรูปแบบนิติบุคคลจะดีกว่ากันครับ มุมมองด้านธุรกิจ-การบริหาร-บัญชี หลักๆ แล้วบุคคลจะได้เปรียบในเรื่องของความคล่องตัวในการตัดสินใจทางธุรกิจ เพราะไม่ต้องทำเอกสารติดต่อราชการอะไรมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการจดจัดตั้ง การเปลี่ยนแปลง ไปจนถึงการเลิกกิจการ  ในขณะที่นิติบุคคลจะได้เปรียบในเรื่องความน่าเชื่อถือ เพราะกฎหมายกำหนดให้ต้องมีการจัดทำบัญชีเพื่อส่งให้หน่วยงานราชการ ส่งผลให้สถาบันการเงินกล้าที่จะปล่อยกู้ และคนกล้าจะมาร่วมลงทุนเพราะมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่เชื่อถือได้ และตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชี  จุดที่ผมคิดว่าได้เปรียบที่สุดของการทำธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลก็คือ การจำกัดความรับผิดในหนี้สินของธุรกิจเมื่อถูกฟ้องล้มละลายจะไม่กระทบมายังทรัพย์สินส่วนตัวของบุคคลธรรมดาครับ มุมมองด้านภาษี บุคคลไม่ได้ถูกบังคับให้ต้องจัดทำรายการรับหรือจ่ายเงิน แต่รายได้บางประเภท กฎหมายภาษีกำหนดให้ต้องจัดทำ รายงานเงินสดรับ-จ่าย แต่ก็ไม่ได้มีความซับซ้อนเท่าการจัดทำบัญชีของนิติบุคคล เพราะบันทึกตามการรับและจ่ายเงินสด  นอกจากนี้บุคคลธรรมดายังสามารถที่จะเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ ซึ่งหมายความว่า กิจการไม่จำเป็นต้องเก็บเอกสารให้ปวดหัวเลย ซึ่งผู้ประกอบการหลายคนชอบในส่วนนี้ แต่ก็ต้องแลกกับอัตราภาษีที่อาจเสียสูงถึง 35% เลยทีเดียว  ในขณะที่นิติบุคคลต้องจัดทำรายได้-รายจ่ายตามมาตรฐานการบัญชี และหักค่าใช้จ่ายตามจริงเท่านั้น แปลว่าทุกรายได้และรายจ่ายต้องมีเอกสารประกอบและจัดเก็บให้ถูกต้อง ครบถ้วน รวมไปถึงต้องจัดให้มีผู้สอบบัญชีมารับรองงบการเงินอีก ส่งผลให้ภาระในการเตรียมเอกสารต่างๆ และต้นทุนในการจัดการตรงนี้สูง แต่ก็แลกกับการที่นิติบุคคลนั้นสามารถใช้ขาดทุนสะสมในอดีตมาลดภาษีในปีปัจจุบันได้ และก็ยังเสียอัตราภาษีสูงสุดอยู่ที่เพียง 20% เท่านั้น สรุปแล้วการเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลอันไหนดีกว่ากัน ? คำว่า “ดีกว่า” ขึ้นอยู่กับเป้าหมายทางธุรกิจ และการยอมรับความเสี่ยง ถ้าคุณเริ่มต้นธุรกิจได้ด้วยทุนจำนวนน้อย และมีความเสี่ยงต่ำ หรือในกรณีที่คุณพึ่งเริ่มธุรกิจแต่ยังไม่แน่ใจว่าธุรกิจจะเติบโตได้จริงไหม การเป็นบุคคลธรรมดาก็อาจเหมาะสมแล้ว แต่วันไหนที่ธุรกิจคุณเริ่มเติบโตขึ้น การเป็นนิติบุคคลอาจตอบสนองได้มากกว่าถ้าคุณมีความต้องการเหล่านี้ 1. ความต้องการสินเชื่อหรือเงินทุน ถ้าธุรกิจต้องการเงินลงทุนมากขึ้น ความน่าเชื่อถือของธุรกิจจะเริ่มมีความสำคัญมาก เพราะผู้ปล่อยกู้หรือผู้ลงทุนต้องการเอกสารที่บอกได้ว่าธุรกิจของเราทำกำไรได้ดีหรือมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเราจะมีเงินมาคืนเงินกู้หรือสร้างผลตอบแทนได้ให้แก่ผู้ลงทุน การจัดทำบัญชีให้ถูกต้องตามมาตรฐานบัญชีและตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีจะตอบสนองในเรื่องความน่าเชื่อถือได้มาก หากคุณต้องการขยายกิจการโดยใช้เงินคนอื่นมาช่วยด้วย ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ หรือผู้ร่วมลงทุน คุณควรจะทำธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคล 2. ความรับผิดชอบจากการทำธุรกิจเพิ่มมากขึ้น เมื่อธุรกิจโตขึ้น ความเสี่ยงของธุรกิจจะเพิ่มขึ้นตาม เช่น เมื่อเริ่มต้นคุณอาจมีลูกค้าเพียง 10 คน เมื่อเกิดความเสียหายคุณคนเดียวก็อาจจะรับผิดชอบได้ ลองจินตนาการว่าธุรกิจเติบโตจนมีลูกค้า 1,000 คน เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นคุณคนเดียวคงรับมือไม่ไหวแน่ เมื่อธุรกิจล้มละลาย หรือไม่สามารถหาเงินมาจ่ายได้  การเป็นนิติบุคคลจะมีข้อดีที่ช่วยจำกัดความรับผิดในหนี้สินของกิจการที่เกิดขึ้นเพียงไม่เกินจำนวนเงินลงทุนที่คุณ (ในฐานะผู้ถือหุ้น) เคยลงทุนไปในธุรกิจนั้นเท่านั้น ลองจินตนาการว่าถ้าคุณยังเป็นบุคคลธรรมดาอยู่ คุณอาจจะต้องขายรถ ขายบ้าน หรือทรัพย์สินส่วนตัวอื่นๆ มาชดใช้จนกว่าหนี้สินนั้นจะหมด เชื่อว่าคงไม่มีใครอยากอยู่จุดนั้นแน่ 3. การมีผู้ร่วมกิจการมากกว่า 1 คน  การทำธุรกิจคนเดียวนั้นยาก และมีความเสี่ยงที่สูง หากคุณต้องการมีผู้ร่วมก่อตั้งมากกว่า 1 คน คุณก็ควรจะทำธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคล เพื่อแยกความชัดเจนระหว่างทรัพย์สินส่วนตัวและทรัพย์สินของกิจการ และยังช่วยให้เราจัดการเรื่องการแบ่งสรรผลกำไร หรือผลประโยชน์ตามสัดส่วนการถือหุ้นได้ชัดเจนอีกด้วย อย่างไรก็ตามการวางโครงสร้างผู้ถือหุ้นก่อนจัดตั้งนิติบุคคลเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะบางกิจการให้สัดส่วนของผู้ลงทุนที่ไม่ได้บริหารงานมากกว่าผู้ลงทุนที่เข้ามาบริหารงาน ซึ่งจะแก้ไขในภายหลังได้ยาก 4. สามารถเก็บเอกสารทางการค้าได้ครบถ้วน ถูกต้อง เนื่องจากธุรกิจที่ยังดำเนินการในรูปแบบบุคคลยังมีข้อดีที่รายจ่ายที่นำมาหักจากรายได้สามารถเลือกหักแบบหักเหมาได้ พูดง่ายๆ คือ กรมสรรพากรกำหนดอัตรารายจ่ายมาให้เราเลยโดยไม่ต้องสนใจรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริงว่ามีเท่าใด ทำให้เราไม่ต้องเก็บเอกสารรายจ่ายใดๆ เพราะปัญหาชวนปวดหัวอย่างหนึ่งของผู้ประกอบการ คือ การจ่ายเงินแล้วได้ไม่ได้เอกสารรายจ่ายมา เช่น ซื้อของจากผู้ขายที่ไม่รู้ว่าต้องออกเอกสารอะไรให้ หรือซื้อของผู้ขายที่จะหลบภาษีโดยไม่ออกเอกสารให้ รวมถึงเมื่อได้เอกสารมาก็ไม่รู้ว่าอยู่ในรูปแบบที่ถูกต้องหรือใช้ได้ไหม  ในข้อดีก็มีข้อเสีย คือ หลายธุรกิจมีรายจ่ายสูงกว่าที่อัตราที่สรรพากรกำหนดมาให้ เช่น ธุรกิจขายของออนไลน์จะหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้สูงสุด 60% ขณะที่ความเป็นจริงต้นทุนของสินค้าอาจสูงถึง 80% การหักเหมาก็จะทำให้เราเสียผลประโยชน์ตรงนี้ไป แต่ถ้าเราสามารถเรียกเอกสารจากผู้ขายได้เราก็จะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริงและเสียภาษีลดลงนั่นเอง  5. อยากทำบัญชีให้ถูกต้อง และประหยัดภาษี เรื่องนี้ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะจุดเริ่มต้นของการประหยัดภาษีต้องมาจากการทำบัญชีที่ ถูกต้องก่อน จะทำให้เห็นภาพรวมที่แท้จริงของกิจการ และสามารถนำไปวางแผนเพื่อเสียภาษีให้ประหยัดอย่างถูกต้องได้ เพราะถ้าคุณอยากประหยัดภาษีโดยวิธีที่ผิด ผลกระทบที่ตามมานอกจากงบการเงินจะไม่สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจได้แล้ว ภาษีที่จะประหยัดได้จากการหลบเลี่ยงก็อาจไม่ได้ประหยัดอย่างที่คิด ก็เพราะปัจจุบันสรรพากรนำเทคโนโลยีหลายอย่างเข้ามาช่วยตรวจสอบภาษีทำให้ปัจจุบันเราจะเห็นคนโดนตรวจสอบภาษีย้อนหลังมากขึ้นและง่ายขึ้นมา นอกจากภาษีที่ต้องจ่ายคืนแล้ว ยังต้องรับโทษค่าปรับอีกจำนวนมหาศาลเลย หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณยังไม่แน่ใจว่าจะเป็นบุคคลหรือนิติบุคคล แต่อยากได้คนที่ช่วยให้คำปรึกษาเพื่อการตัดสินใจที่ดีที่สุด ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก

20 พ.ย. 2024

จักรพงษ์

7 min

ธุรกิจควรมีเงินสดขั้นต่ำกี่เดือน ถึงจะเรียกว่าปลอดภัย

เคยสงสัยกันไหมว่า ธุรกิจควรมีเงินสดสำรองไว้อย่างน้อยกี่บาท จึงจะปลอดภัย? คำว่า ‘ปลอดภัย’ ในที่นี้ หมายถึง มีเงินเพียงต่อการซื้อของมาสต๊อกเพื่อขาย เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายดำเนินงาน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่า รวมถึง เงินเดือนพนักงานที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน ถ้าเรามีเงินเยอะมากๆ เราจะไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องว่าธุรกิจจะขาดสภาพคล่องไหม จะมีเงินจ่ายเจ้าหนี้ไหม แต่ในความเป็นจริงธุรกิจส่วนใหญ่หาเงินมาหมุนในธุรกิจได้ยากและไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่เราควรรู้ว่าควรมีเงินหมุนเวียนอยู่ในธุรกิจขั้นต่ำกี่เดือนจึงจะปลอดภัย ธุรกิจควรถือเงินสดขั้นต่ำกี่เดือน นักธุรกิจหลายๆคน เชื่อกันว่าธุรกิจควรมีเงินสดสำรองไว้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 3-6 เดือน การมีเงินสำรองอย่างน้อย 3-6 เดือนจะช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินการต่อได้ในกรณีที่มีปัญหาขาดรายได้ รายได้เข้ามาน้อยลงหรือมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น การสูญเสียลูกค้ารายใหญ่ หรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันอื่น ๆ หลายคนอาจสงสัยต่อว่า ควรสำรองเงินไว้ 3 เดือน 4 เดือน 5 เดือน หรือ 6 เดือนกันแน่ ทำไมไม่บอกให้ชัดๆ ไปเลย นั่นก็เพราะแต่ละธุรกิจมีเป้าหมายและความเสี่ยงไม่เหมือนกัน เงินสดสำรองที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัย การคำนวณเงินสดสำรองขั้นต่ำ ตอนนี้เรารู้กันแล้วว่าธุรกิจควรมีเงินสดสำรองขั้นต่ำอย่างน้อย 3-6 เดือน แต่คำถามถัดไปคือ แล้วต้องคำนวณอย่างไร? คิดเป็นมูลค่าตัวเงินคือกี่บาท? มาหาคำตอบกันต่อได้เลย เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ขอกำหนดว่าธุรกิจที่จะนำมาเป็นตัวอย่างนี้มีความเสี่ยงต่ำจึงสำรองเงินขั้นต่ำที่ 3 เดือน หรือ 90 วันเท่านั้น วิธีคิดก็คือ ต้องหาว่าในแต่ละวันเรามีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยวันละกี่บาท โดยใช้สูตร (ค่าใช้จ่ายทั้งเดือน/30วัน)จากนั้น จากนั้นให้นำค่าใช้จ่ายต่อวันคูณด้วย 90 วัน (3เดือน) ก็จะได้จำนวนที่ควรสำรองขั้นต่ำ 3 เดือนทันที จำนวนที่ควรสำรอง 3 เดือน = (ค่าใช้จ่ายต่อเดือน) x 3 เดือ ตัวอย่างการคำนวณเงินสดสำรองขั้นต่ำ บริษัท A มีค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่ 30,000 บาท ต้องการมีสำรองเงินสดอย่างน้อย 3 เดือน บริษัท A ควรมีเงินสดสำรองกี่บาท(1) เริ่มจากหาค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อวัน ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อวัน = 30,000 /30 วัน จะได้ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อวันที่ 1,000 บาท (2) คำนวณเงินสดสำรอง 3 เดือน หรือ 90 วัน จำนวนที่ควรสำรอง 3 เดือน = 1,000 x 90 วัน                                      = 90,000 บาทดังนั้นจึงสรุปได้ว่าบริษัท A ควรมีเงินสดสำรองใน 3 เดือน 90,000 บาท ธุรกิจควรสำรองเงินขั้นต่ำอย่างน้อย 3-6 เดือน ซึ่งคำนวณง่ายๆ โดยนำค่าใช้จ่ายเฉลี่ยที่จ่ายต่อวันคูณด้วย 90 วัน (3 เดือน) ซึ่งถ้าใครอยากปลอดภัยมากกว่าก็เปลี่ยนจำนวนวันที่สำรองจาก 90 วัน ไปเป็น 180 วันหรือมากกว่านั้นก็ได้ อย่างไรก็ตามการสำรองเงินที่เหมาะสมควรพิจารณาตามลักษณะและความเสี่ยงของแต่ละธุรกิจและควรวางแผนการบริหารจัดการเงินทุนให้เหมาะสมกับเป้าหมายของธุรกิจนั้นๆ ดังนั้นการมีเครื่องมือจัดการข้อมูลบัญชีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจรับรู้ค่าใช้จ่ายได้อย่างครบถ้วน โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK จะช่วยให้การจัดการบัญชีของคุณง่ายขึ้น ด้วยระบบบัญชีที่ครบครันและตอบโจทย์ทุกความต้องการของธุรกิจ ตั้งแต่การบันทึกบัญชี การออกเอกสาร ไปจนถึงการวิเคราะห์ข้อมูลสำคัญ เพื่อสนับสนุนการเติบโตและเพิ่มโอกาสสู่ความสำเร็จทางธุรกิจ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

19 พ.ย. 2024

PEAK Account

9 min

ขายออนไลน์แบบไหนต้องจดทะเบียนการตลาดแบบตรง

การขายออนไลน์ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในยุคดิจิทัล ธุรกิจหลายประเภทสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายและรวดเร็วผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ อย่างไรก็ตามหากการดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับ “การตลาดแบบตรง” (Direct Marketing) กฎหมายได้กำหนดให้ผู้ประกอบการบางรายต้องดำเนินการจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เพื่อป้องกันความเสียหายต่อผู้บริโภคและส่งเสริมความโปร่งใสในธุรกิจ การตลาดแบบตรงคืออะไร “ตลาดแบบตรง” หมายความว่า การทําตลาดสินค้าหรือบริการในลักษณะของการสื่อสารข้อมูล เพื่อเสนอขายสินค้าหรือบริการโดยตรงต่อผู้บริโภคซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทางและมุ่งหวังให้ผู้บริโภคแต่ละราย ตอบกลับเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงนั้นที่มา: พูดง่ายๆก็คือ การเสนอขายสินค้าหรือบริการโดยตรงถึงผู้บริโภคผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์, อีเมล, ข้อความ SMS, หรือการโฆษณาทางสื่อออนไลน์ที่กระตุ้นให้ผู้บริโภคตอบสนองทันที โดยไม่ผ่านหน้าร้านค้าหรือช่องทางตัวแทนจำหน่าย ขายออนไลน์แบบไหนต้องจดทะเบียนการตลาดแบบตรง วิธีการยื่นคำขอจดทะเบียนการตลาดแบบตรงกับ สคบ. ธุรกิจที่มีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ที่ สคบ. กำหนดนั้น ต้องทำการยื่นคำขอจดทะเบียนการตลาดแบบตรง โดยมีข้อกำหนดดังนี้ อย่างไรก็ตาม บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จะทำการตลาดแบบตรง จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) มิฉะนั้น จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ที่มา : ? ธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นการขึ้นทะเบียนการตลาดแบบตรง การจดทะเบียนการตลาดแบบตรงกับ สคบ. ไม่เพียงแต่เป็นการปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมาย แต่ยังช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจในสายตาผู้บริโภคอีกด้วย  การขายออนไลน์ในรูปแบบการตลาดแบบตรงมีโอกาสสูงในการสร้างรายได้ แต่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงหากร้านค้าออนไลน์ต้องการเติบโตอย่างยั่งยืน การทำบัญชีที่ถูกต้องและเป็นระบบคือกุญแจสำคัญในการบริหารร้านค้าออนไลน์ การเลือกใช้ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถจัดการบัญชีได้ง่ายดายเพียงแค่การเชื่อมต่อ API ให้บันทึกข้อมูลบัญชี สร้างเอกสารอัตโนมัติ ครบถ้วนทุกรายการขาย เพียงเท่านี้ก็ช่วยลดขั้นตอนและลดต้นทุนในการทำงาน  เพื่อให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปอย่างราบรื่นและเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

7 พ.ย. 2024

PEAK Account

7 min

EBITDA คืออะไร? ทำไมนักลงทุนถึงให้ความสำคัญ

EBITDA คือเครื่องมือสำคัญสำหรับนักลงทุนในการวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ เพื่อการตัดสินใจลงทุนที่รอบคอบ นักลงทุนควรเข้าใจทั้งข้อดีและข้อจำกัดของ EBITDA เพื่อใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม EBITDA คืออะไร? EBITDA ย่อมาจาก Earnings Before Interest Taxes Depreciation Amortization หมายถึง กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย ซึ่งเป็นกำไรจากการดำเนินงานของบริษัท EBITDA เป็นตัววัดความสามารถในการทำกำไรของบริษัท โดย วิธีคำนวณ EBITDA จากงบกำไรขาดทุน เมื่อเราพิจารณาผลประกอบการของบริษัท กำไรสุทธิ (Net Profit) อาจเป็นตัวเลขแรกที่เราให้ความสนใจ แต่ตัวเลขนี้ไม่ได้บอกเล่าเรื่องราวทั้งหมดของธุรกิจเสมอไป เนื่องจากกำไรสุทธิไรสุทธินั้นรวมปัจจัยอื่นๆ เช่น ดอกเบี้ย ภาษี และค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการดำเนินงานหลักของธุรกิจ เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังนั้นเราควรดู EBITDA ด้วย เนื่องจาก EBITDA คือเครื่องมือวิเคราะห์ที่จะช่วยให้คุณเห็นภาพความสามารถในการทำกำไรอย่างแท้จริง  สูตรการคำนวณ (1) รายได้จากการขาย – ต้นทุนขาย = กำไรขั้นต้น(2) กำไรขั้นต้น – ค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร = กำไรจากการดำเนินงาน (EBIT)(3) กำไรจากการดำเนินงาน (EBIT) + ค่าเสื่อมราคา (D)+ ค่าตัดจำหน่าย (A) = EBITDA กำไรขั้นต้น (Gross Profit) เปรียบเสมือนการตรวจสอบว่าธุรกิจสามารถขายสินค้าได้กำไรมากน้อยแค่ไหน อย่างไรก็ตาม ต้นทุนของธุรกิจ ยังมีส่วนของค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เพื่อแสดงกำไรที่แท้จริง จึงต้องมีการคำนวณกำไรโดยหักต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารออกแล้ว เรียกว่า “กำไรจากการดำเนินงาน” หรือ EBIT EBIT เป็นกำไรที่หักค่าเสื่อมราคา (Depreciation) และค่าใช้จ่ายตัดจ่าย (Amortization) ซึ่งไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่ทั้งหมดเสียเงินจริงๆ โดยค่าเสื่อมราคา (Depreciation) และค่าใช้จ่ายตัดจ่าย (Amortization) ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายเป็นเพียงภาระทางบัญชี ซึ่งในความเป็นจริงค่าใช้จ่ายดังกล่าวบริษัทได้จ่ายเงินซื้อไปตั้งแต่ต้นแล้ว ดังนั้น EBIT + ค่าเสื่อมราคา (D) +ค่าตัดจำหน่าย (A) = EBITDA นั่นเอง การบวกกลับ ค่าเสื่อมราคา (D)+ ค่าตัดจำหน่าย (A) เข้าไป จะทำให้เห็นกำไรจากการดำเนินงานที่แท้จริงของบริษัท โดยไม่รวมค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้มีผลกระทบต่อกระแสเงินสดจริง และหากนำกำไรจากการดำเนินงาน หักลบด้วย ค่าเสื่อมราคา (D) และ ค่าตัดจำหน่าย (A) จะได้ กำไรสุทธิ (Net Profit) EBITDA เป็นกำไรจากการดำเนินงานจริงๆ เนื่องจากทั้ง I, T, D และ A นั้น ล้วนเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานปกติ เมื่อตัดทั้ง 4 ตัวดังกล่าวออกไป จะทำให้เห็น “ภาพที่แท้จริง” ของการประกอบธุรกิจของบริษัท แต่อย่างไรก็ตาม EBIDA เป็นกำไรแบบหนึ่งในงบกำไรขาดทุน ควรดูกำไรระดับอื่นๆ ประกอบด้วย ทำไม EBITDA จึงสำคัญสำหรับนักลงทุน? แสดงความสามารถในการทำกำไรที่แท้จริง ใช้ในการประเมินมูลค่ากิจการ EBITDA เป็นเครื่องมือสำคัญในการวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ ช่วยให้นักลงทุนและเจ้าของกิจการเห็นภาพรวมการดำเนินงานที่ชัดเจนขึ้น แต่ธุรกิจควรใช้ EBITDA ร่วมกับตัวชี้วัดอื่นๆ เพื่อการตัดสินใจที่รอบคอบ การเข้าใจทั้งข้อดีและข้อจำกัดของ EBITDA จะช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากตัวชี้วัดนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด อย่างไรก็ตาม การที่เราจะนำตัวเลขดังกล่าวมาคำนวณได้อย่างถูกต้องนั้น ธุรกิจควรมีระบบจัดการบัญชีที่ดี เพื่อให้มั่นใจในข้อมูลทางการเงินของคุณ โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK สามารถช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ บันทึกข้อมูลทางการเงินได้อย่างครบถ้วน ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

9 ต.ค. 2024

PEAK Account

10 min

12 ตัววัดความสำเร็จสำหรับผู้ประกอบการ SME (EP.1)

สำหรับธุรกิจ SME การวัดผลการดำเนินงานของธุรกิจถือเป็นเรื่องสำคัญในการประเมินความสำเร็จและวางแผนการเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปแล้วธุรกิจที่กำลังเติบโตมักจะมี Key Metrics หรือตัววัดต่างๆ ในการประเมินสถานการณ์ของธุรกิจ การใช้ตัววัดทางธุรกิจที่เหมาะสมไม่เพียงแต่ช่วยให้ธุรกิจสามารถวิเคราะห์ประสิทธิภาพได้แม่นยำ แต่ยังช่วยในการตัดสินใจในเชิงกลยุทธ์ได้อย่างถูกต้อง ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับ 12 KPI วัดความสำเร็จสำหรับผู้ประกอบการ SME (EP.1) ดังนี้ 1. Gross Margin (อัตรากำไรขั้นต้น) อัตรากำไรขั้นต้น คือ อัตราส่วนเปรียบเทียบผลกำไรขั้นต้นกับยอดขาย บอกถึงความสามารถในการควบคุมต้นทุนสินค้า และการตั้งราคาขายสินค้า หากอัตรากำไรขั้นต้นยิ่งมากแสดงว่าเราขายสินค้าได้ราคาดี ในขณะที่ต้นทุนถูก สูตรคำนวณ อัตรากำไรขั้นต้น = (กำไรขั้นต้น ÷ ยอดขายหรือรายได้หลัก) x 100หน่วย : % 2. Gross Profit (กำไรขั้นต้น) กำไรขั้นต้น คือ กำไรที่เกิดจากรายได้ทั้งหมด หักด้วย ต้นทุนขาย คำนวณจากยอดขายทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการขายสินค้าหรือบริการ กำไรขั้นต้น เป็นตัวช่วยบอกเราได้ว่า สินค้าและบริการของบริษัท สามารถตั้งราคาขายได้สูงกว่าต้นทุนมากน้อยเพียงใด กำไรขั้นต้นยิ่งมากยิ่งดี แสดงว่า ธุรกิจสามารถทำกำไรได้มากจากยอดขายสุทธิ สูตรคำนวณ กำไรขั้นต้น = รายได้ – ต้นทุนขายหน่วย : บาท 3. Net Income (กำไรสุทธิ) กำไรสุทธิ คือ รายได้สุทธิหรือผลกำไรที่บริษัทได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด รวมถึงภาษีและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดสำคัญสำหรับความสามารถในการทำกำไรของบริษัท สูตรคำนวณ กำไรสุทธิ = รายได้รวม – ค่าใช้จ่ายรวมหน่วย : บาท 4. Customer Acquisition Cost (ต้นทุนในการหาลูกค้า) Customer Acquisition Cost (CAC) คือ ต้นทุนในการหาลูกค้า ซึ่งคำนวณมาจากค่าใช้จ่ายทางการตลาดและการขายที่บริษัทใช้ในการหาลูกค้าในช่วงเวลาที่กำหนด อย่างไรก็ตาม ต้นทุนในการหาลูกค้าควรสัมพันธ์กับจำนวนลูกค้าที่ได้มา ต้นทุนในการหาลูกค้า = ค่าใช้จ่ายทั้งหมดทางการตลาดและการขายหน่วย : บาท สูตรคำนวณ ต้นทุนในการหาลูกค้าต่อ 1 ราย = ค่าใช้จ่ายทั้งหมดทางการตลาดและการขาย ÷ จำนวนลูกค้าใหม่ หน่วย : บาท/ราย 5. CAC Payback (ระยะเวลาคืนทุนจากการหาลูกค้า) CAC Payback เป็นระยะเวลาที่ใช้ในการคืนทุนจากการลงทุนในการหาลูกค้า โดยการคำนวณจากระยะเวลาที่ต้องใช้เพื่อให้ได้กำไรที่เท่ากับต้นทุนในการหาลูกค้า CAC Payback ยิ่งน้อยยิ่งดี แสดงว่าใช้ระยะเวลาคืนทุนน้อย สูตรคำนวณ ระยะเวลาคืนทุนจากการหาลูกค้า = (CAC ต่อ 1 ราย ÷ รายได้ที่ได้รับจากลูกค้าต่อ 1 รายต่อเดือน) x อัตรากำไรขั้นต้นหน่วย : เดือน 6. EBITDA Margin (อัตรากำไร EBITDA) อัตรากำไร EBITDA คือกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย คำนวณนำกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทบวกกับ ค่าเสื่อมราคา และบวกกับ ค่าตัดจำหน่าย สูตรคำนวณ อัตรากำไร EBITDA = EBITDA ÷ รายได้ทั้งหมดหน่วย : % 7. EBITDA EBITDA คือ ตัววัดความสามารถในการทำกำไรจากการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งเป็นกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย ทำให้เห็นถึงผลการดำเนินงานโดยตรง ค่า EBITDA ยิ่งมาก แสดงว่าทำกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทได้มาก สูตรคำนวณ EBITDA = กำไรก่อนหักดอกเบี้ย, ภาษี, ค่าเสื่อมราคา, และค่าตัดจำหน่ายหน่วย :บาท 8. Monthly Recurring Revenue (รายได้ที่เกิดขึ้นเป็นประจำต่อเดือน) รายได้ที่เกิดขึ้นเป็นประจำต่อเดือน เป็นจำนวนเงินที่บริษัทคาดว่าจะได้รับเป็นรายเดือนจากลูกค้าที่ใช้บริการแบบสมัครสมาชิกหรือบริการที่มีระยะเวลาสัญญา 9. Annual Recurring Revenue (รายได้ที่เกิดขึ้นซ้ำต่อปี) Annual Recurring Revenue คือ รายได้ที่เกิดขึ้นซ้ำต่อปี เป็นรายได้ที่เกิดขึ้นซ้ำต่อปี เพื่อประเมินอัตราการเติบโต และผลกระทบจากกรณีลูกค้ายกเลิกการเป็นสมาชิก 10. Revenue Run Rate (อัตรารายได้) อัตรารายได้ คือการคาดการณ์รายได้ของธุรกิจที่คาดว่าจะได้รับในอนาคต โดยอิงจากข้อมูลในปัจจุบัน ซึ่งใช้เพื่อคาดการณ์รายได้ประจำปี สูตรคำนวณ อัตรารายได้ = รายได้ในช่วงเวลาสั้น (เช่น หนึ่งเดือน) ×จำนวนช่วงเวลาในปีหน่วย : บาท 11. Expansion Revenue (รายได้จากการขยายตัว) รายได้จากการขยายตัว คือรายได้ที่เกิดจากการขายสินค้าและบริการเพิ่มเติมให้กับลูกค้าเดิม เช่น รายได้จากการอัปเกรดบริการ สูตรคำนวณ รายได้จากการขยายตัว = รายได้จากการเกิดจากการขายเพิ่มเติม−รายได้เดิมของลูกค้าเดิมหน่วย : บาท 12. Average Revenue per User (รายได้เฉลี่ยต่อลูกค้า 1 คน) Average Revenue Per User หรือ ARPU คือ รายได้เฉลี่ยของผู้ให้บริการต่อลูกค้า 1 คน ในช่วงเวลาหนึ่ง มักจะคิดเป็นรายเดือน ARPU เป็นตัววัดที่สำคัญสำหรับการประเมินมูลค่าของลูกค้าแต่ละราย ARPU ยิ่งมาก แสดงว่าธุรกิจมีความสามารถในการสร้างรายได้ต่อหัวของลูกค้าสูง สูตรคำนวณ รายได้เฉลี่ยต่อลูกค้า 1 คน = รายได้จากการให้บริการต่อเดือน ÷ จำนวนผู้ใช้บริการทั้งหมดหน่วย : บาท จะเห็นว่ามีตัวชี้วัดที่หลายหลากในการประเมินประสิทธิภาพของธุรกิจและการวางแผนเชิงกลยุทธ์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแต่ละอุตสาหกรรมอาจมีตัวชี้วัดที่แตกต่างกัน แม้อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ตัววัดอาจเปลี่ยนไปตามช่วงการเติบโตของธุรกิจ การเลือกตัววัดที่เหมาะสม สามารถช่วยให้ธุรกิจมีข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญในการตัดสินใจ ทั้งในด้านการปรับปรุงการดำเนินงานและการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ยังมีตัวชี้วัดความสำเร็จอีกหลายตัวที่น่าสนใจ ซึ่งเราจะนำมาแบ่งปันเพิ่มเติมใน EP.2 อย่าลืมติดตามเพื่อไม่พลาดข้อมูลสำคัญที่จะช่วยยกระดับธุรกิจของคุณ! แหล่งที่มา : PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ พร้อมช่วยจัดการงานบัญชีที่ยุ่งยากของคุณให้เป็นระบบ เพื่อให้คุณติดตามรายงานการเคลื่อนไหวทางการเงินรวมถึงต้นทุนขายได้ นอกจากนี้ยังสามารถรายงานสำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น รายงานสมุดบัญชีรายวัน รายงานแยกประเภท งบกำไรขาดทุน งบฐานะการเงิน ทำให้เห็นกำไร-ขาดทุน แบบ Real-Time ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

3 ต.ค. 2024

PEAK Account

11 min

การใช้ข้อมูลทางบัญชีเพื่อเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจ

ในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการสำนักงานบัญชี การใช้ข้อมูลทางบัญชี งบการเงิน และข้อมูลการตลาดถือเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาและสร้างการเติบโตได้อย่างยั่งยืน บทความนี้จะสรุปภาพรวมความสำคัญของข้อมูลต่างๆ การวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชีเพื่อการบริหารและการนำข้อมูลทางการตลาดมาวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า พร้อมกับการวางแผนการหาลูกค้า ทำไมข้อมูลทางบัญชีถึงความสำคัญในการพัฒนาธุรกิจ ในยุคที่การแข่งขันทางธุรกิจมีความซับซ้อน การใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพช่วยให้ผู้ประกอบการ เข้าใจสถานการณ์ทางธุรกิจของตนเองอย่างลึกซึ้ง ทั้งในด้านการเงิน การตลาดและการปฏิบัติงานภายใน ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้วิเคราะห์และตัดสินใจในการวางแผนทางธุรกิจได้แม่นยำ ช่วยในการประเมินผลการดำเนินงานของธุรกิจและช่วยในการระบุและจัดการความเสี่ยงทางการเงิน การใช้ข้อมูลบัญชีเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงิน ข้อมูลทางบัญชีไม่เพียงแต่เป็นบันทึกการทำธุรกรรม แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจ นักบัญชีสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์เพื่อกำหนดแนวทางการบริหารจัดการต้นทุนและการกำหนดราคาสินค้าและบริการ ที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังช่วยในการคาดการณ์กระแสเงินสด และวางแผนการลงทุนเพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างราบรื่น การวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชี ช่วยผู้ประกอบการและนักบัญชีเข้าใจถึงสถานะการดำเนินธุรกิจอย่างลึกซึ้ง จะแบ่งการวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชีออกเป็นสองกลุ่มหลัก ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชีเพื่อการบริหาร และการวิเคราะห์งบการเงิน 1. การวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชีเพื่อการบริหาร การวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชีเพื่อการบริหารเน้นการให้ข้อมูลสำหรับการตัดสินใจภายในองค์กร ผู้ประกอบการและผู้บริหารใช้ข้อมูลนี้เพื่อวางแผนและควบคุมการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิเคราะห์ที่สำคัญในด้านนี้ ได้แก่ 1.1 การวิเคราะห์ต้นทุน การวิเคราะห์ต้นทุนช่วยให้ผู้ประกอบการทราบถึงต้นทุนในการผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญในการประเมินกำไรและประสิทธิภาพของธุรกิจ โดยจะคำนวณและแยกประเภทต้นทุน เช่น ต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เพื่อช่วยในการกำหนดราคาขาย รวมถึงการคำนวณจุดคุ้มทุน 1.2 การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนเป็นกระบวนการที่ช่วยผู้ประกอบการทราบถึงจำนวนการขายที่จำเป็นเพื่อให้รายได้เท่ากับต้นทุน โดยข้อมูลนี้สำคัญต่อการกำหนดกลยุทธ์ด้านการตลาด การผลิต และการจัดสรรทรัพยากร ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถปรับแผนให้เหมาะสมเพื่อหลีกเลี่ยงการขาดทุน 1.3 การวิเคราะห์งบประมาณ การจัดทำงบประมาณเป็นกระบวนการสำคัญในการควบคุมค่าใช้จ่ายและการลงทุนในธุรกิจ การวิเคราะห์งบประมาณจะช่วยให้ผู้ประกอบการทราบถึงความสามารถในการดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ โดยสามารถปรับปรุงและแก้ไขแผนงานได้ตามสภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง 2. การวิเคราะห์งบการเงิน การวิเคราะห์งบการเงินมุ่งเน้นการพิจารณาสถานะการเงินของธุรกิจ ทั้งในด้านความสามารถในการทำกำไร การจัดการทรัพยากร และภาระหนี้สิน โดยแบ่งเป็นหัวข้อสำคัญดังนี้ 2.1 การวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไร การวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรช่วยให้ผู้ประกอบการประเมินว่าธุรกิจมีความสามารถในการสร้างกำไรจากรายได้ได้มากน้อยเพียงใด โดยใช้ตัวชี้วัดอย่างอัตรากำไรสุทธิ ซึ่งบ่งบอกถึงสัดส่วนของกำไรที่ธุรกิจเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (Return on Equity – ROE) ช่วยให้ทราบว่าธุรกิจใช้ทุนของผู้ถือหุ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด 2.2 การวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน การวิเคราะห์นี้ช่วยให้ผู้ประกอบการทราบว่าธุรกิจมีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ โดยดูจากอัตราส่วนการหมุนเวียนสินทรัพย์ ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการใช้สินทรัพย์เพื่อสร้างรายได้ และอัตราการหมุนเวียนสินค้าคงคลัง ที่บ่งบอกถึงความสามารถในการจัดการสินค้าคงคลัง 2.3 การวิเคราะห์การจัดการสภาพคล่อง การจัดการสภาพคล่องเป็นการประเมินความสามารถของธุรกิจในการชำระหนี้สินระยะสั้น โดยใช้ตัวชี้วัดอย่างอัตราส่วนสภาพคล่อง ซึ่งคำนวณจากการเปรียบเทียบสินทรัพย์หมุนเวียนกับหนี้สินหมุนเวียน ซึ่งตัดสินจากสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็ว เช่น เงินสดและลูกหนี้ 2.4 การวิเคราะห์ภาระหนี้สิน การวิเคราะห์ภาระหนี้สินช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจถึงสถานะหนี้สินของธุรกิจและความเสี่ยงทางการเงิน โดยใช้อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน ซึ่งบ่งบอกถึงจำนวนหนี้สินที่ธุรกิจมีเปรียบเทียบกับทุนของผู้ถือหุ้น ยิ่งอัตราส่วนนี้สูงก็แสดงถึงความเสี่ยงในการที่ธุรกิจจะไม่สามารถชำระหนี้ได้ในอนาคต การใช้ข้อมูลทางบัญชี งบการเงิน และข้อมูลการตลาดเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาธุรกิจของผู้ประกอบการ การวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้เห็นภาพรวมของธุรกิจ เข้าใจพฤติกรรมของลูกค้า และตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างมีข้อมูลสนับสนุน เป็นการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันและความยั่งยืน คลิกเพื่อเรียน! นอกจากข้อมูลทางการเงินแล้ว ข้อมูลการตลาดก็มีความสำคัญในการพัฒนาธุรกิจเช่นกัน ข้อมูลการตลาดช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อของลูกค้า และนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในการพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์จากกรณีศึกษานั้น จะช่วยให้ใช้ข้อมูลได้อย่างถูกต้องมากขึ้น สำหรับนักบัญชีที่สนใจยกระดับสำนักงานบัญชี สู่การเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่คอร์สเรียน การใช้ข้อมูลทางบัญชีเพื่อเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ พร้อมช่วยจัดการงานบัญชีที่ยุ่งยากของคุณให้เป็นระบบ เรามีฟังก์ชั่นแสดงผล Dashboard แบบเรียลไทม์ ที่ช่วยให้เห็นภาพรวมข้อมูลทางบัญชีของธุรกิจได้ง่ายขึ้น เพื่อให้คุณสามารถนำข้อมูลไปใช้ตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ก.ย. 2024

PEAK Account

15 min

12 วิธีเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสำหรับธุรกิจ SME

ธุรกิจ SME ในยุคดิจิทัลต้องเผชิญกับความท้าทายมากมายในการแข่งขัน ทั้งเรื่องเวลาที่จำกัด ทรัพยากรบุคคล และงบประมาณที่จำกัด การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน บทความนี้จะมาแชร์ 12 วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานที่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในธุรกิจ SME ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนงาน การใช้เครื่องมือดิจิทัล หรือการพัฒนาทีมงาน เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจได้เร็วยิ่งขึ้น ข้อดีของการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสำหรับธุรกิจ SME 1. ลดต้นทุนและเพิ่มกำไร การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานช่วยลดต้นทุนการดำเนินงาน การกำจัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นหรือใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยทำงานจะลดการใช้ทรัพยากร เช่น เวลา แรงงาน และวัสดุ ส่งผลให้ธุรกิจสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดียิ่งขึ้น ในขณะเดียวกัน การทำงานที่มีประสิทธิภาพจะเพิ่มผลผลิตและทำให้ธุรกิจสร้างกำไรได้มากขึ้น 2. เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ธุรกิจ SME ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงจากคู่แข่งรายใหญ่ที่มีทรัพยากรและเทคโนโลยีที่ทันสมัย การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้ธุรกิจสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้รวดเร็วขึ้น มีคุณภาพที่ดีกว่า และมีความยืดหยุ่นในการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงของตลาด ซึ่งช่วยให้ธุรกิจสามารถแข่งขันได้ในตลาดที่มีการแข่งขันสูง 3. ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงของตลาด ในยุคที่เทคโนโลยีและความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การมีประสิทธิภาพในการทำงานจะช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่สูญเสียคุณภาพหรือเวลาการผลิตที่สำคัญ การปรับตัวอย่างรวดเร็วเป็นสิ่งจำเป็นในการรักษาความเป็นผู้นำในตลาดและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้ทันท่วงที 4. เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า การทำงานที่มีประสิทธิภาพช่วยให้ธุรกิจสามารถให้บริการลูกค้าได้เร็วขึ้นและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด ส่งผลให้ลูกค้ามีความพึงพอใจในสินค้าและบริการมากยิ่งขึ้น ความพึงพอใจนี้จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า และเพิ่มโอกาสในการสร้างฐานลูกค้าใหม่ ๆ รวมถึงการรักษาลูกค้าเก่า 5. เสริมสร้างความยั่งยืนของธุรกิจ ธุรกิจ SME ที่มีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพจะสามารถใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ การใช้พลังงานและวัสดุอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยลดต้นทุนในระยะยาว รวมถึงการลดของเสียและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มการทำธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน 6. ปรับปรุงความพึงพอใจของพนักงาน การทำงานที่มีประสิทธิภาพช่วยลดความตึงเครียดและภาระงานที่ซ้ำซ้อนของพนักงาน พนักงานจะสามารถทำงานได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิผลมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มความพึงพอใจในการทำงานและลดอัตราการลาออกของพนักงาน พนักงานที่มีความสุขกับการทำงานจะมีแรงจูงใจในการทำงานที่สูงขึ้นและสร้างสรรค์ผลงานที่ดีขึ้นให้กับธุรกิจ 7. เสริมสร้างโอกาสการเติบโต การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพช่วยให้ธุรกิจมีเวลามากขึ้นในการพัฒนากลยุทธ์การเติบโต เช่น การขยายตลาด การเพิ่มผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ และการสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานช่วยให้ธุรกิจ SME มีทรัพยากรที่เพียงพอในการพัฒนาและเติบโตอย่างมั่นคง 12 วิธีเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสำหรับธุรกิจ SME การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจ SME เนื่องจากการทำงานที่มีประสิทธิภาพจะช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และทำให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างมั่นคง บทความนี้จะอธิบายถึงขั้นตอนที่สามารถนำไปใช้เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานของธุรกิจได้อย่างยั่งยืน 1. ทำความเข้าใจกระบวนการทำงานในปัจจุบัน ก่อนที่จะทำการปรับปรุงกระบวนการทำงาน สิ่งแรกที่ต้องทำคือการเข้าใจกระบวนการทำงานที่มีอยู่ในปัจจุบันอย่างถ่องแท้ การวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานที่ใช้อยู่ในขณะนี้จะช่วยให้ทราบถึงความเป็นจริงในการปฏิบัติงานประจำวัน ซึ่งจะเป็นข้อมูลสำคัญในการระบุปัญหาและความล่าช้าที่อาจเกิดขึ้น 2. จัดทำเอกสารกระบวนการทำงานปัจจุบัน การจัดทำเอกสารที่แสดงถึงกระบวนการทำงาน (เช่น Flowchart) และการบันทึกรายละเอียดของแต่ละขั้นตอนเป็นสิ่งที่สำคัญในการเห็นภาพรวมของการทำงานทั้งหมด เอกสารนี้จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สามารถตรวจสอบและเปรียบเทียบการปรับปรุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. กำหนดเป้าหมาย หลังจากที่ได้วิเคราะห์กระบวนการทำงานแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการตั้งเป้าหมายในการปรับปรุงกระบวนการ เป้าหมายเหล่านี้อาจเป็นการลดเวลาในการทำงาน ลดข้อผิดพลาด หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐาน การมีเป้าหมายที่ชัดเจนจะช่วยให้ธุรกิจสามารถวัดผลและประเมินความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลงได้ 4. ระบุปัญหาและจุดคอขวด การระบุปัญหาและจุดคอขวด (Bottleneck) ในกระบวนการทำงานเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก การค้นหาสาเหตุของความล่าช้า ปัญหาที่เกิดขึ้น หรือจุดที่กระบวนการหยุดชะงัก จะช่วยให้สามารถแก้ไขได้อย่างตรงจุด ซึ่งจะส่งผลให้การทำงานมีความราบรื่นมากยิ่งขึ้น 5. การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง การดึงผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น พนักงาน ผู้จัดการ หรือทีมงานจากส่วนอื่น ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและความคิดเห็นจะช่วยให้กระบวนการปรับปรุงเป็นไปอย่างครอบคลุมและมีความสมบูรณ์ การมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายยังช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันและลดความเข้าใจผิดในการปฏิบัติงาน 6. ศึกษาวิธีปฏิบัติที่เหมาะสม การค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการทำงานที่ประสบความสำเร็จจากธุรกิจอื่น ๆ หรือการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้ธุรกิจสามารถนำแนวทางที่ดีมาปรับใช้กับตัวเองได้ การศึกษาและวิเคราะห์กรณีศึกษาที่มีความคล้ายคลึงกับธุรกิจ จะช่วยให้เห็นภาพชัดเจนว่าควรปรับปรุงอะไรและอย่างไร 7. ออกแบบกระบวนการทำงานใหม่ เมื่อได้ข้อมูลและแนวทางจากขั้นตอนก่อนหน้าแล้ว สามารถนำมาออกแบบกระบวนการทำงานใหม่ โดยให้ความสำคัญกับการลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นหรือการใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ กระบวนการทำงานใหม่ควรตอบโจทย์ทั้งด้านเวลาและคุณภาพในการทำงาน 8. บันทึกกระบวนการทำงานที่ได้รับการปรับปรุง หลังจากที่ได้ปรับปรุงกระบวนการทำงานแล้ว ควรบันทึกขั้นตอนใหม่ลงในเอกสารที่จัดทำขึ้น เพื่อให้ทุกคนในทีมสามารถติดตามและทำตามขั้นตอนใหม่ได้อย่างถูกต้อง การจัดทำคู่มือการทำงานที่ชัดเจนจะช่วยลดความสับสนและทำให้กระบวนการทำงานเป็นมาตรฐานเดียวกัน 9. ดำเนินการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป การเปลี่ยนแปลงไม่ควรทำอย่างรวดเร็วเกินไป ควรเริ่มจากการปรับปรุงทีละขั้นตอน เพื่อติดตามผลลัพธ์และดูว่ามีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้นบ้าง การปรับเปลี่ยนอย่างค่อยเป็นค่อยไปจะช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับตัวได้ดีและสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันเวลา 10. จัดอบรมทีมงาน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานแล้ว ควรจัดอบรมให้กับทีมงานเพื่อให้ทุกคนมีความเข้าใจในกระบวนการใหม่และสามารถใช้งานเครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การฝึกอบรมเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงเป็นไปได้อย่างราบรื่น 11. ติดตามผลและวัดผลความสำเร็จ การใช้ตัวชี้วัดหรือ KPI ในการติดตามผลลัพธ์ของการปรับปรุงเป็นสิ่งที่จำเป็น การวัดผลจะช่วยให้ธุรกิจสามารถประเมินได้ว่าการเปลี่ยนแปลงที่ทำนั้นได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายหรือไม่ หากพบว่ามีปัญหาหรือไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จะสามารถปรับแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว 12. ทบทวนและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การปรับปรุงกระบวนการทำงานควรเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง ธุรกิจควรใช้ข้อมูลจากตัวชี้วัดและคำแนะนำต่าง ๆ ที่ได้รับมาพิจารณาและปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ การทำเช่นนี้จะช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับตัวตามความเปลี่ยนแปลงของตลาดและยังคงประสิทธิภาพสูงสุด การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสำหรับธุรกิจ SME ไม่เพียงแต่ช่วยลดต้นทุน แต่ยังช่วยเพิ่มคุณภาพในการทำงาน และนำพาธุรกิจไปสู่ความสำเร็จในระยะยาว การดำเนินการตามวิธีการทั้ง 12 ข้อนี้จะช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับปรุงการทำงานได้อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เรามีฟังก์ชันหลากหลายที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพงานบัญชีของคุณ ไม่ว่าจะเป็น  AI ช่วยแนะนำรายการสินค้า/บริการและผังบัญชีที่ใช้บ่อย ช่วยประหยัดเวลาบันทึกเอกสาร นอกจากนี้ยังมีระบบวิเคราะห์ธุรกิจอย่างมืออาชีพออนไลน์ ที่ช่วยให้เห็นภาพรวมของธุรกิจได้ง่ายขึ้น และฟังก์ชันการจัดการเอกสารทางบัญชีอย่างเป็นระบบ ช่วยให้การจัดการข้อมูลบัญชีเป็นเรื่องง่ายและปลอดภัยมากขึ้น ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก